Author: niti.c

  • เล่าเบื้องหลังการสร้าง www.psudev.info

    “กรุงโรมไม่สร้างแค่วันเดียว” ฉันใดฉันนั้นเพื่อให้เครือข่ายนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น (เหล่าโปรแกรมเมอร์) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกิดการร่วมกลุ่มกันอย่างเป็นรูปธรรมกันมากขึ้น จึงมีแนวคิดจะสร้างเว็บไซต์ลักษณะที่เป็นฐานข้อมูลรวบรวมรายชื่อสเหมือนสมุดหน้าเหลือง (เด็กสมัยใหม่อาจจะงง!) www.psudev.info เพื่อเป็นข้อมูลไว้ติดต่อกันสามารถค้นหาได้สะดวก คอนเซปคือต้องพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็ว เป็น https ไม่ต้องเสียค่า cert สามารถออนไลน์ได้ทั่วโลก ไม่มีวันล่ม ไม่ต้องดูแลอินฟา และไม่รอช้าานั่นเริ่มกันเลยครับ…

    (more…)
  • รวมร่าง Windows กับ Linux ใช้งานในเครื่องเดียวกันแบบเนียนๆ

    จุดประสงค์

    สามารถใช้งาน Windows กับ Linux ได้ในเครื่องเดียวกันและในเวลาเดียวกันเหมือนเป็นทองแผ่นเดียวกัน แก้ปํญหา Dev / SysAdmin ส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ Linux เป็นหลักในการทำงานแต่ต้องเผื่อใจต้องทำงานบน Windows ด้วยในบางเวลา เช่น ทำเอกสาร MS Word ไม่ให้เพี้ยน หรือ Adobe PhotoShop หรือโปรแกรมที่ไม่สามารถทำการติดตั้งลงใน Linux ได้ และที่สำคัญคือการทำงานระหว่างสองระบบต้องไหลลื่นและรวดเร็ว ประหยัด กินทรัพยากรน้อย

    หากยังนึกภาพไม่ออก สามารถดูวิดีโอนี้ครับ  Windows 10 + Linux Lite (Seamless) 

    สเปกเครื่อง

    สามารถใช้บน windows 7, 8, 10 แต่ขอให้มี RAM อย่างน้อย 4 GB จะดีมากถ้า RAM 8 GB แต่ในที่นี้จะเป็นการติดตั้งและใช้งาน Linux บน Windows 10 64 bit  

    (more…)
  • วิธีการอัพเกรด php 5.5.9 เป็น php 5.6 (หรือ 7.0) บน Ubuntu 14.04 และวิธีการสลับการทำงานระหว่างเวอร์ชั่น

    บันทึกนี้สืบเนื่องจากต้องการอัพเกรดเวอร์ชั่น php เพื่อให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับสคริปท์ WebApp php เวอร์ชั่นใหม่ที่สูงขึ้น

    คำเตือน! ควรทดลองทำในเครื่อง dev ดูก่อนอย่าทำบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงทันทีเดี๋ยวจะน้ำตาตก
    ควรทดสอบสคริปท์บนเครื่องทดสอบดูว่าสามารถทำงานได้ไม่มีปัญหาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไข
    เพราะตัวผมมั่วจนได้เรื่องบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงจนเกือบแก้ไม่ได้ T_T … มาเริ่มกันเลย (more…)

  • การพัฒนา API อย่างมืออาชีพ และทำไมต้อง RESTful Service

    API คืออะไร?
    API ย่อมาจาก Application Programming Interface คือการพัฒนาโปรแกรมสำหรับเป็นส่วนติดต่อเซอร์วิสของแอพพลิเคชั่น หรือโมดูลต่างๆ เพื่อให้คนภายนอกมาเรียกใช้งาน หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือการเขียนโปรแกรมเพื่อให้บริการสำหรับให้คนอื่นมาเรียกใช้งาน ซึ่งแนวคิดเรื่องการสร้าง API เพื่อการใช้งานก็มีมาอย่างยาวนานแล้ว ยกตัวอย่างเช่นตั้งแต่ที่มีการสร้างระบบปฎิบัติการ (OS) ก็จะมีการติดต่อ API ของไดร์เวอร์อุปกรณ์ฮาร์แวร์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ตามคำสั่งของนักพัฒนา (more…)

  • รีวิวทดลองใช้ฟรี Google Cloud Platform สร้าง Web Server (LAMP)

    1. ไปที่  https://cloud.google.com/ คลิกลงชื่อเข้าใช้และล๊อกอินด้วย gmail (หรือ @psu.ac.th ก็ได้)

    image001

    (more…)

  • แจกฟรี Template สำหรับ Web Application แบบไทยๆ

    แจกฟรี! Template สำหรับ Web Application หน้าตาเว็บแอพแบบไทยๆ เอาไปใช้กันแบบไม่มีเงื่อนไข หลังจากค้นหาดูจากหลายๆ ที่ก็ไม่โดนใจและการนำไปใช้งานไม่เหมาะสมเท่าที่ควร… เลยทำเองซะเลยจากประสบการณ์ คิดว่าหน้ากากแบบนี้เหมาะกับระบบสารสนเทศแบบไทยๆ (แบบทางราชการ) หลังจากการศึกษาและสำรวจรูปแบบมาจากหลากหลายที่

    ส่วนของ source code ที่นำมาใช้และมีการปรับแต่ดังนี้ (จัดเต็ม..เวอร์ชั่นล่าสุด ณ 14/8/2558) (more…)

  • เริ่มต้นใช้งาน Amazon Web Services

    ผู้เขียนขออธิบายเป็นภาษาบ้านๆ ตามความเข้าใจของตนเองจากการได้เข้าร่วมอบรบ AWS Essentials ในงาน WUNCA ครั้งที่ 30 ดังนี้

    Amazon Web Services คือ การบริการเครื่องคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ เช่น Web Server, Database Server, File Server ฯลฯ ซึ่งของบริษัทอเมซอนก็มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ให้บริการในด้านต่างๆ ข้างต้น คือ (more…)

  • ตั้งค่า php ให้แสดงข้อความ error

    อาการปัญหา: นำโค้ดอัพโหลดขึ้นเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์จริง ลองทดสอบการใช้งาน ปรากฎว่าเจอแต่หน้าว่างๆ ขาวๆ

    ตอบ: เซิร์ฟเวอร์ปิดการทำงานการแสดงผลข้อความ error ต่างๆ ของ php เพื่อความปลอดภัย ต้องทำการเปิดก่อนที่ php.ini มีขั้นตอนดังนี้

    (more…)

  • แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict) ระหว่างปลั๊กอิน JS

    ปัจจุบันมีปลั๊กอิน (Plug-in)  จาวาสคริปมากมาย ที่ช่วยให้การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย สามารถสร้างลูกเล่นและความสามารถต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงแรงเขียนโค้ด ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานได้อย่างมาก

    เฟรมเวิร์ก (Framework) จาวาสคริปที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งอย่าง Jquery ที่มีปลั๊กอินให้เลือกใช้อย่างมากมายที่เป็นนิยมกันมากและถูกใช้เฟรมเวิร์กพื้นฐานในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเป็นส่วนใหญ่ แต่หากเรามีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกับเฟรมเวิร์กตัวอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งการทำงาน (Conflict) ระหว่างเฟรมเวิร์กหรือปลั๊กอินได้

    สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความขัดแย้งคือ การที่ชื่อตัวแปรหรือฟังก์ชัน ในโค้ดโปรแกรมระหว่างปลั๊กอินซ้ำและเหมือนกัน ทำให้โปรแกรมเกิดความสับสนและทำให้ปลั๊กอินไม่ทำงาน วิธีการแก้ไขคือเข้าไปไล่โค้คเพื่อเปลี่ยนชื่อตัวแปรใหม่ หรือเลือกใช้ปลั๊กอินตัวใดตัวหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่สุด

    หากมีความจำเป็นต้องใช้เฟรมเวิร์กหรือปลั๊กอินจากหลายๆ ค่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจริงๆ ผมก็ลองค้นหาวิธีการที่เป็นสูตรสำเร็จแล้วไม่พบว่ามีวิธีการที่ใช้ได้อย่างชัดเจน หากผู้อ่านท่านทราบวิธีการที่ดีกว่านี้ก็แลกเปลี่ยนกันได้ครับ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ใช้อยู่ก็มีวิธีการเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปแล้วและมีอีกวิธีการเลือกหนึ่งคือ การคัดกรองให้ใช้น้อยที่สุด (Customize) โดยก่อนที่จะดาวน์โหลดปลั๊กอินมาใช้ ซึ่งปลั๊กอินส่วนใหญ่จะมีเมนุที่ชื่อ JavaScript components ให้เลือก

    เทคนิคก็คือเลือกเอาออกให้หมด แล้วคลิกเลือกเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น ซึ่งเราจะทราบได้โดยการนั่งไล่ชื่อ JavaScript components ระหว่างทั้งสองเฟรมเวิร์กโดยให้ยึดเฟรมเวิร์กตัวใดตัวหนึ่งไว้เป็นตัวทำงานหลัก ยกตัวอย่างที่ผมเคยใช้คือ Jquery Easy UI กับ  Bootstrap ผมจะยึด Jquery Easy UI เป็นตัวทำงานหลัก และปิดการทำงาน JavaScript components ของ Bootstrap  จากหน้าลิงค์นี้ (Customize and download) โดยเอาออกทุกตัวและเลือกกลับเข้าไปใหม่ที่คิดว่าจะทำไม่ให้เกิด Conflict (จุดสังเกตคือชื่อฟังก์ชัน)

    หวังว่าเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยแก้ไขปัญหาการ Conflict ให้กับเหล่า web dev ได้บ้างนะครับ

    สวัสดี ^^