Year: 2016

  • การสร้างภาพ 360 องศาเข้า Google Street View ด้วย Android device

    จากคราวที่แล้วนำเสนอเรื่อง การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยอยากนำเสนอวิธีการสร้างภาพ 360 องศา ด้วยมือถือแอนดรอยด์ แล้วอัพเข้า Google Street View ใน Google Maps กันแบบง่ายๆ นะคับ

    **ทำไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเนียนในการเล็กภาพเพื่อให้เชื่อมต่อกันสนิท

    00

    ขั้นตอนการทำ

    1. ติดตั้งแอพ Google Street View จาก Play Store

    01

    2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็เปิดแอพขึ้นมา ไปที่เมนู Explore > คลิกปุ่มวงกลมสีเหลือง (ตามรูป)

    02

    3. คลิกเลือก Camera เพื่อจะถ่ายรูป 360 องศา

    03

    4. แอพจะเตือนให้เราเปิด Location หรือ GPS เพื่อให้ Google ทราบตำแหน่งพิกัดที่เราอยู่ ณ ปัจจุบันที่จะถ่ายภาพ

    04

    5. เริ่มทำการถ่ายภาพ โดยจะมีลูกศรสามเหลี่ยมชี้นำทิศทางในการปรับมุมกล้องในการถ่ายแต่ละจุด

    05

    6. เลื่อนให้จุดวงกลมสีเหลือง เข้ามาซ้อนทับในวงกลมสีขาว แบบพอดีตรงกลาง เพื่อให้ได้ภาพรอยต่อที่เชื่อมต่อกันในแต่ละภาพ

    07

    6. เมื่อวงกลมทั้งสองอันมาซ้อนทับกันให้รอนิ่งๆสักครู่ อย่าเพิ่งขยับมือถือ **ระบบทำการประมวลภาพเก็บไว้

    06

    7. ทำตามขั้นตอนที่ 6 ไปเรื่อยๆจนครบทุกมุม ***จะมีปรากฎลูกศรสามเหลี่ยมชี้นำทิศทางเหมือนในขั้นตอนที่ 5

    จากนั้นคลิกปุ่มวงกลมสีเขียวที่มีเครื่องหมายถูก เพื่อสิ้นสุดการถ่ายภาพ

    08

    8. เมื่อระบบประมวลภาพเสร็จแล้วจะถูกนำเก็บไว้ใน gallery ของเรา > คลิกที่รูป แล้ว คลิก SELECT

    09

    9. คลิกที่รูป หรือ Add a place เพื่อเริ่มการอัพเข้า Google Street View

    10

    10. เราสามารถทำเบลอภาพ ณ จุดที่เราไม่ต้องการให้เผยแพร่ อาทิเช่น ผู้คน(เรื่องสิทธิส่วนบุคคล) ภาพอุจาดตา ฯลฯ โดยการลากกรอบสี่เหลี่ยมคลอบคลุมบริเวณจุดนั้นๆ จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูก เพื่อเสร็จสิ้นการเบลอภาพ

    11 12

    11. คลิก Publish to Google Maps เพื่อทำการเผยแพร่ภาพบน Google Maps ในส่วนของ Google Street View

    14

    12. คลิก Publish เพื่อยืนยันการอัพภาพเข้า Google Maps

    13

    13. เปิด Browser > เข้า http://google.com/maps เพื่อดูภาพที่ได้ทำการอัพสำเร็จ

     

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายๆคนที่อยากลองทำภาพอัพเข้า Google Street View ดูบ้างนะคับ และที่สำคัญ…..

    ช่วยๆกันอัพภาพบริเวณ ม.อ. ของเราให้เต็มพื้นที่ใน Google Maps เลยนะคับ ^______^

    *** หากคิดว่ารูปถ่ายหรือรูปภาพที่ตัวเองทำยังสวยไม่พอ ก็อย่าเพิ่ง Publish เลยนะคับ เพื่อที่ว่าประชากรโลกหรือชาวโลกจะได้รับชมเฉพาะภาพสวยๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ของเรา ^^

  • การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View

    n7448_n160616_02x
    ภาพจากข่าวฯ เว็บมอ.

    จากข่าวล่าสุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เริ่มบางส่วนแล้ว….มอง ม.อ.ผ่าน Google Street View” ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://www.psu.ac.th/th/node/7448 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ด้วยความร่วมมือกับมอ.และ Google ในการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 360 องศา เสมือนเรายืนอยู่ ณ จุดนั้นๆ แล้วสามารถมองได้แบบรอบทิศทาง มาถ่ายภาพสถานที่และเส้นทางในมอ.ของเรา โดยได้เริ่มถ่ายทำในวิทยาเขตหาดใหญ่เป็นวิทยาเขตแรก และจะดำเนินการในวิทยาเขตอื่นๆ ต่อไป

    คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า จะวิวหรือชมกันอย่างไร สำหรับใครที่ไม่ทราบวิธีการดูภาพผ่าน Google Street View นะคับ

    ขั้นตอนการรับชม

    1. เปิด Google Maps

    2. เลือกบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ **หากไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน ก็ใช้ search หาสถานที่ได้คับ

    01

    3. คลิกตรงไอคอนตุ๊กตารูปคนสีเหลือง บริเวณมุมด้านขวาของหน้าจอ (ตามภาพ)

    02

    4. แผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ภาพใน 3 รูปแบบ คือ Street View , ภาพ 360 องศา และดูภายใน

    03

    5. ในแผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ไว้ เราสามารถคลิกที่จุดวงกลมสีฟ้า เพื่อดูสถานที่ในจุดนั้นๆ แล้ว drag mouse หมุนชมภาพ

    06

    6. หรือเลือกเข้าชมภาพได้โดยคลิกที่ภาพ gallery ที่แถบภาพด้านล่างของหน้าจอ **เมื่อคลิกที่รูป จะแสดงเส้นวิ่งไปยังจุดสถานที่นั้นๆ

    04

    7. ก่อนหน้านี้ทางศูนย์ GIS มอ. ได้ถ่ายภาพมุมสูงจาก Drone แล้วจัดทำเป็นภาพมุมสูง 360 องศาเผยแพร่ผ่าน Google Street View ไว้แล้ว

    07

     

    หวังว่า… หลายๆ ท่านจะสนุกและมีความสุขกับการเข้าชมภาพ 360 องศา ภายในบริเวณรั้วมอ.ของเรานะคับ ^^

    หากไม่ต้องการแค่รับชมอย่างเดียว ก็ลองสร้างเองดีไม๊คับ??? คลิกเลย >> การสร้างภาพ 360 องศาเข้า Google Street View ด้วย Android device

     

    ===============================================
    สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
    แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand

  • วิธีการเปิด Audit Log ของ Windows 2012 เพื่อให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ Account Management ต่างๆ

    บน Microsoft Windows 2012 โดยปรกติจะไม่ทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกี่ยวกับ Account ขั้นตอนต่อไปนี้จะทำให้เกิดการบันทึกใน Event Log เพื่อให้ Administrator ทราบว่า ใคร เปลี่ยนแปลงอะไร  เมื่อไหร่

    1. ไปที่ Start Menu ค้นหา Group Policy Management
      2559-06-03 10_02_40-Program Manager
    2. เลือก
      Computer Configuration
      Policies
      Windows Settings
      Security Settings
      Local Policies
      Audit Policy
      จากนั้น Double Click “Audit account management”
      2559-06-03 10_03_26-Start
    3. คลิกที่
      Define these policy settings
      และเลือก Success
      แล้วคลิกปุ่ม OK
      2559-06-03 10_11_13-Start
    4. จะได้ผลดังนี้
      2559-06-03 10_13_01-windows2012 [Running] - Oracle VM VirtualBox
    5. เมื่อเปิด Event Viewer > Security Log จะได้ผลดังนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ Account จะเกิด Task Category “User Account Management” มี Event ID 4738 ดังภาพ
      2559-06-03 10_13_54-Program Manager
    6. จะเห็นรายละเอียดว่า ใคร แก้ไข Account Name ใด เมื่อไหร่
      2559-06-03 10_15_23-windows2012 [Running] - Oracle VM VirtualBox
    7. และแก้ไข Attribute ใด เป็นอะไร
      2559-06-03 10_17_13-Start

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    Reference:

    1. https://technet.microsoft.com/en-us/library/cc731607(v=ws.10).aspx
    2. https://support.microsoft.com/en-us/kb/977519

     

  • การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ

    นักพัฒนาเว็บหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการสร้าง web map ด้วย google map api กันนะคับ (เป็นที่นิยมเลยล่ะ) แต่ในยุคปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น near real time กันมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหลายหน่วยงานมีการเผยแพร่ Web Map Services กันเยอะมากยิ่งขึ้น และแย่งชิงความเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนที่สุด

    แต่ด้วยปัจจัยในการต้องติดตั้งโปรแกรมบน Web Map Server เพื่อให้สามารถใช้งาน web map ผ่าน server ได้ (เสียงบประมาณเพิ่ม)
    ***ใครมี ArcGIS Server จะลองทำ การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ดูได้นะคับ

     

    วันนี้เลยจะขอนำเสนอโค้ดง่ายๆ ในการนำลิงค์ KML/KMZ จากเว็บที่ให้บริการฟรี! มาสร้างเป็นหน้าเว็บเพจของเราโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง map server กันคับ ^^ ที่สำคัญ ต้นทางข้อมูลอัพเดทข้อมูล หน้าเว็บเราก็อัพเดทไปด้วย อิอิ

    ขั้นตอนการสร้าง

    1. เปิดหน้าเว็บที่ให้บริการลิงค์ ***ตัวอย่างเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    2. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกขวา > copy link address

    00

    3. สร้างไฟล์ gmap.html แล้วเปิด edit ด้วยโปรแกรม notepad หรือ text editor

    4. copy โค้ดนี้ไปวาง

    <!DOCTYPE html>
    <html>
    <head>
    <meta name=”viewport” content=”initial-scale=1.0″>
    <meta charset=”utf-8″>
    <title>การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ</title>
    <style>
    html, body {
    height: 100%;
    margin: 0;
    padding: 0;
    }
    #map {
    height: 100%;
    }
    </style>
    </head>
    <body>
    <div id=”map”></div>
    <script>

    function initMap() {
    var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), {
    zoom: 11,
    center: {lat: 100.756297, lng: 14.790059}
    });

    var ctaLayer = new google.maps.KmlLayer({
    url: ‘ที่อยู่ kml/kmz ลิงค์‘,
    map: map
    });
    }

    </script>
    <script async defer
    src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=google map api key“>
    </script>
    </body>
    </html>

    4. วางลิงค์ที่ copy มาจากเว็บตรงurl: ‘http://slb-gis.envi.psu.ac.th/home1/images/download/kmz/gcs_slbforu.kmz‘,

    และใส่ google map api key ***ถ้าไม่มีให้ไปที่ https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/get-api-key

    01

    5. ลองเปิดผ่าน http://localhost/gmap.html จะได้ตามรูป

    02

    6. หากคลิกที่ข้อมูล จะมี pop-up แสดงข้อมูลขึ้นมา

    03

    7. เว็บไซต์ของท่านก็จะมีหน้าเว็บแมพไว้ใช้งานได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องติดตั้ง web map server ^^

     

    ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การนำเข้า Web Map Services บนโปรแกรม ArcGIS

    จากคราวก่อนเคยพูดถึง การนำเข้า Web Map Service บน Google Earth มาแล้ว วันนี้จะขอนำเสนอ การนำเข้า Web Map Services (WMS) บนโปรแกรม ArcGIS กันบ้าง

    ปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

    ข้อดีของ WMS ที่เห็นได้ชัดคือ

    1. เจ้าของข้อมูลไม่ต้องเผยแพร่ shape file (ซึ่งหลายๆท่านอาจจะได้มาซึ่งความยากลำบากในกระบวนการทำงานกว่าจะได้ข้อมูลนั้นมา) แต่สามารถเผยแพร่ให้สาธารณะทราบได้ว่า เรามีข้อมูลนี้อยู่นะ ถ้าอยากได้ข้อมูลดิบ ก็ติดต่อหรือเจรจาเรื่องค่าเหนื่อยกันหลังไมค์ >*<
    2. ผู้นำไปใช้ ก็ไม่ต้องคอยอัพเดทข้อมูล เพราะทุกครั้งที่ต้นทางเจ้าของข้อมูลอัพเดทข้อมูล ข้อมูลเราก็จะอัพไปด้วย สบายยยยย

     

    *** หากยังไม่มีโปรแกรม ArcGIS for Desktop ก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี 60 วัน นะคับ ดูวิธีการติดตั้งได้ที่ การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    วิธีการนำ WMS ไปใช้กับโปรแกรม ArcGIS for Desktop

    1. Copy WMS ลิงค์ที่ได้จากเว็บไซต์ **ตัวอย่างจากเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th01.1

    2. เปิดโปรแกรม ArcMap > เปิด ArcCatalog > ดับเบิ้ลคลิก Add WMS Server

    01

    3. past ลิงค์ที่ copy มาจากเว็บที่ URL > คลิกปุ่ม Get Layers ระบบจะแสดงชั้นข้อมูลขึ้นมา > คลิกปุ่ม OK

    02

    4. ที่ Catalog จะปรากฏข้อมูล WMS ที่ได้เพิ่มไปเมื่อสักครู่นี้

    04

    5. คลิกเม้าส์ค้าง (drag mouse) ลากชั้นข้อมูลมาวางที่พื้นที่งาน จะปรากฏการแสดงผลของชั้นข้อมูล ซึ่งจะเป็น Layer หนึ่งของโปรเจ็คงาน

    05

    6. เสร็จ ^^

     

    ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • Case Study: ภัยจากสำเนาบัตรประชาชน Social Network ไปจนถึงการตั้งรหัสผ่านของโลก IT

    ก่อนอื่นขอออกตัวว่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาความลับของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนาบัตรประชาชนของทุกท่าน อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องได้ อย่างที่เกิดขึ้นกับเพื่อนผมครับ

    เรื่องมีอยู่ว่า … นางสาว A อยู่มาวันหนึ่ง ก็ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ ว่ามีคนแจ้งความว่า

    1. ทำการส่ง SMS ไปด่าว่า นางสาว B จึงแจ้งความหมิ่นประมาท (A กับ B ไม่รู้จักกันเลย)
    2. ใช้ Facebook ที่มีชื่อจริง นามสกุลจริงของนางสาว A เข้าไปป่วน Facebook นางสาว B สร้างความเสื่อมเสียต่อการงานของนางสาว B

    นางสาว A จึงไปตามหมายเรียก พร้อมแสดงความบริสุทธิ์ใจ จากนั้น ได้เริ่มทำการสืบสวน พบว่า

    1. ที่นางสาว B แจ้งความนางสาว A เพราะว่า เอาเลขหมายโทรศัพท์ที่ส่ง SMS มานั้นไปตรวจสอบ พบว่าเป็นของ Operator รายหนึ่ง จึงให้ทราบเลขที่บัตรประชาชน และตำรวจเอาตรวจสอบในทะเบียนราษฏร์ พบเป็นชื่อ นามสกุล ของนางสาว A
    2. ทาง Operator ที่ให้บริการ SMS ที่อ้างว่ามาจากนางสาว A แจ้งให้ทราบว่า ได้มีการนำ “หมายเลขบัตรประชาชน” ของนางสาว A ไปเปิดบริการ “SIM เติมเงิน”  ผ่านบริการที่เรียกว่า “2 แชะ” โดยทางผู้รับลงทะเบียน ไม่ได้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เพียงแต่ระบุว่า เป็น “เพศชาย” และเป็นการลงทะเบียนจากคนละจังหวัดกับนางสาว A ด้วย (แล้วทำไมยังลงทะเบียนได้ งงจัง)
    3. Facebook ของ นางสาว A จริงๆนั้น แทบไม่ได้ใช้งาน มีไว้แค่ให้คนรู้จักติดต่อทักเข้ามาเล็กๆน้อยๆ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบประวัติการเข้าไป Comment ใน Facebook ของนางสาว B แต่ประการใด

    ปัญหาอยู่ที่ว่า

    1. จากการสอบถาม พบว่า นางสาว A ตั้งรหัสผ่านของ Facebook แบบง่ายมาก โดยใช้ “ชื่อภาษาอังกฤษ และวันเดือนปีเกิด” เป็นรหัสผ่าน เช่น somying01122520 อะไรทำนองนั้น ตรงนี้ไม่แน่ใจว่า ถ้าไปรู้ email address ของนางสาว A ที่ใช้เปิด Facebook ก็อาจจะนำไปใช้ทดสอบ Login ได้ก็เป็นไปได้
    2. หรือเป็นไปได้ว่า ผู้ร้ายที่นำสำเนาบัตรประชาชนของนางสาว A ไปเปิดเบอร์ คงจะค้นหาใน Facebook ด้วยชื่อนามสกุลจริง ตามในบัตร แล้วพบ Profile แล้วเห็นข้อมูลที่เปิด Public จึง “อาจจะ” สร้าง Facebook อีกอันเลียนแบบขึ้นมา โดยใช้ชื่อและนามสกุลของนางสาว A แล้วเข้าไปใน Facebook ของ B เพื่อป่วนก็เป็นไปได้
    3. และเป็นไปได้ว่า เคยเซ็นต์สำเนาบัตรประชาชน ไม่ได้ระบุ “จุดประสงค์” การใช้งาน กล่าวคือ เซ็นแค่ สำเนาถูกต้อง และเซ็นต์ชื่อ แล้วเกิดหลุดไป ทำให้เกิดการสวมสิทธิ์จดทะเบียน SIM ดังกล่าวได้

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

    1. เซ็นสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง อย่าลืมเขียนทับกำกับไปเลยว่า ใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร จะได้ไม่สามารถนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้
    2. เลขที่บัตรประชาชนมีความสำคัญ เป็นการระบุตัวตนได้จริง ควรเก็บเป็นความลับ หากใครรู้ และระบบจดทะเบียนที่อาจจะไม่รัดกุมพอ อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ดังที่กล่าวมาได้
    3. อย่าตั้งรหัสผ่านที่มีข้อมูลที่อยู่ในบัตรประชาชนเด็ดขาด อย่างกรณีดังกล่าว ใช้ชื่อ และ วันเดือนปีเกิด เสี่ยงมาก
    4. ข้อมูลส่วนตัวใน Social Media ควรปิดเป็นความลับ เปิดเผยเฉพาะ Friends หรือไม่ก็ไม่ควรเปิดเผยเลยยิ่งดี

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Oracle Database 12CR1 monitoring with MRTG

    • OS: Oracle Enterprise Linux  7.2  (CentOS 7.2)
    • วิธีติดตั้ง MRTG สามารถติดตั้งได้โดยสามารถดูคู่มือที่ ติดตั้ง mrtg บน ubuntu อาจไม่เหมือนกันแต่สามารถทำได้ทำนองเดียวกัน
    • กราฟสำหรับ Idle CPU and Load average, CPU Time spent waiting for IO, Traffic Analysis for eth0, TCP Current Establish สามารถใช้ script เดียวกับลิงค์ในข้อ ๒ ได้เลย
    • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-memory.sh มีข้อความว่า
      #!/bin/bash
      FREE=$(free |grep "Mem:"|awk '{print $7}')
      SWAP=$(free |grep "Swap:"|awk '{print $3}')
      TIME=$(uptime)
      echo "${FREE}"
      echo "${SWAP}"
      echo "$TIME"
      hostname 

      สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-memory.cfg มีข้อความว่า
      WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
      Target[myhost-mem]:`/etc/mrtg/get-memory.sh`
      MaxBytes[myhost-mem]: 20000000000
      Title[myhost-mem]: Free Memory and Swap Used
      PageTop[myhost-mem]: <H1>Free Memory and Swap Used</H1>
      ShortLegend[myhost-mem]: bytes
      YLegend[myhost-mem]: bytes
      LegendI[myhost-mem]:  Free Memory:
      LegendO[myhost-mem]: Swap Used:
      Legend1[myhost-mem]: Free memory, in bytes
      Legend2[myhost-mem]: Swap Used, in bytes
      Options[myhost-mem]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง

      env LANG=C /usr/bin/mrtg/myhost-memory.cfgปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง
      indexmaker --column=2 --output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg

    • โฟลเดอร์ที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ /u02/app/oracle/adump, /u02/app/oracle/diag/rdbms/regist/regist/alert, /u02/app/oracle/rdbms_trace ซึ่งเป็นโฟลเดอร์สำหรับเก็บ Log ไฟล์ต่างๆ ซึ่งอาจมีขนาดเพิ่มขึ้นจนระบบไม่สามารถให้บริการได้ และโฟลเดอร์ /u03 เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บ archive log (ในกรณีที่ฐานข้อมูลเปิด archive log mode)
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        adump=$(du -sm /u02/app/oracle/adump|awk '{ print $1 }')
        free=$(df -m /u02|grep u02|awk '{ print $4 }')
        TEMP=$(uptime|grep -o "load average.*"|awk '{print $3}'|cut -d',' -f 1)
        LOAD=$(echo "${TEMP:-0} * 100"|bc|cut -d'.' -f 1)
        TIME=$(uptime)
        echo "${adump}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg มีข้อความว่า
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-misc1]:`/etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh`
        MaxBytes[myhost-misc1]: 20000000000
        Title[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump
        PageTop[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump
        ShortLegend[myhost-misc1]: bytes
        kMG[myhost-misc1]: M,G,T
        kilo[myhost-misc1]: 1024
        YLegend[myhost-misc1]: bytes
        LegendI[myhost-misc1]: Disk Used:
        LegendO[myhost-misc1]: Free Disk:
        Legend1[myhost-misc1]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-misc1]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-misc1]: gauge, nopercent, growright
        Timezone[myhost-misc1]: Bangkok

        ทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg
        ปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง
        indexmaker --column=2 --output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg
      • สร้างแฟ้มเลียนแบบข้อ 1 และ 2 สำหรับโฟลเดอร์ที่เหลือ
      • แก้ไขแฟ้ม /etc/mrtg/mymrtg.sh เพิ่มข้อความ  env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg ต่อท้ายไฟล์และเพิ่มทุกไฟล์ของทุกโฟลเดอร์
      • สำหรับโฟลเดอร์ /u03 ให้สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-u03.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        used=$(df -m /u03|grep u03|awk '{ print $3 }')
        free=$(df -m /u03|grep u03|awk '{ print $4 }')
        TEMP=$(uptime|grep -o "load average.*"|awk '{print $3}'|cut -d',' -f 1)
        LOAD=$(echo "${TEMP:-0} * 100"|bc|cut -d'.' -f 1)
        TIME=$(uptime)
        echo "${used}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname
        nof=$(ls -d1 /u03/app/oracle/fast_recovery_area/REGIST/archivelog/* |wc -l)
        max=3if [ "${nof}" == "${max}" ]
        then
                nod=$(expr ${max} - 1)
                f2d=$(ls -d1 /u03/app/oracle/fast_recovery_area/REGIST/archivelog/*|head -${nod})
                rm -rf ${f2d}
                su - oracle -c "/bin/sh /home/oracle/reclaim.sh"
        fi
        สร้างแฟ้ม /home/oracle/reclaim.sh มีข้อความว่า
        rman target / <<EOF
        crosscheck archivelog all;
        delete noprompt expired archivelog all;
        quit
        EOF
        สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-u03.cfg มีข้อความว่า
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-u03]:`/etc/mrtg/get-diskfree-u03.sh`
        MaxBytes[myhost-u03]: 20000000000
        Title[myhost-u03]: Free disk space and disk Used of /u03
        PageTop[myhost-u03]: Free disk space and disk Used of /u03
        ShortLegend[myhost-u03]: bytes
        kMG[myhost-u03]: M,G
        kilo[myhost-u03]: 1024
        YLegend[myhost-u03]: bytes
        LegendI[myhost-u03]: Disk Used:
        LegendO[myhost-u03]: Free Disk:
        Legend1[myhost-u03]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-u03]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-u03]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-u03.cfg
        อย่าลืมปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วย
    • เฝ้าระวังขนาดของ Tablespace SYSTEM และ USERS
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-tablespace-system.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        used=$(su - oracle -c "sh /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh"|grep SYSTEM|awk '{ print $2 }'|sed -e 's/,//g')
        used=$(expr ${used} \* 1024)
        free=$(su - oracle -c "sh /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh"|grep SYSTEM|awk '{ print $3 }'|sed -e 's/,//g')
        free=$(expr ${free} \* 1024)
        TIME=$(uptime)
        echo "${used}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname

        สร้างแฟ้ม /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        sqlplus / as sysdba << EOF
        col "Tablespace" for a22
        col "Used MB" for 99,999,999
        col "Free MB" for 99,999,999
        col "Total MB" for 99,999,999
        select df.tablespace_name "Tablespace",
        totalusedspace "Used MB",
        (df.totalspace - tu.totalusedspace) "Free MB",
        df.totalspace "Total MB",
        round(100 * ( (df.totalspace - tu.totalusedspace)/ df.totalspace))
        "Pct. Free"
        from
        (select tablespace_name,
        round(sum(bytes) / 1048576) TotalSpace
        from dba_data_files
        group by tablespace_name) df,
        (select round(sum(bytes)/(1024*1024)) totalusedspace, tablespace_name
        from dba_segments
        group by tablespace_name) tu
        where df.tablespace_name = tu.tablespace_name ;
        quit
        EOF

        สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-tablespace-system.cfg
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-system]:`/etc/mrtg/get-tablespace-system.sh`
        MaxBytes[myhost-system]: 20000000000
        Title[myhost-system]: Tablespace SYSTEM disk usage
        PageTop[myhost-system]: Tablespace SYSTEM Disk Usage
        ShortLegend[myhost-system]: bytes
        kMG[myhost-system]: k,M,G
        kilo[myhost-system]: 1024
        YLegend[myhost-system]: bytes
        LegendI[myhost-system]: Disk Used:
        LegendO[myhost-system]: Free Disk:
        Legend1[myhost-system]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-system]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-system]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-tablespace-system.cfgอย่าลืมปรับปรุง index.html ด้วย
      • ทำแบบเดียวกันกับ tablespace users
    • จบขอให้สนุก
  • ถ่ายไฟฉาย สีดำ สีเขียว อัลคาไลน์ มันต่างกันตรงไหน ???

    รู้หมือไร่ ? จะไปซื้อถ่านไฟฉาย เอาว่าขนาด AA แล้วกัน เอ้อ มันมีสีดำ สีเขียว แล้วก็มีแบบอัลคาไลน์ด้วย ให้ไฟ 1.5V เหมือนกัน ขนาดก็เท่าๆกัน ไหงราคาต่างกัน มันต่างกันตรงไหน ???

    IMG_20160428_090351 สีดำ 4 ก้อน ราคา 32 บาท
    2559-04-28 09_53_30-R6ST_4S Manganese Battery - Panasonic Philippines สีเขียว 4 ก้อน ราคา 24 บาท
    LR6T(4B)_SeeAll.png.thumb.172.229 อัลคาไลน์ 4 ก้อน 75 ราคา

     

    ถ้าลองอ่านดีๆ จะพบว่า

    • สีเขียว จะเขียนว่า “Leak Proof”
    • สีดำ จะเขียนว่า “Extra Long Life”
    • อัลคาไลน์ มันจะเขียนว่า “Looooong Lasting + Anti-Leak”

    ถ้าอ่านฉลากสินค้า ก็จะเห็นตัวเลขอีกนิด

    • สีเขียว = R6ST/4SL
    • สีดำ = R6NT/4SL
    • อัลคาไลน์ = LR6T/4B

    จากการไปตรวจสอบ จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Battery_nomenclature

    พบว่า จะเห็นว่า ขนาด AA จะเป็น R6 ทั้งสีดำและสีเขียว แต่ อัลคาไลน์จะเป็น LR6 ตรงนี้อธิบายได้ว่า ทั้งสีเขียวและสีดำ ใช้ Electrolyte เป็นแบบ Ammonium Chloride, Zinc Chloride ส่วนอัลคาไลน์ ใช้เป็นแบบ Alkali metal hydroxide แต่ทั้งหมดมีขนาดเดียวกันคือ R6 ครับ

    ที่จะต่างกันก็ตรง ST กับ NT และ T อันนี้ ยังไม่แน่ใจ TwT

    ส่วน /4 นั้น หมายถึง Pack ละ 4 ก้อน ไม่มีอะไร

    จากเว็บไซต์ของ Panasonic

    http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/manganese-battery/r6st.html

    บอกว่า สีดำและเขียวนั้นเป็นแบบ “Manganese Battery” ให้คำแนะนำว่า “Ideal for devices that require a small and continuous supply of power” น่าจะแปลว่า “เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟน้อยแต่ต้องการความต่อเนื่อง”

    ส่วน อัลคาไลน์ จากเว็บไซต์

    http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/alkaline-battery/lr6t_4b.html

    บอกว่า “Can be used from low-drain devices to high energy consumtion”

    สรุป

    • สีเขียว: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง คงจะป้องกันการ Leak คือลดการเสื่อมได้
    • สีดำ: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง แต่คงจะเก็บประจุได้มากกว่า
    • อัลคาไลน์: ถ้าให้คุ้ม ซื้อใช้กับอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟมากๆ เช่น กล้องดิจิตอล เป็นต้น

    ผู้รู้ท่านอื่นๆโปรดชี้แนะด้วยครับ 😉

     

  • การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop (Trial)

    ArcGIS

    ArcGIS for Desktop เป็นซอฟต์แวรด้าน GIS สำหรับการสร้าง แก้ไข วิเคราะห์ จัดเก็บ และแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน ช่วยใช้ในการตัดสินใจ เพื่อประหยัดงบประมาณ เวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถแสดงผลได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

    ในการติดตั้งนี้จะเป็นแบบ Trial version ซึ่งจะมีอายุการใช้งานได้ 60 วัน หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถเปิดโปรแกรมได้

    * สามารถติดตั้งได้ทั้งคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook
    * การสมัครเพื่อขอรับรหัส EVA จะได้เพียง 1 account ต่อ 1 email ต่อการใช้งาน 60 วัน

    ความต้องการของระบบขั้นต่ำ

    1. ระบบปฏิบัติการ windows 64 bit
    2. CPU Minimum: Hyperthreaded dual core*
      Recommended: Quad core*
    1. RAM Minimum: 4 GB
      Recommended: 8 GB
      Optimal: 16 GB
    1. VGA 24-bit color
      Minimum: DirectX 9 (OpenGL 2.0)—compatible card with 512 MB RAM**
      Recommended: DirectX 11 (OpenGL 3.2)—compatible card with 2 GB RAM**
      Optimal: DirectX 11 (OpenGL 4.4)—compatible card with 4 GB RAM**
    1. Visualization cache up to 32 GB of space
    2. Disk space Minimum: 4 GB
      Recommended: 6 GB or higher
    1. Software Microsoft .NET Framework 4.5.1
      Internet Explorer 11

    การติดตั้งโปรแกรม ArcGIS

    1. เปิดหน้าเว็บไซต์ http://www.esri.com/software/arcgis/arcgis-for-desktop/free-trial
    2. กรอกข้อมูล > คลิกปุ่ม Start Trial เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม
      01
    1. ระบบส่งอีเมล์ของผู้สมัคร ให้เช็คอีเมล์แล้วทำการ Active เพื่อ set password ในการเข้าสู่ระบบ ArcGIS Online
      02
    2. เมื่อเช็คอีเมล์จะพบเมล์ใหม่ subject: Esri – Activate Your Free ArcGIS Trial ให้คลิกที่ลิงค์ เพื่อทำการ Active บัญชีผู้ใช้
      03
    1. เมื่อคลิก Active ลิงค์ในเมล์แล้ว จะเปิดหน้าต่างเว็บขึ้นมาเพื่อให้กรอกข้อมูลสำหรับการสร้างบัญชีผู้ใช้
      04
    2. คลิกปุ่ม บันทึกและดำเนินการต่อ
      05
    1. เสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียน > คลิกปุ่ม ใช้แอพ
      06
    2. เข้าสู่หน้าเว็บสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม ให้คลิกดาวน์โหลด ArcMap และ
      ทำการ copy หมายเลขแสดงสิทธิ์การอนุญาตใช้งาน ArcMap เก็บไว้
      07
    3. รอการดาวน์โหลดไฟล์
      08
    1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ ArcGIS_Desktop_104_exe เพื่อติดตั้งโปรแกรม
      09
    2. คลิกปุ่ม Next
      10
    1. คลิกปุ่ม Close และทำเครื่องหมายเลือก Launch the setup program เพื่อเริ่มติดตั้ง
      11
    1. คลิกปุ่ม Next
      12
    1. เลือก I accept the license agreement แล้วคลิกปุ่ม Next
      13
    1. เลือกติดตั้งแบบ Complete แล้วคลิกปุ่ม Next
      14
    1. คลิกปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ
      15
    1. ติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop เสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม Finish
      19
    1. จะปรากฏหน้าต่างสำหรับการ Authorize ขึ้นมาก

    เลือก Advanced(ArcInfo) Single Use แล้วคลิกปุ่ม Authorize Now
    20

    1. เลือก Authorize with Esri now using the Internet แล้วคลิกปุ่ม Next
      21
    2. ใส่ข้อมูลตามที่เคยสมัครผ่านเว็บไว้ก่อนหน้านี้ แล้วคลิกปุ่ม Next
      22
    1. เลือกใส่ข้อมูลตามรูปภาพ แล้วคลิกปุ่ม Next
      23
    2. จะปรากฏหน้าต่างให้ใส่รหัส ซึ่งได้จากการสมัครสมาชิกไว้แล้วก่อนหน้านี้ โดย Esri จะส่งรหัสนี้ให้ทางอีเมล์
      จากนั้นทำการ copy ไปวางไว้ในช่อง แล้วคลิกปุ่ม Next
      24
    1. เลือก I do not want to authorize any extensions at this time > คลิกปุ่ม Next
      25
    1. คลิกปุ่ม Next
      26
    1. รอการตรวจสอบ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องทำการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต
    2. การตรวจสอบผ่านและเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Finish
      28
    1. จะปรากฏหน้าต่าง ArcGIS Administrator ขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม OK
      29
    2. เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปิดโปรแกรม ArcMap4 > เลือกเมนู Customize > Extensions..
      30
    1. ทำเครื่องหมายเลือกทุก extensions เพื่อเป็นการเปิดใช้ Extensions ในโปรแกรม > คลิกปุ่ม Close
      31
    2. เสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้งโปรแกรม ArcGIS 10.4 for Desktop
      32

    *** ส่วนวิธีการใช้งาน ก็สามารถค้นหาได้ใน google นะคับ ^^
    *** หรือสามารถติดต่อขออบรมวิธีการใช้งานโปรแกรม ArcGIS ได้ที่ศูนย์ GIS มอ. ก็ได้เช่นกันนะคับ (http://www.rsgis.psu.ac.th เมนู บริการวิชาการ)
    *** หรือจะลงทะเบียนเรียน(รายวิชาสำหรับ ป.โท) ก็ได้เช่นกันนะคับ ^^

     

    อ้างอิง

    • http://www.esrith.com/