• เหตุการณ์สมมติจึงใช้ VirtualBox
  • ตั้งค่า VirtualBox ดังภาพ (ขอข้ามวิธีการสร้างเครื่องใหม่บน VirtualBox ไปเลยนะครับ คิดซะว่าชำนาญแล้ว โดยขนาด HDD ที่ต้องการ 100GB เป็นอย่างน้อย) โดยเลือก option ที่เขียนว่า Enable EFI (special OSes Only) และในช่อง  Boot Order: ให้เลื่อนเป็น Optical แล้วตามด้วย Hard Disk แล้วกด OK
    uefi1
  • เมื่อเปิดเครื่องจะได้หน้าจอดังภาพ แสดงว่า BIOS ของเรากลายเป็น UEFI เรียบร้อยแล้ว
    uefi2
  • เลือกแผ่น Ubuntu 14.04 ให้ต่อเข้ากับ Device
    uefi3
  • reset เครื่อง
    uefi4
  • เลือก *Try Ubuntu without installing
    uefi5
  • รอจนได้ Windows Manager แล้วดับเบิ้ลคลิก Install Ubuntu 14.04.2 LTS บน Desktop เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Ubuntu ปกติทั่วไปสามารถใช้ Next Technology ได้เลยไปเรื่อยๆ จนถึงหน้า Installation type ให้เลือกหัวข้อ Something else แล้วกด Continue
    uefi6
  • คลิก New Partition Table… คลิก Continue จะได้ดังภาพ
    uefi7
  • คลิกคำว่า free space แล้วคลิกเครื่องหมายบวก (+) สร้าง Partition ขนาด 512MB มีชนิดเป็น EFI boot partition (ควรดูด้วยว่าพาทิชั่นที่ได้เมื่อสร้างเสร็จมีขนาด 512MB จริงๆ โดยใน VM ที่สร้างนี้ตอนสร้างใส่ไป 514MB) และกด + เพื่อสร้าง swap ในตัวอย่างกำหนดแรมไว้ 4GB สามารถสร้าง Swap เท่าแรมได้เลย และ / (root ขนาด 50GB) ตามลำดับโดยจะเหลือพื้นที่เปล่าไว้ด้วย
    uefi8
  • ภาพแสดงพาทิชั่นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
    uefi9
  • คลิก Install Now และคลิก Continue ที่เหลือหลังจากนี้สามารถกลับสู่โหมด Next Technology ได้เลยจนจบ
    uefi10
    uefi11
  • สิ้นสุดคลิก Restart Now
    uefi12
  • เอาแผ่นออกแล้วกด Enter (ปกติจะเอาออกให้อัตโนมัติ)
    uefi13
  • ลองบูตดูจนได้หน้า Log In
    uefi14
  • เลือก Devices แล้ว Optical Drives แล้วเลือกแผ่น Windows 8.1
    uefi15
  • คลิกรูปเฟืองที่มุมบนขวา เลือก Shutdown แล้วคลิก Restart
    uefi16
  • เมื่อ VM กำลัง Shutdown ให้สังเกตุดูว่า โลโก้ Ubuntu หายไปให้รีบ ESC ทันทีจะได้ดังภาพ
    uefi17
  • เลื่อน Cursor ลงมาที่ Boot Manager แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ
    uefi18
  • เลื่อน Cursor ลงมาที่คำว่า EFI DVD/CDROM แล้วจะมีข้อความว่า Press any key to boot from CD or DVD….
    uefi19
  • เมื่อกดปุ่มใดๆ จะเข้าสู่วินโดวส์เพื่อเริ่มติดตั้ง
    uefi20
  • เมื่อได้หน้าเลือกภาษาให้เลือกดังภาพ แล้วคลิก Next
    uefi21
  • คลิก Install now
    uefi22
  • คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ I accept the license terms คลิก Next
  • เลือก Custom: Install Windows only (advanced)
    uefi23
  • จะเห็นพื้นที่ดิสก์ที่เราใช้งานอยู่ในตอนนี้จะเห็นว่ามีที่เหลืออยู่ 48GB ที่เป็น Unallocated Space (และถูกเลือกโดยอัตโนมัติไว้อยู่แล้ว) ในตัวอย่างนี้เราจะสร้างเพียงไดรฟ์ซีเพียงอย่างเดียวให้คลิก Next
    uefi24
  • เข้าสู่การติดตั้ง Windows รอไปจนเสร็จ…
    uefi25
  • เมื่อติดตั้ง Windows  เสร็จแล้วจะถูกบังคับเข้าวินโดวส์ทันที Ubuntu หายไปแล้ว… เพราะ Boot Manager ของ Ubuntu ถูกเขียนทับไปนั่นเอง ให้ตั้งค่า Windows ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วชัตดาวน์เครื่อง เลือก Devices แล้วเลือก Optical Drives เลือกแผ่น Ubuntu อีกครั้ง เมื่อได้ Menu ให้เลือก *Try Ubuntu without installing
    uefi26
  • เมื่อได้หน้า Windows Manager กด Ctrl+alt+T พิมพ์ข้อความดังนี้  และในขั้นตอนนี้ต้องแน่ใจว่าเครื่องเชื่อมต่อ Internet ได้เรียบร้อยแล้ว
    sudo add-apt-repository ppa:yannubuntu/boot-repair
    sudo apt-get update
    sudo apt-get install -y boot-repair
  • แล้วต่อด้วยคำสั่ง sudo boot-repair จะได้ดังภาพ
    uefi27
  • คลิกที่ Recommended repair จะได้ดังภาพ ให้รอไปจนเสร็จ
    uefi28
  • เมื่อได้หน้าจอดังภาพกด OK แล้วสั่งรีบูตได้เลยuefi29
  • เมื่อบูตขึ้นมาจะได้หน้าเมนูที่คุ้นเคยสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าอะไร
    uefi30
  • จบขอให้สนุกครับ

อ้างอิงเพิ่มเติม

https://help.ubuntu.com/community/Boot-Repair

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 5 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More