ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ม.ค. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
(หมายเหตุ วันที่ 30 ม.ค. 56 ทีมวิทยากรจะเตรียมห้องอบรมด้วยกัน) หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

ระยะเวลา

  • 1 วัน

สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

  • ต้องใช้ห้องอบรมที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องต่อผู้เข้าอบรม 1 คน

เนื้อหา

  • เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน
  • แนะนำโปรแกรม pGina บนวินโดวส์ เพื่อควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ radius server ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ใน PSU-12 ต้นแบบพัฒนาจาก FreeRADIUS ซึ่งมี module ที่สามารถ authen กับ PSU-Passport ได้
  • ความรู้เกี่ยวกับ Disk/Partition/Booting
  • แนะนำชุดโปรแกรม PSU-12

ชุดโปรแกรม PSU-12 ที่มีสรรพคุณดังนี้

  • Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก server
  • Cloning Server – ระบบโคลนนิงผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOST
  • โคลนนิงได้ทั้ง MS Windows และ Linux
  • DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server
  • มีระบบบันทึก log accounting
  • สามารถกำหนดให้ หาก PC ลูกข่ายไม่ต่อกับ network จะบูทไม่ได้
  • ประยุกต์ใช้งานบังคับให้อ่าน message of today จึงจะบูทเครื่องใช้งานได้
  • สามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้

รายละเอียดหัวข้อติว
ตอนที่ 1 – ติดตั้ง server

  • ติดตั้ง Ubuntu server
  • ติดตั้งชุด PSU-12
  • การปรับแต่งให้ PSU-12 เป็น radius server ที่สามารถ authen กับ @psu.ac.th และ PSU-Passport
  • ทดสอบ authen กับอีเมลของ @psu.ac.th
  • ทดสอบ authen กับบัญชีผู้ใช้ PSU-Passport
  • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะบุคลากรของ PSU หรือเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานเท่านั้นที่ใช้บริการได้
  • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะนักศึกษาในคณะเท่านั้นที่ใช้บริการได้

ตอนที่ 2 – การโคลนนิ่ง

  • การ Cloning เครื่องต้นแบบไปเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Backup Process)
  • การ Backup Partition Table
  • การ Backup Partition
  • การ Cloning เครื่องใหม่จากไฟล์ต้นแบบ (Restore Process)
  • การตั้งค่าเพื่อทำให้ระบบที่ Cloning มากลับมา boot ได้

ตอนที่ 3 – ติดตั้งโปรแกรมสำหรับควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

  • แบ่ง partition ของฮาร์ดดิสก์โดยใช้แผ่นซีดี Sysresccd และลง Windows 7 ใหม่ใน partition ที่สร้างขึ้น
  • ติดตั้งโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ MS และบันทึกไว้บน server ที่เลือก
  • ติดตั้งโปรแกรม pGina เพื่อให้ login เข้าก่อนใช้เครื่อง MS
  • ตั้งค่า message of today
  • สามารถตั้งเวลา shutdown จาก server โดยตรงได้

วิทยากร

  • ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
  • ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
  • วิศิษฐ โชติอุทยางกุร คณะทันตแพทยศาสตร์
  • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์

รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

  1. วันชัย แซ่ลิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์ (*)
  3. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
  4. ดุษณี โสภณอดิศัย คณะนิติศาสตร์ (*)
  5. ฝาติหม๊ะ เหมมันต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  6. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
  7. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
  8. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
  9. เพียงพิศ สุกแดง คณะวิทยาการจัดการ
  10. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
  11. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
  12. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
  13. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
  14. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
  15. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
  16. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
  17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
  18. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
  19. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
  20. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
  21. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
  22. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
  23. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
  24. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ (*)
  25. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  26. เสะอันวา เสะบือราเฮง คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 5 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More