การเข้ารหัส Password หรือข้อมูลส่วนบุคคลในฐานข้อมูล ด้วย Hash Function กับ Salt Value

การ Hashการ Hash หรือ Hashing ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Cryptographic Hash คือการสร้างข้อมูลที่เป็นตัวแทนของข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นรหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และนำไปจัดเก็บในฐานข้อมูลหรือใน Text file หรือในที่อื่นๆ ซึ่งข้อดีของการทำ Hash คือจะไม่สามารถถอดรหัส หรือกระทำการใดๆ เพื่อที่จะ Reverse ให้ออกมาเป็นข้อความต้นฉบับ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการ Hash มากมาย เช่น MD5, SHA1, SHA256, SHA512, RipeMD, WHIRLPOOL, SHA3 เป็นต้น การเขียนโปรแกรมในแง่การเขียนโปรแกรมของแต่ละภาษา จะมี Library หรือเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ทำ Hash อยู่แล้ว สามารถเปิดจากคู่มือ ได้เลยครับ MD5 Hashing & Crackingเป็นการทำ Hash ที่พื้นฐานที่สุด และเมื่อหลายปีที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่ามีผู้ Crack ได้สำเร็จ ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆ ของเรื่องนี้คือ การทำ Hash … Read more

ติดตั้ง Let’s Encrypt Certificate สำหรับ SSL Sites บน IIS

หลังจากที่พี่หนุ่ม คณกรณ์ หอศิริธรรม  ได้เขียนเรื่อง วิธีติดตั้ง HTTPS ด้วย Certificate ของ Let’s Encrypt ไปแล้วนั้น ก็จะมาถึงทางฝั่ง Windows กันบ้าง ซึ่งจะติดตั้งผ่านเครื่องมือ บน Command Line ครับ ตัวอย่างนี้จะเป็นวิธีการติดตั้งโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า WinACME ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่ (จริงๆ มีหลายตัวให้เลือกใช้ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาผ่าน ACME API มีทั้งแบบเป็น Command Line, Power shell และเป็น GUI ครับ) หลังจากดาวน์โหลดไฟล์มาแล้ว ผม Extract ไปไว้ที่ C:\LetsEncryptSSL จากนั้นก็เปิด Command Prompt ด้วยสิทธิ Administrator(เปิดด้วยสิทธิ Administrator เพื่อให้มีการสร้าง Schedule Task ในการ Renew Cert. โดยอัตโนมัติครับ) จากนั้นทำการเรียกด้วยคำสั่ง letsencrypt … Read more

Raspberry Pi 3 [Automated Relay Controller]

ตอนที่แล้วเราได้ทดลองทำการสั่งงานรีเลย์แบบ Manual ผ่านหน้าเว็บไปแล้ว ครั้งนี้เราลองสั่งให้รีเลย์ทำงานโดยผ่านการประมวลผลค่าที่ได้จากเซนเซอร์ เพื่อให้ก้าวไปอีกขั้นของ IoT   โดยเราจะใช้เซนเซอร์ที่เคยได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว นั่นคือ DHT22 Temperature & Humidity Sensor (ต่อที่ PIN: 32 [GPIO 12]) และรีเลย์ 4 Channel ซึ่งสามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ต่อ PIN เดิมจากตอนที่แล้ว   ความต้องการเบื้องต้นคือ 1. เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าหรือเท่ากับ 28 องศา ให้เปิดพัดลมระบายอากาศ 1 (ที่ต่ออยู่กับ Relay 1) 2. เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 28 องศา ให้ปิดพัดลมระบายอากาศ 1 และเปิดพัดลมระบายอากาศ 2 (ต่ออยู่กับ Relay 2) 3. เมื่อความชื้นต่ำกว่า 50% ให้เปิดเครื่องสร้างความชื้น (Humidifier) (ต่ออยู่กับ Relay 3)  โดยไม่ต้องสนใจอุณหภูมิ เริ่มเขียนโค้ดเพื่อทำการประมวลผลกันเลย (โค้ดบางส่วน ได้อธิบายไว้ในตัวอย่างบทความก่อนหน้านี้แล้ว) … Read more

Raspberry Pi 3 [Relay Control via Web Interface]

ตอนนี้เราจะมาสร้างหน้าเว็บสำหรับดูสถานะและควบคุมรีเลย์อย่างง่ายๆ   ก่อนอื่น ผมได้ทำการเปลี่ยน PIN ของ GPIO บน Raspberry Pi 3 เพื่อให้เป็นระเบียบมากขึ้นจากครั้งที่แล้ว โดยผมได้เลือกใช้ PIN: 12 (GPIO 18), PIN: 16 (GPIO 23), PIN: 18 (GPIO 24) และ PIN: 22 (GPIO 25) สำหรับสั่งงานรีเลย์ตัวที่ 1-4 ตามลำดับ ดังรูปด้านล่างนี้   หลังจากการทดสอบการทำงานของรีเลย์ทุกตัว (ในบทความที่แล้ว) จากนั้นเราจึงเริ่มขึ้นตอนการติดตั้ง Apache Web Server, PHP และเขียนหน้าเว็บ ดังขั้นตอนต่อไปนี้ครับ   ติดตั้ง Apache Web Server และ PHP ดังนี้ ใช้คำสั่ง sudo apt-get … Read more

Raspberry Pi 3 [Relay Control]

จากตอนที่แล้ว เราได้ลองต่อเซนเซอร์ภายนอก ซึ่งเซนเซอร์จะเป็นประเภท Input เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลต่อตามที่เราต้องการ ยังมีอุปกรณ์บางตัวที่เราสามารถต่อเป็น Output จาก Raspberry Pi ได้ด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นอุปกรณ์หลักที่นำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย นั่นคือ รีเลย์ (Relay) – (ไม่ใช่ Delay นะครับ กรุณาอย่าสับสน)   Relay คืออะไร Relay ถ้าให้พูดจากความเข้าใจคือ สวิตซ์ ประเภทหนึ่งครับ ที่จะทำงานตามกระแสไฟ นั่นคือ เมื่อมีกระแสไฟไปเหนี่ยวนำภายใน สวิตซ์ก็จะทำงาน (Energize) (พูดให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่งคือ เหมือนสวิตซ์ตามผนังนี่แหละครับ แต่แทนที่จะเอามือไปกด เราก็ใช้กระแสไฟเข้าไปให้มันทำงานแทนนั่นเอง) และในบางครั้ง ในระบบไฟฟ้ากำลัง อาจจะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Magnetic Contactor ซึ่งเป็นหลักการทำงานแบบเดียวกันครับ (ขออภัย หากรูปจะไม่ถูกต้องตามหลักการเป๊ะๆ เพราะวาดจากความเข้าใจ) จากในรูปด้านบนนี้ DC+, DC- คือ ไฟที่เราจะจ่ายให้ขดลวดแม่เหล็ก (ตาม spec ของ relay) เพื่อจะไปทำให้สวิตซ์ Relay ทำงาน … Read more