การวิเคราะห์ข้อมูล (What-if Analysis)

            ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ What-if ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ที่อยู่ใน Excel การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ What-if เป็นการเอาสูตรหรือข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกจากสถานการณ์ต่างๆ โดยมีการวิเคราะห์ 3 แบบ คือ สถานการณ์สมมติ(Scenario), ตารางข้อมูล(Data Table) และการค้นหาค่าเป้าหมาย(Goal Seek) สถานการณ์สมมติและตารางข้อมูลจะรับชุดของค่าข้อมูลเข้า(Input) และประเมินล่วงหน้า เพื่อหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ ส่วนการค้นหาค่าเป้าหมายต่างจากสถานการณ์สมมติและตารางข้อมูลตรงที่ นำผลลัพธ์มาประเมินย้อนกลับ เพื่อหาค่าข้อมูลเข้าที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ 1. การค้นหาค่าเป้าหมาย(Goal Seek)             ปกติเวลาคำนวณเราจะคำนวณตามลำดับ เช่น ยอดขาย–ค่าใช้จ่าย = กำไร แต่ Goad Seek ใช้การระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ(Output) แล้วคำนวณค่าข้อมูลเข้า(Input) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ             ตัวอย่าง1 การคำนวณเงินกู้ ปกติจะคำนวณจากเงินต้น ระยะเวลาที่กู้ และดอกเบี้ย และใส่สูตรด้วยฟังก์ชัน PMT (ดูภาพที่ 1) ซึ่งจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน (ดูภาพที่ 2) ภาพที่ 1 คำนวณอัตราผ่อนชำระต่องวด ภาพที่ 2 จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน   เงื่อนไขที่ 1 : ถ้ามีต้องการผ่อนต่อเดือน 10,000 บาท ในระยะเวลา 10 ปี สามารถใช้ Goal Seek คำนวณให้ได้ว่า จะสามารถกู้เงินได้เท่าไหร่? ไปที่ Data > What-if Analysis > Goal Seek (ดูภาพที่ 3) ภาพที่ 3 เลือกคำสั่ง Goal Seek ในหน้าต่าง Goal Seek (ดูภาพที่ 4) : Set cell – cell ที่จะใช้ตั้งค่า โดยคลิกเลือก cell ที่เขียนสูตรเอาไว้ (ในตัวอย่างนี้คือ B5) To value – ระบุค่าเป้าหมายที่ต้องการ (ต้องการผ่อนเดือนละ 10,000) By changing cell – ระบุ cell ที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงค่าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (จำนวนเงินที่กู้ได้) ภาพที่ 4 กำหนดค่าเป้าหมาย สรุป ถ้าต้องการผ่อนเดือนละ 10,000 เป็นระยะเวลา 10 ปี จะต้องกู้เงินจำนวน 949,363 บาท (ดูภาพที่ 5) ภาพที่ 5 คำตอบที่ได้ของเงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขที่ 2 : ถ้าต้องการกู้เงิน 1,000,000 บาท และผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่? (ดูภาพที่ 6) ภาพที่ 6 กำหนดค่าเป้าหมาย สรุป ถ้าต้องการกู้เงิน 1,000,000 บาท และผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท จะต้องใช้เวลาประมาณ 129 เดือน (ดูภาพที่ 7) ภาพที่ 7 ระยะเวลาผ่อนชำระ(เดือน) 2. สถานการณ์สมมติ(Scenario)             ตัวอย่าง2 เปิดร้านขายเบเกอรี่มีเค้กขายอยู่ 12 ชนิด ในการวิเคราะห์กำไรจากการขาย (ดูภาพที่ 8) อาจแบ่งยอดขายได้หลายกรณี เช่น กรณีขายดี(Best Case), กรณีขายไม่ค่อยดี(Worst Case) และกรณีที่น่าจะเป็น(Most Likely) เป็นต้น

Read More »

What is MongoDB?

       MongoDB เป็น open-source document database ประเภทหนึ่ง โดยเป็น database แบบ NoSQL Database จะไม่มีการใช้คำสั่ง SQL ไม่เน้นในการสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่จะเป็นรูปแบบโครงสร้างที่เจ้าของ NoSQL สร้างขึ้นมาเองและจัดเก็บข้อมูลเป็นแบบ JSON (JavaScript Object Notation) ซึ่งจะเก็บค่าเป็น key และ value โดยจุดเด่นอยู่ที่ความเร็วในการทำงานเป็นหลัก คิวรี่ข้อมูลได้เร็วขึ้น การทำงานในส่วนของ database จะลดลง แต่จะไปเน้นการทำงานในส่วนของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาแทน  โดย database ประเภทนี้ จะเหมาะกับข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ไม่ซับซ้อน การทำงานที่ไม่หนักมาก สามารถทำงานกับระบบที่เป็นการทำงานแบบเรียลไทม์ (Real Time) ได้ดี รูปแบบการจัดเก็บ Collections การเก็บข้อมูล document ใน MongoDB จะถูกเก็บไว้ใน Collections เปรียบเทียบได้กับ Table ใน Relational Database ทั่วๆไป แต่ต่างกันที่ Collections ไม่จำเป็นที่จะต้องมี Schema เหมือนกันก็สามารถบันทึกข้อมูลได้ Schemaless คือ การไม่ต้องกำหนดโครงสร้างใดๆให้มันเหมือน SQL ปกติทั่วไป เช่น Collection User มีเก็บแค่ name ต่อมาเราสามารถเพิ่มการเก็บ position เข้ามาได้เลย ข้อดีของ MongoDB MongoDB เป็น database แบบ Document-Oriented โดยลักษณะการเก็บข้อมูลจะใช้รูปแบบ format เป็น Json Style โดย Row แต่ละ Row ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลเหมือนกัน เช่น MongoDB ใช้ระบบการจัดการ memory แบบเดียวกับ cached memory ใน linux ซึ่งจะปล่อยให้ OS เป็นคนจัดการ Memory ใช้ภาษา javascript เป็นคำสั่งในการจัดการข้อมูล MongoDB เป็น Full Index กล่าวคือรองรับข้อมูลมหาศาลมากๆ สามารถค้นหาจากส่วนไหนของข้อมูลเลยก็ได้ MongoDB รองรับการ เพิ่ม หรือ หด field แบบรวดเร็ว ไม่ต้องใช้คำสั่ง Alter Table read-write ข้อมูลรวดเร็ว write ข้อมูล แบบ asynchronous (คล้าย INSERT DELAYED ของ MyISAM ใน MySQL) คือไม่ต้องรอ Insert เสร็จจริงก็ทำงานต่อได้ MongoDB มี Capped Collection ซึ่งจะทยอยลบข้อมูลเก่าที่เก็บไว้นานเกินไปแล้วเอาข้อมูลใหม่มาใส่แทนได้ จะ clear ข้อมูลที่เก็บมานานเกินไปไว้ให้อัตโนมัติ ข้อมูลไม่โตกว่าที่เรากำหนด ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว สามารถใช้เครื่อง server ที่ไม่ต้องคุณภาพสูงมากแต่แบ่งกันทำงานหลายๆเครื่อง ซึ่งประหยัดงบได้มากกว่าใช้เครื่องคุณภาพสูงเพียงเครื่องเดียว สามารถเขียนเป็นชุดคำสั่งได้ คล้ายๆกับการเขียน PL/SQL   ข้อเสีย ของ MongoDB ถ้า project เก่ามีการ JOIN กันซับซ้อนก็จะเปลี่ยนมาใช้ MongoDB ได้ยาก กินพื้นที่การเก็บข้อมูลมากกว่า MySQL พอสมควร เพราะไม่มี Schema ดังนั้น Schema จริงๆจะอยู่ในทุก row ของฐานข้อมูล ทำให้ข้อมูลใหญ่กว่า MySQL หากใช้งานจน disk เต็ม จะ clear พื้นที่ disk ให้ใช้งานต่อยาก เพราะการสั่ง delete row ไม่ทำให้ฐานข้อมูลเล็กลง ต้องสั่ง compact เองซึ่งต้องมีที่ว่างที่ disk อีกลูกมากพอๆ กับพื้นที่ข้อมูลที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็น buffer ในการลดขนาด หากต้องการใช้งานเป็นฐานข้อมูลหลักแทน

Read More »

ตอนที่ 4 : ใช้ Report Wizard ช่วยสร้างรายงาน

จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการสร้างรายงานว่าสามารถทำได้ 2 แบบ กล่าวคือ สร้างรายงานจากไฟล์ว่างๆ หรือ ใช้ Report Wizard เป็นตัวช่วยสร้างรายงาน ซึ่ง Wizard สามารถออกแบบรายงานเป็นTable หรือ Crosstab ตามรูปแบบที่มีให้เลือก โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ไปที่ Solution Explorer คลิกขวาโฟลเดอร์ Reports > Add New Report จะปรากฏหน้าจอ Report Wizard ดังรูปที่ 1 รูปที่1 Report Wizard 2. คลิก Next เลือก Data Sources เป็นแบบ Shared หรือ Embedded Data Sources ดังรูปที่ 2 รูปที่2 Data Sources 3. คลิก Next เพื่อเขียน query โดยกดปุ่ม Query Builder… จะไปยังหน้าจอ Query Designer รูปที่3 Design Query 4. คลิก Next จะปรากฏหน้าจอให้เลือกว่าจะสร้างรายงานเป็นตาราง (Tabular) หรือ Metrix (สามารถสรุปข้อมูลในลักษณะ Pivot Table) ดังรูปที่ 4 รูปที่4 Report Type  5. คลิก Next เพื่อมาออกแบบตาราง ผู้ใช้จะต้องเลือก fields ที่อยู่ใน Available fields มาใส่ใน Displayed field ในที่นี้จะจัดกลุ่มข้อมูล (Group) ตาม CAMPUS_ID, FAC_ID, DEPT_ID และ fields อื่นๆจะแสดงในส่วนของ Details รูปที่5 Design Table 6. คลิก Next เพื่อเลือกรูปแบบการจัดวางข้อมูล (Layout) และคลิกเลือก Include subtotals เพื่อรวมข้อมูลในระดับที่ได้ Group ไว้ในข้อที่แล้ว (CAMPUS_ID, FAC_ID, DEPT_ID) และคลิก Next เพื่อเลือก Style ดังรูปที่ 6 รูปที่6 Table Layout & Style 7. คลิก Next จะเห็นช่อง Report name: ให้ตั้งชื่อรายงาน และกดปุ่ม Finish จะได้รายงาน ดังรูปที่ 7 รูปที่7 ตัวอย่างรายงาน        จากการทดลองสร้างรายงานโดยไฟล์ว่างเปล่ากับใช้Wizard เป็นตัวช่วยสร้างรายงาน พบว่า Wizard สามารถทำให้งานง่ายขึ้นได้ ซึ่งรูปแบบที่มีให้เลือกอาจจะยังไม่ถูกใจผู้ใช้ก็ค่อยมาปรับกันในทีหลังได้ เช่น Format จำนวนเงิน, ใส่ Header / Footer, ใส่ Expression ใน Textbox… ส่วนในเรื่องการคำนวณจะเป็นการรวมข้อมูลแบบตรงไปตรงมา หากผู้ใช้ต้องการการคำนวณที่ซับซ้อนขึ้นก็สามารถทำได้ เช่น อยากได้คอลัมน์ยอดเงินสุทธิ = AMOUNT – AMOUNT_FINE – AMOUNT_VAT เป็นต้น

Read More »

ตอนที่ 3 : สร้างรายงานด้วย Business Intelligence Development Studio (BIDS)

     เครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างรายงาน ได้แก่ Business Intelligence Development Studio (BIDS) และ Report Builder ในตอนที่นี้จะกล่าวถึงการสร้างรายงานด้วย BIDS ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟซ ของ Microsoft Visual Studio เหมาะสำหรับนักพัฒนาที่คุ้นเคยกับ Microsoft Visual Studio ส่วน Report Builder เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างรายงาน เหมาะกับผู้ใช้ทั่วๆไปที่ใช้ในทางธุรกิจเป็นหลัก การสร้างรายงานมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 : Create Report Server Project ไปที่ File > New > Project… ดังรูปที่ 1 จะได้ผลลัพธ์ ดังรูปที่ 2 รูปที่1 Create Report Server Project รูปที่2 Report Server Project Solution ขั้นตอนที่ 2 : Create new report  การสร้างไฟล์รายงาน เราสามารถทำได้ 2 แบบคือ  แบบที่1 สร้างไฟล์รายงานว่างๆ (empty report) ดังนี้  1. จากรูปที่ 2 คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Report > Add > New Item… > เลือก Create a new empty report ดังรูปที่ 3   รูปที่3 Create a new empty report 2. ไปที่หน้าต่าง Report Data (View > Report Data) เพื่อสร้าง Data Sources และ Datasets          – คลิกขวาโฟลเดอร์ Data Sources > Add Data Source… ซึ่งสามารถสร้าง Connection ได้ 2 แบบ คือ           1. Embedded Connection เป็นการฝัง Connection String ไปในตัวรายงาน ดังรูปที่ 4                    รูปที่4 Embedded Connection Properties           2. Use Shared Data Sources Connection ซึ่งผู้ใช้จะต้องไปสร้าง Connection String ไว้ก่อน โดยเข้าไปที่หน้าต่าง Solution Explorer คลิกขวาโฟลเดอร์ Shared Data Sources > Add New Data Source ก็จะเข้าสู่หน้าจอสร้าง Connection ดังรูปที่ 4 ข้อดีของการใช้ Shared Data Sources คือเมื่อมีการเปลี่ยน Connection String สามารถเปลี่ยนที่เดียวไม่ต้องไล่เปลี่ยนทีละรายงาน และ Deploy เฉพาะ Shared Data Sources           3. ไปที่หน้าต่าง Report Data คลิกขวาโฟลเดอร์ Datasets จะปรากฏหน้าต่าง Dataset Properties ดังรูปที่ 5                                   รูปที่5 Dataset Properties

Read More »

การเขียนโปรแกรม JSP เชื่อมต่อ ORACLE

     JSP หรือชื่อเต็มว่า Java Server Page เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา Application ที่ทำงานบนเว็บไซต์ โดยรูปแบบการทำงานจะทำงานคล้ายกับภาษา  ASP ,PHP และ .Net รูปแบบการทำงานจะแตกต่างกันตรงที่ JSP เป็น Subset ของภาษา Java โดยรูปแบบการเขียนนั้นจะใช้รูปแบบคำสั่งและชุด SDK ของ Java และใน JSP จะมีนามสกุลของไฟล์เป็น .jsp โดยการทำงานจะทำงานในรูปแบบของ Server และ Client แสดงผลและโต้ตอบกับ User Interface ผ่าน Web Browser เช่น  IE ,Chrome ,Firefox และอื่นๆ โดยจะสามารถทำงานร่วมกับ Client Tags เช่นพวก HTML / JavaScript / CSS และพวก jQuery ให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ที่สำคัญ JSP สามารถใช้งานได้ฟรี และสามารถรองรับได้ทุก Platform ไม่ว่าจะเป็น Windows ,Linux และ iOS รวมทั้ง Software อื่น ๆ      Oracle เป็น Database ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยติดต่อประสานระหว่างผู้ใช้และฐานข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น เช่น การค้นหาข้มูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลที่ง่ายและสะดวก โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างภายในของฐานข้อมูลก็สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลนั้นได้      เริ่มต้นในการเขียนโปรแกรมที่นิยมการ connect  oracle ด้วย jsp จะใช้การ connect  ด้วย  JDBC โดยในส่วน ภาษา jsp จะสามารถใช้ packet ของ java ที่จะสามารถ import class ของ JDBC มาใช้งานใน  jsp ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเขียน โปรแรกม เพิ่มเติมให้ยุ่งยาก   ขั้นตอนที่ 1 สร้างไฟล์ jsp โดยข้อมูลภายในจะมีsyntax เหมือนกับ HTML แต่ต่างกันที่นามสกุลไฟล์ จะเป็นนามสกุล .jsp <HTML> <HEAD> <TITLE>Simple JSP to Oracle connection Example</TITLE> </HEAD> <BODY> </BODY> <HTML> ขั้นตอนที่ 2 ทำการ import library ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ database oracle ด้วย java.sql.* <%@ page import=”java.sql.*” %> <HTML> <HEAD> <TITLE>Simple JSP to Oracle connection Example</TITLE> </HEAD> <BODY> </BODY> <HTML> ขั้นต้อนที่ 3 สร้างตัวแปลที่ใช้ในการเขื่อมต่อ String strdrive =”oracle.jdbc.OracleDriver”; //driver ของ oracle String url = “jdbc:oracle:thin:@localhost:1521:xe”; //server database String usr = “username”; //user name String pwd = “pwd”; //password ขั้นต้อนที่ 4 สร้าง connection การเชื่อมต่อไปยัง database Connection conn = null; ขั้นตอนที่ 5 ทำการเชื่อมต่อกับ database โดยใช้ ตัวแปลจากข้างต้น <% Connection conn = null; try { Class.forName(strdrive ); conn = DriverManager.getConnection(url, usr, pwd); out.println(“connected….!!”); } catch(Exception e) { out.println(“Exception : ” + e.getMessage() + “”); }

Read More »