การเติมข้อมูล PDF Fill Form ผ่านโปรแกรมด้วย iTextSharp

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผมได้เข้าร่วมในโครงการที่ต้องพัฒนาโปรแกรมที่มีการกรอกข้อมูลลงฟอร์ม และต้องการให้พิมพ์ข้อมูลต่างๆเป็น PDF จึงได้มีโอกาสศึกษาการใช้ PDF Fill Form และ iText Sharp Library เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา ผมจึงคิดว่าน่าจะเอาสิ่งที่ได้ศึกษามาเล่าสู่กันฟัง เผื่อมีท่านใดสนใจจะนำไปใช้ครับ เริ่มต้นทำสร้าง PDF Fill Form โดยทั่วไปเราจะใช้งาน Pdf File เพื่ออ่านกันเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆแล้ว PDF นั้นสามารถจะสร้าง form สำหรับใช้กรอกข้อมูลลงบนตัวเอกสารได้ด้วยครับ โดยมีวิธีการดังนี้ 1.นำเอกสารแบบฟอร์ม ซึ่งเป็นไฟล์ word มาทำการสั่ง export  เป็นไฟล์ PDF หรือถ้ามีไฟล์ PDF ที่เป็นแบบฟอร์มอยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยทำตามภาพนะครับ 2.นำไฟล์ PDF ที่ได้มา เปิดด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat Pro 3.คลิก Tools เพื่อทำการ edit โดยโปรแกรมจะถามว่าต้องการให้โปรแกรมสร้าง field อัตโนมัติให้หรือไม่ ถ้าตอบตกลงโปรแกรมจะสร้าง field ข้อมูลให้ในพื้นที่เอกสารที่คาดว่าจะเป็นช่องว่างสำหรับกรอกข้อมูลให้ 4.ทำการแก้ไขชื่อ field ข้อมูลให้เป็นชื่อที่เราต้องการ โดยคลิกเมาส์ขวาที่กล่อง field และเลือกเมนู property จะมี Popup ให้แก้ไขรายละเอียดต่างๆของ field 5.หากต้องการเพิ่ม field ใหม่ เราสามารถเพิ่ม รูปแบบ field หลายแบบ เช่น – Text Box เป็น Field ที่ใช้เก็บข้อความต่างๆ – Check Box เป็น Field ที่ใช้เก็บค่าในการเลือกข้อมูลในฟอร์มแบบช่องสี่เหลี่ยม – Radio Box เป็น Field ที่ใช้เก็บค่าในการเลือกข้อมูลในฟอร์มเช่นกัน แต่จะแตกต่างกับ Check Box ที่เป็นวงกลม และจะเลือกค่าได้เพียงค่าเดียวในกลุ่มข้อมูลชุดเดียวกัน เช่น การกรอกข้อมูลเพศ ที่จะเลือกได้เพียงแค่เพศเดียว 6.เมื่อสร้าง field จนครบถ้วนก็ทำการบันทึกไฟล์ คลิกเลือกไปที่เมนู File -> Save เพียงเท่านี้ก็จะได้ไฟล์ PDF ที่เป็นแบบฟอร์มส่งไปให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล และบันทึกส่งเป็นไฟล์ PDF กลับมา   ตัวอย่างการใช้ iText Sharp บน C# เติมค่าลงใน PDF Fill Form เพียงเท่านี้เราก็สามารถจะสามารถส่งข้อมูลจากโปรแกรมของเราไปกรอกในไฟล์ PDF ที่เราได้สร้างเป็น template ได้ พร้อมให้ user นำข้อมูลไปใช้ได้ทันทีครับ อ้างอิงข้อมูล http://techvalleyprojects.blogspot.com/2011/08/fill-pdf-forms-in-c-with-itextsharp.html

Read More »

การเรียกดูรายการ object ในฐานข้อมูล Oracle

คำสั่งที่ใช้ในการเรียกดู รายการ object ในฐานข้อมูล Oracle การเรียกดูรายการ object ทั้งหมดในฐานข้อมูล Oracle (เช่น table, view ฯลฯ)  สามารถเรียกดูได้จาก view ที่ชื่อว่า ALL_OBJECTS  ตัวอย่างคำสั่งคือที่ใช้เรียกดูคือ   SELECT * FROM ALL_OBJECTS;   โดยคำสั่งนี้จะแสดงรายการ object ทั้งหมดที่มี   แต่ในการใช้งานส่วนใหญ่ อาจจะต้องการเจาะจงดูแค่บางเงื่อนไข เช่น ต้องการดูรายการ table ทั้งหมด โดยเจาะจงแค่ schema ใด schema  หนึ่งเท่านั้น  ซึ่งสามารถใช้เงื่อนไขจากฟีลด์ต่อไปนี้ คือ OBJECT_TYPE เป็นการเรียกดูตามเงื่อนไขของประเภท object เช่น หากต้องการดูเฉพาะ table จะใช้เงื่อนไขเป็น  WHERE OBJECT_TYPE = ‘TABLE’ OWNER เป็นการเรียกดูเฉพาะเจาะจง schema ใด schema  หนึ่ง เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลจาก schema ชื่อ SCOTT จะใช้เงื่อนไขเป็น WHERE OWNER = ‘SCOTT’ ตัวอย่างคำสั่งเต็ม ๆ กรณีที่ต้องการเรียกดูเฉพาะ table ทั้งหมดที่อยู่ใน schema ที่ชื่อ SCOTT SELECT * FROM ALL_OBJECTS WHERE OBJECT_TYPE=’TABLE’ AND OWNER=’SCOTT’;   ตัวอย่างการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เห็นภาพการนำไปใช้งานจริง จึงขอยกตัวอย่างที่เคยใช้งาน คือ การสร้างสคริปต์คำสั่ง sql ที่อ้างอิงชื่อ table ที่อยู่ใน schema ใด schema หนึ่ง โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างการ grant สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของ schema หนึ่งไปให้กับอีก schema หนึ่ง ที่มาที่ไปคือ ในบางครั้ง เราต้องการ grant สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของ schema หนึ่งไปให้กับอีก schema หนึ่ง เช่น ต้องการ grant สิทธิ์การเรียกดูข้อมูลใน table ชื่อ TABLE01 ของ schema ที่ชื่อ SCHEMA01 ให้ schema ที่ชื่อ SCHEMA02 สามารถเรียกดูข้อมูลได้ คำสั่งที่ใช้ในการ grant คือGRANT SELECT ON SCHEMA01.TABLE01 TO SCHEMA02; แต่หากต้องการ grant หลาย ๆ  table ก็ต้องพิมพ์คำสั่งเหล่านี้ทีละคำสั่งซ้ำๆ ไปจนครบตามชื่อ talbe ที่ต้องการ grant ซึ่งถ้า table ที่ต้องการ grant มีเป็นจำนวนมากก็จะยิ่งใช้เวลามากยิ่งขึ้น และอีกปัญหาคือ มีโอกาสพิมพ์ชื่อ table ผิด เทคนิคในการสร้างสคริปต์เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้นจะมีรูปแบบดังนี้คือSELECT ‘GRANT SELECT ON OWNER_SCHEMA.’ || OBJECT_NAME || ‘ TO OTHER_SCHEMA;’ FROM ALL_OBJECTS WHERE OBJECT_TYPE = ‘TABLE’; เมื่อ OWNER_SCHEMA คือชื่อของ schema ที่เป็นเจ้าของ table OBJECT_NAME คือชื่อฟีลด์ที่อยู่ใน ALL_OBJECTS โดยเป็นข้อมูลของชื่อ object ซึ่งกรณีนี้คือชื่อของ table นั่นเอง OTHER_SCHEMA คือชื่อของ schema ที่ได้รับการ grant สิทธิ์ให้เรียกดูข้อมูลใน table ของ OWNER_SCHEMA WHERE OBJECT_TYPE = ‘TABLE’ เป็นการระบุเงื่อนไขว่าต้องการ object ที่เป็น table เท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ GRANT SELECT ON OWNER_SCHEMA.TABLE01 TO OTHER_SCHEMA; GRANT SELECT ON OWNER_SCHEMA.TABLE02

Read More »

Unlimited multi level menu in mvc

สวัสดีค่ะวันนี้เรามาว่ากันเรื่องเมนูกันดีกว่านะคะ คำว่าเมนู ผู้เขียนคิดว่าทุกคนต้องรู้จักแน่นอน เพราะในการพัฒนาแต่ละระบบนั้นส่วนใหญ่จะมีส่วนของงานหลายๆส่วน ทำให้มีการออกแบบหน้าจอการใช้งานหลายหน้าจอเพื่อรองรับการทำงานของระบบนั้น เมื่อส่งมอบระบบ แน่นอน!! ค่ะ ความต้องการของลูกค้าไม่หยุดแค่นั้นแน่นอน เมื่อความต้องการเพิ่ม การทำงานของหน้าจอก็เพิ่ม เมนูก็ต้องเพิ่มตามมาเช่นกัน ทำให้ผู้พัฒนาต้องไปแก้โค้ดในส่วนของเมนูทุกครั้งที่มีการเพิ่มเมนู การจัดหมวดหมูของเมนู หรือต้องการปรับเปลี่ยน path ที่ไปเรียกหน้าจอนั้นๆ แค่คิดก็ดูยุ่งยากต่อการจัดการแล้ว วันนี้ผู้เขียนจึงนำวิธีการออกแบบและพัฒนาในส่วนของเมนูที่ผู้เขียนได้ใช้พัฒนาใน MVC มาเป็นตัวอย่างให้ดูกันนะคะ สำหรับผู้อ่านที่ไม่ได้ใช้ MVC ก็สามารถนำไปปรับเปลี่ยนได้ค่ะ หลังจากพัฒนาแล้วระบบก็จะสามารถ เพิ่มเมนู หรือเปลี่ยน path ของเมนู หรือ จัดการกลุ่มของเมนู ได้โดยไม่ต้อง publish ระบบ ทุกครั้งที่มีการแก้ไข ทำให้ง่ายและไม่เสียเวลาในการจัดการเลยค่ะ เรามาเริ่มกันเลยค่ะ ผู้เขียนขอแบ่งการพัฒนาเป็นสองส่วนนะคะ คือ 1.การพัฒนาในฐานข้อมูล : ในส่วนของการออกแบบฐานข้อมูลผู้อ่านต้องออกแบบให้มีการเก็บ id ของ parent เพื่อระบุให้รู้ว่าเมนูตัวนี้เป็นลูกของเมนูตัวไหน ตัวอย่างการออกแบบฐานข้อมูลของเมนู คอลัมภ์ คำอธิบาย  ParentID Id ของ parent MenuID Id ของเมนู MenuName ชื่อของเมนู 2.การพัฒนาระบบ : เป็นการพัฒนาระบบผู้เขียนจะใช้วิธีการพัฒนาแบบใช้ Recursive เข้ามาจัดการในส่วนของการแสดงเมนู โดยข้อดีของ Recursive คือเราสามารถจัดการได้ทั้งส่วนที่มีเมนูย่อย และไม่มีเมนูย่อย ตัวอย่างในส่วนของ Recursive ที่ใช้ใน View เพื่อการแสดงเมนู ( MVC) @helper GetSubMenus(IEnumerable<menutable> siteMenu, Nullable<int> parentID) {     foreach (var i in Model.Where(a => a.ParentID.Equals(parentID)))     {         var submenu = Model.Where(a => a.ParentID.Equals(i.MenuID)).Count();           <li class=”@(submenu > 0 ? “dropdown-submenu” : “dropdown”)”>             <a href=”@(!string.IsNullOrEmpty(i.MenuLink) ? Url.Content(i.MenuLink) : “~/default)” style=”font-size:16px;”>@i.MenuName</a>             @if (submenu > 0)             {                 <ul class=”dropdown-menu”>                     @GetSubMenus(siteMenu, i.MenuID)                     @* Recursive  Call for Populate Sub items here*@                 </ul>             }         </li>     } }   @{     var mymenu = @Model;     var menuParentID = mymenu.First().ParentID; }  @if (mymenu != null && mymenu.Count() > 0) {     <nav class=”navbar navbar-default”>         <div class=”container-fluid”>             <div class=”collapse navbar-collapse” id=”bs-example-navbar-collapse-1″>                 <ul class=” nav navbar-nav”>                     @GetSubMenus(mymenu, menuParentID)                 </ul>             </div>         </div>     </nav> } ตัวอย่างหน้าจอของเมนูที่เรียกใช้ Recursive เพื่อจัดการเมนู

Read More »

Oracle: retrieve top n records for each group

วิธีการเขียน Query เพื่อดึงข้อมูลข้อมูลสูงสุดหรือต่ำสุด N ลำดับแรกของแต่ละกลุ่มออกมาจากตาราง สมมติว่าเรามีข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ซึ่งประกอบด้วย 5 ฟิลด์ข้อมูลดังตัวอย่างข้างล่าง ข้อมูล: ตาราง TEST_NEW_STUDENT เป็นตัวอย่างข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการ โจทย์: ต้องการดึงข้อมูลนักศึกษาที่ได้คะแนนภาษาอังกฤษสูงสุดแยกตามคณะจากข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการนี้ เริ่มต้นด้วย query ดังนี้ SELECT a.*, ROW_NUMBER () OVER (PARTITION BY fac_id ORDER BY eng_score DESC) AS val_row_number FROM test_new_student a จุดสำคัญของ query ข้างต้นก็คือฟังก์ชัน ROW_NUMBER ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่จะให้เลขบรรทัดของผลลัพธ์ออกมาตามการจัดกลุ่มข้อมูลหรือการเรียงลำดับที่เรากำหนดไว้ด้วยคำสั่ง OVER, PARTITION BY และ ORDER BY ที่ตามมา จากตัวอย่างข้างต้นหมายความว่า เรากำลัง Select * จากตาราง TEST_NEW_STUDENT พร้อมกับดึงเลข ROW_NUMBER ออกมา โดยเป็นเลขบรรทัดที่ให้แบ่งกลุ่มด้วยคณะ และให้เรียงลำดับด้วยคะแนนภาษาอังกฤษจากมากไปน้อย ซึ่งผลที่ได้จะเป็นดังนี้ สังเกตที่ฟิลด์ VAL_ROW_NUMBER จะเห็นว่ามันแสดงตามอันดับของคะแนนภาษาอังกฤษ และถูกแบ่งตามคณะอย่างเรียบร้อย แค่นี้เราก็สามารถที่จะ select เอา Top ที่เท่าไหร่ของแต่ละกลุ่มได้แล้ว โดยเลือกเอา VAL_ROW_NUMBER ที่ต้องการ ซึ่งสามารถทำได้โดยเขียน select…where ซ้อน query ข้างต้นเข้าไปอีกทีดังนี้ SELECT * FROM (SELECT a.*, ROW_NUMBER () OVER (PARTITION BY fac_id ORDER BY eng_score DESC) AS val_row_number FROM test_new_student a) WHERE val_row_number <= 1; ผลลัพธ์: สรุปจากความต้องการที่ตั้งไว้ เราสามารถแก้ได้โดยใช้ Window Function ซึ่งมันสามารถหาเลขลำดับบางอย่างภายในกลุ่มข้อมูลออกมาให้ได้รูปแบบทั่วไปของ query คือ 1 SELECT *, 2 WFUNCTION OVER (PARTITION BY GROUP_FIELDS ORDER BY ORDER_FIELDS) n 3 FROM SOURCE โดยที่ SOURCE คือตัวข้อมูล WFUNCTION  หมายถึง Window Function ตัวอย่างที่เราเลือกใช้คือ ROW_NUMBER() GROUP_FIELDS คือรายการฟิลด์ที่จะแบ่งกลุ่ม เขียนเหมือนตอนที่เราจะ group by สามารถแบ่งด้วยหลายฟิลด์ก็ได้ ORDER_FIELDS คือรายการฟิลด์ที่ใช้เรียงลำดับ, สามารถเรียงด้วยหลายฟิลด์ก็ได้, ใส่ ASC หรือ DESC ได้เหมือนคำสั่ง order by ปกติเราไม่จำเป็นต้องใส่ทั้ง partition by และ order by อาจจะใส่แค่อันใดอันหนึ่ง แล้วแต่ว่าต้องการแบ่งกลุ่มหรือเรียงลำดับหรือไม่ n เป็นชื่อ alias ของผลลัพธ์ จะตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ เมื่อเราได้เลขลำดับ n ของแต่ละกลุ่มออกมาแล้ว ทีนี้จะเอาไปหา Top N หรือพลิกแพลงยังไง ก็แล้วแต่จะ query ออกมา

Read More »

Oracle: retrieve top n records from a query

Top-N queries เป็นวิธีการดึงข้อมูลสูงสุดหรือต่ำสุด N ลำดับแรกออกมาจากตาราง โดยวิธีการดึงข้อมูลแบบ Top-N นั้นมีได้หลายวิธี แต่ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการดึงข้อมูลแบบ Top-N records เพียง 3 วิธีการดังนี้ 1. Inline View and ROWNUM 2. WITH Clause and ROWNUM 3. ROW_NUMBER   สมมติว่าเรามีข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ซึ่งประกอบด้วย 5 ฟิลด์ข้อมูลดังตัวอย่างข้างล่าง ข้อมูล: ตาราง TEST_NEW_STUDENT เป็นตัวอย่างข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการ โจทย์: ต้องการดึงข้อมูลนักศึกษาที่ได้คะแนนภาษาอังกฤษสูงสุด 5 อันดันแรกจากข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการนี้   เริ่มต้น Top-N query ตามลำดับเพื่อแก้โจทย์กันค่ะ Inline View and ROWNUM Classic Top-N style query SELECT a.*,rownum FROM (SELECT * FROM test_new_student ORDER BY eng_score desc) a WHERE ROWNUM <= 5; ผลลัพธ์: • จากผลลัพธ์ที่ได้ข้อมูลจะถูกจัดเรียงจากคะแนนจากมากไปน้อยก่อนด้วย ORDER BY clause และหลังจากนั้นก็จะจำกัดจำนวนข้อมูลที่ต้องการด้วย ROWNUM • Pseudocolumn ROWNUM เป็นค่าตัวเลขแสดงลำดับที่ของการดึงข้อมูลจากตาราง • กรณีที่ต้องการข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษต่ำสุด ใส่ ASC แทน DESC ตรง ORDER BY clause   WITH Clause and ROWNUM จากตัวอย่างข้างต้นเรายังสามารถเขียน query ด้วย WITH clause แทนที่ inline view ได้ดังนี้ WITH ordered_query AS (SELECT * FROM test_new_student ORDER BY eng_score desc) SELECT ordered_query.*,rownum FROM ordered_query WHERE rownum <= 5;   ROW_NUMBER ฟังก์ชัน ROW_NUMBER เป็นฟังก์ชันที่กำหนดค่าลำดับของข้อมูลที่จัดเรียงตามข้อมูลที่กำหนดไว้ใน order_by_clause โดยจะมีค่าเริ่มต้นเท่ากับ 1 โดยเราจะมีวิธีการเขียน query ได้ดังนี้ SELECT * FROM (SELECT a.*, row_number() OVER (ORDER BY eng_score DESC) AS val_row_number FROM test_new_student a) WHERE val_row_number <= 5; ผลลัพธ์: สังเกตที่ฟิลด์ VAL_ROW_NUMBER จะเห็นว่ามันแสดงตามอันดับของคะแนนภาษาอังกฤษแล้ว แค่นี้เราก็สามารถที่จะ select เอา Top ที่เท่าไหร่ได้แล้ว โดยเลือกเอา VAL_ROW_NUMBER ที่ต้องการ

Read More »