Post Views: 596
ผมสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็น portal แบบ Single Blog + Multiuser สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้กันในหมู่ PSU sysadmin ทำดังนี้
- เตรียมเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อม ระบบปฏิบัติการใช้ ubuntu, ติดตั้ง apache web server, ติดตั้ง mysql server และ php
- สร้าง database สำหรับ wordpress ที่ต้องการติดตั้ง
- แล้วกำหนดสิทธิ์การใช้ database
- ไปดาวน์โหลดรุ่นล่าสุดในขณะนี้คือ 3.4.2 ที่นี่ http://th.wordpress.org/wordpress-3.4.2-th.tar.gz
- เริ่มต้นตั้งค่าโดยใช้ไฟล์ตัวอย่าง wp-config-sample.php คัดลอกเป็นอีกไฟล์ wp-config.php
แล้วใส่ค่า database name, user name, user password - เข้าใช้งานครั้งแรกที่ http://servername/wordpress
- กำหนดค่าเริ่มต้น และชื่อที่จะเป็น admin
- เข้าใช้งานในชื่อที่มีสิทธิเป็น admin
- ปรับแต่ง timezone และค่าบางตัว
- ขอจดชื่อโดเมนเนม sysadmin.in.psu.ac.th เพื่อเป็น virtual host แทนการใช้ชื่อเครื่องจริง แก้ไขในไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default
- ตอนนี้ตั้งค่าให้สามารถใช้ชื่อ URL http://sysadmin.in.psu.ac.th ได้แล้ว
- ติดตั้ง template Theme ใหม่ ชื่อ Theme Twenty Twelve ชื่อไฟล์ twentytwelve.1.0.zip
และต่อไปก็เป็นการติดตั้งปลั๊กอิน (Plugins) เพื่อปรับแต่งสำหรับทำเรื่องต่างๆ - สร้างบัญชีผู้ใช้งานทีละคน และติ๊กเลือกให้ wordpress ส่งอีเมลไปแจ้งว่าได้รับสิทธิเป็นผู้เขียนแล้ว
และปรับแต่งค่าตัวเลือกให้แสดงชื่อ นามสกุล แทน username - เพิ่ม self-signed certificate โดยขอ signed กับ PSU CA แล้วคอนฟิก apache2 web server ใหม่ คราวนี้เมื่อเข้าเว็บไซต์จะไม่ฟ้องว่าไม่ปลอดภัยอีกแล้ว แต่เบราว์เซอร์ต้องเคยลง PSU CA จากหน้าเว็บไซต์ passport.psu.ac.th ด้วยนะ
ติดตั้งปลั๊กอิน
- จัดให้ wordpress ทำการ authen กับ ldap server โดยใช้ปลั๊กอิน Simple LDAP Login (simple-ldap-login.1.4.0.5.1.zip)
เลือกกำหนดค่าให้เข้ากับ AD ของมหาวิทยาลัย
เลือกอนุญาตผู้ใช้งานเฉพาะราย ตั้งตัวเลือก Authenticate WordPress users against LDAP. I will create the accounts in wordpress myself. (default) - เปลี่ยนเอดิเตอร์ที่ใช้เขียนจากเดิม TinyMCE มีปุ่มให้ทำงานน้อยเป็นแบบปุ่มสำหรับทำ HTML เยอะกว่า ด้วยปลั๊กอิน Ultimate TinyMCE (ultimate-tinymce.zip)
- ติดตั้งปลั๊กอิน User Avatar (user-avatar.zip) เพื่อให้แสดงรูปผู้เขียนด้วย
- จัดให้ใช้ https สำหรับหน้า login และในโหมดผู้เขียนหรือ admin โดยใช้ปลั๊กอิน WordPress HTTPS (wordpress-https.3.2.1.zip)
- สร้างฟอร์มสำหรับติดต่อกับทีมงานผู้เขียน ด้วยปลั๊กอิน Fast secure contact form (si-contact-form.zip) เพื่อทำตัวฟอร์ม และปลั๊กอิน Contact Form to DB Extension (contact-form-7-to-database-extension.2.4.3.zip) เพื่อเก็บข้อมูลจากฟอร์มลงฐานข้อมูล
- ติดตั้งปลั๊กอิน Facebook (facebook.zip)
- ติดตั้งปลั๊กอิน Send From (send-from.1.3.zip) เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในช่อง From จากเดิม wordpress@sysadmin.in.psu.ac.th ใช้งานไม่ได้เพราะเซิร์ฟเวอร์นี้ไม่ได้เป็น mailbox user agent ไปเป็น อีเมลที่ใช้ได้จริง
- ติดตั้งปลั๊กอินเพื่อแบ็กอัพฐานข้อมูล (เท่านั้น) คือ ปลั๊กอิน WordPress Database Backup (wp-db-backup.2.2.3.zip) ยังสงสัยว่าทำไมมันไม่แบ็กอัพไฟล์ด้วย ต้องใช้อันอื่นเพิ่ม
- ติดตั้งปลั๊กอินเพื่อโคลนนิ่งเครื่องนี้ไปยังเครื่องใหม่ เรียกว่าย้ายบล็อก wordpress ข้ามเครื่องกันเลยทีเดียว ต้องใช้ปลั๊กอิน Duplicator (duplicator.0.3.2.zip) เพราะว่าต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมจาก sysadmin.in.psu.ac.th ไปเป็นชื่อใหม่คือ sysadmin.psu.ac.th