Month: November 2012

  • ติว PSU-netdrive: เทคนิคการแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คโดยไม่ต้องใช้ SAMBA วันที่ 30 พ.ย. 55

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในปีนี้ในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 55 เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยประมาณ ที่ห้อง 106 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่

    รอบนี้ต้องขอรับจำนวนจำกัดเพียง 15 ที่เท่านั้น หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้

    รายละเอียดเรื่องที่ติว

    • การปรับแต่ง ubuntu server ให้เป็น file server เพื่อแชร์ไฟล์แก่ MS client ทำให้สามารถ map network drive โดยไม่ต้องใช้ SAMBA เพียงแค่ติดตั้งเป็น SSH File System รวมทั้ง client ใดๆ ในอินเทอร์เน็ต เช่น Linux desktop หรือ Android smart phone เป็นต้น ก็สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คร่วมกันกับ MS client ได้แล้วโดยใช้โปรแกรมที่รองรับโปรโตคอล SFTP
    • หากองค์กรมี user account อยู่แล้วสามารถติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account นั้นมาแชร์ไฟล์ร่วมกันได้ด้วย

    หัวข้อมีดังนี้

    • ติดตั้ง VirtualBox for Windows
    • ติดตั้ง Ubuntu server บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Ubuntu desktop บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Android บน VirtualBox
    • ติดตั้ง PSU-netdrive บน Ubuntu server
    • ติดตั้ง SFTP net drive for Windows บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ map network drive บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ mount SSHFS บน Ubuntu desktop client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ ด้วย AndFTP บน Android client
    • เบื้องหลังการจัดการไฟล์ของ PSU-netdrive บนระบบปฏิบัติการ Linux
    • ติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account ที่มีอยู่แล้วมาแชร์ไฟล์ร่วมได้
    • (เพิ่มเติม) การตั้งค่าเพื่อใช้งานร่วมกับบริการ anonymous ftp server
      (เพิ่มเติม) การป้องกันและจัดการผู้ลักลอบเดารหัสผ่านด้วย fail2ban

    รายชื่อทีมวิทยากร

    1. นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย
    2. นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร (อาหารมังสวิรัติ)
    3. นายเกรียงไกร หนูทองคำ

    รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมติว

    1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    2. สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษย์ฯ
    3. ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษย์ฯ
    4. อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ
    5. อาทิตย์ อรุณศิวกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    6. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์  คณะทันตแพทยศาสตร์
    7. นิติ โชติแก้ว งานเทคโนโลยีสารสนเทศและงานโสตทัศนูปกรณ์ คณะการแพทย์แผนไทย ม.สงขลานครินทร์
    8. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    9. นนทพน รัตนพิทยาภรณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
  • หัวข้อเรื่อง IPv6 ที่จะจัดอบรมให้กับผู้ดูแลเครือข่ายคณะหน่วยงานวิทยาเขต วันที่ 20 พ.ค. 2556

    CoP KM6 หัวข้อเรื่อง IPv6 ที่จะจัดอบรมให้กับผู้ดูแลเครือข่ายคณะหน่วยงานวิทยาเขต วันที่ 20 พ.ค. 2556

    1. Basic IPv6
    2. การกำหนด DHCPv6 Server
    3. คำแนะนำในการจัดแบ่ง IPv6 Address
    4. DNSv6
    5. IPv6 Security
  • KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress

    KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress ในวันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องต่างๆดังนี้

    การเขียนเนื้อเรื่อง

    1. หลังจากมีเรื่องที่จะเขียน ให้ login เข้า โดยไปที่เมนูด้านบน “เขียนเล่าเรื่อง”
      คลิก Add New
      ที่ช่องตั้งชื่อเรื่อง ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องที่เขียนนี้คือ
      “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress”
      ผมก็ตั้งเป็นว่า
      “KM How to authoring in wordpress”
      แล้วสังเกตที่บรรทัด Permalink มันตั้งให้เสร็จ สวยด้วย
      แล้วกลับไปแก้ไขเป็นชื่อภาษาไทย
    2. ตัวเอดิเตอร์ที่ใช้งานสามารถทำฟังก์ชันนี้ได้ คือ หากข้อความที่เขียนยาวมากๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือ Insert More Tag เพื่อแทรกแบ่งไปหน้าถัดไป
    3. อย่าลืมเพิ่ม Categories ของเรื่อง อยู่ทางด้านขวามือนะครับ
      รวมถึงเพิ่ม Tags ด้วยเพื่อใช้เป็นคำค้นนั่นเอง แล้วคลิก Add ด้วย
    4. โปรแกรม WordPress สามารถเก็บข้อความรอให้เขียนครบถ้วนก่อน เรียกว่า Save Draft ทำให้ได้ผลงานมากขึ้น
    5. คลิก View Post เพื่อดูว่าหากเผยแพร่โดยคลิก Publish แล้วผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นอย่างไร
    การปรับแต่ง
    1. สำหรับ Profile ของผู้เขียน ถ้าใส่รายละเอียดในช่อง Biographical Info (อยู่ด้านล่าง) ไว้ เมื่อเผยแพร่ Post ไปแล้ว ผู้อ่านทั่วไปจะเห็นว่าผู้เขียนคือใคร มีอะไรที่ผู้เขียนอยากให้รู้เกี่ยวกับผู้เขียน และ
      อย่าลืมใส่รูปภาพที่คลิก Update Picture ด้วย หรือหากเคยสมัคร GRvatar ไว้แล้วก็ไม่ต้อง wordpress จะไปเอารูปภาพมาใส่ให้เอง
  • Error Code: can’t activate via KMS Server

    • 0xc004f074
      Error นี้แปลว่า เวลาไม่ตรง แก้โดยตั้งเวลาในเครื่องให้ถูกต้อง time zone และ วันเวลาในเครื่อง
    • 0xC004C020
      Error นี้แปลว่า ให้เปลี่ยนคีย์เนื่องจาก วินโดวส์โดนเปลี่ยนไปใช้ MAK Key แล้ว ให้เข้า google หาคำว่า KMS Client Setup Key แล้วเอาคีย์ของวินโดวส์ที่ต้องการมาใช้งานได้เลย
  • Joomla Folder 777

    • ก่อน เปลี่ยนต้องเปลี่ยน Site Offline เป็น yes ก่อนทุกครั้ง โดยการแก้ configuration.php แก้ไขบรรทัดที่เขียนว่า public $offline = ‘0’; เปลี่ยนเป็น public $offline = ‘1’;
    • โฟลเดอร์ที่ต้องเปลี่ยน permission เป็น 777 หรือเปลี่ยนให้ apache (www-data สำหรับ ubuntu) เป็นเจ้าของในระหว่างติดตั้ง component, module, language ได้แก่ (more…)
  • Factory Reset Windows 8

    1. สิ่งที่ต้องเตรียมไว้คือ แผ่น DVD สำหรับติดตั้ง Windows 8
      (ก็แผ่นที่ใช้ติดตั้งในครั้งแรกนั่นแหละ) โดยเริ่มต้นที่หน้า Desktop (more…)
  • Windows – วิธีการ Activate Windows สำหรับห้องปฎิบัติการ

    สวัสดีครับ
    ในกรณีที่ติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows สำหรับห้องปฎิบัติการ และต้องการลงทะเบียน Windows License สำหรับใช้ในมหาวิทยาลัย ด้วยวิธีการใช้ KMS Keys สามารถทำได้โดยไม่ต้องตั้งค่า DNS suffixes

    ในระบบปฎิบัติการ Windows ให้เปิดโปรแกรม command prompt ด้วยวิธีการกด Start > Run พิมพ์คำสั่ง cmd และคลิกเมาส์ขวามือเลือก “Run as Administrator

    1. ในหน้าต่าง command prompt ไดเร็กทอรีปัจจุบันอยู่ที่ C:\Windows\System32
    2. พิมพ์คำสั่ง cscript slmgr.vbs /skms kms1.psu.ac.th  กดปุ่ม Enter
    3. พิมพ์คำสั่ง cscript slmgr.vbs /ato
    4. จบกระบวนการลงทะเบียน Windows activation.

  • เบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ https ที่ใช้ Self-signed Certificate

    คำถามที่ผมต้องการคำตอบ คือ ผมจะทำให้ Chrome บน Windows 8 สามารถติดตั้ง PSU CA (certificate authority) จากหน้า passport.psu.ac.th ได้อย่างไร เพราะว่าผมทำ self-signed certificate verified by PSU CA จึงจำเป็นต้องให้เบราวเซอร์ที่ใช้ได้รับการติดตั้ง PSU CA ก่อน บน Ubuntu ผมใช้งานได้แล้ว จำไม่ได้ว่ามันเอา PSU CA เข้าไปตอนไหน

    คำตอบที่ผมได้รับจากการสอบถามผู้รู้ ก็พบว่า

    certificate ที่ซื้อมาเป็น cert สำหรับ *.psu.ac.th คงใช้กับ *.in.psu.ac.th ไม่ได้ครับ

    Web ขอ CA passport.psu.ac.th รองรับเฉพาะ IE/Firefox เท่านั้นครับ ส่วน server cer ในกรณีที่ไม่ใช่ x.psu.ac.th ใช้ self sign cer ได้เลยครับ ถ้าแนะนำอยากให้พี่จดเป็น sysadmin.psu.ac.th หลังจากนั้นแจ้งมาที่ผมได้ครับ เดี๋ยวผมส่ง server ca ที่เป็น *.psu.ac.th ให้ (CA ที่พี่ขอจากหน้า passport.psu.ac.th เป็น User CA ครับไม่ใช่ Server CA, แต่ก็ขอได้ครับ แต่จะมีวิธีต่างจากการขอทั่วไป แนะนำให้ใช้ self sign ดีกว่า เพราะคนใช้งานต้องลง cer psu ถึงจะ trust cer ที่เป็น self sign ของระบบ psu passport ที่ออกให้อีกที แบบนั้นใช้ self sign ไปเลยดีกว่า)

    ผมมีตัวอย่างบน ubuntu นะครับ เข้าเบราว์เซอร์ chrome และไปยังเว็บไซต์ sysadmin.in.psu.ac.th มันไม่ฟ้อง “ไม่ปลอดภัย” และ URL แสดงรูปกุญแจสีเขียว https เพราะผมคงติดตั้ง PSU CA แล้ว (ไม่รู้ตอนไหน) ต่อไปผมลองใช้จาก Windows 8 มันฟ้อง “ไม่ปลอดภัย” เลยจะพยายามติดตั้ง PSU CA จากหน้า passport.psu.ac.th ครับ และทำไม่ได้ฟ้องว่ารอบรับ IE/Firefox เดาว่าผมคง import เข้า chrome

    จริงๆ chrome มันใช้ตัวจัดการ cert ของ IE ครับ

    หมายความว่า ถ้าผมไปเข้าเบราว์เซอร์ IE ติดตั้ง PSU CA ให้เสร็จแล้วกลับมาเข้า Chrome ก็ใช้งานได้ (จริงป่ะ)

    ใช่ครับ

    โอ้ ท่านใหญ่ เกรียงไกร ท่านยอดมาก ขอคารวะ ทดสอบแล้วในขั้นตอนติดตั้ง PSU CA จาก passport.psu.ac.th ต้องเปลี่ยนตัวเลือกจาก Automatic เป็น Place all certificates in the following store และเลือก Trusted Root Certificated Authorities (จะเอาไปเขียนลงในบล็อก sysadmin)

  • แล้วจะ Login เข้ามาเขียน Blog ได้ยังไง ??

    วิธีการคือ คลิกที่ “เขียนเรื่องเล่า” แล้วจึงพบปุ่ม Login