ก่อนที่เราจะไปเริ่มเนื้อหาของบทความี้ ผู้เขียนต้องขอท้าวความเดิมตอนที่แล้วของบทความก่อน ซึ่งผู้เขียนได้พูดถึงวิธีการแสดงผลเส้นทางทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsService ในเบื้องต้นไว้ (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ : การแสดงเส้นทางระหว่างพิกัดจุดบนแผนที่ Google Map APIs ด้วย DirectionsService ในเบื้องต้น ) สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนจึงอยากต่อยอดการทำงาน และเพิ่มลูกเล่นให้กับการแสดงผลแผนที่ด้วยการปรับเปลี่ยนการกำหนดรูปแบบการแสดงผลของเส้นทางให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งเราจะให้ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบในการแสดงผลได้ว่า ต้องการดูเส้นทางในรูปแบบใดตามรูปแบบ Mode ที่ผู้ใช้เลือกมา เช่น เส้นทางเดิน ทางถนน หรือขนส่งสาธารณะ เป็นต้น โดยวิธีการดังกล่าวนี้เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการที่ต้องการทราบเส้นทางในแต่ละรูปแบบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานของแต่ละท่านได้ค่ะ
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากบทความที่แล้ว
ซึ่งจากตัวอย่างโค้ดในบทความที่แล้ว การกำหนด DirectionsTravelMode เป็น DRIVIING ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีรูปแบบอื่นๆให้เลือกใช้ด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
DRIVING (Default):เป็นโหมดตั้งต้นให้หากไม่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งเป็นโหมดที่แสดงเส้นทางการขับขี่ด้วยยานพาหนะ BICYCLING: เป็นโหมดสำหรับเส้นทางที่เตรียมไว้สำหรับผู้ขับขี่จักรยาน TRANSIT: เป็นโหมดสำหรับแสดงเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถบัส รถไฟ หรือแม้แต่เครื่องบิน เป็นต้น WALKING: เป็นโหมดสำหรับแสดงเส้นทางการเดินถนน
ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างในส่วนของการเลือกรูปแบบเส้นทางและผลลัพธ์ของแต่ละรูปแบบ ดังตัวอย่างโค้ดต่อไปนี้
- การกำหนดรูปแบบของเส้นทางในการแสดงผลบนแผนที่
- โค้ด Javascript
<script type="text/javascript"> function initialize() { // ประกาศเรียกใช้งาน DirectionsService เพื่อการแสดงผลให้มีลักษณะเป็น Global window.directionsService = new google.maps.DirectionsService(); window.directionsDisplay = new google.maps.DirectionsRenderer(); var map; var bounds = new google.maps.LatLngBounds(); var mapOptions = { mapTypeId: 'roadmap' }; // แสดงผลแผนที่ในหน้าจอตาม Element ที่กำหนด map = new google.maps.Map(document.getElementById("map_canvas"), mapOptions); map.setTilt(45); // กำหนดพิกัดจุดให้กับจุดเริ่มต้นและเส้นสุด window.markers = [ ['Place1', 51.501546, -0.142000], ['Place2', 51.512051,-0.091225] ]; // ให้แสดงผลสิ่งที่ตั้งค่าไว้ในพื้นที่แผนที่ที่กำหนด directionsDisplay.setMap(map); // กำหนดค่าเริ่มต้นของรูปแบบให้เป็นเส้นทางการเดิน (walking mode) calcRoute(); } // เป็นฟังก์ชั่นในการคำนวณเส้นทางระหว่างสองจุดพิกัดบนแผนที่และเลือกกำหนดค่า Mode ในการแสดงผล function calcRoute() { var selectedMode = document.getElementById('travelType').value; var request = { origin: new google.maps.LatLng(markers[0][1], markers[0][2]), destination: new google.maps.LatLng(markers[1][1], markers[1][2]), //// //กำหนดรูปแบบการแสดงผลเส้นทางโดยเริ่มต้นให้เป็นเส้นทางการเดิน(ตามรายการแรกที่เลือก) travelMode: google.maps.TravelMode[selectedMode] }; directionsService.route(request, function(response, status) { if (status == google.maps.DirectionsStatus.OK) { directionsDisplay.setDirections(response); } }); } </script>
- ส่วนของการแสดงผลใน body
<body> <div id="map_wrapper"> <div id="map_canvas" class="mapping"></div> </div> <div id="travel_selector"> <p><strong>Mode of Travel: </strong> <select id="travelType" onchange="calcRoute();"> <option value="WALKING">Walking</option> <option value="BICYCLING">Bicycling</option> <option value="DRIVING">Driving</option> <option value="TRANSIT">Transit</option> </select></p> </div> </body>
- ผลลัพธ์ในแต่ละรูปแบบ
- แบบที่ 2 BICYCLING Mode:
- แบบที่ 3 TRANSIT Mode:
- แบบที่ 4 WALKING Mode:
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นพิกัดของประเทศในต่างแดน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้เขียนลองใช้พิกัดจุดบนพื้นที่ประเทศไทย แต่พบว่ามีบาง Mode ยังไม่รองรับ เช่น เส้นทางจักรยาน ซึ่งเมื่อเลือกกำหนดโหมดดังกล่าวจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงหันไปยกตัวอย่างจาก London แทนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความแตกต่างในการแสดงผลแต่ละแบบได้ชัดเจนขึ้น แต่เพื่อไม่ให้เป็นการน้อยเนื้อต่ำใจกัน ผู้เขียนก็ได้ลองเอาพิกัดของพื้นที่ในประเทศไทยมาลองทำดูให้ผู้อ่านได้เห็นแถมมาด้วยว่าพื้นที่ของเราจะเห็นเส้นทางเป็นยังไงในแต่ละแบบกันบ้าง ดังนี้ค่ะ
ตัวอย่างการแสดงเส้นทางระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิและเขตจตุจักร
1) แบบ Transit modeจะเห็นได้ว่า เมื่อคลิกที่รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายคำพูด จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการขนส่งสาธารณะนั้นๆ เช่น รถเมล์สายใด รถไฟฟ้า BTS สายใด เป็นต้น
2) แบบ Walking Mode
3) แบบ Driving Mode
จากบทความ จะเห็นได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการเพิ่มลูกเล่นให้กับการใช้งานแผนที่เท่านั้น โดยยังมีอีกหลายวิธีการรอให้เราศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้และเพิ่มความสามารถให้กับการใช้งานแผนที่ในเว็บไซต์ของเรา ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านสามารถหยิบยกไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้เขียนขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ ^^
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
- https://wrightshq.com/playground/set-mode-of-travel-between-two-markers-on-a-google-map-using-api-3/
- https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/examples/directions-travel-modes
- https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/directions#TravelModes