แนวทางการ Backup บน Ubuntu Server (กรณีระบบ PSU EMail)

เนื่องจากจะจัดทำระบบ Backup and Recovery ระบบ Mail ซึ่งทำงานอยู่บน Ubuntu จึงทำการรบรวมข้อมูล และหาแนวทางที่เหมาะสม

 

ก่อนจะตัดสินใจเลือก แผนการ Backup ที่เหมาะสม ก็ควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ด้วย [1]

1. WHY: จุดประสงค์การ Backup/Restore, ถ้าข้อมูลสูญหายจริงๆจะเกิดความเสียหายขนาดไหน ?

2. WHAT: สิ่งที่จะทำการ Backup, ทั้ง Hard Drive? หรือเป็นข้อมูลบางส่วน?

3. WHEN: เวลาที่ดีที่สุดที่จะ Backup, บ่อยขนาดไหน, จะทำการ Full/Incremental Backup เมื่อใดบ้าง ?

4. WHERE: เก็บ Backup ไว้ที่ใด, ในเครื่องนั้นๆ, เก็บไว้ภายนอก หรือใช้บริการ Cloud Storage

5. MEDIUM: สื่อที่ใช้จัดเก็บ, USB Stick, External HDD, Tape หรือ Backup Server

 

ประเภทของการ Backup [1]

1. Full: สำรองทุกสิ่งอย่าง

2. Incremental: สำรองเฉพาะสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา นับจากการสำรองครั้งล่าสุด

3. Differential:  เหมือนกับ Incremental แต่เก็บเฉพาะไฟล์ที่ยังไม่ปรับค่า Archive bit (ในกรณี Windows Filesystem)

 

วิธีการ Backup : จากการสำรวจ พบว่าบน Ubuntu มีเครื่องมือ และวิธีการให้ใช้มากมาย เช่น SimpleBackupSuite, grsync, pybackpack หรือที่ติดมาพร้อมกับ Ubuntu Desktop อย่าง Déjà Dup [1] แต่เครื่องมือเหล่านี้เหมาะสำหรับการใช้งานแบบ Desktop Computer มากกว่า แต่ในระบบ Mail Server ซึ่งมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก และเป็นของผู้ใช้จำนวนมาก (ในระบบมีผู้ใช้รวม 6000 คน) จึงควรต้องมีการทำงานที่ยืดหยุ่นกว่า และสามารถปรับแต่งตามต้องการได้

จึงพิจารณาใช้ tar เพื่อทำการ Full [2] และ Incremental Backup [3] แล้วจึงใช้ rsync ส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่ Backup Server ต่อไป

 

ในกรณี PSU Email มีลักษณะดังนี้

1. เก็บ email แต่ละฉบับเป็นแบบไฟล์ ไฟล์ขนาดเล็กๆ

2. ไม่มีการเขียนทับไฟล์เดิม (เว้นแต่ Index ของ Mailbox ซึ่งไม่จำเป็นนัก เพราะ ต้อง rebuild ใหม่เมื่อทำการ restore)

3. เมื่อมี email ใหม่เข้ามา จะทำการสร้างไฟล์ใหม่ โดยแต่ละไฟล์จะเป็นตัวเลข เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ซ้ำเดิมแน่นอน

4. เมื่อผู้ใช้สามารถ สร้าง และ rename ชื่อ directory ได้
พิจารณาคำถามข้างต้น แล้วให้ตำตอบ

WHY: เพื่อสำรอง email ไว้ให้ ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ใช้ลบ email ไปโดยไม่ตั้งใจ

WHAT: email อยู่บน disk แยกออกไป, ทำการสำรองเฉพาะไฟล์ใน directory จัดเก็บ ซึ่งใช้เนื้อที่รวม 600 GB ซึ่งเป็นของผู้ใช้ในระบบ 6,000 คน, ข้อมูลมีลักษณะเป็นไฟล์ขนาดเล็กจำนวนมาก และมีการเพิ่มและลดจำนวน แต่ไม่มีการแก้ไขไฟล์, มีการเพิ่ม/ลบ/เปลี่ยนชื่อ directory

WHEN: จากสถิติการใช้งาน พบว่า ผู้ใช้ใช้งานน้อยที่สุดหลังเวลา 03:00 ของทุกวัน และในวันอาทิตย์เป็นวันที่มีปริมาณการใช้งานน้อยที่สุด และจากการย้ายระบบครั้งล่าสุด พบว่าการทำ Full Backup ใช้เวลา 16 ชั่วโมง ส่วนการทำ Incremental Backup ประจำวัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงเลือกสำรองแบบ Full ทุกวันอาทิตย์ เริ่มเวลา 00:01 และทำ Incremental ในวันจันทร์ ถึงเสาร์ เริ่มเวลา 03:01

WHERE: เนื่องจากในอนาคตวางแผนจะปรับเป็นระบบ Distributed Mailbox จึงวางระบบให้ Backup เก็บไว้ในเครื่องก่อน แล้วใช้ rsync ไปเก็บไว้ใน Backup Server แล้วมีระบบย้ายข้อมูลเก่า ลงไปเก็บใน External HDD เพื่อสำรองไว้ในระยะยาวได้

MEDIUM: สำรองลงใน Local Disk ก่อน แล้ว rsync ไปลงใน Backup Server จากนั้นย้ายลง External HDD

 

แนวทางการ Backup ที่เลือกใช้สำหรับ PSU Email (เป็นเพียงตัวอย่าง)

1. การทำ Full Backup : ให้ระบบเข้าไป Backup ข้อมูลใน Mailbox ของผู้ใช้ เป็นรายคน (เช่น username.s) จาก directory /var/spool/mail/ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 00:01 โดยเก็บไฟล์ไว้ที่ /path/to/backupfile ด้วยคำสั่ง

tar -zcf  /path/to/backupfile/username.s-f-20130414.tar.gz -g  /path/to/backupfile/username.s-20130414.snar   /var/spool/mail/username^s/

2. การทำ Incremental Backup: ทำคล้ายกับ Full Backup แต่ใช้คำสั่งต่อไปนี้ ทุกวันจันทร์ ถึงเสาร์ เวลา 03:01

tar -zcf  /path/to/backupfile/username.s-i-20130415.tar.gz -g  /path/to/backupfile/username.s-20130414.snar   /var/spool/mail/username^s/

3. เมื่อทำครบทุก mailbox จึงทำการ Rsync ไปเก็บไว้ใน Backup Server ต่อไป

 

Reference

[1] https://help.ubuntu.com/community/BackupYourSystem

[2] http://www.gnu.org/software/tar/manual/html_chapter/Backups.html

[3] http://www.tuxradar.com/content/quick-guide-backups-using-tar

Comments are closed.