การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C#
ในการดึงข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบตาราง GridView อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกตาลายและอ่านยากไปสักหน่อย ผู้พัฒนาจึงต้องพยายามหาวิธีจัดการข้อมูลในการแสดงผลให้สามารถอ่านง่ายและสบายตามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมาก การจำแนกประเภท หรือแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีการแสดงผลของข้อมูลบน GridView แบบจำแนกออกตามกลุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกัน เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ GridView ซึ่งเราเองใช้งานอยู่และน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ ขั้นตอนในการพัฒนา เตรียมข้อมูลในการแสดงผล โดยจากตัวอย่างนี้ จะทำการสมมุติข้อมูลของดอกไม้ ผลไม้ และต้นไม้ และมีข้อมูลเพื่อใช้ในการแยกประเภทไว้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ หมายเหตุ : การประกาศตัวแปร และการดึงข้อมูลเป็นเพียงการยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจเท่านั้น ในการทำงานจริงผู้อ่านสามารถใช้วิธีการประกาศตัวแปรและเรียกใช้แบบอื่น หรือดึงข้อมูลจากส่วนอื่นได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความถนัดค่ะ 2. เตรียม GridView ที่จะใช้ในการแสดงผล โดยจะขอยกตัวอย่างให้ดูการแสดงผล GridView แบบทั่วไปก่อนมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ เพิ่มเติม : ข้อมูลจำนวนเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข จึงได้ทำการจัด Format รูปแบบของข้อมูลให้แสดงผลแบบตัวเลข ด้วยการระบุ DataFormatString=”{0:#,##0}” เช่น หากข้อมูล 2500 จะแสดง 2,500 ให้อัตโนมัติ ผลลัพธ์(ก่อนทำการจัดกลุ่ม) 3. เพิ่ม Event ที่ชื่อว่า OnDataBound=”GroupGv_DataBound” ให้กับ GridView เพื่อแสดงผลข้อมูลแบบกลุ่ม และตัดคอลัมน์ประเภท(Category Name)ออกไป เนื่องจากเราจะนำไปใช้แสดงผลในการจัดกลุ่ม 4. เพิ่มโค้ดในส่วนของฝั่งเซิร์ฟเวอร์(C#) ให้กับ Event ของ GridView ที่เราเพิ่มในข้อ 3. เพื่อจัดกลุ่ม ดังนี้ค่ะ ผลลัพธ์ (หลังมีการจัดกลุ่ม) เพิ่มเติม : จากตัวอย่างข้างต้น เนื่องด้วยข้อมูลเป็นการจัดกลุ่มและมีข้อมูลเชิงตัวเลข ผู้เขียนจึงขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของการแสดงจำนวนรวมแยกในแต่ละกลุ่มไว้ด้วย โดยเพิ่มเติมโค้ดในส่วนของ GroupGv_DataBound ดังนี้ค่ะ ผลลัพธ์ เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถจัดกลุ่มข้อมูล GridView ของท่าน เพื่อลดปัญหาการดูข้อมูลแบบตารางที่มีแถวข้อมูลจำนวนมากได้บ้างแล้ว ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำแนวทาง เกร็ดเล็กๆน้อยๆนี้ไปประยุกต์ใช้กับงานของท่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ หากมีส่วนใดผิดพลาดทางผู้เขียนก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ ^^ แหล่งอ้างอิงhttps://stackoverflow.com/questions/61773421/sum-column-where-condition-with-datatable