กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก”

กิจกรรม CoP PSU sysadmin ลำดับถัดไปของเรา KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก” วันที่ 15 มี.ค. 56 เวลา 09.00 – 12.15 น. ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ ครั้งนี้จะจัดต่างจากที่ผ่านมา คือ ขอจัดเป็นรายการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผมได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมงานด้วย

ผู้สนใจตอบรับเข้าร่วมได้ที่อีเมล wiboon.w@psu.ac.th หรือที่เฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/groups/psu.sysadmin/ ก็ได้ครับ (ดูรายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม)

เสวนา เรื่อง “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” (ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก)

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม

  • ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบ และผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ
  • ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์

วันที่จัด

  • 15 มีนาคม 2556 เวลา 09.00 – 12.15 น.

สถานที่จัด

  • ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เนื้อหา
1.เป็นการแนะนำระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สชื่อ Linux Mint ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์การใช้งาน

  • Linux ถึงจุดเปลี่ยน…
  • มาทำความรู้จักกับ Linux Mint
  • ใช้ Windows จนชิน…ปี 2556 แล้วลองสลับมาใช้ Linux ดูไหม
  • Windows ทำได้ Linux หล่ะทำได้ไหม แล้วอะไรที่ Windows ทำไม่ได้

2.เล่าเรื่องที่ม.อ.ซื้อ Microsoft Licenses อย่างไร อะไรบ้าง และใครได้ใช้ประโยชน์

  • Microsoft มีทั้งจุดดีและจุดด้อยครับ หาก ม.อ. ไม่ซื้อเลยก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยหาใช้ของเถื่อนมาใช้อยู่ดี
  • ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเงินที่ลงทุนไป
  • สิทธิประโยชน์ที่ Microsoft ให้ ม.อ. มีอะไรบ้าง บุคลากร, นักศึกษา, ห้อง Lab
  • สถิติการดาวน์โหลดและการลงทะเบียนเป็นจำนวนเท่าไหร่

3.เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ตัวอย่างหัวข้อในการเสวนา

  • การใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพื่อนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์จริงหรือไม่?
  • มีคณะไหนในชุมชน ม.อ. ประกาศไม่สนับสนุนซอฟร์แวร์เถื่อนหรือคิดจะทำแบบเป็นรูปธรรมบ้าง?
  • อนาคตของ open source ใน ม.อ. ทำอย่างไรจะผลักดันให้เกิดขึ้น?
  • การทำวิจัยสถาบันเพื่อสำรวจการใช้งานแต่ละแห่งโดยเฉพาะธุรการ อาจารย์ ใช้ Microsoft ทำอะไร ใช้อะไรบ้าง จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
  • การใช้ Linux มีข้อดีจริงหรือไม่ในเรื่องเหล่านี้เมื่อเทียบกับ Microsoft?
    – ลดปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ (แผ่นเถื่อน)
    – นักศึกษาได้ประโยชน์ในเชิงพัฒนาต่อยอดความรู้ด้าน open source
    – เกิดการวิจัยด้านซอฟต์แวร์ open source ใมหาวิทยาลัยเพื่อให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยวิจัย
    – ม.อ.เป็นตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์ open source อย่างจริงจังเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับองค์กร
    – ม.อ.บริการวิชาการให้กับชุมชน อบรมการใช้งาน Linux ให้กับชุมชนและท้องถิ่น

กำหนดการ
09.00-10.00 น. แนะนำ Linux Mint

  • โดยคุณศิริพงษ์ ศิริวรรณ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

10.00-10.15 น. พักเบรค
10.15-10.50 น. บอกเล่าเรื่อง Microsoft Licences ที่ม.อ.ซื้อ

  • โดยเกรียงไกร หนูทองคำ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.

10.50-12.15 น. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ร่วมเสวนาโดย

  • คุณวิบูลย์ วราสิทธิชัย ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • รศ.ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สมัยแรก
  • รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
  • รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์

12.15-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน

แจกแผ่น DVD Linux Mint สำหรับผู้ร่วมงานทุกท่าน
พร้อมร่วมสนุกชิงรางวัล
1. USB flash drive 16GB จำนวน 2 รางวัล
2. ตุ๊กตาพวกกุญแจรูปนกเพนกวิน 2 รางวัล
สนับสนุนโดยชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ม.อ.

รายชื่อผู้แจ้งชื่อเข้าร่วม

  1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ ม.อ.
  2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
  3. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  4. สมชาย วนธนศิลป์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  5. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย ม.อ.
  6. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ.
  7. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  8. ธีรวัฒน์ แตระกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
  9. ภูเมศ จารุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
  10. กฤตกร อินแพง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
  11. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
  12. จันทนา เพ็ชรรัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนา
  13. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
  14. ณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  15. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
  16. จรรยา เพชรหวน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
  17. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
  18. ครูดนรอฝาด โส๊ะหัด โรงเรียนพัฒนาศาสตร์มูลนิธิ จ.สงขลา
  19. ผศ. ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.อ.
  20. เลียง คูบุรัตถ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
  21. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  22. เชวง ภควัตชัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
  23. เนาวรัตน์ ทองไทย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  24. อำนาจ สุคนเขตร์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.
  25. ธีรพันธุ์ บุญราช คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
  26. น.ส.จุฑามาศ มากบุญ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
  27. น.ส. จุฑารัตน์ ปลื้มใจ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
  28. นายปัณณธร พูลสวัสดิ์ นักศึกษาฝึกงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
  29. สมคิด อินทจักร คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.