Tag: Web Map Service

  • การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver

    จากบทความ ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ของคุณคณกรณ์ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดทำแผนที่ GIS ซึ่งอาศัย Web Map Service หรือเรียกย่อๆว่า WMS ก็เลยทำให้คันไม้คันมือ อยากนำเสนอวิธีการสร้าง WMS บน Geoserver เพื่อนำ shape file ที่เราได้จัดทำขึ้น(ไม่ว่าจะเป็น point , line, polygon) มาใช้งานบน GIS Web Application ซึ่งทั่วไปก็จะใช้ UI เป็น Openlayers, Leaflet ฯลฯ

    **ลองแวะเข้าไปอ่านบทความเก่าๆของผู้เขียน จะมีการนำเสนอวิธีการนำ WMS ไปใช้ อาทิเช่นกับ Google Earth, ArcGIS เป็นต้น

    ขั้นตอนการสร้าง WMS บน Geoserver

    1. สร้างและกำหนด style ของข้อมูลในโปรแกรม QGIS

    2. save style เป็น SLD file โดยจัดเก็บไว้ที่เดียวกับ shape file

    3. Copy file ทั้งหมด

    4. ไปวาง(past) ไว้ที่ root folder ของ Geoserver ซึ่งในที่นี้จะอยู่ที่ C:\Program Files\Apache Software Foundation\Tomcat 7.0\webapps\geoserver\data\shpfile\slb-gis

    *** ดาวน์โหลด shape file ตามตัวอย่างได้ที่นี่

    5. เปิด Geoserver manager โดยพิมพ์ url: localhost:8080/geoserver     *** port สามารถปรับเปลี่ยนได้

    6. ทำการสร้าง Workspaces

    7. กำหนดชื่อ Workspace และ URI

    8. กำหนด properties ของ Workspace ให้เปิดใช้งาน (Enabled) Services ต่างๆ

    9. จากนั้นทำการสร้าง Stores ในการเก็บข้อมูล shape file (จากขั้นตอนที่ 4)

    10. เลือกชนิดของ data sources ในที่นี้จะเลือก Directory of spatial files (Shapefiles)

    11. ทำตามขั้นตอนในรูป

    1) เลือก Work space ที่สร้างไว้ในข้อ 7

    2) กำหนดชื่อ data

    3) กำหนด directory ที่เก็บ shape file

    4) เลือกโฟลเดอร์ จากข้อ 4

    5) คลิกปุ่ม OK

    จากนั้นเลืื่อนไปด้านล่างสุดของหน้าจอ เพื่อคลิกปุ่ม Save

    12. จะปรากฏหน้าต่างข้อมูล shape file ที่ถูกจัดเก็บไว้ในข้อ 4 ซึ่งในที่นี้มีเพียง 1 shape file คือ slbtamb > จากนั้นคลิกที่ Publish เพื่อเปิดการใช้งานชั้นข้อมูล

    13. จะแสดงชั้นข้อมูล slbtamb จากข้อ 12

    14. คลิกปุ่ม Find เพื่อกำหนดระบบพิกัดให้กับชั้นข้อมูล ในที่นี้ shape file เป็นระบบ UTM ผู้เขียนจึงใช้รหัส 32647

    15. จากนั้น คลิก Compute from native bounds เพื่อให้ระบบ generate พิกัดให้

    16. คลิกปุ่ม Save

    17. ทำการเพิ่ม SLD file ที่ได้จัดทำไว้ในข้อที่ 2 เพื่อการแสดงผลของแผนที่ให้มีลักษณะเหมือนดังเช่นที่ได้ปรับแก้ในโปรแกรม QGIS

    18. เลือก Workspace > คลิกเลือกไฟล์ ที่ได้จัดเก็บไว้ในข้อ 4 > คลิก Upload…

    19. จะแสดงโค้ดของ sld file ซึ่งตรงนี้ สามารถปรับแก้/เพิ่มเติมได้ > จากนั้นคลิกปุ่ม Submit

    20. กลับไปที่เมนู Layers จากข้อ 12 ให้คลิกแถบ Publishing > เลือก Default Style > เลือก style ที่ได้สร้างในข้อ 19

    21. จะแสดงรูปแบบของ style

    22. ทำการพรีวิวดูชั้นข้อมูลที่ได้สร้างขึ้น > คลิกเมนู Layer Preview > เลือกชั้นข้อมูล จากนั้นคลิก OpenLayers

    23. จะแสดงแผนที่ชั้นข้อมูลที่ได้นำเข้า shape file โดยการนำไปใช้ จะใช้

    WMS url และ Layers name

    *** ดูตัวอย่างการนำไปใช้เพิ่มที่

     

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านที่ต้องการจะสร้าง GIS Web App. หรือมีข้อมูล shape file แล้วต้องการจะนำไป publish ขึ้นเว็บในรูปแบบของ GIS Web นะคับ

    ** ข้อดีของ WMS คือ เราจะแชร์เฉพาะ Service โดยที่ข้อมูล shape file ยังคงอยู่กับเรา(private) 

     

    สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา GIS Web Application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS

     

    ===============================================
    สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
    แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand

  • การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

    จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ
    วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

     

    WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น

    ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)

     

    ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS

     

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    *** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

     

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/

    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    01

    3. เปิดโปรแกรม Google Earth

    4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ

    • คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ
    • คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ
    • คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน

    02

    5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS

    03

    6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง

    04

    7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม ->

    05

    8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง

    06

    9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง

    07

    10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป

    08

    *** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง

    จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น

    ___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น หน่วยงานท่านล่ะคับ มีอะไรที่อยากจะมาแชร์บ้าง? หรืออยากแชร์แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร? คราวหน้าจะมาเขียนวิธีการทำ WMS เพื่อการเผยแพร่ให้นะคับ ^^

     

    สวัสดี—-

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application

    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ

    ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน

    ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    01

    จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ

    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์

    คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน?
    ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?
    ตอบ : ในทุกๆด้าน
    05

    ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน02

    GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

    04 03

    *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^

    สรุป
    Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน

    ตัวอย่าง Web Map App.