Author: napass.k

  • การนำเข้า Web Map Services บนโปรแกรม ArcGIS

    จากคราวก่อนเคยพูดถึง การนำเข้า Web Map Service บน Google Earth มาแล้ว วันนี้จะขอนำเสนอ การนำเข้า Web Map Services (WMS) บนโปรแกรม ArcGIS กันบ้าง

    ปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

    ข้อดีของ WMS ที่เห็นได้ชัดคือ

    1. เจ้าของข้อมูลไม่ต้องเผยแพร่ shape file (ซึ่งหลายๆท่านอาจจะได้มาซึ่งความยากลำบากในกระบวนการทำงานกว่าจะได้ข้อมูลนั้นมา) แต่สามารถเผยแพร่ให้สาธารณะทราบได้ว่า เรามีข้อมูลนี้อยู่นะ ถ้าอยากได้ข้อมูลดิบ ก็ติดต่อหรือเจรจาเรื่องค่าเหนื่อยกันหลังไมค์ >*<
    2. ผู้นำไปใช้ ก็ไม่ต้องคอยอัพเดทข้อมูล เพราะทุกครั้งที่ต้นทางเจ้าของข้อมูลอัพเดทข้อมูล ข้อมูลเราก็จะอัพไปด้วย สบายยยยย

     

    *** หากยังไม่มีโปรแกรม ArcGIS for Desktop ก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี 60 วัน นะคับ ดูวิธีการติดตั้งได้ที่ การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    วิธีการนำ WMS ไปใช้กับโปรแกรม ArcGIS for Desktop

    1. Copy WMS ลิงค์ที่ได้จากเว็บไซต์ **ตัวอย่างจากเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th01.1

    2. เปิดโปรแกรม ArcMap > เปิด ArcCatalog > ดับเบิ้ลคลิก Add WMS Server

    01

    3. past ลิงค์ที่ copy มาจากเว็บที่ URL > คลิกปุ่ม Get Layers ระบบจะแสดงชั้นข้อมูลขึ้นมา > คลิกปุ่ม OK

    02

    4. ที่ Catalog จะปรากฏข้อมูล WMS ที่ได้เพิ่มไปเมื่อสักครู่นี้

    04

    5. คลิกเม้าส์ค้าง (drag mouse) ลากชั้นข้อมูลมาวางที่พื้นที่งาน จะปรากฏการแสดงผลของชั้นข้อมูล ซึ่งจะเป็น Layer หนึ่งของโปรเจ็คงาน

    05

    6. เสร็จ ^^

     

    ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    ArcGIS

    ArcGIS for Desktop เป็นซอฟต์แวรด้าน GIS สำหรับการสร้าง แก้ไข วิเคราะห์ จัดเก็บ และแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ช่วยใช้ในการตัดสินใจ เพื่อประหยัดงบประมาณ เวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

    ในการติดตั้งนี้จะเป็นแบบ Trial version ซึ่งจะมีอายุการใช้งานได้ 60 วัน หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้

    * สามารถติดตั้งได้ทั้งคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook
    * การสมัครเพื่อขอรับรหัส EVA จะได้เพียง 1 account ต่อ 1 email ต่อการใช้งาน 60 วัน

    ความต้องการของระบบขั้นต่ำ

    1. ระบบปฏิบัติการ windows 64 bit
    2. CPU Minimum: Hyperthreaded dual core*
      Recommended: Quad core*
    1. RAM Minimum: 4 GB
      Recommended: 8 GB
      Optimal: 16 GB
    1. VGA 24-bit color
      Minimum: DirectX 9 (OpenGL 2.0)—compatible card with 512 MB RAM**
      Recommended: DirectX 11 (OpenGL 3.2)—compatible card with 2 GB RAM**
      Optimal: DirectX 11 (OpenGL 4.4)—compatible card with 4 GB RAM**
    1. Visualization cache up to 32 GB of space
    2. Disk space Minimum: 4 GB
      Recommended: 6 GB or higher
    1. Software Microsoft .NET Framework 4.5.1
      Internet Explorer 11

    การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS

    1. เปิดหน้าเว็บไซต์ http://www.esri.com/software/arcgis/arcgis-for-desktop/free-trial
    2. กรอกข้อมูล > คลิกปุ่ม Start Trial เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม
      01
    1. ระบบส่งอีเมล์ของผู้สมัคร ให้เช็คอีเมล์แล้วทำการ Active เพื่อ set password ในการเข้าสู่ระบบ ArcGIS Online
      02
    2. เมื่อเช็คอีเมล์จะพบเมล์ใหม่ subject: Esri – Activate Your Free ArcGIS Trial ให้คลิกที่ลิงค์ เพื่อทำการ Active บัญชีผู้ใช้
      03
    1. เมื่อคลิก Active ลิงค์ในเมล์แล้ว จะเปิดหน้าต่างเว็บขึ้นมาเพื่อให้กรอกข้อมูลสำหรับการสร้างบัญชีผู้ใช้
      04
    2. คลิกปุ่ม บันทึกและดำเนินการต่อ
      05
    1. เสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียน > คลิกปุ่ม ใช้แอพ
      06
    2. เข้าสู่หน้าเว็บสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ให้คลิกดาวน์โหลด ArcMap และ
      ทำการ copy หมายเลขแสดงสิทธิ์การอนุญาตใช้งาน ArcMap เก็บไว้
      07
    3. รอการดาวน์โหลดไฟล์
      08
    1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ ArcGIS_Desktop_104_exe เพื่อติดตั้งโปรแกรม
      09
    2. คลิกปุ่ม Next
      10
    1. คลิกปุ่ม Close และทำเครื่องหมายเลือก Launch the setup program เพื่อเริ่มติดตั้ง
      11
    1. คลิกปุ่ม Next
      12
    1. เลือก I accept the license agreement แล้วคลิกปุ่ม Next
      13
    1. เลือกติดตั้งแบบ Complete แล้วคลิกปุ่ม Next
      14
    1. คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ
      15
    1. ติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop เสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม Finish
      19
    1. จะปรากฏหน้าต่างสำหรับการ Authorize ขึ้นมาก

    เลือก Advanced(ArcInfo) Single Use แล้วคลิกปุ่ม Authorize Now
    20

    1. เลือก Authorize with Esri now using the Internet แล้วคลิกปุ่ม Next
      21
    2. ใส่ข้อมูลตามที่เคยสมัครผ่านเว็บไว้ก่อนหน้านี้ แล้วคลิกปุ่ม Next
      22
    1. เลือกใส่ข้อมูลตามรูปภาพ แล้วคลิกปุ่ม Next
      23
    2. จะปรากฏหน้าต่างให้ใส่รหัส ซึ่งได้จากการสมัครสมาชิกไว้แล้วก่อนหน้านี้ โดย Esri จะส่งรหัสนี้ให้ทางอีเมล์
      จากนั้นทำการ copy ไปวางไว้ในช่อง แล้วคลิกปุ่ม Next
      24
    1. เลือก I do not want to authorize any extensions at this time > คลิกปุ่ม Next
      25
    1. คลิกปุ่ม Next
      26
    1. รอการตรวจสอบ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องทำการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต
    2. การตรวจสอบผ่านและเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Finish
      28
    1. จะปรากฏหน้าต่าง ArcGIS Administrator ขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม OK
      29
    2. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปิดโปรแกรม ArcMap4 > เลือกเมนู Customize > Extensions..
      30
    1. ทำเครื่องหมายเลือกทุก extensions เพื่อเป็นการเปิดใช้ Extensions ในโปรแกรม > คลิกปุ่ม Close
      31
    2. เสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop
      32

    *** ส่วนวิธีการใช้งาน ก็สามารถค้นหาได้ใน google นะคับ ^^
    *** หรือสามารถติดต่อขออบรมวิธีการใช้งานโปรแกรม ArcGIS ได้ที่ศูนย์ GIS มอ. ก็ได้เช่นกันนะคับ (http://www.rsgis.psu.ac.th เมนู บริการวิชาการ)
    *** หรือจะลงทะเบียนเรียน(รายวิชาสำหรับ ป.โท) ก็ได้เช่นกันนะคับ ^^

     

    อ้างอิง

    • http://www.esrith.com/
  • การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

    จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ
    วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

     

    WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น

    ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)

     

    ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS

     

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    *** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

     

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/

    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    01

    3. เปิดโปรแกรม Google Earth

    4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ

    • คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ
    • คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ
    • คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน

    02

    5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS

    03

    6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง

    04

    7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม ->

    05

    8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง

    06

    9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง

    07

    10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป

    08

    *** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง

    จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น

    ___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น หน่วยงานท่านล่ะคับ มีอะไรที่อยากจะมาแชร์บ้าง? หรืออยากแชร์แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร? คราวหน้าจะมาเขียนวิธีการทำ WMS เพื่อการเผยแพร่ให้นะคับ ^^

     

    สวัสดี—-

  • การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server

    จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA

    มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ

    2016-02-14_17-51-55

    ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ

    1. การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop
    2. การสร้าง Services บน ArcGIS Server
    3. การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/
    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    00

    3. เปิดโปรแกรม ArcGIS Desktop > เปิด Catalog > คลิก GIS Server > Add WMS Server

    01

    4. วางลิงค์ที่ได้จากเว็บ ที่ช่อง URL แล้วคลิกปุ่ม Get Layer

    http://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/wms/c6/?SERVICE=WMS&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetMap&LAYERS=fires24&width=1024&height=512&BBOX=-180,-90,180,90&&SRS=EPSG:4326

    02

    5. จะปรากฏชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม OK

    03

    6. Catalog จะแสดง WMS จากนั้นลากข้อมูลวางไว้ตรงพื้นที่งาน

    04

    7. แสดงจุดความร้อน โดยมีชั้นข้อมูลแบบ 24 ชม. และ 48 ชม.

    05

    8. เปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูล เพื่อเข้าใจง่ายต่อการแสดงผ่านเว็บ

    06

    9. เพิ่มข้อความในแผนที่เพื่อให้เครดิตเจ้าของข้อมูล โดยคลิกที่เมนู Insert > Text

    07

    10. พิมพ์ Power by Firms Group of NASA แล้วปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของข้อความ

    08

    11. จากนั้นทำการ Save ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    12. ต่อไปเป็นขั้นตอนการสร้าง web map application โดยเปิด ArcGIS Server Manager

    13. ทำการสร้าง Services โดยคลิกที่ Services > Manager Services > Publish a GIS Resource

    09

    14. แท็บ General ใส่ชื่อ service ตรงช่อง Name :  ในที่นี้ใช้ชื่อ hotspot2016

    10

    15. แท็บ Parameters ตรง Map Document: ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ในโปรแกรม ArcGIS ในที่นี้ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    11

    16. แท็บ Capabilities กำหนดค่าตาม default

    12

    17. แท็บ Pooling ปรับตัวเลขให้เป็น 10 ตรงช่อง Maximum number of instances > คลิกปุ่ม Save and Restart

    13

    18. เมื่อได้สร้าง Services แล้ว ต่อไปทำการสร้างเว็บ ด้วยการคลิกที่ Applications >
    Create Web Application

    14

    19. ตั้งชื่อเว็บเป็น Fire ซึ่งจะเป็นชื่อเว็บสำหรับการเผยแพร่

    15

    20. แท็บ Layer เพื่อเลือก Services ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ คือ hotspot2016 > คลิกปุ่ม Add

    16

    21. เพิ่ม Layer แผนที่ฐาน (Basemap) เพื่อเป็นพื้นหลังของแผนที่ โดยมี 2 Layers ที่แสดงเป็นแบบ Roads และ Aerial with labels > จากนั้นคลิกปุ่ม Add

    17

    22. จะปรากฏชั้นข้อมูล (Layers) ตามที่ได้เลือกไว้ โดยทำการเปลี่ยนชื่อ Layer เพื่อให้เข้าใจง่ายในการแสดงผล

    18

    23. ทำการตั้งค่าการแสดง scale ของแผนที่ด้วยการคลิกปุ่ม Define… ตามรูป

    19

    24. ปรับขนาดการแสดงผลหน้าจอตามต้องการ ในที่นี้ปรับให้พอดีกับประเทศไทย > คลิก OK

    20

    25. ปรับแต่งชื่อเรื่องเว็บและ web links > คลิกปุ่ม Finish

    21

    26. จะปรากฏ web application ที่ได้ทำการสร้างไว้ ในที่นี้จะเป็น http://servername/fire

    22

    27. คลิกที่เว็บลิงค์ จะปรากฏหน้าต่างเว็บขึ้นมา ดังรูป

    23

    28. หากเผยแพร่แล้วจะเป็น http://slb-gis.envi.psu.ac.th/fire

    2016-02-14_17-51-55

    *** ยาวนิดนะคับ พอดีทำรายงานเลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Web Map Application และสำหรับใครหลายๆคนที่อาจจะยังมองไม่ออกว่า เอ??? GIS Web Map นี่เขาทำกันอย่างไร?

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

    *** ข้อดีของ ArcGIS Server คือ สะดวก มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แต่การปรับแต่งความสวยงามของเว็บ ยังคงด้อยกว่า Geoserver + OpenLayer ซึ่งเป็น Open source อยู่นะคับ ที่สำคัญคือ ต้องซื้อ license ในราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • การ Save ภาพแผนที่จาก Google Earth เป็นภาพละเอียดคุณภาพสูง

    วันนี้มาแบบ clip vdo เนื่องด้วยเวลาอันจำกัดในการนำเสนอ ไม่อยากจะพูดเลยว่า “งานยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกก” แต่ก็ไม่อยากดองความรู้นี้ไว้ 555+

    ….. จริงแล้ว Google Earth Pro สามารถ save ภาพแผนที่ขนาดความละเอียดสูงได้ แต่ด้วยโปรแกรม Google Satellite Maps Downloader นี้ จะสามารถเลือก save พื้นที่ขนาด(area)ที่กว้างขึ้นได้ โดยจะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับนัก GIS ที่จะนำภาพนี้ไปใช้งานต่อ โดยการทำ GCP (Ground Control Point / การฝังค่าพิกัดในแผนที่) เพื่อใช้ในการแปลภาพถ่ายหรืองานอื่นๆ ต่อไป

    *** สามารถนำไฟล์นี้ไปสั่งพิมพ์โปสเตอร์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ได้ตามร้านพิมพ์ไวนิลหรือโปสเตอร์ก็ได้เช่นกันนะคับ

    ไฟล์ที่ได้จากการ save ภาพแผนที่ด้วยโปรแกรมนี้ คลิกที่นี่ (49.8MB)

    หากมีโอกาส จะนำเสนอการทำ GCP จากภาพที่ได้จากการ save นี้ ด้วยโปรแกรม QGIS นะคับ

    ** โปรแกรมสามารถหา download ได้จากการค้นหาใน Google นะคับ “Google Satellite Maps Downloader”

  • การวัดระยะทางบน Google Earth

    จากบทความที่แล้ว การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ. ทำให้สามารถมองเห็นภาพพื้นที่ห้ามฯ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ยังคงมีหลายๆท่านอยากรู้ว่าร้านนี้ ร้านนั้น จะอยู่ในเขตโซนนิ่งหรือเปล่า? วันนี้เลยมานำเสนอวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบด้วยตัวเอง ด้วยการวัดระยะทางจากสถานศึกษา ไปยังร้านที่เราสงสัยว่าจะอยู่ในข่ายโซนนิ่งหรือไม่?

    ขั้นตอน

    1. เปิดโปรแกรม Google Earth ถ้ายังไม่ได้ติดตั้งคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม
    2. จากประกาศสำนักนายกฯ ในข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณซึ่งอยู่ในระยะ 300 เมตร จากรั้วหรือแนวเขตของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ฉะนั้นเราต้องสร้างขอบเขตสถานศึกษาก่อน (ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้)
    3. คลิกไอคอน เพิ่มรูปหลายเหลี่ยม > คลิกลงบนแผนที่ที่เป็นขอบเขตสถานที่ > กำหนดให้พื้นที่เป็นแบบโปร่งแสง เพื่อแสดงเฉพาะเส้นขอบเขต > คลิก ตกลง
      01
    4. จากนั้นจะเริ่มทำการวัดระยะทาง โดยคลิกที่ไอคอนไม้บรรทัด > กำหนดหน่วยระยะทางเป็น เมตร
      02
    5. คลิก 1 ครั้งที่จุดเริ่มต้นบริเวณแนวเขตสถานศึกษา > คลิก 1 ครั้งที่จุดปลายทางสถานบันเทิงที่ต้องการตรวจสอบ จะเห็นว่า pop-up แสดงระยะทาง
      03
    6. หากต้องการไปตรวจสอบจุดต่อไป ให้คลิกปุ่ม ล้าง เพื่อลบเส้นระยะทางที่ได้ทำไว้เมื่อสักครู่นี้
      04
    7. (เสริม) หากต้องการวัดระยะทางโดยการใช้เส้นที่ประกอบด้วยจุดที่มากกว่า 2 จุด ให้ใช้แท็บ เส้นทาง ซึ่งลักษณะการวัดระยะทางจะเหมือนกับข้อ 5
      05

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านในการนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ นะคับ ^^

  • การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ.

    ตอนนี้เป็นกระแสที่กำลังมาแรงเรื่องการจัดระเบียบสถานบันเทิงหรือสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้บริเวณสถานศึกษา วันนี้เลยจะนำเสนอการทำ buffer 300 เมตร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ.2558 โดยห่างจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อเราได้ตรวจเช็คว่า ร้านหรือสถานบันเทิงใดบ้างที่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามฯ*

    * ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ

    โดยใช้ basemaps จากบทความที่แล้ว การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

    ขั้นตอน

    1. เปิดโปรแกรม QGIS > นำเข้าขอบเขต มอ. ด้วยคำสั่ง Add Vector Layer > เลือก shape file ขึ้นมา
      01
    2. จะปรากฏ Layer หรือชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ มอ. ขึ้นมา
      02
    3. นำเข้าแผนที่ Google Satellite ด้วยการคลิกที่เมนู Web > OpenLayers plugin > Google maps > Google Satellite*
      *หากไม่มีเมนูนี้ ให้ทำการติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGISS
      03
    4. ตอนนี้ในหน้าจอโปรแกรม QGIS ก็จะมี 2 Layers ที่เป็นแผนที่ Google และเส้นขอบเขตพื้นที่บริเวณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
      04
    5. คลิกเลือก Layer ที่เป็นขอบเขตพื้นที่ มอ. เพื่อที่จะทำ Buffer หรือระยะห่างจากมอ.ในรัศมี 300 เมตร > Vector > Geoprocessing Tools > Buffer(s)
      05
    6. เลือก input vector layer > กำหนดระยะห่าง(buffer distance) ใส่ 300 (หน่วยเป็นเมตร) > กำหนด output shapefile > คลิกปุ่ม OK
      06
    7. จะมี layer เพิ่มขึ้นมา โดยจะเป็นพื้นที่ buffer 300 m.
      07
    8. ปรับให้เป็นพื้นที่โปร่งแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นแผนที่ google ด้านหลัง
      08
    9. จะได้เส้นขอบเขตพื้นที่ buffer 300 เมตรของบริเวณพื้นที่ มอ.
      จากนั้นทำการ save as เป็น .kml เพื่อไปนำเข้าที่ Google Maps ด้วยการคลิกขวาที่ Layer > Save As..
      10
    10. เลือก format เป็น KML > เลือกที่เก็บไฟล์สำหรับการ Save as > คลิก OK
      11
    11. เปิดเว็บ google.co.th/maps หรือ maps.google.co.th > คลิกที่ไอคอนหน้าช่อง ค้นหา
      12
    12. เลือก My Maps หรือ แผนที่ของฉัน
      13
    13. คลิกไอคอน สร้าง
      14
    14. จะมีเลเยอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา > คลิก นำเข้า > เลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของคุณ
      15
    15. เลือกไฟล์ kml ที่ได้จากข้อ 10 > Open
      16
    16. จะปรากฏ layer เส้น buffer 300 เมตร ขึ้นมาบนแผนที่
      17
    17. แก้ไข/เปลี่ยนชื่อแผนที่ และใส่คำอธิบายแผนที่ โดยการ copy ข้อความมาจากเว็บ http://www.matichon.co.th เพื่อแสดงข้อความประกาศฯ
      18
    18. ปรับแต่งพื้นที่ให้มีสีที่โปร่งแสง เพื่อให้มองภาพพื้นที่ง่ายขึ้น
      19
    19. แผนที่จะแสดงขอบเขตห้ามฯชัดเจน โดยในแผนที่จะมีสถานที่/ร้านอาหาร/สถานบันเทิง ที่ในเขตห้ามฯ และนอกเขตห้ามฯ
      20
    20. เพิ่ม layer ขอบเขตพื้นที่ มอ. เข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นพื้นที่มอ. และพื้นที่ห้ามฯ
      21
    21. เมื่อปรับแต่งแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ share แผนที่เป็นแบบ Public (แบบสาธารณะ ทุกคนสามารถเห็น ค้นหา และเข้าถึงแผนที่นี้ได้) > คลิก บันทึก
      22
    22. ลองเปิดแผนที่ดูนะคับ ^^

    ***เพื่อความถูกต้องที่สุดของข้อมูล จะต้องทำ buffer สถานศึกษาทั้งหมด เพื่อดูพื้นที่คาบเกี่ยวหรือซ้อนทับกันของ buffer คับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หรือแสดงข้อมูลต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นบน Google Maps นะคับ

    ที่มาข้อความข่าว : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437545597
    ที่มา shapefile ขอบเขตพื้นที่มอ. : สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

    Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS)

    วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย

     

    *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^

     

    ขั้นตอน

    1. เปิดโปรแกรม QGIS 2.8 หรือทำการติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.8
    2. เมนู Plugin > Manage and Install Plugins…
      02
    3. เลือก OpenLayersPlugin > คลิก Install plugin
      03
    4. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็นว่าหน้า OpenLayers Plugin มีไอคอนสีฟ้าและเครื่องหมายกากบาท
      04
    5. เปิดการใช้งานโดยคลิกที่เมนู web Openlayers plugin > Google Maps > จะมีให้ชนิดของแผนที่ให้เลือก คลิกเลือก Google Satellite
      05
    6. จะมี Layer Google Satellite เพิ่มขึ้นมาตรงด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในพื้นที่งานจะยังไม่เห็นแผนที่ จะต้องทำการ add layer (ชั้นข้อมูล) ขึ้นมา ในตัวอย่างจะ add vector layer แผนที่ประเทศไทยขึ้นมา
      06
    7. จะมี layer เพิ่มขึ้นมาด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งจะซ้อนทับอยู่กับ Google Satellite Layer
      07
    8. ทำการปรับค่าให้แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสง เพื่อจะได้มองเห็น Layer ที่เป็น google maps
      08
    9. จะเห็นว่า แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสงแล้ว เห็นแต่เส้นขอบเขตการปกครอง
      09
    10. ลอง Zoom ใกล้ๆ ตรงบริเวณตึก LRC โดยแถบสถานะด้านล่างจะแสดงแผนที่มาตราส่วน (scale) เป็น 1:300 ( ความหมายคือ ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดรูปได้ เท่าไร ความยาวจริงก็จะยาวกว่าที่วัดได้ 300 เท่า)
      10

    จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย

    ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^

    สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS

    ครัั้งหน้าจะนำเสนอการสร้างข้อมูลบน‬ QGIS เพื่อนำไปใช้ใน Google Earth และ Web Map นะคับ ^^

  • การตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เบื้องต้นด้วยตัวเอง

    ตอนนี้มีประเด็นข่าวร้อนแรงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่าและการใช้พื้นที่ผิดประเภทของรีสอร์ท แห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ โดยประเด็นเด่นคือ สนามแข่งรถ ถูกตรวจพบว่า เป็นที่ดิน ส.ป.ก. ที่ใช้พื้นที่ผิดประเภทของการให้เอกสารสิทธิ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เขามีการตรวจสอบกันอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ GIS ไม๊? วันนี้เลยขอนำเสนอแบบคร่าวๆ พอให้ได้เห็นภาพกันนะคับ ว่าเขาดูและตรวจสอบกันอย่างไร

    หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่สุด ควรตรวจสอบที่หน่วยงานราชการที่ให้บริการ

    หลักการ คือ การนำชั้นข้อมูล (Layer) ในแต่ละข้อมูล มาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อแสดงผล ในตัวอย่างจะประกอบด้วย 3 ชั้นข้อมูลคือ ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) , ชั้นข้อมูล พื้นที่สปก. และชั้นข้อมูล เขตป่าสงวน

    มีขั้นตอนดังนี้

    1. เปิดหน้าเว็บ dsi-map > เลือกพื้นที่ที่ต้องการจะตรวจสอบ
    01

    ลองขยายชัดๆ จะเห็นสนามแข่งรถได้อย่างชัดเจน
    02

    2. ติ๊กถูกที่เลเยอร์ พื้นที่สปก. > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีขาวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ส.ป.ก.
    *** ตามภาพคือ สนามแข่งรถอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. แน่ๆ

    03

    3. ลองคลิกดูที่เลเยอร์ เขตป่าสงวน > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีเขียวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ป่าสงวน
    04

    4. ลองคลิกเลือกทั้ง 2 เลเยอร์ พร้อมกัน คือ พื้นที่สปก. และ เขตป่าสงวน
    05

    นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มาประยุกต์ใช้ด้านบริหารเขตพื้นที่และการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งกว่าที่หน่วยงานจะได้เลเยอร์ชั้นข้อมูลนี้มา ต้องมีขั้นตอนต่างๆ มากมายหลายขั้นตอน แต่เพื่อการใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หลายหน่วยงานจึงยินดีที่จะเปิดให้บริการแบบฟรีๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ^^