รู้จักเอแจ๊กซ์ (AJAX) และการใช้งาน

AJAX ย่อมาจากคำว่า Asynchronous JavaScript and XML ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่ประมวลผลในเบื้องหลังเป็นเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ความรู้สึกการใช้งานโปรแกรมเหมือนกับเดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน

ปกติแล้วในภาษาสคริปต์ที่ใช้งานกับเว็บไซต์จะมีการทำงานประมวลผลแบบเป็นลำดับ (synchronous) โดยที่คำสั่งแรกจะต้องประมวลผลให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วถึงจะทำงานในคำสั่งถัดไป แต่กระบวนการทำงานแบบเอแจ๊กซ์เมื่อบราวเซอร์ (Browser) ร้องขอข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) บราวเซอร์จะไปทำงานคำสั่งถัดไปทันที (asynchronous) โดยที่ไม่ต้องรอการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ก่อน

ทำให้การตอบสนองต่อผู้ใช้งานดูรวดเร็วขึ้น และเมื่อเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลเสร็จแล้วถึงจะส่งข้อมูลกลับมาที่เอแจ๊กซ์และให้เอแจ๊กซ์ทำงานกับข้อมูลที่ส่งกลับมาอีกทีซึ่งสามารถเขียนโค้คการทำงานดังนี้

ตัวอย่างโค้คการทำงาน AJAX ของโดยใช้ jQuery

$.ajax({
    	type: 'GET',
    	url: 'send-ajax-data.php',
    	dataType: "JSON", // data type expected from server
    	success: function (data) {
           	console.log(data);
    	},
    	error: function(error) {
           	console.log('Error: ' + error);
    	}
});

และปัจจุบันในการเขียน JavaScript เพื่อเรียกใช้งาน AJAX นั้นเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพา jQuery อีกต่อไปแล้วซึ่งสามารถเขียนโค้ดการทำงานได้ดังนี้

วิธีที่ 1  ใช้ XMLHttpRequest [1]

var request = new XMLHttpRequest();
request.open('GET','https://tutorialzine.com/misc/files/my_url.html', true);

request.onload = function (e) {
    if (request.readyState === 4) {

        // Check if the get was successful
        if (request.status === 200) {
            console.log(request.responseText);
        } else {
            console.error(request.statusText);
        }
    }
};

// Catch errors:
request.onerror = function (e) {
    console.error(request.statusText);
};

request.send(null);

วิธีที่ 2 ใช้ Fetch API [2]

fetch('./api/some.json')
  .then(
    function(response) {
      if (response.status !== 200) {
        console.log('Looks like there was a problem. Status Code:' +
 response.status);
        return;
      }

      // Examine the text in the response
      response.json().then(function(data) {
        console.log(data);
      });
    }
  )
  .catch(function(err) {
    console.log('Fetch Error :-S', err);
  });

อ้างอิง:

https://tutorialzine.com/2014/06/10-tips-for-writing-javascript-without-jquery [1]

https://developers.google.com/web/updates/2015/03/introduction-to-fetch [2]

https://www.javascripttutorial.net/javascript-fetch-api/  

วิดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=F1TECaRf-uA&feature=youtu.be&t=2375

2 thoughts on “รู้จักเอแจ๊กซ์ (AJAX) และการใช้งาน”

  1. วิธีที่ 1 มีมาก่อน jquery นะครับ
    แล้วค่อยพัฒนาไปเป็น jqyery

Comments are closed.