มารู้จักกับ CoreOS Linux และวิธีติดตั้ง CoreOS Linux บน Vmware

CoreOS Linux คืออะไร เอาไปใช้ทำอะไร

             ในโลกของ Containner ในปัจจุบันมีหลายตัวเลือกให้ใช้งาน แต่การใช้งานที่สมบูรณ์จำเป็นต้องมี 3 อย่างรวมกันคือ Containner (ยกตัวอย่าง Docker,Rocket,Lxd), OS ขนาดเล็ก (ยกตัวอย่าง CoreOS, RancherOS, PhotonOS, Snappy Ubuntu Core, Redhat Project Atomic), และสุดท้ายคือโปรแกรมบริหารจัดการ Containner (ยกตัวอย่าง Kubernete, Admiral, Rancher, Kitematic)

             สำหรับ CoreOS[1] เองรองรับการงานทั้งใน Cloud(AWS,Digital Ocean,Azure,Google Cloud Platform) หรือใน Virtualization Platform (ยกตัวอย่าง OpenStack, VMWare, Vagrant) และยังสามารถติดตั้งลงบนเครื่อง Physical (Bare Metal) ได้อีกด้วย
             CoreOS มีจุดเด่นอีกอย่างคือระบบ CoreOS Cluster[2] ที่สามารถออกแบบเป็น Cluster ช่วยให้สามารถบริการ Docker Containner กระจายไปยัง Node ต่าง ๆ โดยใช้ etcd ในการจัดการระบบและใช้ fleet ในการสร้าง Docker ที่อยู่บน CoreOS Cluster ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความต่อไปครับ


             การติดตั้ง ติดตั้งได้หลากหลายช่องทาง เขียนแผ่นติดตั้งก็ได้ ผ่าน iso ก็ได้ แต่ถ้าเป็น Image จะไม่มี User (จริง ๆ มีแต่ไม่มี Password) ต้องสร้างด้วยสิ่งที่เรียกว่า cloud-config ซึ่งจำเป็นต้องตั้งค่าก่อนติดตั้ง หรืออีกแบบที่จะขอแนะนำ เป็นวิธีที่ใช้สำหรับ Image ที่เป็น ova ของ Vmware ซึ่งใช้วิธี Bypass เข้า Auto Login Mode[1] แล้วเข้าไป Add User เอาเองภายหลัง (สามารถนำไปประยุกต์กับวิธีติดตั้ง Image แบบอื่นได้เช่นเดียวกัน) 

การติดตั้ง CoreOS ด้วย OVA Image ผ่าน vSphere Client 6.0[3]

  • โหลดไฟล์ติดตั้งจาก https://stable.release.core-os.net/amd64-usr/current/coreos_production_vmware_ova.ova
    (ุถ้า Link เปลี่ยนไปหาดูเอาเองนะครับ)
  • เปิด vSphere Client เลือก deploy OVF Template จากนั้นทำการ Browse File เลือกเครื่อง เลือก DataStore ตามปกติ

 

  • เมื่อถึงหน้าตั้งค่าใส่ Hostname และการตั้งค่า Network เบื้องต้น (ในที่นี้ผมใส่แค่ Hostname และ ชื่อ Network Interface โดยรับ IP จาก DHCP)


  • จากนั้นเมื่อสร้างเสร็จและเปิดเครื่องขึ้นมารีบกดปุ่มลูกศรลงในหน้า Grub ป้องกัน Auto Boot (เร็วมาก ถ้าไม่ทันก็ให้รีเครื่องใหม่)

  • จากนั้นให้เลือก CoreOS default แล้วกด e และพิมพ์ coreos.autologin (ไม่ต้องพิมพ์ \ ก่อนขึ้นบรรทัดใหม่ ระบบจะใส่ให้เอง)

  • จากนั้นกด F10 ก็จะทำการ Boot และ ได้ Prompt สำหรับ adduser ตั้งรหัสผ่านได้เลย ซึ่งจริง ๆ แล้วจะมี User ตั้งต้นอยู่แล้วชื่อ core จะตั้งเฉพาะรหัสผ่าน core ก็ได้เช่นเดียวกัน)
  • ทดสอบ Login จาก ssh เครื่องอื่น ก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว

           ตอนต่อไปจะมาดูกันว่าเราจะสร้าง CoreOS Cluster ได้อย่างไร….

==================================

Reference :

[1] มาเล่น CoreOS กัน : http://thaiopensource.org/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99-coreos-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/

[2] CoreOS Cluster บน DigitalOcean : http://thaiopensource.org/tag/coreos/

[3] How-To Install and Configure CoreOS OVA Image on ESXi : https://www.vladan.fr/how-to-install-and-configure-coreos-ova-image-on-esxi/

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 5 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More