TFS : (ตอน) การติดตามการดำเนินโครงการ

จากบทความ การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 4 : การวางแผนงาน)และการบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 5 : การตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย และการบันทึกผลการทำงาน)ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการใช้ TFS ในการวางแผน การเข้าไปดูงานที่ได้รับมอบหมาย และการบันทึกผลการปฏิบัติงาน บทความต่อไปนี้ จะเป็นเนื้อหาต่อเนื่องจาก 2 บทความข้างต้น นั่นคือ เราจะสามารถใช้ TFS ในการติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างไรบ้าง ในกระบวนการบริหารจัดการโครงการ “ขั้นตอนการติดตามงาน” ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก และเป็นขั้นตอนที่ผู้จัดการโครงการต้องปฏิบัติ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถตรวจสอบความล่าช้าของโครงการ และค้นหาปัญหาที่ทำให้ล่าช้า เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่ทันเวลานั่นเอง TFS สามารถตรวจสอบ หรือติดตามงานได้หลายวิธี ในบทความนี้ ได้หยิบยกมาให้เห็นด้วยกัน 3 วิธี อย่าให้เสียเวลา เรามาทำความรู้จัก ในแต่ละวิธีกันเลยค่ะ…. วิธีที่ 1 ตรวจสอบจาก Stage โดย StageTO DO = ยังไม่ดำเนินการIN PROGRESS = อยู่ระหว่างการดำเนินการDONE = ดำเนินการเสร็จแล้ว วิธีนี้ เป็นการติดตามงานในภาพของแต่ละงานย่อย หรือ Task นั่นเอง โดยดูจากปริมาณงานที่อยู่ใน Stage ถ้า Tasks ทุก Tasks อยู่ใน Stage = DONE สบายใจได้เลยค่ะ แต่ถ้าจะถึงเวลาปิดโครงการแล้วแต่ Tasks ยังอยู่ใน TO DO หรือ IN PROGRESS จำนวนมาก ต้องรีบสอบถามสมาชิกเลยนะค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีค่ะ วิธีที่ 2 ตรวจสอบจาก Burndown Chart ซึ่งจะแสดงเป็นกราฟง่ายๆที่ใช้บอกเราว่า “เราทำงานเสร็จไปแล้วเท่าไรและเราเหลืองานที่ต้องทำอีกเท่าไร” แสดงดังรูป จากรูป วิธีนี้เป็นการติดตามงานในมุมมองภาพรวมทั้งโครงการ นั่นคือ หากงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน Remaining Work ที่เหลือในแต่ละช่วงเวลาจะต้องต่ำกว่าเส้น Ideal Trend นะค่ะ หากเลยเส้น แสดงว่างานไม่เสร็จตามแผน ถ้าเจอแบบนี้อย่านิ่งนอนใจนะค่ะ ต้องหาว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นที่ทำให้งานช้ากว่าที่กำหนด และหาแนวทางแก้ไขนะค่ะ อย่าให้นานเกินไปจะแก้ไขได้ยากขึ้นค่ะ วิธีที่ 3 ตรวจสอบจาก Work By Assinged To ดังรูปด้านล่างค่ะ การติดตามจาก Work By Assigned To นั้นดูจำนวนชั่วโมงที่เหลือ ถ้าชั่วโมงยังเหลือเยอะ แสดงว่างานยังเหลืออีกเยอะ ดังนั้นจะต้องไปติดตามรายตัวแล้วค่ะ ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น วิธีนี้จะดีหน่อยตรงที่ สามารถติดตามในมุมมองของรายบุคคลได้เลยค่ะ จะเห็นได้ว่าการติดตามผลการดำเนินงานโดย TFS ทำได้ง่ายมาก และเป็นเครื่องมือที่ใช้งานสะดวกด้วย สามารถติดตามรายโครงการ รายบุคคล หรือราย Tasks ได้ตามที่ต้องการ ทำให้ผู้จัดการโครงการติดตามสถานะของโครงการได้ ซึ่งหากพบว่าไม่เป็นไปตามแผน สามารถหาแนวทางแก้ไขได้ทันท่วงที ก่อนที่จะทำให้โครงการล่าช้าหรือเมื่อเวลาล่วงเลยไป จะแก้ไขปัญหาได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ผู้จัดการโครงการยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานความก้าวหน้าของโครงการ เพื่อนำเสนอให้กับผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงสถานะของโครงการ ซึ่งเข้าใจข้อมูลได้ง่าย…(เห็นด้วยใช่ไม๊ค่ะ) จากบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ TFS ผู้นำเสนอ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำเสนอ หรือบทความแต่ละบทความจะประโยชน์กับทุกๆ ที่สนใจนะค่ะ…. ^___^ อย่างน้อยก็ได้นำเสนอให้ทุกคนได้รู้จักกับเครื่องมือ TFS ในมุมมองของการบริหารจัดการโครงการนะค่ะ…

Read More »

Quick Analysis ใน Excel 2016 : ชุดคำสั่ง “Formatting”

จากบทความที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ เรื่อง แนะนำการใช้เครื่องมือ Quick Analysis ใน Excel 2016 : ชุดคำสั่ง “Text” สำหรับโจทย์ที่เป็นตัวอักษร แต่ครั้งนี้จะมาเล่าต่อของ Quick Analysis ในชุดคำสั่ง “Formatting” เหมือนเดิมนั่นแหละ แต่โจทย์จะเปลี่ยนไปเป็นตัวเลขบ้าง มาดูกันสิว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง สำหรับรอบนี้ได้สมมุติข้อมูลเป็นข้อมูลเวลาการทำงานในแต่ละวันของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ เป็นรายชั่วโมง โดยคนคนนี้ทำงาน ได้กี่ชั่วโมงในแต่ละวัน ดังรูป มาดูว่าจะมีลูกเล่นอะไรบ้างค่ะ ส่วน Data bar เป็นการแสดง Bar หรือแท่งของข้อมูลนั่นเองค่ะถ้าไม่เห็นภาพ มาปฏิบัติกันดีกว่าค่ะ โดยเลือกช่วงของข้อมูล และเลือก Formatting เลือก Quick Analysis จากนั้นเลือก Data bar ตามขั้นตอนดังรูป ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูปด้านล่างค่ะ เป็นการแสดง Bar ให้เห็นถึงปริมาณของชั่วโมงการทำงานนั่นเอง ส่วน Greater จะเลือกข้อมูลที่มีข้อมูลที่สูงกว่า ที่เรากำหนด สามารถทำได้ดังนี้ค่ะโดยเลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ เลือก Quick Analysis และเลือก Formatting จากนั้นเลือก Greater จะปรากฎ Dialog ขึ้นมาเพื่อให้ใส่ จำนวนที่จะให้ว่าให้เลือกข้อมูลที่ดีกว่าอะไร ในที่นี้ระบุเป็น “8” จากนั้น จะให้แสดงข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขเป็นอย่างไร ในที่นี่เลือกเป็น “Light Red Fill with Dark Red Text” คือให้ cell และอักษร ที่เข้าเงื่อนไขเป็นสีแดง นั่นเอง (สามารถทำตามได้จากรูปด้านล่างค่ะ) และผลลัพธ์ คือใน Column C จะทำการ เปลี่ยนสีของ cell และ อักษร เป็นสีแดง สำหรับ วันที่มีการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงนั่นเอง ส่วน Color จะแสดงข้อมูลในลักษณะของสี เพื่อแสดงถึงข้อมูลด้วยสีต่าง ๆ โดยตัวเลขน้อยสุดจะเป็น สีแดง เลขสูงสุดจะเป็นสีเขียว สำหรับข้อมูลตัวเลขกลาง ๆ จะเป็นสีที่แตกต่างออกไป มาทำเพื่อให้เห็นภาพดีกว่าค่ะ โดยเลือกช่วงข้อมูล จากนั้นเลือก Quick Analysis และเลือก Color ผลลัพธ์ จะเป็นดังรูปด้านล่างค่ะ ค่ะ จากที่แสดงมาทั้งหมด อาจจะพอช่วยให้เห็นภาพ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลด้วย Excel ในมุมต้องการได้นะค่ะ บางครั้งในการทำข้อมูลอาจจะต้องมีการประยุกต์นำเทคนิคนี้นิด อันนี้หน่อยมาช่วยๆ กัน ถึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการนะค่ะ หวังว่าบทความนี้พอจะเป็นแนวทาง สำหรับผู้อ่านได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะค่ะ…ขอบคุณค่ะ

Read More »

การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 5 : การตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย และการบันทึกผลการทำงาน)

จากบทความ การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 4 : การวางแผนงาน) เป็นบทบาทของ Project manager ในการมอบหมายงานให้กับสมาชิกในทีม สำหรับในบทความนี้ จะกล่าวถึงในมุมมองของสมาชิกทีมที่ได้รับมอบหมายงานบ้าง ว่าจะสามารถเข้าไปดูงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างไรได้บ้าง เรามาดูกันเลยนะค่ะ… สำหรับสมาชิกในทีม สามารถตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ในมุมมองดังนี้ Step 1 จาก TFS เลือกโครงการที่ต้องการตรวจสอบงานที่ได้รับอบหมาย ตามรูปที่ 1 Step 2 เลือก Work จากนั้นเลือก Blacklogs และเลือก Sprint ที่ต้องการ ดังรูปที่ 2 Step 3 ทำการเลือกชื่อของตนเอง ดังรูปที่ 3 Step 4 จะแสดง Tasks ที่ได้รับมอบหมาย ตามรูปที่ 4 นะค่ะ จากขั้นตอนข้างต้น ทำให้เจ้าตัวทราบว่า มี Tasks อะไรบ้างที่ได้รับมอบหมาย แต่ละ Task มีสถานะเป็นอย่างไรแล้วบ้าง ซึ่งได้แก่ ยังไม่ดำเนินการ กำลังดำเนินการ หรือดำเนินการเสร็จไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง…ยังมีอีกมุมมองนึงที่ทีมงานสามารถตรวจสอบปริมาณงานว่า งานที่ได้รับมอบหมาย มีปริมาณคงเหลือมากน้อยเพียงใด โดยตรวจดูจากเวลาที่เหลือ ดังนี้ค่ะ ^__^ เลือก Backlogs สามารถดูเวลางานที่เหลือจาก Work by Assigned to และดูจากชื่อของตนเอง ว่ามีจำนวนชั่วโมงเวลาที่เหลือเท่าไหร่ หากมีปริมาณชั่วโมงเยอะ แสดงว่าปริมาณงานยังเยอะอยู่นะค่ะ… ขั้นตอนสามารถดูได้จากรูปที่ 5 นะค่ะ จากบทความข้างต้น เป็นการตรวจสอบปริมาณงานของทีมงานแต่ละคนนะค่ะว่าได้รับมอบหมายงานอะไรบ้าง มีปริมาณเหลือมากน้อยเพียงใด ขั้นตอนต่อไปปจะเล่าถึงขั้นตอนของการบันทึกผลการปฏิบัติงานให้ฟังต่อนะค่ะ สำหรับการบันทึกผลการปฏิบัติงาน สามารถทำได้ดังนี้ค่ะSpet 1 เลือก Work จากนั้นเลือก Blacklogs และเลือก Sprint ที่ต้องการ ดังรูปที่ 6 Step 2 เลือก Task ที่ต้องการบันทึกผล จะแสดงดังรูปที่ 7 จากรูปที่ 7 จะต้อง Update ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้1. State โดยประกอบด้วย Inprogress คือ กำลังดำเนินการ และ Todo หมายถึง ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว2. Remaining work ให้ระบุจำนวนชั่วโมงที่เหลือ3. History ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ ที่ดำเนินการ โดยสามารถแนบไฟล์ต่าง ๆ เข้าไปได้เมื่อใส่รายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกดปุ่ม Save เพื่อบันทึกผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ยากใช่ไม๊ค่ะ เห็นไม๊ค่ะว่า TFS สามารถช่วยเรื่องการวางแผน การมอบหมาย และการบันทึกผลการทำงานได้ ในครั้งต่อไป จะมากล่าวมุมมองการติดตามการดำเนินงาน หรือติดตามผลการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่…อย่าลืมติดตามกันต่อนะค่ะ… ขอบคุณค่ะ

Read More »

แนะนำการใช้เครื่องมือ Quick Analysis ใน Excel 2016 : ชุดคำสั่ง “Text”

สำหรับ Excel 2016 ที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวันนั้น มีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย จนบางครั้งเราจะลืมไปว่า มันสามารถช่วยอำนวยความสะดวกอะไรได้บ้าง สำหรับบทความนี้ จะกล่าวถึงคำสั่ง “Quick Analysis” ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่ได้ใช้อยู่เป็นประจำ หรือใช้อยู่แล้ว แต่ก็เพื่อเป็นความรู้ เป็นข้อมูลให้กับสำหรับคนที่ยังไม่เคยใช้แล้วกันนะค่ะ ก่อนอื่นเรามาสร้างข้อมูลสมมุติใน Excel ก่อนนะค่ะ ในที่นี้ทำการสร้างข้อมูลตารางการออกกำลังกาย และการพักผ่อน ในเดือนมีนาคมกันค่ะ ตามข้อมูลในรูปนะค่ะ การใช้ Quick Analysis ในชุดคำสั่ง “Text”ตั้งโจทน์กันก่อน เราจะมาหา Record ที่มีคำที่สนใจกันนะค่ะสามารถทำได้โดย เลือกช่วงของข้อมูลที่ต้องการright click >> ทำการ right click >> เลือก Quick Analysis เลือก Formatting >> เลือก Text จะปรากฎหน้าจอ เพื่อให้กำหนดเงื่อนไขFormat cell that contain the text : ให้ระบุคำที่ต้องการหา ในที่นี้ระบุ “Run”with : เป็นการดำเนินการ กรณีที่พบข้อมูลตามที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก “Yellow Fill with Dark Yellow Text”จากนั้นกดปุ่ม “OK” เพื่อยืนยันเงื่อนไขที่ระบุ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นดังนี้ ข้อมูลที่มีคำว่า “Run” อยู่ก็จะมีพื้นเป็นสีเหลือง ง่าย ๆ ใช่ไม๊ค่ะ สำหรับในชุดคำสั่ง “Formatting” ก็ยังมีคำสั่งอีกนะค่ะ ได้แก่Duplicate : หา Record ที่มีข้อความซ้ำกับกันUnique : หา Recored ที่มีข้อความไม่ซ้ำกับ Record อื่นEqual To : หา Record ที่มีข้อความเหมือนกับคำที่ต้องการค้นหา ซึ่งจะคล้ายกับคำสั่ง “Text” ต่างกันที่ คำสั่ง “Equal To” จะต้องเหมือนเท่านั้น แต่ “Text” คือมีคำที่ต้องการอยู่ในข้อความ เอาแบบเริ่มต้นกันแค่นี้ก่อนนะค่ะ วันหลังจะมาบรรยายในชุดคำสั่งต่อไปให้ดูกันอีกนะค่ะ….ติดตามชมกันนะค่ะ

Read More »

การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 4 : การวางแผนงาน)

จาก บทความ “การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 3 : ขั้นตอนการคัดเลือกความต้องการ และความหมายของ State)” ทำให้เราทราบแล้วว่าในรอบการพัฒนา (Sprint) เราจะต้องดำเนินการตามความต้องการ หรือ Backlog item ใดบ้างแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาดูเรื่องการกำหนดทรัพยากรบุคคล และมอบหมายงานต่อไป ขั้นตอนการกำหนดทรัพยากรบุคคล ที่จะมาทำโครงการ เป็นขั้นตอนของการสร้าง Team และการเลือกคนเข้ามาอยู่ในทีมนั้นเอง ซึ่งแต่ละโครงการทีมงานอาจจะเป็นคนละคนกันได้ ในการสร้าง Team และกำหนดบุคลากร สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังนี้ จาก TFS เลือก หมายเลข 1 ตามรูปที่ 1 รูปที่ 1 ทำการสร้าง Team โดยทำตามขั้นตอนตามรูปที่ 2 รูปที่ 2 จะปรากฎหน้าจอ เพื่อให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูล Team ที่จะสร้าง ดังรูปที่ 3 รูปที่ 3 โดย หมายเลข 1 คือ ชื่อของ Team ที่ต้องการเพิ่ม หมายเลข 2 รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Team หมายเลข 3 ประเภทของการตั้ง Team เพื่อจุดประสงค์ ใด โดย TFS มีให้เลือก ดังรูปที่ 4 รูปที่ 4 เมื่อเราได้ Team แล้ว เราจะมา Add สมาชิก หรือทรัพยากรบุคคล ใน Team ที่สร้าง โดยทำตามขั้นตอน ในรูปที่ 5 รูปที่ 5 จะปรากฎหน้าจอ ดังรูปที่ 6 จากนั้น จะทำการ Add Members หรือสมาชิกในทีม โดยทำตามขั้นตอน ข้อ 1 ในรูปที่ 6 รูปที่ 6 จะปรากฎหน้าจอ เพื่อให้การพิมพ์ชื่อ เพื่อจะ Add Member ดังรูปที่ 7 โดยสามารถ ได้ ทีละหลายๆ คน และทำการ Save changes เพียงครั้งเดียว รูปที่ 7 จากขั้นตอนนี้ เราจะได้สมาชิกในทีมที่จะมาดำเนินการโครงการ หรือทรัพยากรบุคคลที่จะมาทำให้โครงการสำเร็จนั่นเอง ขั้นตอนการกำหนดงานย่อย (Tasks) และมอบหมายงาน จากบทความก่อนหน้า นั้น เราได้มีการสร้างรอบการพัฒนา ที่เรียกว่า Sprint ไว้แล้ว และได้ตกลงกับผู้ใช้เพื่อเลือกความต้องการ หรือ Backlog items ที่จะทำให้แล้วเสร็จในรอบการพัฒนาที่สร้างไว้ ซึ่งจะทำให้เห็นว่ามีความต้องการอะไรบ้างที่จะต้องทำให้เสร็จ จากนี้ Project Manager จะต้องทำการแตกงาน หรือ Task ลงไปว่าในแต่ละ Backlog item แต่ละตัวนั้น จะมีงานย่อย หรือ Task อะไร บ้าง ซึ่ง Project Manager จะต้องวางแผนไว้ และสามารถมาบันทึกใน TFS ได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้   จาก TFS เลือกโครงการที่ต้องการสร้าง Task ย่อย ตามหมายเลข 1 รูปที่ 8 รูปที่ 8 คลิกเลือก ตามรูปที่ 9 เพื่อไปสู่การบันทึก Task รูปที่ 9 เมื่อทำตามขั้นตอนข้างต้น ทำการเลือก Sprint และ Backlog ในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของรูปที่ 10 จะได้หน้าจอเหมือนรูปที่ 10 รูปที่

Read More »