หลังจากเราได้ติดตั้ง OS แล้ว ต่อไปจะเป็นการเชื่อมต่อกับเครือข่าย LAN หรือ Wi-Fi
ถ้าเป็นสายแลน ก็ไม่ยากครับ เสียบสายเข้าไปเลย โดย default config eth0 จะเป็น DHCP Client อยู่แล้ว
ส่วน Wi-Fi นั้น จากการหาข้อมูลชิบBroadcom BCM43438 Wireless Controller นั้น เหมือนจะรองรับเฉพาะ 2.4GHz ครับ
ผมจะเลือกทำการ connect Wi-Fi ก่อนนะครับ หลังจากนั้นค่อยเซ็ตอัพวัน/เวลา และโปรแกรม
เรื่องของการ connect เข้า Wi-Fi ที่เป็น WPA2 Enterprise นั่นก็อาจจะเป็นปัญหาเบื้องต้นที่เจอครับ คือ โดย default แล้วนั้น จะไม่ support ดังรูปข้างล่างนี้ ทำให้ connect เข้าโดยตรงไม่ได้
ต้องทำการแก้ไขปัญหาดังนี้ครับ
1.เปิด terminal จากนั้นแก้ไฟล์ wpa_supplicant.conf โดยใช้คำสั่ง
sudo nano /etc/wpa_supplicant/wpa_supplicant.conf
2.เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้เข้าไป
network={
ssid=“PSU WiFi (802.1x)“
priority=1
proto=RSN
key_mgmt=WPA-EAP
pairwise=CCMP
auth_alg=OPEN
eap=PEAP
identity=”YOUR_PSU_PASSPORT_USERNAME“
password=hash:xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
phase1=“peaplabel=0”
phase2=“auth=MSCHAPV2”
}
เซฟไฟล์ด้วยการกด Ctrl + X ตอบ Y กด Enter กลับมาที่หน้าจอ Terminal ตามเดิม
ข้อมูลที่ท่านสามารถปรับแก้ได้คือตัวอักษรสีแดงด้านบน ได้แก่
ssid <= ชื่อ ssid ซึ่งบางที่อาจจะไม่ใช่ดังในตัวอย่าง
identity <= username ของ psu passport อยู่ภายใต้เครื่องหมาย ” ”
password=hash: มาจากการคำนวณ hash ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
echo -n ‘YOUR_PASSWORD‘ | iconv -t utf16le | openssl md4
จากนั้นเอาค่ามาใส่แทนที่ xxxxxxxx ตามตัวอย่างข้างบน
3.เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ restart service networking ซักครั้งหนึ่งด้วยคำสั่ง
sudo service networking restart
4.หากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ให้ reboot ซักครั้ง
sudo reboot
5.เมื่อ reboot กลับมาแล้ว ท่านจะพบว่ามีการเชื่อมต่อ SSID ตามที่ท่านได้เซ็ตเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ดังรูปด้านล่างนี้
** คำสั่งที่ท่านพิมพ์ผ่าน Terminal จะถูกเก็บ History เอาไว้ รวมทั้งรหัสผ่านที่ท่านได้สร้างเป็น hash เอาไว้ ท่านจะต้องทำการเคลียร์ออก ด้วยคำสั่ง
history -c (เพื่อเคลียร์ทั้งหมด) หรือ
history | tail เพื่อดูหมายเลขบรรทัด เช่น 300 จากนั้นใช้คำสั่ง
history -d 300 เพื่อลบเฉพาะบรรทัดนั้น
เมื่อเสร็จเรื่องการเชื่อมต่อแล้ว จากนั้นควรทำการเซ็ตอัพวันเวลา / timezone ให้เรียบร้อย
เปิด Terminal จากนั้นพิมพ์คำสั่ง sudo dpkg-reconfigure tzdata
เลือก Asia และเลือก Bangkok กด Enter เป็นอันเสร็จสิ้นครับ
จากนั้นควรทำการ sync time เพื่อให้ได้เวลาที่ถูกต้อง
** ใน Raspbian Stretch ส่วนของ NTP จะไม่ได้ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติ จะต้องทำการติดตั้งก่อนด้วยคำสั่งต่อไปนี้
sudo apt install ntp
รอจนเสร็จ จากนั้นทำการ enable ด้วยคำสั่ง
sudo systemctl enable ntp
และสั่งอัพเดทวัน/เวลา ด้วยคำสั่ง
sudo timedatectl set-ntp 1
สำหรับการติดตั้ง Software เพิ่มเติมนั้น สามารถทำได้โดยการใช้ Add / Remove Software
(ขอกลับมาใช้ GUI บ้างครับ)
ด้วยการกดที่ ICON Raspberry เลือก Preferences > Add/Remove Software
จากนั้นท่านจะพบกับ package ให้เลือก ตามที่ท่านต้องการ จากนั้นกด Apply ได้ทันทีครับ
และบางครั้งการทำงานผ่านหน้าจอ console ของ Raspberry Pi เอง อาจจะลำบาก ยากต่อการเข้าถึง จึงแนะนำให้ติดตั้ง Remote Desktop ด้วยครับ (ในที่นี้ เนื่องจากผมทำงานกับ Windows ซะเป็นส่วนใหญ่ จึงขอติดตั้งเฉพาะ RDP นะครับ ส่วนวิธีอื่น (เช่น VNC) ท่านสามารถหาอ่านได้ทั่วไปเลยครับ)
ทำการติดตั้ง package RDP ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
sudo apt-get install xrdp
เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านก็จะสามารถเข้าผ่าน Remote Desktop บน Windows ได้ทันที
โดย default username จะเป็น pi และ default password ก็คือ raspberry ครับ
และสำหรับการใช้งานสำหรับคนไทย ขาดไม่ได้คือการเพิ่มคีย์บอร์ดภาษาไทย เพื่อให้พิมพ์ไทยได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
คลิ๊กขวาบน Taskbar ด้านบน เลือก Panel Settings
เลือกแทบ Panel Applets จากนั้นกดปุ่ม Add
เลือก Keyboard Layout Handler จากนั้นกด Add
กด Preferences เพื่อแก้ไขค่าของ Keyboard Layout Handler
นำเครื่องหมายถูก หน้า Keep system layouts ออก (unchecked) จากนั้นกดปุ่ม Add เพื่อเพิ่ม Keyboard Layouts
เลือก th Thai จากนั้นกด OK ออกมาจากหน้าจอ Add Keyboard Layout
หากต้องการปรับปุ่มสลับภาษา สามารถเลือกได้ที่ Change Layout Option โดยมีให้เลือกตามความถนัด
จากนั้นสังเกตมุมขวาบน จะเห็นสัญลักษณ์ธงชาติ แสดงภาษาที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้นครับ
สำหรับตอนต่อไป จะเป็นการเชื่อมต่อกับ I2C Module กับจอ LCD ขนาด 16×2 เพื่อแสดงผลตัวอักษร และการเขียน Python เบื้องต้นครับ
ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ