ใน part นี้ขอพูดในส่วนของการติดตั้ง heat sink, ประกอบลงใน enclosure และติดตั้ง OS Raspbian ครับ
Heat Sink จำเป็นไหม
โดยส่วนตัวผมว่าจำเป็นครับ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อมีการทำงาน จะก่อให้เกิดความร้อน ความร้อนทำให้เกิดการเสื่อมของอุปกรณ์ และจากการหาข้อมูล พบว่าการติดตั้ง Heat Sink + พัดลม จะทำให้อุณหภูมิของอุปกรณ์ (โดยเฉพาะ CPU และ GPU) นั้นไม่สูงเกินไปครับ (อ้างอิงจาก https://www.youtube.com/watch?v=e6okZKRwnTQ)
Heat Sink อลูมิเนียมสีดำขนาดเล็ก เพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป
ติดตั้งด้วยการใช้เทปกาวสองหน้าแบบนำความร้อน (ติดมากับ Heat Sink) แปะลงไปบนตัว CPU และ GPU ได้เลย
** กรณีที่ไม่มีเทปกาวสองหน้านำความร้อน ให้ใช้กาวซิลิโคน นำความร้อน แทนครับ **
Enclosure หรือกล่อง จำเป็นหรือไม่ ?
บอกเลยว่า ขึ้นอยู่กับบุคคลครับ ซึ่ง Enclosure ก็มีหลายแบบให้เลือกใช้ ทั้งแบบเป็นกล่องเดี่ยวๆ (แบบที่จะแสดงให้ดูนี้), แบบที่เป็น Stack, แบบอลูมิเนียมเพื่อระบายความร้อนแบบ Passive และอีกมากมายครับ ประเด็นคือ เลือกให้ตรงกับความต้องการดีกว่าครับ ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นระเบียบและเรียบร้อยของอุปกรณ์นั่นเองครับ
ผมเลือกใช้เคสที่เป็นอะคริลิค พร้อมช่องพัดลม เพื่อติดตั้งไว้ระบายความร้อนของ Heat Sink อีกทีนึงครับ
ประกอบเรียบร้อยพร้อมติดตั้งพัดลมครับ
** ผมติดตั้งพัดลมแบบดูดเข้านะครับ เพื่อให้ลมเย็นจากภายนอกปะทะกับ Heat Sink โดยตรง **
** พัดลมติดตั้งโดยใช้ไฟจาก GPIO PIN 4 (+5V) และ 6 (GND) ครับ **
พร้อมแล้วสำหรับการใช้งานครับ ต่อไปเตรียม microSD สำหรับติดตั้ง OS กันครับ
ถ้าหลายท่านเคยผ่านตา จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม SD Card Formatter ครับ แต่ผมจะใช้อีกตัวนึงตามคำแนะนำของ raspberrypi.org
นั่นคือ Etcher ครับ
สิ่งที่ต้องมีคือ
- SD Card 8GB ขึ้นไป (Class 4 หรือ 10 แล้วแต่ท่านสะดวกเลยครับ ผมลองแล้ว ความเร็ว ไม่ต่างกันเท่าไหร่)
- Card Reader และ microSD Adapter *ถ้าจำเป็น
- 7-Zip หรือโปรแกรมสำหรับ Extract Zip File
- โปรแกรม Etcher ดาวน์โหลดได้ที่นี่
- ผมติดตั้ง Raspbian เพราะงั้นต้องมี image file ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่
** เมื่อเข้าไปหน้าดาวน์โหลด ท่านจะเป็น NOOBS และ RASPBIAN ให้เลือก RASPBIAN นะครับ ซึ่งจะได้ Latest Version **
** NOOBS (New Out Of the Box Software) คือตัวติดตั้งที่ออกมาจาก Official Raspberry Pi เอง โดยจะมีพื้นฐานจาก Raspbian นั่นเอง แต่มีการปรับให้สามารถทำการติดตั้งได้ง่ายขึ้น พร้อมโปรแกรมอื่นๆ สามารถเลือกติดตั้งได้ทันทีจาก internet **
Flash SD Card
1.ทำการใส่การ์ดใน Card Reader จากนั้นเปิดโปรแกรม Ether
2.เลือก Image File จากนั้นกด Flash
3.รอจนเสร็จ
4.นำ microSD Card ไปใส่ใน Raspberry Pi จากนั้นทำการต่อสายอุปกรณ์ให้เรียบร้อย (Power, HDMI, Keyboard + Mouse)
** เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับ microSD Card ให้ทำการ Power Off ทุกครั้งก่อนถอด/ใส่ การ์ดนะครับ **
5.พร้อมแล้วสำหรับการ Power On (Raspberry Pi จะไม่มีสวิตซ์สำหรับเปิดนะครับ แค่เสียบเสีย micro USB ที่มีไฟ ก็จะทำการเปิดเองโดยอัตโนมัติ)
** เนื่องจากผมไม่มี Monitor ที่ Input HDMI ได้โดยตรง จึงต้องใช้ตัวแปลงจาก HDMI –> VGA ครับ **
รูปซ้าย รูประหว่างการ boot (ถ่ายไม่ค่อยทัน)
รูปขวา แสดงหน้า Desktop พร้อมใช้งานได้ทันทีครับ
ตอนหน้า จะเป็นเรื่องของการเซ็ตอัพทั่วๆไป, การเชื่อมต่อ Wi-Fi และการติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานอย่างง่ายครับ
ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ครับ