ตอนที่ 1 : มารู้จัก SSRS กันเถอะ…

          SQL Server Reporting Services (SSRS) เป็น Technology หนึ่งของ Microsoft SQL Server Services ที่ใช้ในการสร้างและบริหารจัดการรายงาน เริ่มมีใน SQL Server 2005 และในปัจจุบันเป็น SQL Server 2016 ซึ่งข้อดีของการใช้ SSRS อาทิเช่น ไฟล์รายงานเป็นภาษา Rdl ที่เป็น Text File ธรรมดาสามารถเปิดด้วย Text Editor อะไรก็ได้ (ดูภาพประกอบที่ 1) อีกทั้ง SSRS แถมฟรีมากับ SQL Server ดังนั้นหากมี License การใช้งาน SQL Server ก็จะสามารถใช้ SSRS ทำรายงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม และเมื่อมีการ Deployed รายงานไปแล้ว รายงานจะอยู่ใน Web Server ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูรายงานผ่าน Web Browser ได้ (ดูภาพประกอบที่ 2) โดยจะต้องกำหนดสิทธิการเช้าถึง Site และสิทธิการเข้าถึงรายงาน นอกจากนั้นยังสามารถนำรายงานไปฝังตัวไว้เป็นส่วนหนึ่งของ Application ก็ได้ เป็นต้น

1_1

ภาพประกอบที่ 1 เปิดไฟล์ *.rdl ด้วย Notepad

1_2

ภาพประกอบที่ 2 เรียกดูรายงานผ่าน Web Browser

          SSRS มีสถาปัตยกรรมแบบ Multi-Tier สนับสนุนการใช้งานทั้ง Native Mode และ SharePoint mode ในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาปัตยกรรมของSSRSที่เป็น Native Mode ซึ่งประกอบด้วย Components ต่างๆ ดังนี้ (ดูภาพประกอบที่ 3)

  1. Report Processor เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดที่อยู่ใน Report Server ตั้งแต่ Data Processing จนถึง Authentication โดยการทำงานบางอย่างจะแสดงผลผ่าน Programmatic Interfaces
  2. Programmatic Interfaces เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่รับการติดต่อการทำงานจากผู้ใช้ แสดงผลการทำงานของรายงาน และ Report Server ให้ผู้ใช้เห็น โดยจะมีการทำงานรวมทั้งนำรายงานจาก Report Server Database มาแสดงผลให้เห็นด้วย
  3. Data Processing เป็นการประมวลผลข้อมูลที่มาจาก Data Source เพื่อนำมาสร้างรายงาน โดยถูกควบคุมการประมวลผลโดย Report processor
  4. Rendering เป็นการแสดงผลรายงาน ก่อนที่จะทำการส่งไปให้ผู้ใช้หรือสั่งพิมพ์นำไปใช้งาน
  5. Report Processing เป็นการประมวลผลรายงาน โดยจะรับข้อมูลที่ถูกส่งต่อมาจาก Data Processing มาประมวลผล
  6. Authentication (Security) เป็นการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ที่ต้องการใช้งาน Report Server โดยแสดงหน้าจอในการ Log on เข้าใช้งาน ผ่าน Programmatic interfaces หาก Log on สำเร็จผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าใช้งานได้
  7. Scheduling and Delivery Processor เป็นตัวประมวลผลการตั้งเวลาและการส่งรายงาน ทำหน้าที่ควบคุม การส่งรายงาน จะมีการให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ได้ตั้งเวลาและทำการกำหนดการส่งรายงานให้กับเป้าหมายโดยผ่าน Programmatic interfaces
  8. Delivery เป็นการส่งรายงานให้กับผู้ใช้ที่เป็นเป้าหมาย

 

1_3

ภาพประกอบที่ 3 SSRS components

ที่มา : https://msdn.microsoft.com/en-us/library/ms157231.aspx

 

ความสามารถในการ Authoring SSRS 

  1. สร้างรายงานได้จากหลายแหล่งข้อมูล (Data Sources) ที่มีอยู่ เช่น SQL Server, Oracle, OLE DB, OLEDB-MD, ODBC, XML, SAP BI NetWeaver, Hyperion Essbase, Teradata, Microsoft SQL Azure (SQL in the Cloud), Microsoft SQL Server Parallel Data Warehouse, Microsoft SharePoint List เป็นต้น
  2. สามารถกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้สร้างรายงานได้เอง ผ่านโปรแกรม SQL Server Report Builder
  3. สามารถใช้ Expression ในการแสดงข้อมูล ซึ่งมีหลายประเภทให้ใช้งานตามความต้องการ (ดูภาพประกอบที่ 4)
  4. สามารถจัดกลุ่มข้อมูล (Grouping), การเรียงข้อมูล (Sorting) และ การกรองข้อมูล (Filtering) รวมถึงสร้างตัวแปร, เขียนฟังก์ชั่นประมวลผลข้อมูล
  5. Layout, Table, Matrix ของรายงานมีความยืดหยุ่น
  6. นำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้ผู้ใช้รายงานเข้าใจได้ง่าย ด้วยการแสดงข้อมูลแบบ Graphic ที่แสดงภาพรวมของการสรุปข้อมูลโดยใช้ Chart หรือ Gauge
  7. สามารถ Export ไฟล์ ในรูปแบบต่างๆ XML (File With Report Data), CSV (Comma Delimited), Tiff File, Pdf, Mhtml (Web Archive), Excel และ Word เป็นต้น

1_4

ภาพประกอบที่ 4 Expression

อ้างอิง:

เคล็ดลับการทำรายงานจากฐานข้อมูล

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 7 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More