สำหรับการติดตั้ง NagiosGraph ต้องทำการติดตั้ง Nagios และ NagiosQL มาก่อนดังนี้
Nagios : http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/23/nagios-ubuntu1404/
NagiosQL : http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/23/nagiosql-ubuntu/
Setup NagiosQL : http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/23/setup-nagiosql-ubuntu/
วิธีการติดตั้ง Nagios Graph
1) ทำการติดตั้งโปรแกรม Perl-GD Perl-RRDs และ Perl-Nagios รวมถึงโปรแกรม rrdtool ดังนี้
sudo apt-get install -y rrdtool libgd-perl librrds-perl libnagios-object-perl
2) ทำการ Download โปรแกรม NagiosGraph ดังนี้
cd /usr/src sudo wget http://downloads.sourceforge.net/project/nagiosgraph/nagiosgraph/1.5.1/nagiosgraph-1.5.1.tar.gz
3) จากนั้นทำการแตกไฟล์ออกมาด้วยคำสั่ง
sudo tar -xvzf nagiosgraph-1.5.1.tar.gz
4) จากนั้นทำการตรวจสอบความพร้อมก่อนติดตั้งด้วยคำสั่ง
cd nagiosgraph-1.5.1 sudo ./install.pl --check-prereq
5) ถ้าไม่มี Error อะไรให้ทำการติดตั้งโดยใช้คำสั่ง
sudo ./install.pl --install
6) Enter ไปเรื่อย ๆ ก็จะเสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้ง (แต่ยังต้องมีการตั้งค่า nagios ต่อไป)
วิธีการตั้งค่า Config nagios เพื่อเปิดใช้งานตัวเก็บ Log
1) ทำการเปิด NagiosQL ขึ้นมา หรือทำการแก้ไขไฟล์ /etc/nagios3/nagios.cfg
2) ทำการแก้ไขไฟล์ของ nagios ให้มาเรียก configuration ของ nagiosql ดังนี้
Tools -> Nagios config -> Nagios main configuration file
3) เพิ่มข้อความบรรทัดสุดท้ายดังนี้
# process nagios performance data using nagiosgraph process_performance_data=1 service_perfdata_file=/tmp/perfdata.log service_perfdata_file_template=$LASTSERVICECHECK$||$HOSTNAME$||$SERVICEDESC$||$SERVICEOUTPUT$||$SERVICEPERFDATA$ service_perfdata_file_mode=a service_perfdata_file_processing_interval=30 service_perfdata_file_processing_command=process-service-perfdata-for-nagiosgraph
4) จากนั้นทำการ Save ข้อมูลและสั่ง Restart nagios ดังรูป
Tools -> Nagios control -> Check Written configuration files
5) เราสามารถตรวจสอบการทำงานได้ดังนี้ (กด Ctrl-C เพื่อยกเลิกการทำงาน)
sudo tail -f /tmp/perfdata.log
6) ถ้ามีการเคลื่อนไหวของข้อมูลถือว่าใช้งานได้
วิธีการตั้งค่า services ผ่าน NagiosQL
1) ทำการแก้ไขข้อมูล Service Template ดังนี้
Supervision -> Service templates
2) ทำการแก้ไข Action URL เพื่อให้สามารถคลิกดูกราฟได้จากหน้า Nagios ดังนี้
Action URL : /nagiosgraph/cgi-bin/show.cgi?host=$HOSTNAME$&service=$SERVICEDESC$
3) ทำการเพิ่ม command ใหม่ดังนี้
Commands -> Definitions
Command : process-service-perfdata-for-nagiosgraph Command line : /usr/local/nagiosgraph/bin/insert.pl
4) จากนั้นทำการ Save ข้อมูลและสั่ง Restart nagios เหมือนเดิม
Tools -> Nagios control -> Check Written configuration files
วิธีการตั้งค่า Apache Site
1) ทำการ copy site config ดังนี้
sudo cp /usr/local/nagiosgraph/etc/nagiosgraph-apache.conf /etc/apache2/sites-available/
2) ทำการ enable site ขึ้นมาดังนี้
sudo a2ensite nagiosgraph-apache
3) เนื่องจากเป็น Apache ใหม่จำเป็นต้องเพิ่ม Require all granted ใน Site config ดังนี้
sudo nano /etc/apache2/sites-available/nagiosgraph-apache.conf
# enable nagiosgraph CGI scripts ScriptAlias /nagiosgraph/cgi-bin "/usr/local/nagiosgraph/cgi" <Directory "/usr/local/nagiosgraph/cgi"> Options ExecCGI AllowOverride None Order allow,deny Allow from all Require all granted # AuthName "Nagios Access" # AuthType Basic # AuthUserFile NAGIOS_ETC_DIR/htpasswd.users # Require valid-user </Directory> # enable nagiosgraph CSS and JavaScript Alias /nagiosgraph "/usr/local/nagiosgraph/share" <Directory "/usr/local/nagiosgraph/share"> Options None AllowOverride None Order allow,deny Allow from all Require all granted </Directory>
3) จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ
sudo service apache2 restart
4) หลังจากนั้นทดสอบเข้า web nagios ดูจะพบว่ามี icon เพิ่มขึ้นมาดังนี้ (อาจต้องรอสักพัก เพราะการสร้าง graph ใหม่จะมีรอบการสร้าง)
– หน้าตาโปรแกรม
จบแล้วครับสำหรับการติดตั้ง NagiosGraph ดีเลยมีทั้ง Monitor มีทั้ง Graph ในตัว เอาไว้ดูยามฉุกเฉินครับ
Comments are closed.