Month: September 2019

  • ให้ Visual Studio Code แสดงสีและ Intellisense (Robot framework)

    เมื่อติดตั้ง Visual Studio Code เสร็จแล้ว ก่อนที่เราจะเริ่ม Code กัน หรือ Code ไปแล้วมันรู้สึกว่า นี่เรากำลังใช้ Note pad กันหรืออย่างไร ไม่มีสีสัน แยกส่วน Code ต่าง ๆ เพื่อลดการลายตา และมันยากต่อการอ่าน Code และไม่มี Intellisense อะไรเลย พิมพ์เองล้วน ๆ หน้าตาก็ประมาณนี้สีเดียว

    มาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรกัน ไปที่เมนู Extensions แล้ว ค้นหาด้วยคำว่า robot แล้ว Enter

    ให้คลิก Install ตัว Robot Framework Intellisense

    เมื่อ Install เสร็จจะเห็นได้ว่ามีสีสันแล้วนะ

    และมี Intellisense ด้วยแล้วนะ

  • Google Drive กับ Google Share Drive — กินพื้นที่ใคร ?

    ปัญหา: การแชร์พื้นที่จาก Google Drive กับ Google Share Drive นั้น เมื่อผู้ใช้ที่เราแชร์ไปให้ ทำการ Upload ไฟล์ขึ้นมา จะกินพืันที่ของใคร ?

    มาทดลองกัน

    Google Drive

    User A สร้าง Folder ชื่อ “Test Upload” บน “Google Drive” แล้วแชร์ให้ User B สามารถแก้ไขได้ (edit)

    User B เปิด Google Drive ของตนเอง แล้วเข้าไปใน Shared With Me ก็จะเห็น “Test Upload”

    User B ทำการ Upload File จากนั้น ไปดูใน Detail จะพบว่า ไฟล์มีขนาด 945 KB และ ใช้พื้นที่ของตัวเองไป 945 KB ด้วย

    กลับมาดูใน Google Drive ของ User A ซึ่งเป็นเจ้าของ (Owner) โฟลเดอร์ “Test Upload” พบว่า ไม่ได้ใช้ Quota พื้นที่จัดเก็บของ User A เลย เพราะ เจ้าของไฟล์ (File) คือ User B

    และ แม้ User A จะเป็นเจ้าของ Folder ก็ทำได้เพียงแต่ เตะ User B ไม่ให้เห็น Folder แต่ ไม่สามารถ ถอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ของ User B ได้ (เศร้า)

    Google Share Drive

    ก่อนหน้านี้เรียกว่า Team Drive แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Share Drive ซึ่ง เป็น Feature ของ G Suite for Education (และ G Suite ตามที่ Google กำหนด) มีสิทธิ์ สร้าง Share Drive

    ผู้ใช้ขององค์กร (ในที่นี้คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) สามารถสร้าง Google Share Drive แล้ว Add Member เป็นผู้ใช้ที่ใช้ Google Account อื่น (รวมถึง Gmail ด้วย) เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ โดย ความเป็นเจ้าของ Share Drive คือ องค์กร กล่าวคือ แม้ User A จะเป็นคนสร้าง

    ต่อไป User A ทำการสร้าง Share Drive ตั้งชื่อว่า “Test Share Drive”

    แล้วเพิ่ม User B มาเป็น Member ให้สิทธิ์เป็น Contributor (สิทธิ์ใน Share Drive จะมีหลายระดับกว่า Google Drive)

    User B จะเห็น Share Drive จาก เมนู “Shared drives” (แต่ถ้า share จาก Google Drive จะเห็นใน “Shared with me”)

    เมื่อ User B ทำการ Upload ไฟล์เข้าไป จะพบว่า ไม่ใช้ Quota พื้นที่ User B เลย!!

    ต่อมา User A เตะ User B ออกไป

    ไฟล์ยังอยู่ในองค์กร ของ User A

    ส่วน User B ก็เข้าถึงไม่ได้อีกต่อไป

    สรุป

    • Google Drive สิทธิ์เป็นของ Owner และใช้พื้นที่ของผู้เป็น Owner ดังนั้น แม้ Google Drive ขององค์กร จะ Unlimited แต่ เวลาที่ผู้ใช้จาก Free Gmail Upload ไฟล์ขึ้นมา ก็จะใช้ Quota พื้นที่ของ Free Gmail คือ 15 GB นั้น !! ดังนั้น วิธีนี้ จะไม่สามารถให้ ผู้ใช้ Free Gmail Upload ไฟล์ที่มีขนาดเกิน Available Quota ของตนเองได้
    • Shared Drive สิทธิ์เป็นขององค์กร เวลา Free Gmail Upload ขึ้นมา จะไม่กิน Quota พื้นที่เค้า และ องค์กรสามารถเตะ Free Gmail ออกไปได้

    เข้าใจตรงกันนะ

  • Thunderbird returns

    หลังจากปันใจไปให้ Microsoft Outlook และใช้ Microsoft Outlook มาตลอดเกือบ 5 ปี มีเหตุให้การใช้ Google Calendar มีความสะดวกมากกว่า Office365 Calendar (จริงๆ ปฎิทินของ Office365 อาจจะทำได้ก็ได้แต่ไม่มีคนสอนกรั่กๆ) และเมื่อจะใช้ Google Calendar (โดยไม่ใช้เว็บ) ก็ต้องใช้คู่กับ Thunderbird สินะ!!!

    Download

    https://www.thunderbird.net/en-US/ คลิกตรงปุ่ม Free Download รุ่นปัจจุบัน 68.1.0 จะได้ English (US) รุ่น 32-bit หากต้องการรุ่น 64-bit คลิกที่ system & language แล้วเลือกภาษาที่ต้องการ แน่นอนไม่มีภาษาไทย English (US) หรือถ้าอ่านภาษาอื่นๆ ออกเชิญเลือกตามอัธยาศัย

    โหลดมาแล้วก็ติดตั้งให้เรียบร้อยด้วย Next Technology (Yes, Next, Next, Next, Next, Install, Finish)

    เมื่อเปิดโปรแกรม Thunderbird ครั้งแรกจะได้ประมาณดังรูป

    Set Up an Existing Email Account

    Mail Setup

    เริ่มการใช้งานได้เลยขั้นแรกตั้งค่าเมล์ สำหรับผู้ที่เปิดใช้งาน Gmail แล้วเท่านั้น หากยังไม่ได้เปิดใช้งาน อ่าน ที่นี่ ก่อน

    หากมีการเปิด 2-step Verification ต้องไปสร้าง App password ที่ gmail.com ให้เรียบร้อยก่อนแล้วเอา password ที่ได้มาใช้กับ thunderbird

    Calendar Setup

    Thunderbird (สำหรับ Windows) รุ่นใหม่ๆ จะให้ Lightning มาโดยปริยายไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม แต่สิ่งที่ต้องติดตั้งเพิ่มคือ Provider for Google Calendar

    ส่วน Thunderbird (สำหรับ linux) ต้องติดตั้งเพิ่มเอง

    ที่หน้าต่าง Thunderbird กดปุ่ม alt-T (ปุ่ม alt และปุ่มอักษร t พร้อมกัน) เพื่อเรียกเมนู Tools

    เลือก Add-ons

    Add-ons

    จะได้หน้า Add-ons Manager

    Manage Your Extensions 

    ค้นหา Provider for Google Calendar ในช่อง Find more extensions จะได้หน้าต่างเพิ่มเป็นดังรูป

    Search Results

    คลิกปุ่ม + Add to Thunderbird แล้วคลิก Add

    Add

    คลิก Restart Now

    Restart

    เมื่อคลิกที่หน้าต่าง Add-ons Manager จะเห็นว่ามี Provider for Google Calendar เพิ่มมาแล้ว

    Add-ons Manager

    กลับมาที่หน้าหลักสังเกตมุมบนขวาจะมีรูป ให้คลิกที่ เพื่อเปิดหน้าปฎิทิน

    Calendar

    คลิกขวาที่พื้นที่ว่าง ๆ ใต้คำว่า Calendar เลือก New Calendar

    New Calendar

    จะได้หน้า Create New Calendar ให้เลือก On the Network แล้วคลิก Next

    Create a new calendar

    เลือก Google Calendar แล้วคลิก Next

    Google Calendar

    ใส่ E-mail address แล้วคลิก Next

    Locate your calendar

    ตรวจสอบว่า Username ที่ใส่ให้ถูกต้องหรือไม่คลิกถ้าถูกคลิก Next

    Sign in

    กรอกรหัสผ่านของ E-mail คลิก Next

    Enter your password

    หากเปิด 2-step Verification ไว้ก็เปิดแอ็ปกรอกตัวเลขให้เรียบร้อย

    2-step

    เลื่อนลงมาล่างสุดคลิก Allow

    Allow

    เลือกปฎิทินที่ต้องการคลิก Next

    Locate your calendar

    คลิก Finish

    Finish

    จะเห็นว่ามีปฎิทินเพิ่มขึ้นมาแล้วสามารถใช้งานได้ทันที

    Calendar

    จบขอให้สนุก

    หมายเหตุ!!!

    ต้องตั้งค่า general.useragent.compatMode.firefox ใน advance configuration ของ Thunderbird เป็น true สำหรับตอนนี้ เนื่องจาก Google เปลี่ยนอะไรสักอย่างทำให้ authen ไม่ได้

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 3

    ต่อจาก Blogก่อนหน้า Blog นี้ เรามาว่ากันด้วยเรื่องของการ upload file และสั่งให้โปรแกรม Generate QR code กัน

    หลังจากที่เราบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว และเราอยาก upload file ขึ้นไปเก็บไว้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น “บันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว upload file ขึ้น youtube เมื่อ upload เสร็จ ให้แสดง QR Code ขึ้นมา” โอเคมั้ย โจทย์ประมาณนี้นะ งั้นไป … เราไปเริ่มกันเลย !!!

    ลำดับแรกคลิกเลือก “Destinations” จากนั้นเลือกไปที่ “File uploader” เลือกเป็น “Youtube” เน้อออ

    จากนั้นก็มาเริ่มตั้งค่ากันเลย ให้ไปที่ “Destination” อีกรอบนึง แต่คราวนี้เลือกไปที่ข้อความ “Destination settings….” โปรแกรมก็จะเปิดหน้าต่างให้เราตั้งค่า

    เลือกที่เป็นประเภท File uploader จากนั้นเลือก youtube ขวามือจะแสดง ให้เรา authorize ไปยัง youtube ของเรา คลิกเลือกตรง Step 1 : Open authorize page จากนั้นก็จะเจอหน้าจอดังรูป

    ให้เราเลือกเลย กรณีเรามีบัญชีมากกว่า 1 ก็เลือกว่าจะใช้บัญชีไหน เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่างเลย ก็ให้เลือก “อนุญาต

    เมื่ออนุญาตการเข้าถึงบัญชีของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ code ยาวๆ มา หน้าตาประมาณรูปด้านล่าง ให้เรา copy code ที่ได้ไว้นะ

    จากนั้นให้เอา code ที่ได้กลับมาวางในหน้าของโปรแกรมแกรม shareX ตรง ช่อง “Verification code” เสร็จแล้วรอแป๊บนึง เมื่อโปรแกรมตรวจสอบและ verify code แล้วว่าถูกต้องก็จะแจ้งเราว่า login successful. ถือว่าครบถ้วนกระบวนความ โดยในหน้านี้ เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น Private type: เลือกได้ว่าต้องการเป็นแบบใด public, private เป็นต้น และสามารถระบุได้ว่า link ที่ได้ต้องการเป็นแบบ shortened link หรือไม่

    ต่อมาตะกี้แผนของเราคือ upload ขึ้น youtube เสร็จแล้วให้แสดง QR Code ใช่มั้ย ก็ไปตั้งค่าเพิ่มกันอีกนิดนึง ให้ไปตรงเมนู “After upload task….” จากนั้นเลือก QR Code

    เมื่อตั้งค่าเสร็จทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว คราวนี้มาดูผลลัพธ์กัน ก็ลองบันทึกวีดีขึ้นมาสักอันนึง เมื่อบันทึกวีดีโอเสร็จแล้วให้ “คลิกขวา” บนไฟล์วีดีโอของเราจากนั้นเลือก Upload

    เมื่อเลือก upload แล้วก็รอสักครู่ จนโปรแกรมบอกเราว่า upload 100% พร้อม ๆ กับแสดงหน้าต่าง QR Code ขึ้นมาให้เราทันที

    ก็ลอง Scan QR Code กันดูได้ มันก็จะวิ่งไปที่วีดีโอของเราที่อัพขึ้น youtube นั่นแหละ

    เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ดูเหมือนยาก แต่มันไม่ยากนะ แถม Destination ที่มีให้เราเลือกอัพก็มีมากมายซะเหลือเกิน ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นกันดู มันมีประโยชน์จริงๆ เล่นไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ไม่ต้องรีบร้อนกันนะ สบาย สบายยยยยยย วันนี้ผู้เขียนก็ขอจบ Blog แต่เพียงเท่านี้ และก็ขอจบในเรื่องราวของเจ้า shareX ตัวนี้แต่เพียงเท่านี้

    หากผู้อ่านมีข้อสงสัย สามารถถามเข้ามาได้นะ ถ้ารู้ก็จะบอก แต่ถ้าไม่รู้ก็จะพยายามหาคำตอบมาให้ 55+ ส่วน Blog หน้าจะมาเล่าเรื่องอะไร รอติดตามกันนะทุกคนนนน …. บุ้ยบุ่ย ^___^

  • Windows Subsystem for Linux in Windows 10 – (Installation Scripts)

    บทความนี้แนะนำวิธีการติดตั้ง Windows Subsystem for Linux ด้วย Installation Scripts เพื่อติดตั้ง Ubuntu 18.04 LTS ลงใน Windows 10 version 1903

    การรัน Installation Scripts ที่เป็น PowerShell จำเป็นต้องเปิดอนุญาตรัน script (ตั้งค่า execution policy มีขั้นตอนตรงจุดนี้ ดังนี้
    1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search
    2.พิมพ์คำว่า PowerShell คลิกขวาเพื่อเลือก Run as administrator
    3.พิมพ์คำสั่งนี้

    Set-ExecutionPolicy RemoteSigned

    4.พิมพ์ A แล้วกด Enter

    ถัดไป เราก็จะดาวน์โหลดไฟล์ 2 ไฟล์เลือกว่าจะวางไฟล์ไว้ที่ Downloads ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

    cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads

    ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 1

    Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step1_enable_wsl.ps1 -OutFile step1_enable_wsl.ps1

    ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 2

    Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step2_install_wsl.ps1 -OutFile step2_install_wsl.ps1

    เมื่อได้ไฟล์แล้ว ก็มาทำคำสั่งนี้กัน คำสั่งเพื่อเปิดใช้ (enable) Windows Subsystem for Linux

    & ".\step1_enable_wsl.ps1"

    หลังจากทำคำสั่งนี้ Windows จะสั่งให้เรา restart 1 ครั้ง
    Do you want to restart the computer to complete this operation now?
    พิมพ์ Y และกด Enter

    เมื่อ Windows restart เสร็จแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนติดตั้ง ubuntu 18.04 LTS ลงใน WSL

    เปิด PowerShell ตั้งค่า execution policy

    Set-ExecutionPolicy RemoteSigned

    พิมพ์ A แล้วกด Enter

    พิมพ์คำสั่งเหล่านี้

    cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads
    & ".\step2_install_wsl.ps1"

    หลังจากทำคำสั่งนี้ หน้าต่าง WSL ก็จะเปิดขึ้นมา รอสักครู่ใหญ่ ๆ ก็จะมีคำถามให้ตั้ง username อันแรก พร้อมตั้ง password แล้วจะได้ Ubuntu 18.04 พร้อมใช้งาน

    สุดท้าย ให้เราออกจาก WSL console ด้วยคำสั่ง exit และ ปิดหน้าต่าง PowerShell

    เมื่อมาถึงตรงนี้ เราก็ได้ Windows Subsystem for Linux ซึ่งเรียกใช้งานด้วยคำสั่ง wsl

    วิธีเรียกใช้งาน WSL
    1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search
    2.พิมพ์คำว่า wsl แล้วเลือก Open หรือ Run as administrator (ต้องการสิทธิ)

    จบเรื่องแรก การติดตั้ง WSL ด้วย Installation Scripts

    เรื่องที่สองในบทความนี้ หากเราต้องการให้ทุกครั้งที่ Windows เปิดขึ้นมาแล้วสั่งให้ service sshd ทำงานทันที เพื่อให้เราใช้คำสั่ง ssh เข้ามายัง Ubuntu ใน Windows ได้

    ผมก็ได้เขียน shell script installsshd.sh นี้ไว้ ซึ่งรันที่ WSL นะครับ

    วิธีใช้ shell script นี้ ทำดังนี้

    1.เปิด WSL ด้วยสิทธิ Run as administrator

    2.เมื่ออยู่ในหน้าต่าง WSL ให้ขอสิทธิเป็น root ด้วยคำสั่งนี้

    sudo su -

    ใส่ password ให้ถูกต้อง

    ดาวน์โหลดไฟล์ installsshd.sh ด้วยคำสั่งนี้

    wget http://ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/installsshd.sh

    สั่งรัน shell script ดังนี้

    bash installsshd.sh

    เมื่อ shell script ทำงาน จะมีการถอน openssh และติดตั้งใหม่เพื่อให้ใช้ server ssh key ที่ถูกต้อง และสร้าง task name ชื่อ sshd ไว้ใน Task Schedule ของ Windows 10

    ทดสอบ ssh จากเครื่องในเน็ตเวิร์คเข้าไปยัง Ubuntu ใน Windows 10

    References

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 2

    Blog นี้ ขอมาต่อในส่วนของโปรแกรม shareX โดยจะมาว่ากันในเรื่องของการบันทึกหน้าจอในรูปแบบ VDO กันค่ะ

    สำหรับการบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ ผู้ใช้สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอ หรือจะเลือกเป็นพื้นที่ก็ได้เช่นกัน

    แต่ก่อนที่เราจะบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอด้วย shareX ได้นั้น เครื่องของเราก็ต้องมี plugin ที่ชื่อ “FFmpeg” ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องตกใจหรอก เพราะว่าพอเราเลือกฟังก์ชันบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอ (Screen recording) โปรแกรมก็จะบอกเราว่า เราไม่มี plugin ตัวนี้ จะไปดาวน์โหลดมาติดตั้งเลยมั้ย ก็ให้ตอบตกลงไปเลย แค่นี้เราก็สามารถใช้งานการบันทึกภาพหน้าจอได้แล้ว

    หรืออีกวิธีนึง !!!

    เราสามารถไปดาวน์โหลดด้วยตัวเองก่อนก็ได้ โดยไปที่ “Task settings

    จากนั้นก็ปรากฏหน้าจอดังรูป ให้เลือก “Screen recorder” –> “Screen recording options….” –> คลิก Download

    รอสักครู่ ไฟล์ไม่ใหญ่ โหลดไม่นาน หน้าตาก็ประมาณนี้น่ะ

    เพิ่มเติมอีกนิดนึง นอกจากเราจะบันทึกการจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอเป็นแบบวิดีโอแล้วเรายังสามารถบันทึกในแบบ  GIF Animation ได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้คือดีมากๆ เลย

    อะ มาๆ เรามาลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริงๆ กันเลย

    Step 1 : เลือก capture –> Screen recording 

    Step 2 : โปรแกรมก็จะให้เราเลือกพื้นที่ ที่เราต้องการจะบันทึก เราก็ลองลากเลือกเลยว่าจะบันทึกตรงไหน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็ให้สังเกตุ โปรแกรมจะขึ้นเส้นประรอบๆ พื้นที่ที่เราเลือก พร้อมทั้งเริ่ม Record หน้าจอของเราละ

    Step 3 : เราก็เริ่มต้นทำงานบนหน้าจอของเราได้เลย โปรแกรมจะบันทึกวีดีโอเก็บไว้ เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการบันทึกได้เลย โปรแกรมก็จะแสดงให้เราเห็นว่าบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว

    จากรูป สามารถคลิกบนลิงค์เพื่อ Play วีดีโอของเราได้เลย หรือหากไม่คลิกจากลิงค์ ก็สามารถเข้าไปดูใน Folder ตาม path ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้นะ ได้ทั้ง 2 วิธีนั่นแหละ หรือใครไม่รู้ว่าไปตั้ง path ได้จากไหน ก็ทำตามวิธีนี้ดูนะ

    คลิกเลือก Application settings …… –> เลือก path –> คลิก Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ได้เลย

    ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นเจ้า shareX ตัวนี้จริงๆ นี่ขนาดผู้เขียนลองเล่น ลองใช้มาจะสัปดาห์นึงละ ยังทำความรู้จักเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้แค่ผิวเผิน เท่านั้นเอง ลูกเล่นเค้าเยอะดีจริงๆ เยอะจนบางทีก็ทำให้เราสับสน งงๆ ได้เหมือนกันนะ 55 เอาเป็นว่า เดี๋ยว Blog หน้า Ep 3 จะมาเล่าต่อนะ ว่าหลังจากบันทึกวีดีโอ หรือรูปภาพเสร็จแล้วสามารถสั่งให้โปรแกรมทำอะไรต่อได้บ้าง วันนี้ก็ลากันไปเท่านี้ก่อน อย่าลืม อ่านแล้ว ลองเล่นดูนะ ^__^

  • ติดตั้ง FOG Project แบบใช้ Proxy DHCP

    บทความนี้เป็นตอนต่อจาก “ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server” หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว มาดูขั้นตอนติดตั้ง

    sudo  ./installfog.sh

    เลือก 2

    กด Y และ Enter

    กด N และ Enter

    ตัวอย่าง จะติดตั้ง fog server ให้ใช้ IP 10.0.100.254 และ ตอบ N ทุกคำถาม Would you like … ตรงนี้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ DHCP server ว่า จะติดตั้งลงใน fog server มั้ย

    ตรวจสอบ พร้อมแล้ว ก็กด Y และ Enter

    สำหรับ Ubuntu 18.04 นั้น ถ้าเราติดตั้ง MySQL ไม่จำเป็นต้องตั้ง password เราก็ใช้คำสั่ง mysql เพื่อเข้าไปทำงานได้ ก็ต่อเมื่อ เราเป็น user ที่เป็น sudo จึงไม่ต้องตั้ง password แต่จะตั้งก็ได้ ไม่ผิด

    ใกล้เสร็จแล้ว ให้ไปที่หน้าเว็บ http://fog_server_ip/fog/management เพื่อตั้งค่า database

    แล้วกลับมาทำการตั้งค่าต่อ กด Enter

    สังเกต มีคำว่า Skipped ที่บรรทัด DHCP Server

    เสร็จกระบวนการติดตั้ง fog server

    ถัดไปจะติดตั้ง dnsmasq เพื่อเป็น Proxy DHCP ไปติดต่อกับ DHCP server ของตึก

    ทำตาม link นี้ https://wiki.fogproject.org/wiki/index.php?title=ProxyDHCP_with_dnsmasq

    พิมพ์คำสั่งเพื่อติดตั้ง ดังนี้

    sudo  apt  install  dnsmasq  -y

    เสร็จแล้ว ไปหาเครื่องที่สามารถใช้งานแบบ กราฟิก GUI เพื่อ copy ข้อความหลาย ๆ บรรทัดได้ เช่น เปิด bash ใน Windows แล้วใช้คำสั่ง ssh เข้าไปยัง fog server IP ดังนี้

    ssh  mama@10.0.100.254

    จะทำให้สะดวกกว่า คีย์เอง ทีละบรรทัด

    สร้างไฟล์ชื่อ fog.conf ไว้ภายในไดเรกทอรี /etc/dnsmasq.d ใส่ข้อความ ดังนี้

    ข้อความที่จะให้ copy ไป paste คือ

    # Don't function as a DNS server:
    port=0
    
    # Log lots of extra information about DHCP transactions.
    log-dhcp
    
    # Set the root directory for files available via FTP.
    tftp-root=/tftpboot
    
    # The boot filename, Server name, Server Ip Address
    dhcp-boot=undionly.kpxe,,10.0.100.254
    
    # Disable re-use of the DHCP servername and filename fields as extra
    # option space. That's to avoid confusing some old or broken DHCP clients.
    dhcp-no-override
    
    # inspect the vendor class string and match the text to set the tag
    dhcp-vendorclass=BIOS,PXEClient:Arch:00000
    dhcp-vendorclass=UEFI32,PXEClient:Arch:00006
    dhcp-vendorclass=UEFI,PXEClient:Arch:00007
    dhcp-vendorclass=UEFI64,PXEClient:Arch:00009
    
    # Set the boot file name based on the matching tag from the vendor class (above)
    dhcp-boot=net:UEFI32,i386-efi/ipxe.efi,,10.0.100.254
    dhcp-boot=net:UEFI,ipxe.efi,,10.0.100.254
    dhcp-boot=net:UEFI64,ipxe.efi,,10.0.100.254
    
    # PXE menu.  The first part is the text displayed to the user.  The second is the timeout, in seconds.
    pxe-prompt="Booting FOG Client", 1
    
    # The known types are x86PC, PC98, IA64_EFI, Alpha, Arc_x86,
    # Intel_Lean_Client, IA32_EFI, BC_EFI, Xscale_EFI and X86-64_EFI
    # This option is first and will be the default if there is no input from the user.
    pxe-service=X86PC, "Boot to FOG", undionly.kpxe
    pxe-service=X86-64_EFI, "Boot to FOG UEFI", ipxe.efi
    pxe-service=BC_EFI, "Boot to FOG UEFI PXE-BC", ipxe.efi
    
    dhcp-range=10.0.100.254,proxy
    

    ให้แทนที่ 10.0.100.254 ด้วย fog server IP ของคุณ แล้ว save ออกมาจากการแก้ไขไฟล์ แล้ว ตรวจสอบด้วยการรัน service ดูว่า ทำงานได้ ไม่ error

    รันคำสั่งดังนี้

    sudo  systemctl  restart  dnsmasq.service

    ตรวจสอบ status

    sudo  systemctl  status  dnsmasq.service

    กด q ออก

    ถ้ามี error ให้ตรวจสอบว่า ในไดเรกทอรี /etc/dnsmasq.d มีไฟล์คอนฟิกสักไฟล์ที่มีคำว่า bind-interfaces อยู่ข้างในมั้ย ถ้าไม่มีก็สร้างไฟล์ชื่อ etc.conf และมี 1 บรรทัดใส่คำว่า bind-interfaces และ save แล้ว รีสตาร์ท dnsmasq ก็น่าจะใช้งานได้

    แล้วตั้งค่าให้ dnsmasq ทำงานเมื่อเปิดเครื่อง

    รันคำสั่ง

    sudo  systemctl  enable  dnsmasq.service

    ออกจาก ssh และ reboot fog server เพื่อดูว่า service dnsmasq เรียบร้อย

    เมื่อ boot Windows 7 จะเห็นว่า มันจะไปขอ DHCP IP จาก 10.0.100.1 ในที่นี้คือ DHCP server ของตึก (router) และมันจะรู้ด้วยว่า fog server คือ 10.0.100.254

    ตัวอย่าง ใน LAN configuration ก็จะมีข้อมูลบอกว่า DHCP Server ที่แจก IP มาให้ Windows คือ 10.0.100.1

    เมื่อดูใน /var/log/syslog ของเครื่อง fog server จะเห็น service dnsmasq ทำงาน

    ต่อไปเป็นการใช้งาน เพื่อทดสอบว่า กระบวนการติดตั้ง fog server ใช้งานแบบ proxy DHCP ทำงานได้จริง

    เลือกรายการ Quick Registration and Inventory เพื่อลงทะเบียนแบบ manual ทีละเครื่อง

    แล้วกลับมาอีกรอบ คราวนี้ก็เลือก Boot from hard disk เมื่อเข้า Windows ได้แล้วลองไปตรวจสอบ IP

    หน้าต่าง login ก็ใส่ค่า default username คือ fog และ password คือ password

    ต่อไปมาดูในหน้าเว็บ ของ fog จะเห็นว่า มีเครื่องที่เรากด ลงทะเบียน เข้ามาแล้ว

    ต่อไป เราจะไปหน้าเว็บเพจ images เพื่อสร้างชื่อ image ว่า windows7 ก่อนที่จะ cloning ได้

    กดเลือก Create New Image

    ตั้งค่าเลือก Operating System เป็นชนิด Windows 7 – (5)

    และใช้ค่า default แล้วกด Add (วันหลังค่อยลองเปลี่ยนใช้แบบอื่น ๆ)

    เราต้องผูก image เข้ากับ host ให้คลิกเข้าไปที่ชื่อ host ในตัวอย่างคือ 080027888888

    ผูก host นี้กับ Image ชื่อ windows7 ที่เราสร้างไว้

    ส่วนที่เหลือ เป็นค่า default แล้วกด Update

    กลับมาที่หน้าเว็บเพจ Host จะเห็นว่ามี Assigned Image เข้ามาแล้ว ให้คลิก Capture

    หน้านี้จะเด้งขึ้นมา เป็นค่า default ทั้งหมด แล้วกด Task

    จะได้หน้าต่างบอกว่า กำหนด Task แล้ว

    ไปที่เมนู Tasks จะเห็นรายการว่า กำลังรอให้เรา cloning ต้นฉบับ

    เราก็ไปเปิดเครื่อง Windows ต้นฉบับที่จะเก็บ

    มันก็จะขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบนี้ จนได้หน้าต่างว่า กำลังใช้ Partclone ในการ cloning

    ก็รอจนเสร็จ

    ขอให้สนุก

  • ติดตั้ง FOG Project แบบมี DHCP Server ด้วย

    บทความนี้เป็นตอนต่อจาก “ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server” หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว มาดูขั้นตอนติดตั้ง

    sudo  ./installfog.sh

    เลือก 2

    กด Y และ Enter

    กด N และ Enter

    ตัวอย่าง จะติดตั้ง fog server ให้ใช้ IP 10.0.100.208 และ ตรงนี้ จะเกี่ยวข้องกับ DHCP server ว่า จะติดตั้งลงใน fog server มั้ย ในตัวอย่าง คือ router address ที่ใช้คือ 10.0.100.1 และเป็น DNS server ด้วย

    ตรงนี้ สำหรับ FOG รุ่น 1.5.6 ขึ้นไป จะมีเพิ่มมาให้ตั้งชื่อ hostname ถ้าไม่ต้องการตั้งก็กด Enter

    ตรวจสอบ พร้อมแล้ว ก็กด Y และ Enter

    สำหรับ Ubuntu 18.04 นั้น ถ้าเราติดตั้ง MySQL ไม่จำเป็นต้องตั้ง password เราก็ใช้คำสั่ง mysql เพื่อเข้าไปทำงานได้ ก็ต่อเมื่อ เราเป็น user ที่เป็น sudo จึงไม่ต้องตั้ง password แต่จะตั้งก็ได้ ไม่ผิด

    ใกล้เสร็จแล้ว ให้ไปที่หน้าเว็บ http://fog_server_ip/fog/management เพื่อตั้งค่า database

    แล้วกลับมาทำการตั้งค่าต่อ กด Enter

    สังเกต มีคำว่า OK ที่บรรทัด DHCP Server

    เสร็จกระบวนการติดตั้ง fog server

    ทดสอบเปิดเครื่อง Windows 7 ดูว่า ได้ DHCP IP จาก fog server ในที่นี้คือ 10.0.100.208

    ต่อไปเป็นการใช้งาน เพื่อทดสอบว่า กระบวนการติดตั้ง fog server ใช้งานแบบมี DHCP Server ด้วยทำงานได้จริง

    เลือกรายการ Quick Registration and Inventory เพื่อลงทะเบียนแบบ manual ทีละเครื่อง

    แล้วกลับมาอีกรอบ คราวนี้ก็เลือก Boot from hard disk เมื่อเข้า Windows ได้แล้วลองไปตรวจสอบ IP

    หน้าต่าง login ก็ใส่ค่า default username คือ fog และ password คือ password

    ต่อไปมาดูในหน้าเว็บ ของ fog จะเห็นว่า มีเครื่องที่เรากด ลงทะเบียน เข้ามาแล้ว

    ต่อไป เราจะไปหน้าเว็บเพจ images เพื่อสร้าง image ตั้งชื่อว่า windows7 ก่อนที่จะ cloning ได้

    กดเลือก Create New Image

    ตั้งค่าเลือก Operating System เป็นชนิด Windows 7 – (5)

    และใช้ค่า default แล้วกด Add (วันหลังค่อยลองเปลี่ยนใช้แบบอื่น ๆ)

    เราต้องผูก image เข้ากับ host ให้คลิกเข้าไปที่ชื่อ host ในตัวอย่างคือ 080027888888

    ผูก host นี้กับ Image ชื่อ windows7 ที่เราสร้างไว้

    ส่วนที่เหลือ เป็นค่า default แล้วกด Update

    กลับมาที่หน้าเว็บเพจ Host เลือก List All Hosts จะเห็นว่ามี Assigned Image เข้ามาแล้ว ให้คลิก Capture

    หน้านี้จะเด้งขึ้นมา เป็นค่า default ทั้งหมด แล้วกด Task

    จะได้หน้าต่างบอกว่า กำหนด Task แล้ว

    ไปที่เมนู Tasks จะเห็นรายการว่า กำลังรอให้เรา cloning ต้นฉบับ

    เราก็ไปเปิดเครื่อง Windows ต้นฉบับที่จะเก็บ

    มันก็จะขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบนี้ จนได้หน้าต่างว่า กำลังใช้ Partclone ในการ cloning

    ก็รอจนเสร็จ

    คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับแต่งไฟล์ /etc/dhcp/dhcpd.conf ที่สร้างขึ้นในขณะติดตั้ง FOG Project
    เมื่อใช้คำสั่งดู log ดังนี้

    tail  -f  /var/log/syslog

    เพื่อไม่ให้เกิด log บรรทัดที่มีข้อความว่า “not authoritative for subnet“ ก็ให้แก้ไขไฟล์นี้โดยเพิ่มบรรทัดว่า

    authoritative; 

    ไว้ภายใน subnet {
    }

    คำสั่งใช้ editor ชื่อ vi หรือ nano แล้วแต่ถนัด

    sudo  vi( or nano)  /etc/dhcp/dhcpd.conf

    แล้ว restart service

    sudo systemctl restart isc-dhcp-server.service

    ขอให้สนุก

  • ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server

    FOG Project A free open-source network computer cloning and management solution

    บทความนี้เป็นคำแนะนำ การติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server และบอกเล่าถึงวิธีการเลือกตั้งค่าในขั้นตอนติดตั้ง แยกบทความออกเป็น 2 บทความ

    หลังจากเรามี Ubuntu 18.04 Server พร้อมแล้ว

    สร้างไดเรกทอรีชื่อ fog

    mkdir fog
    cd fog

    ดาวน์โหลดไฟล์

    wget https://github.com/FOGProject/fogproject/archive/1.5.7.tar.gz

    แตกไฟล์

    tar -xzvf 1.5.7.tar.gz

    หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว เข้าไปไดเรกทอรี

    cd fogproject-1.5.7/
    cd bin/

    ต่อไปก็มาดูขั้นตอนติดตั้ง

    sudo  ./installfog.sh

    ในหน้าจอการติดตั้งจะมีคำถามให้ตอบ Y หรือ N ไปเรื่อย ๆ ซึ่ง เราจะต้องเลือกว่าจะใช้งาน fogproject แบบใด ระหว่าง 2 แบบนี้

    แบบที่ 1
    ติดตั้ง FOG Project แบบมี DHCP Server ด้วย เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ดูแลจัดการ network และ IP ของ Windows ได้เอง หรือ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะตั้ง DHCP SERVER เพื่อให้บริการ IP แก่ Windows ด้วยตนเอง

    แบบที่ 2
    ติดตั้ง FOG Project แบบใช้ Proxy DHCP เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ดูแลไม่ได้จัดการ network และ Windows จะได้รับ IP จาก DHCP Server ของ network หรือ ไม่สามารถตั้ง DHCP Server ขึ้นมาใช้งานเองได้

    วิธีลบ FOG อย่างสมบูรณ์
    หากต้องการย้อนการทำงาน กลับไปเริ่มต้นขั้นตอนติดตั้งใหม่ ให้ทำคำสั่งนี้

    delete fog database

    sudo mv /opt/fog/.fogsettings /opt/fog/fogsettings-firstInstall
    sudo userdel fogproject
    sudo rm /etc/systemd/system/multiuser.target.wants/FOGImageReplicator.service
    sudo rm /etc/systemd/system/multiuser.target.wants/FOGMulticastManager.service 
    sudo rm /etc/systemd/system/multi-user.target.wants/FOGScheduler.service 
    sudo mysql
    drop database fog;
    quit

    Remove files

    sudo rm -rf /var/www/fog
    sudo rm -rf /var/www/html/fog
    sudo rm -rf /opt/fog
    sudo rm -rf /tftpboot
    sudo rm -rf /images #Warning, this line deletes any existing images.

    ทำขั้นตอนติดตั้งใหม่

    sudo  ./installfog.sh

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์