Tag: webmail.psu.ac.th

  • How to import/export contact lists

    • เริ่มจาก log in เข้าระบบที่เว็บเมล์เดิม https://webmail.psu.ac.th คลิก Address
    • จะได้หน้า Address book ซึ่งประกอบด้วยรายชื่อผู้ติดต่อของเรา และให้เลื่อนลงมาล่างสุดจะมีส่วนของ Address book export
    • คลิก Export to CSV File
    • จะมีหน้าต่างดาวน์โหลดไฟล์มาให้เลือกตำแหน่งเก็บและตั้งชื่อไฟล์ให้เรียบร้อย แล้วคลิก Save จากตัวอย่างจะดาวน์โหลดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ Downloads
    • เปิดแท็บใหม่เปิดเว็บ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย ได้ดังภาพ
    • คลิก ด้านซ้ายมือไอคอนที่ 3
    • จะได้ดังภาพ
    • คลิก Manage contacts เลือก Import contacts
    • จะได้หน้า Import contacts คลิก Browse
    • จะได้หน้าต่างสำหรับอัปโหลดไฟล์ CSV ที่เรา export จาก webmail คลิก Open
    • จะได้ดังภาพ คลิก Import
    • จะได้หน้าตัวอย่างจากไฟล์ CSV ให้ตรวจสอบว่าอ่านออกหรือไม่ในกรณีที่เป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่น ๆ ถ้าอ่านออกและแสดงผลถูกบรรทัดคลิก Looks OK, continue
    • รอจนได้หน้าสรุปว่ามีกี่คนที่ถูก Import คลิก Close
    • จะได้หน้าดังภาพ contacts ทั้งหมดถูกนำเข้าเรียบร้อย
    • ฟิลด์หลักๆ ในไฟล์ csv ที่ควรมีนะครับ
      • ชื่อ
      • นามสกุล
      • ชื่อเล่น
      • อีเมล
    • เช่น
      First Name,Last Name,Nickname,E-mail address
      Grianggrai,Nootongkum,Yai,grianggrai.n@psu.ac.th
  • ใช้ Gmail เป็น pop3/pop3s client

    เริ่มกันเลย

    1. สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยสมัครเมล์ของมหาวิทยาลัยมาก่อน ต้องเริ่มที่ https://webmail.psu.ac.th เลื่อนลงมาล่างสุด ปุ่มสีแดงที่เขียนว่า Register or Reset Password PSU-Email และ เว็บ https://passport.psu.ac.th มองไปทางซ้ายจะมีข้อความ ขอ/เปลี่ยนรหัส Google ทั้งสองเว็บจะมี 4 ช่องให้กรอก ช่องแรกคือ username ของ PSU Passport ช่องสองรหัสผ่านของ PSU Passport ช่องสามและสี่รหัสผ่านใหม่ที่จะใช้กับระบบเมล์ (ไม่เกี่ยวกับ PSU Passport นะย้ำ) ทำสองเว็บนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วเริ่มที่ข้อ 2 ได้เลย!!
    1. ต้องยกเลิก filter ที่ตั้งไว้ที่เว็บเมล์ก่อน คือลบส่วนที่เคยตั้งค่าไว้ตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ซึ่งหากมีกฎข้ออื่น ๆ ที่สร้างเพิ่มเติมจะเก็บไว้ก็ได้เช่นกัน แค่ต้องลบอันที่ redirect ไป @g.psu.ac.th ทิ้งไปก่อนเท่านั้น (สำหรับผู้ใช้ใหม่ สามารถทำตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ได้เลย แต่!!! ไม่ต้องทำในส่วน redirect ตั้งแต่ Step 2 ไม่ต้องทำ ให้ทำตามเอกสารนี้แทน)
    Filter
    1. เปิดเว็บ https://gmail.com ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย
    gmail.com
    1. มองไปมุมบนขวาจะเห็นรูปเฟือง ให้คลิกรูปเฟืองแล้วเลือก See all settings
    See all settings
    1. จะได้หน้า Settings
    Settings
    1. ให้คลิกที่ Accounts and Import จะได้หน้าตาประมาณนี้
    Accounts and Import
    1. ทีนี้เลื่อนลงมาจนกว่าจะเจอ Check mail from other accounts:
    Check mail from other accounts:
    1. คลิก Add a mail account จะมีหน้าต่างใหม่ปรากฎขึ้น!!!
    Add a mail account
    1. ให้กรอกอีเมลในรูปแบบ username.s@mail.psu.ac.th เช่น gr☷☷☷☷.n@mail.psu.ac.th แล้วกด Next
    Add a mail account
    1. หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลดังรูป โดยส่วนที่ต้องกรอกเพิ่มจะเป็น password และ POP Server ต้องแก้เป็น mail.psu.ac.th เท่านั้น Port ที่ใช้ได้คือ 110 ซึ่งคือ POP3 ธรรมดา ไม่สามารถเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail. และ 995 คือ POP3S ที่ต้องเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail ซึ่ง 2 Port นี้ต่างกันที่การเข้ารหัสและความเร็วในการโหลดเมล์ คือ Port 110 โหลดเร็วแต่ไม่เข้ารหัส Port 995 โหลดช้าเพราะเข้ารหัส ก็ต้องเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ https://webmail.psu.ac.th ก็ให้เลือก Leave a copy of retrieved message on the server. และในส่วนตัวเลือกสุดท้าย Label incoming messages จะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ แต่แนะนำให้เลือก โดยสามารถเปลี่ยนชื่อเรียกได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหา กด Add Account เพื่อไปหน้าถัดไป
    1. จะได้หน้า Your mail account has been added. เลือก No เพราะเราไม่ต้องการส่งเมล์ออกในนาม @mail.psu.ac.th กด Finish
    Your mail account has been added.
    1. กดปุ่ม F5 ที่แป้นพิมพ์ก็จะเห็นว่าเราได้เพิ่มเมล์ @mail.psu.ac.th ไว้แล้วและกำลัง Check mail
    Accounts and Import
    1. เมื่อรอไปสักครู่ให้เลื่อนดูในแถบด้านซ้ายมือจะมีชื่อที่เราตั้งไว้ตอนกด Add a mail account
    Label
    1. เท่านี้เราก็สามารถเช็คเมล์ @psu.ac.th ได้โดยไม่ต้อง redirect mail แบบเดิม
    2. จบ. ขอให้สนุก

    *** รายละเอียดการดึงเมล์ใหม่ https://workspaceupdates.googleblog.com/2012/08/three-gmail-labs-graduation-into.html โดยสรุปคือ ความถี่ขึ้นอยู่กับบัญชีอีเมล ที่เพิ่มเข้ามา มีเมล์เข้ามากแค่ไหน ถ้ามากก็จะรีเฟรชบ่อย และถ้ารีบให้กด refresh เอง

    • ทั้งนี้หากมีเมล์เก่าเหลืออยู่ในเว็บเมล์ จะถูกส่งไป gmail ด้วยทั้งหมด