Tag: Web Map Application

  • การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server

    จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA

    มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ

    2016-02-14_17-51-55

    ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ

    1. การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop
    2. การสร้าง Services บน ArcGIS Server
    3. การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/
    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    00

    3. เปิดโปรแกรม ArcGIS Desktop > เปิด Catalog > คลิก GIS Server > Add WMS Server

    01

    4. วางลิงค์ที่ได้จากเว็บ ที่ช่อง URL แล้วคลิกปุ่ม Get Layer

    http://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/wms/c6/?SERVICE=WMS&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetMap&LAYERS=fires24&width=1024&height=512&BBOX=-180,-90,180,90&&SRS=EPSG:4326

    02

    5. จะปรากฏชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม OK

    03

    6. Catalog จะแสดง WMS จากนั้นลากข้อมูลวางไว้ตรงพื้นที่งาน

    04

    7. แสดงจุดความร้อน โดยมีชั้นข้อมูลแบบ 24 ชม. และ 48 ชม.

    05

    8. เปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูล เพื่อเข้าใจง่ายต่อการแสดงผ่านเว็บ

    06

    9. เพิ่มข้อความในแผนที่เพื่อให้เครดิตเจ้าของข้อมูล โดยคลิกที่เมนู Insert > Text

    07

    10. พิมพ์ Power by Firms Group of NASA แล้วปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของข้อความ

    08

    11. จากนั้นทำการ Save ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    12. ต่อไปเป็นขั้นตอนการสร้าง web map application โดยเปิด ArcGIS Server Manager

    13. ทำการสร้าง Services โดยคลิกที่ Services > Manager Services > Publish a GIS Resource

    09

    14. แท็บ General ใส่ชื่อ service ตรงช่อง Name :  ในที่นี้ใช้ชื่อ hotspot2016

    10

    15. แท็บ Parameters ตรง Map Document: ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ในโปรแกรม ArcGIS ในที่นี้ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    11

    16. แท็บ Capabilities กำหนดค่าตาม default

    12

    17. แท็บ Pooling ปรับตัวเลขให้เป็น 10 ตรงช่อง Maximum number of instances > คลิกปุ่ม Save and Restart

    13

    18. เมื่อได้สร้าง Services แล้ว ต่อไปทำการสร้างเว็บ ด้วยการคลิกที่ Applications >
    Create Web Application

    14

    19. ตั้งชื่อเว็บเป็น Fire ซึ่งจะเป็นชื่อเว็บสำหรับการเผยแพร่

    15

    20. แท็บ Layer เพื่อเลือก Services ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ คือ hotspot2016 > คลิกปุ่ม Add

    16

    21. เพิ่ม Layer แผนที่ฐาน (Basemap) เพื่อเป็นพื้นหลังของแผนที่ โดยมี 2 Layers ที่แสดงเป็นแบบ Roads และ Aerial with labels > จากนั้นคลิกปุ่ม Add

    17

    22. จะปรากฏชั้นข้อมูล (Layers) ตามที่ได้เลือกไว้ โดยทำการเปลี่ยนชื่อ Layer เพื่อให้เข้าใจง่ายในการแสดงผล

    18

    23. ทำการตั้งค่าการแสดง scale ของแผนที่ด้วยการคลิกปุ่ม Define… ตามรูป

    19

    24. ปรับขนาดการแสดงผลหน้าจอตามต้องการ ในที่นี้ปรับให้พอดีกับประเทศไทย > คลิก OK

    20

    25. ปรับแต่งชื่อเรื่องเว็บและ web links > คลิกปุ่ม Finish

    21

    26. จะปรากฏ web application ที่ได้ทำการสร้างไว้ ในที่นี้จะเป็น http://servername/fire

    22

    27. คลิกที่เว็บลิงค์ จะปรากฏหน้าต่างเว็บขึ้นมา ดังรูป

    23

    28. หากเผยแพร่แล้วจะเป็น http://slb-gis.envi.psu.ac.th/fire

    2016-02-14_17-51-55

    *** ยาวนิดนะคับ พอดีทำรายงานเลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Web Map Application และสำหรับใครหลายๆคนที่อาจจะยังมองไม่ออกว่า เอ??? GIS Web Map นี่เขาทำกันอย่างไร?

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

    *** ข้อดีของ ArcGIS Server คือ สะดวก มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แต่การปรับแต่งความสวยงามของเว็บ ยังคงด้อยกว่า Geoserver + OpenLayer ซึ่งเป็น Open source อยู่นะคับ ที่สำคัญคือ ต้องซื้อ license ในราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

    ห่างหายไปนาน เพราะตอนนี้ยุ่งๆ หลายเรื่องเลยคับ ซึ่งมีหลายสิ่งในหัวสมองอันน้อยนิด อยากที่จะมาแชร์เกี่ยวสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า GIS

    คราวที่แล้วพูดถึง Map Server ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 2 เจ้าใหญ่ๆ คือ ArcGIS Server และ Geoserver (จริงๆแล้วมีตัวอื่นอีกนะคับ) ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ (SouthGIST) ติดตั้งและใช้งาน ArcGIS Server 10.0 อยู่คับ โดยใช้งานภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(SLB-GIS) และคาดว่าภายในปีนี้จะติดตั้ง Geoserver เพิ่มอีกตัว โดยจะให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

    01

    การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

    (ติดตั้งได้ทั้งบน Windows และ Linux) จะมีส่วนหลักๆ ที่จะต้องติดตั้ง คือ

    – Windows Server ตั้งแต่ 2003 ขึ้นไป *ที่ศูนย์ฯ ติดตั้ง Windows Server 2008 R2
    – Microsort SQL Server
    – IIS version 7.0 ขึ้นไป
    – ArcGIS Server 10 Enterprise
    – Microsoft .Net Framework 3.5
    – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – GIS Service
    – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – Web Applications
    – ArcSDE for SqlServer
    – ArcGIS for Desktop

    ดูเพิ่มเติมได้ที่ ArcGIS Resource

    ขั้นตอนการติดตั้ง ศึกษาได้จาก https://youtu.be/k5nL7msvPgs

    เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าตาสำหรับ Administrator จะเป็นแบบนี้คับ

    03

    ข้อดี ของ ArcGIS Server คือ บริหารจัดการง่าย ทำงานเพียง 2 ขั้นตอน ก็ build ออกมาเป็น Web Map Application ได้เลย

    1. Create Service โดย service นี้สามารถ share service ให้อยู่ในรูปของ WMS (Web Map Service) ได้ด้วยนะคับ เพื่อนำไปใช้ input เข้าโปรแกรมด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS for Desktop , QGIS เป็นต้น (ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอเรื่อง WMS นะคับ)
    2. Create Web Application โดยการ add Service ที่เราได้สร้างไว้แล้ว จากนั้น ตั้งค่าสำหรับเว็บ

    ก็จะได้ออกมาในเป็นหน้าเว็บแมพ (Web Map Application)

    02

    ข้อด้อย ของ ArcGIS Server คือ ค่า license ที่มีราคาเป็นหลักแสนบาท ซึ่งจะต้องซื้อ ArcGIS for Desktop (8,000฿) ด้วย

    แต่ถือว่าคุ้มนะคับสำหรับบางหน่วยงานที่ไม่อยากพึ่งพา Programmer มากนัก เพราะไม่ต้อง config อะไร แค่ add service แล้วนำไปสร้างเป็นเว็บแมพได้เลย พูดได้ว่า คุณสามารถ build web map ได้ภายใน 5 นาที โดยที่ไม่ต้อง coding เลย (แต่หากต้องการจะปรับแก้เพิ่มเติมก็สามารถ coding เพิ่มได้นะคับ เพียงแต่ว่าอาจจะต้องไล่หาโค้ดกันหน่อย)

    คราวหน้าจะมาพูดถึงการประยุกต์ใช้ GIS กับ Google Earth นะคับ หลายคนถามมาเยอะเลยว่า เราจะสามารถนำ GIS มาซ้อนทับและนำเสนอผ่าน Google Earth ได้อย่างไร?

    ปล. ศูนย์ GIS ยินดีให้บริการและให้คำปรึกษาด้าน GIS ดังนี้

    • บริการผลิตแผนที่
    • บริการคำปรึกษาการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
    • บริการคำปรึกษา แนะนำการสั่งซื้อภาพ และการประมวลผลข้อมูลถ่ายดาวเทียม
    • บริการยืมแผนที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ด้านภูมิสารสนเทศ
    • รับนักศึกษาฝึกงานด้านภูมิสารสนเทศ
    • บริการฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณ 14 จังหวัดภาคใต้ (ปี พ.ศ. 2555 ชุด L7018)

    และรวมไปถึงการขอใช้พื้นที่ web map application เพื่อการศึกษาและวิจัย ด้วยนะคับ

     

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application

    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ

    ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน

    ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    01

    จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ

    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์

    คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน?
    ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?
    ตอบ : ในทุกๆด้าน
    05

    ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน02

    GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

    04 03

    *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^

    สรุป
    Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน

    ตัวอย่าง Web Map App.