เราจะมาเรียนรู้ การใช้ docker compose รัน service 2 services คือ OpenLDAP และ phpLDAPadmin ซึ่ง docker จะมองว่าการใช้ docker compose คือ เรากำลังรัน project ที่ประกอบด้วย service หลาย ๆ service
ให้แน่ใจว่าอยู่ที่ home directory ให้ใช้คำสั่งนี้
$ cd
สร้างไดเรกทอรีของ project สมมติตั้งชื่อว่า ex1
$ mkdir ex1 $ cd ex1
สร้างไดเรกทอรี openldap ภายในมี dockerfile และไดเรกทอรีที่เกี่ยวข้อง ทำตามบล็อกเรื่อง “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 9 Dockerfile (OpenLDAP)”
สร้างไดเรกทอรี phpldapadmin ภายในมี dockerfile และไดเรกทอรีที่เกี่ยวข้อง ทำตามบล็อกเรื่อง “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 10 Dockerfile (phpLDAPadmin)”
สร้างไฟล์ docker-compose.yml ด้วยเอดิเตอร์ที่ถนัด เช่น vi หรือ nano ก็ได้
$ vi docker-compose.yml version: '2' services: openldap: build: ./openldap container_name: openldap volumes: - ldapdatavol:/var/lib/ldap - ldapconfigvol:/etc/ldap/slapd.d ports: - "389:389" - "636:636" restart: always phpldapadmin: build: ./phpldapadmin container_name: phpldapadmin environment: HNAME: "openldap" ports: - "8080:80" depends_on: - openldap restart: always volumes: ldapdatavol: external: false ldapconfigvol: external: false
อธิบายได้ดังนี้
ไฟล์ docker-compose.yml นี้ จะมี service แรกคือ openldap จะ build image จากไดเรกทอรี ./openldap เมื่อรันเป็น container จะตั้งชื่อว่า openldap โดยมีที่เก็บข้อมูลถาวรคือ ldapdatavol จะ mapped ไปยัง /var/lib/ldap ใน container และที่เก็บคอนฟิก ldapconfigvol จะ mapped ไปยัง /etc/ldap/slapd.d ใน container เช่นเดียวกัน
โดย Host และ container เปิด port ตรงกัน คือ เปิด port TCP 636(LDAPS) และ 389(LDAP) และ container นี้จะทำงานทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง
ต่อมา service ที่สองคือ phpldapadmin จะ build image จากไดเรกทอรี ./phpldapadmin เมื่อรันเป็น container จะตั้งชื่อว่า phpldapadmin มีการตั้งค่าตัวแปร HNAME เป็นชื่อ container อันแรก คือ openldap โดยที่ Host จะเปิด port TCP 8080 ไปยัง port TCP 80 ของ container นี้ ถัดมาคือ depends_on คือ จะรัน container นี้ได้ก็ต่อเมื่อมี container ชื่อ openldap และ container นี้จะทำงานทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง
ท่อนล่างสุด คือ การกำหนดว่า จะมีการใช้ named volume ชื่อ ldapdatavol และ ldapconfigvol ทั้งสอง volume นี้ จะถูกสร้างโดยคำสั่ง docker-compose ไม่ได้ไปใช้ volume จากที่ได้สร้างไว้ก่อนแล้ว (external: false) หากจะย้อนกลับไปอ่านเรื่อง “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 7 Manage data” จะเข้าใจเรื่อง named volume ครับ
ผลลัพธ์หลังจากเตรียมครบ ภายในไดเรกทอรี ex1 จะมี 1 ไฟล์ และ 2 ไดเรกทอรี ดังนี้
$ ls docker-compose.yml openldap phpldapadmin
ตอนนี้เราก็เตรียมการต่าง ๆ เสร็จแล้ว
ต่อไปก็ใช้คำสั่ง docker-compose เพื่อสร้าง service คือ openldap และ phpldapadmin ดังนี้
$ docker-compose up -d
ตรวจสอบรายการ image
$ docker images REPOSITORY TAG IMAGE ID CREATED SIZE phpldapadmin latest d314c021fd1a 6 hours ago 282MB ex1_phpldapadmin latest f2feaa90c59b 9 days ago 282MB ex1_openldap latest e98f6bad71a7 9 days ago 259MB openldap latest cb8b1c0057cc 11 days ago 259MB ubuntu 16.04 ccc7a11d65b1 5 weeks ago 120MB
จะพบว่ามี image ของ project ex1 คือ ex1_openldap และ ex1_phpldapadmin ส่วน image ชื่อ openldap และ phpldapadmin สองอันนั้นที่เห็นเป็น image ที่สร้างด้วยคำสั่ง docker build ตอนที่เราเรียนรู้เรื่อง “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 9 Dockerfile (OpenLDAP)” และ “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 10 Dockerfile (phpLDAPadmin)” ครับ
ตรวจสอบรายการ container ที่รันอยู่
$ docker ps CONTAINER ID IMAGE COMMAND CREATED STATUS PORTS NAMES b61e8f24802c ex1_phpldapadmin "/bin/bash /run.sh..." 3 minutes ago Up 3 minutes 0.0.0.0:8080->80/tcp phpldapadmin 489bb2db70d3 ex1_openldap "/bin/sh -c '/usr/..." 3 minutes ago Up 3 minutes 0.0.0.0:389->389/tcp, 0.0.0.0:636->636/tcp openldap
จะพบว่ามี container ชื่อว่า openldap และ phpldapadmin เกิดขึ้นหลังคำสั่ง docker-compose up -d
ทดสอบการเข้าใช้งานทาง web ไปที่ http://ldap.example.com:8080/phpldapadmin/ (เนื่องจาก VM ที่ใช้ทดสอบ คือ ubuntu ที่ได้ติดตั้ง XFCE desktop environment ไว้ด้วยทำให้สามารถใช้งาน web browser ได้ด้วย)
หลังจาก login แล้วจะเห็นข้อมูล LDAP และจัดการ LDAP database ได้
จากความรู้ที่ได้เรียนมาหลาย ๆ ตอนจนถึงตอนนี้ เราก็น่าจะได้แนวทางในการสร้าง service ความเข้าใจอย่างง่าย ๆ คือ หากเป็น image ที่เราจะทำขึ้นเอง ไม่ได้ไป pull จาก docker hub เราก็ทำด้วย dockerfile และหากมี service ที่ใช้ร่วมกันระหว่าง service ก็เปลี่ยนไปทำต่อด้วย docker-compose จะสะดวกกว่า
อนึ่งหาก pull หรือมี image อยู่แล้ว ก็เปลี่ยนจาก build: ./openldap เป็น image: openldap และปรับแก้ไขนิดหน่อยตามที่ผู้พัฒนา image นั้นได้แจ้งวิธีการไว้ครับ
จากที่ได้เขียนบล็อกในชุด “เตาะแตะไปกับ Docker” ตั้งแต่ ตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 11 นี้ ผมคิดว่าก็น่าจะเพียงพอให้เข้าใจว่า docker ใช้งานอย่างไร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านคงได้รับความรู้กันครับ และสามารถลองทำตามได้โดยไม่ติดขัดอะไร