การ Compile ออนไลน์

เมื่อนักพัฒนาระบบต้องการเขียนโปรแกรมภาษาอะไร จำเป็นต้องทำการติดตั้ง Compiler สำหรับภาษานั้น ๆ เสียก่อน Compiler จะทำหน้าที่แปลภาษา Programming ไปเป็นชุดคำสั่งของเครื่อง เพื่อทำงานตามที่นักพัฒนาต้องการ บทความนี้จะแนะนำบริการออนไลน์สำหรับทดสอบ Code ภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อว่า compileonline ซึ่งสามารถทดสอบ Code ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อดูผลลัพธ์ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้ง Compiler หรือเปิด Developer Tool เอง สำหรับการทดสอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะ ขั้นตอน ดังนี้ ไปที่ http://www.compileonline.com/ จากนั้นเลือกภาษา / Develop tool ที่ต้องการ ในที่นี้เลือก C# แสดงหน้าจอ ดังนี้ ตัวอย่าง C# คลิกปุ่ม “Compile” จะแสดงผลดัง Terminal ด้านล่าง –> สีแดง คลิกปุ่ม “Execute” จะแสดงผลดัง Terminal ด้านล่าง –> สีน้ำเงิน ตัวอย่าง JavaScript เลือกภาษา / Develop tool ที่ต้องการ ในที่นี้เลือก JavaScript แสดงหน้าจอ ดังนี้ แก้ไขคำสั่งตามต้องการ จากนั้น คลิกปุ่ม “Preview” จะแสดงผลดัง Web View ด้านล่างค่ะ   

Read More »

การแปลงข้อมูลในรูปแบบ JSON เป็นคลาส JAVA

ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง application กับ service ที่ติดต่อกับฐานข้อมูลบน server โดยส่วนใหญ่ก็จะแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้รูปแบบ JSON ซึ่งในส่วนของแอพพลิเคชัน ต้องทำคลาสในการรับข้อมูลพื่อให้สามารถรับข้อมูลและนำไปใช้ได้สะดวกขึ้น ตัวอย่างข้อมูล JSON เช่น [                    {                              “point”: “40.266044,-74.718479”,                              “homeTeam”:”Lawrence Library”,                              “awayTeam”:”LUGip”,                              “markerImage”:”images/red.png”,                              “information”: “Linux users group meets second Wednesday of each month.”,                              “fixture”:”Wednesday 7pm”,                              “capacity”:””,                              “previousScore”:””                    },                    {                              “point”:”40.211600,-74.695702″,                              “homeTeam”:”Hamilton Library”,                              “awayTeam”:”LUGip HW SIG”,                              “markerImage”:”images/white.png”,                              “information”: “Linux users can meet the first Tuesday of the month to work out harward and configuration issues.”,                              “fixture”:”Tuesday 7pm”,                              “capacity”:””,                              “tv”:””                    },                    {                              “point”:”40.294535,-74.682012″,                              “homeTeam”:”Applebees”,                              “awayTeam”:”After LUPip Mtg Spot”,                              “markerImage”:”images/newcastle.png”,                              “information”: “Some of us go there after the main LUGip meeting, drink brews, and talk.”,                              “fixture”:”Wednesday whenever”,                              “capacity”:”2 to 4 pints”,                              “tv”:””                    } ] และตัวอย่างคลาส JAVA ที่เราต้องการสร้างเอาไว้รับข้อมูล ดังนี้ค่ะ ———————————-com.example.Example.java———————————– package com.example; import javax.annotation.Generated; @Generated(“org.jsonschema2pojo”) public class Example { private String point; private String homeTeam; private String awayTeam; private String markerImage; private String information; private String fixture; private String capacity; private String previousScore; private String tv;   public String getPoint() { return point; } public void setPoint(String point) { this.point = point; } public String getHomeTeam() { return homeTeam; }   public void setHomeTeam(String homeTeam) {

Read More »

วิธีการตรวจสอบข้อมูลในรูปแบบ JSON

ข้อมูลรูปแบบของ JSON เป็นที่นิยมใช้เป็นวิธีการส่งข้อมูลอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งในบ้างครั้งข้อมูลส่งจะมีความซับซ้อนหรือมีการซ้อนกันของข้อมูลหลายชั้น ทำให้การอาจเกิดข้อผิดพลาดในการสร้างข้อมูลหรือยากในการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งในบทความนี้จึงขอเสนอเว็บไซต์ที่ช่วยในการตรวจสอบข้อมูลและแบ่งชั้นของข้อมูลที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ในรูปแบบ JSON ได้ คือ https://jsonformatter.curiousconcept.com จากรูป  มีสิ่งที่ต้องระบุหลัก ๆ คือ JSON Data/URL สามารถวางข้อมูลหรือ URL ของข้อมูลได้ทั้งสองอย่าง JSON Standard เลือกว่า JSON ของเราสร้างโดยมาตรฐานใด หรือเราอยากตรวจสอบว่า JSON ที่เราสร้างอยู่ในมาตรฐานที่เราต้องการไหม เมื่อกำหนดเรียบร้อยก็กดปุ่ม Process จากรูป ระบบจะแสดงผลการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ และนอกจากนี้ระบบยังแบ่งชั้นข้อมูลในแต่ละระดับที่ซ้อนกันให้ ทำให้เราดูชุดข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น หากข้อมูลผิดล่ะ จะเป็นไง ลองทำกันดู  ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง ระบบจะแสดงบรรทัด ที่ไม่ถูกต้อง แล่ะเมื่อคลิก มันจะแสดงสีแดงที่บรรทัดหรืออักษรที่ไม่ถูกต้องให้เราเห็นอีกด้วย

Read More »

สร้าง Shortcut ในการ Remote Desktop Connection

ในการพัฒนาระบบงานหลาย ๆ ระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็ต้องมี Server ถ้าระบบมีปัญหาสิ่งแรก ๆ ที่ต้องเข้าไปดูปัญหานั่นคือการ Remote ไปยัง Server นั้น ๆ เช่นดู Process Task ต่าง ๆ มีอะไรรันอยู่ มีอะไรทำงานอยู่จึงทำให้ระบบช้า หรือทำให้ระบบมีปัญหาเป็นต้น เมื่อมีหลาย Server ครั้นจะมาจดจำ IP เครื่องที่จะ Remote ไป หรือบางเครื่องที่นาน ๆ จะเกิดปัญหาที ทางออกของปัญหามีค่ะ แค่เพียงสร้างเป็น Shortcut ในการ Remote Desktop Connection นั่นเอง มีขั้นตอนดังนี้ ที่หน้าจอ Desktop คลิกขวา New เลือกหัวข้อ Shortcut พิมพ์ข้อความดังนี้ C:\Windows\System32\mstsc.exe /v:192.168.100.170 /w:800 /h:600 –> 3.1 /v:ต่อด้วย IP Address:Port –> 3.2 /w:ต่อด้วยขนาดหน้าจอ ความกว้าง –> 3.3 /h:ต้อด้วยขนาดหน้าจอ ความสูง –> 3.4 อื่น ๆ เช่น /f หมายถึงเต็มหน้าจอ /admin หมายถึง Remote เข้าด้วย Session Admin คลิกปุ่ม Next ตั้งชื่อ Shortcut คลิก Finish จะเห็น Icon ของ Shortcut ที่ใช้ในการ Remote เพื่อเข้า Server ตามที่ได้สร้างไว้ที่หน้า Desktop

Read More »

การตั้งค่าให้ Android Emulator สามารถรัน google map ได้

โดยปกติ Android Emulator ไม่สามารถรัน google map เนื่องจากไม่มีในส่วนของ google play serivce นั้นเอง (สังเกตุ ได้ว่าไม่มีแอพพลิเคชั่น google play) ซึ่งเมื่อนักพัฒนาทำการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีgoogle map และรองรันบน Android emulator  จะเกิดข้อผิดพลาดดังรูป ในบทความนี้ขอนำเสนอวิธีการที่ทำให้ Genymotion ซึ่งเป็น Andriod  Emulator ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กัน เนื่องจากทำงานได้รวดเร็ว และทำงานได้ดีกับ Android Studio 🙂 โดยหลักการก็ไม่มีอะไรมาก เมื่อ Android emulator ของเราไม่มี google play service เราก็แค่ลงไปให้ซะเลย ขั้นแรก ต้องโหลดไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้ง ดังรูป โดยในส่วนของไฟล์ gapps-jb-xxxx-signed ต้องโหลดเวอร์ชั่นให้ตรงกับ android แต่ละเวอร์ชั่นที่ใช้งาน ต่อไปทำการติดตั้อง Genymotion-ARM-Translation_v1.1.zip ก่อน ซึ่งการติดตั้งก็ง่าย ๆ โดยการลากไฟล์ไปวางที่ Emulator ได้ทันที่ รอจนติดตั้งเสร็จและทำการ Restart Emulator ต่อไปก็ทำการ Gapps และ Restart Emulator อีกครั้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ลองเปิด Emulator จะพบว่ามีแอพพลิเคชั่น google play เรียบร้อยแล้ว ลองรันทดสอบแอพพลิเคชันที่มี google map ดูได้เลย

Read More »