Word : การปรับรูปแบบ font สารบัญตามที่เราต้องการ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่อง Word สืบเนื่องมาจาก Blog ที่แล้วที่กล่าวถึงเรื่องการได้มีส่วนช่วยเพื่อนร่วมงานในการทำคู่มือ จึงได้มีโอกาสในการใช้งาน Word ซึ่งปัญหาที่พบอีกเรื่องก็คือ Font สารบัญ ไม่ใช่รูปแบบ Font ที่ต้องการคือ TH SarabunPSK ผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทำการสร้างเนื้อหาทดสอบ ใน Style Heading และใส่สารบัญเรียบร้อย ดังภาพ จะเห็นได้ว่า Font ในเนื้อหา เป็น TH SarabunPSK ตามที่ตั้งค่าใน Style Heading1 ไว้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนสารบัญนั้นเป็น Font แปลก ๆ ไม่ใช่ Font ที่เราต้องการ เริ่มทำการเปลี่ยน Font โดยไปที่ที่เราเลือกสารบัญแบบอัตโนมัติมาใส่ คือไปที่ Menu References -> Table of Contents -> Custom Table of Contents… จะพบหน้าต่าง Modify Style ที่ส่วนล่างซ้าย เลือก Format -> Font ที่หน้าต่าง Table of Contents มุมล่างขวา เลือก Modify… เพื่อเข้าไปแก้ไขรูปแบบ Font จากนั้นหน้าต่าง Style เลือก Level สารบัญที่ต้องการแก้ไขรูปแบบ ในที่นี้เลือกแก้ไขสารบัญ Level 1 จากนั้นกดปุ่ม Modify เรื่องน่ารู้ TOC ย่อมาจาก Table of Contents ซึ่งก็คือ สารบัญนั่นเอง จะพบหน้าต่าง Font นี่คือ Font ตั้งต้นที่เราได้ จะเป็นว่าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แก้ไขได้เลย แก้ไขให้เป็น Font ที่เราต้องการทั้ง 2 จุด คือ Latin Text และ Conplext scripts จากนั้น กดปุ่ม OK ออกมาเรื่อย ๆ กลับออกมาจนเกือบจะถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีหน้าต่างถามว่า จะเปลี่ยนจริง ๆ ละนะ จะทับของเดิมละนะ ตอบ Yes ไปเล้ย แถ่นแท๊นนน ผลลัพธ์สุดท้าย สวยงามอย่างที่เราต้องการ เย้! หวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่าา 😀😍

Read More »

Word : การใส่รูปแบบเลขหน้าที่ต่างกันในไฟล์เดียวกัน

เคยไหมที่เวลาผู้อ่านจะสร้างคู่มือหรือเอกสารที่ต้องมีคำนำ สารบัญ ต่อด้วยเนื้อหา อาจจะจบด้วยภาคผนวก ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีการแสดงเลขหน้าที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำนำ สารบัญ อาจจะใช้เลขหน้าเป็นตัวอักษร เช่น ก, ข แต่ส่วนเนื้อหาใช้ตัวเลขอารบิค ในช่วงนี้ ผู้เขียนได้มีการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในเรื่องนี้ในการทำคู่มือจึงได้นำลงมาใส่ไว้ใน Blog เผื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ตัวอย่าง ผู้เขียนสร้างเนื้อหามา 2 บรรทัดเพื่อเป็นเนื้อหาทดสอบในการใส่เลขหน้า จากนั้นทำการใส่ตัวแบ่งหน้า โดยเลือกเป็น Section Breaks -> Next Page จากนั้นใส่เลขหน้าเป็นเลขอารบิคปกติ เลขหน้าจะเริ่มที่หน้าที่ 1 และ 2 ไปเรื่อย ๆ จากนั้นผู้อ่านของดูที่แถบ Ribbon ใน Tab Header & Footer และพบเมนู Link to Previous ซึ่งจะเป็นว่าเมนูนี้ถูกไฮไลท์อยู่ นั่นคือ เลขหน้าจะต่อเนื่องจาก Section ก่อนหน้า ให้เลือกเมนูนี้อีกครั้ง เพื่อเอาการ Link กับ Section ก่อนหน้าออก จากนั้นลบเลขหน้าที่หน้าที่ 2 ออก จากนั้นไปที่เมนู Page Number -> Format Page Number เพื่อทำการเลือกรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใส่ใหม่ ในที่นี้ต้องการใส่เลขหน้าเป็นตัวอักษรภาษาไทย เมื่อพบหน้าต่าง Page Number Format ให้ทำการเลือกรูปแบบเลขหน้าที่ Number format จากนั้น ที่ Page numbering ในเลือกเป็น Start at โปรแกรม Word จะเลือกค่าโดยปริยายเป็น “ก” มาให้ จากนั้นกด OK ผู้อ่านลองเลือกแผ่นกระดาษดูจะพบว่า เลขหน้าได้ทำการเปลี่ยนให้เป็นที่เรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะ 😀😍

Read More »

การสลับข้อมูลจาก Column เป็น Row ใน Excel

ท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Excel น่าจะเคยเจอปัญหาหรือมีความต้องการที่ว่า มีข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Column แต่ต้องการย้ายให้มาแสดงในรูปแบบ Row ถ้าต้อง copy แล้วมา paste ทีละตัวคงไม่สะดวกอย่างแน่นอน แต่ Excel ได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับแก้ปัญหาเหล่านี้เอาไว้แล้ว ลองไปดูกันเลย 1.สมมติเรามีข้อมูลชื่อเดือนเก็บอยู่ในเ Excel ในคอลัมน์เดียวกันเรียงกันลงมาดังรูป 2. เลือกข้อมูลที่ต้องการย้ายทั้งหมดแล้ว copy เก็บไว้ 3. ไปยัง sheet หรือ cell ที่ต้องการ จากนั้นคลิกขวา ใต้เมนู Paste Options เลือกไอคอนที่ 4 (Transpose) 4. ก็จะได้ข้อมูลมาอยู่ในรูปแบบแนวนอน ดังรูป 5. จากข้อ 2 ถ้าเราเลือกเมนู Paste Special… จะปรากฏ dialog ดังรูป ให้เลือก Transpose จากกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ฟังก์ชัน TEXTJOIN() โดยฟังก์ชันนี้จะทำหน้าที่รวมข้อความจากช่วงข้อมูลหรือข้อความหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกันและสามารถระบุตัวคั่นระหว่างข้อมูลได้ด้วย โดยฟังก์ชันนี้จะมี parameter สามส่วนหลักๆ คือ พารามิเตอร์ คำอธิบาย ตัวคั่น สตริงข้อความไม่ว่าจะเป็นสตริงข้อความว่าง, ประกอบอักขระอย่างน้อย 1 ตัวในอัญประกาศ หรือมีการอ้างอิงไปยังสตริงข้อความที่ถูกต้อง ถ้ามีตัวเลขอยู่ก็ถือว่าเป็นข้อความ ignore_empty ถ้าเป็นค่า TRUE ให้ละเว้นเซลล์ว่าง text1 รายการข้อความที่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน สตริงข้อความ หรืออาร์เรย์ของสตริง เช่น ช่วงเซลล์ [text2, …] รายการข้อความเพิ่มเติมที่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน สามารถมีอาร์กิวเมนต์ข้อความสำหรับรายการข้อความได้สูงสุด 252 รายการ รวมถึง text1 แต่ละรายการสามารถเป็นสตริงข้อความหรืออาเรย์ของสตริงได้ เช่น ช่วงเซลล์ ตัวอย่างการใช้งานดังรูป จะเห็นว่าถ้าเป็นวิธีใช้ฟังก์ชัน TEXTJOIN ข้อมูลจะถูกนำมารวมในฟิลด์เดียวกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเลือกนำไปประยุกต์ใช้ ว่าวิธีการไหนจะเหมาะกับงานตัวเอง ก่อนจะจากไป ขอแถมอีกวิธีบน MS Word เผื่อใครอยากทำอะไรคล้ายๆ แบบนี้ วิธีการคือ 1. ข้อมูลแยกกันอยู่คนละบรรทัด ดังตัวอย่าง 2. เลือกข้อมูลทั้งหมด จากนั้นกด Ctrl + H จะปรากฏ dialog “Find and Replace” ดังรูป 3. ป้อน ^p ในช่อง Find what: และป้อน , ลงในช่อง Replace with: จากนั้นกด Replace All ข้อมูลทั้งหมดจะถูกยุบมาอยู่ในบรรทัดเดียวกัน โดยมี , คั่นอยู่ระหว่างข้อมูลแต่ละบรรทัด ดังรูป ซึ่งเทคนิคนี้ก็คือการแทนที่อักขระขึ้นบรรทัดใหม่ ด้วย , นั่นเอง ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย จนกว่าจะพบกันใหม่ สวัสดีครับ อ้างอิง • https://superuser.com/questions/240858/convert-a-column-into-a-comma-separated-list• http://www.saranitus.com/2018/10/ย้ายข้อมูลจาก-row-เป็น-column-ใน-excel-2016.html• https://www.it-guides.com/training-a-tutorial/office-tutorial/transpose-microsoft-excel-2007• https://support.microsoft.com/th-th/office/textjoin-ฟังก์ชัน-textjoin-357b449a-ec91-49d0-80c3-0e8fc845691c

Read More »

Word : วิธีแก้ Repeat Header Table แล้ว word ดื้อ ไม่ยอม Repeat ให้

เคยไหม กด ✔ ที่คำสั่ง Repeat as header row at the top of each page แล้ว ตารางนั้นก็ยังไม่ยอมแสดงหัวตารางในหน้าถัดไปเสียที ช่วงนี้หลังจากที่ผู้เขียนได้มีช่วงเวลาในการที่ปั่นเอกสาร รวมถึงเพื่อน ๆ ที่เจอปัญหาได้สอบถามกันเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าน่าจะนำมาเขียน Blog เผื่อผู้อ่านท่านใดที่ติดปัญหาเช่นเดียวกัน จะได้ลองนำไปใช้ดูเผื่อแก้ปัญหาได้ หลัก ๆ แล้วปกติ เมื่อผู้อ่านสร้างตารางขึ้นมา เมื่อต้องการให้ข้อมูลสองแถวแรกเป็นหัวตาราง ผู้เขียนจะทำการคลุมสองแถวนั้น จากนั้นคลิกเมาส์ขวา เลือกเมนู Table Properties… ดังภาพด้านล่าง จากนั้นที่ Tab Row ให้ ✔ ที่คำสั่ง Repeat as header row at the top of each page เพื่อเป็นการบอกว่า จะทำให้ตาราง 2 แถวแรกเป็นหัวตารางจากนั้นกด OK แต่เมื่อกลับมาหน้าตาราง ทำไมหัวตารางถึงยังไม่มีล่ะ????? 🤔 งั้นต้องมาตรวจสอบเพิ่มเติมกันหน่อย โดยลองทำการคลุมสองแถวนั้นเหมือนเดิม จากนั้นคลิกเมาส์ขวา เลือกเมนู properties แต่ตอนนี้ไปเลือกที่ Tab Table สังเกตที่กลุ่ม Text wrapping ถ้าของผู้อ่านท่านใดเป็นแบบรูปด้านล่างคือเลือกอยู่ที่ Around นั่นคือปัญหา 😫😤 ลองเปลี่ยนเป็นเลือก None ตามรูปด้านล่างดูค่ะ แทน แท๊นนนนนนนนนนนนนนนนน *0* ตารางของเรามีหัวตารางตามที่เราต้องการแล้ว เย้!!!!!!! 🎉🎊✨ หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ สวัสดีค่าาาาา 😘

Read More »

การสร้างฟอร์มกรอกข้อมูลใน Word

เราอาจจะสร้างฟอร์มเพื่อส่งให้ผู้อื่นกรอกเอกสาร ตามฟอร์มที่เราออกแบบไว้ โดยจะต้องไปเรียกใช้ Develper ที่แถบ Ribbon โดยไปที่เมนู File –> Options –> Customize Ribbon เลือก Develper ดังรูป จะเห็นว่ามีแถบ Developer ปรากฏอยู่ เรามาเริ่มสร้างฟอร์มกัน ในที่นี้จะสร้างฟอร์มเล็ก ๆ ดังรูป จากนั้นคลิกแถบ Developer แต่ละ Control ที่จะนำมาใช้ แต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง หมายเลข 1 เป็นข้อความที่สามารถจัดรูปแบบได้ หมายเลข 2 เป็นข้อความที่กรอกอิสระ หมายเลข 3 เป็นการแทรกรูปภาพ หมายเลข 4 เป็นฟิลด์รายการที่มีตัวเลือก สามารถเลือกได้ หมายเลข 5 เป็นการแทรกฟิลด์แบบมีตัวเลือก เช่นเดียวกับหมายเลข 4 หมายเลข 6 เป็นรูปแบบวันที่ให้เลือก   จากนั้นเมื่อเรารู้จักหน้าที่ของแต่ละ Control แล้ว เราก็เลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ โดยในส่วนของตำแหน่ง เราจะใช้ Combo box เมื่อคลิก Combo box  1 ครั้งให้ไปเลือกที่ Properties จากนั้นจะปรากฏดังรูป เมื่อเรียบร้อยแล้วจะได้ดังรูป เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความหัวข้อ คือให้กรอกได้เฉพาะข้อมูลที่มีช่องให้กรอกเท่านั้น โดยไปที่แถบ Developer –> Restrict Editing จะแสดงดังรูป จากนั้นที่ข้อ 2 ให้ติ๊กเลือกและกำหนดเป็น Filling in forms เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความ แล้วคลิกปุ่ม “Yes, Start Enforcing Protection” จะแสดง Dialog ดังรูป ระบุ Password ที่จะใช้ป้องกันการแก้ไขข้อความ จากนั้นคลกปุ่ม “OK” จากนั้นลองไปคลิกที่หัวข้อจะไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ จะแก้ไข/กรอกได้เฉพาะที่ให้กรอกข้อมูลนั้น            

Read More »