การสร้างเอกสารด้วย Sphinx

sphinx คือเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเอกสารที่พัฒนาโดย Georg Brandl เดิมที sphinx ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้สร้างเอกสารสำหรับ Python แต่สามารถใช้งานกับภาษาอื่นๆได้เช่นกัน

sphinx ใช้ reStructuredText (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ reStructuredText ได้ที่ บทความ ก่อนหน้า) ในการกำหนดรูปแบบของเอกสาร และชุดเครื่องมือในการ parsing และ translating เอกสารในรูปแบบ  reStructuredText ไปเป็นรูปแบบที่ต้องการเช่น html หรือ pdf เป็นต้น

ในการติดตั้งใช้งาน sphinx นั้นจำเป็นต้องต้องติดตั้ง Python เนื่องจาก sphinx ได้รับการพัฒนาโดยใช้ Python language ทำให้การใช้งาน sphinx ต้องติดตั้ง Python ด้วย โดย Python ที่ใช้ต้องเป็น Python version 2.7 เป็นอย่างน้อย

การติดตั้ง Python บน windows  ทำได้โดยเข้าไป download “Python windows installer” ที่ https://www.python.org/ และทำการติดตั้ง หลังจากติดตั้งเรียบร้อย จะต้องทำการกำหนดค่า Python executable directory ใน PATH environment variable เพื่อที่จะสามารถ run Python และ package command เช่น sphinx-build ได้จาก command prompt

Installing Sphinx with pip

การติดตั้ง Sphinx ทำได้โดยการใช้ “pip”  ซึ่ง pip เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ download และติดตั้ง 3rd-party libraries สำหรับ Python ซึ่งจะถูกรวมอยู่ใน Python official installation ตั้งแต่ version Python-3.4.0

การติดตั้ง sphinx โดยใช้คำสั่งดังนี้บน command prompt

C:\> pip install sphinx

หลังจากติดตั้งเรียบร้อย ให้พิมพ์คำสั่ง sphinx-build -h บน command prompt ถ้าทุกอย่างถูกต้อง จะแสดงข้อมูล Sphinx version number และ list ของ option ต่างๆสำหรับคำสั่งนี้

Setting up the documentation sources

การพัฒนาเอกสารด้วย sphinx นั้น เริ่มแรกเราจะต้องกำหนดพื้นที่สำหรับพัฒนาเอกสารและจัดเก็บ config ที่ใช้สำหรับ sphinx ซึ่ง sphinx มีคำสั่ง sphinx-quickstart ซึ่งทำหน้าที่กำหนด source directory และสร้าง default config file “conf.py” ที่จำเป็นให้ โดยใช้คำสั่งดังนี้

C:\> sphinx-quickstart

sphinx-quickstart script สร้างโครงสร้าง folder พร้อมทั้ง file เริ่มต้นรวมทั้ง Makefile และ make.bat ซึ่งจะใช้ในการ build (parsing และ translating โดยที่ถ้าพบส่วนที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด syntax จะแสดง warning หรือ error พร้อมทั้งรายละเอียดของ line เช่นเดียวกับการ build “code program”)

หลังได้โครงสร้าง folder สำหรับพัฒนาเอกสารเรียบร้อย ก็สามารถเริ่มต้นเขียนเอกสารโดยใช้ reStructuredText ในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลของ text จากนั้นเมื่อต้องการสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการเช่น html document ก็จะต้องทำการ build โดยใช้คำสั่ง

C:\> make html

ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้คำสั่งนี้คือ HTML document ใน folder ที่กำหนด (ใช้คำสั่ง make โดยไม่ระบุ argument เพื่อแสดงประเภทของเอกสารทั้งหมดที่สามารถสร้างได้)

 

อ้างอิง : http://www.sphinx-doc.org/en/1.5.1/tutorial.html