Tag: ubuntu 12.04

  • วิธีตั้งค่า Apache web server 2.4.x แตกต่างจาก 2.2.x

    asf_logo_wide
    เก็บตกจากวันวานเปิดอบรม Workshop Linux System Administration II (WS-LSA2) ที่ศูนย์คอมฯ 2 วัน ผมเตรียมเอกสาร workshop วิธีตั้งค่าหลายๆเรื่องบน ubuntu 12.04 แต่พอดีกับที่ ubuntu 14.04 ออกมาแล้ว จึงนำ ubuntu 14.04 มาให้ผู้เรียนใช้ติดตั้ง มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก ubuntu 12.04 ตั้งแต่เริ่มต้น installation จนกระทั่งมาถึงเรื่องที่เราจะตั้งค่าเกี่ยวกับ Apache web server ซึ่งทำให้ต้องแก้ไขเอกสารประกอบการสอนกันสดๆตอนนั้นเลย (ฮา)

    เพราะว่า Apache Web Server ที่อยู่ในแผ่น ubuntu 14.04 นั้นเป็นเวอร์ชั่น 2.4.7 ซึ่งมี Default Document Root อยู่ที่ /var/www/html ต่างจาก Apache Web Server เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (2.2.x) ที่มี Default Document Root อยู่ที่ /var/www เป็นต้น

    พอจะสรุปได้ดังนี้

    Apache Web Server 2.2.x ทำแบบนี้
    1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www
    หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/testjoomla

    2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available
    จะมีไฟล์ชื่อ default และ default-ssl มาให้
    และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็สร้าง config file ที่มีชื่อไฟล์อย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/sites-available/pma หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง sudo a2ensite pma แล้วก็สั่ง restart apache

    3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default
    DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www

    4.Apache2 config file จะอยู่ที่ /etc/apache2/conf.d
    สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้
    สร้างไฟล์ที่จะมีชื่ออย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/conf.d/jce แค่นี้ก็ได้แล้ว แล้วก็สั่ง restart apache และเมื่อจะไม่ใช้ config file jce นี้แล้ว ก็แค่ลบไฟล์นี้ทิ้ง

    แต่สำหรับ Apache Web Server 2.4.x วิธีการจะแตกต่างไป ดังนี้
    1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www/html
    หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/html/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/html/testjoomla

    2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available
    จะมีไฟล์ชื่อ 000-default และ default-ssl มาให้ (ต่างจาก 2.2.x)
    และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็ต้องสร้าง config file ที่มี .conf ต่อท้ายชื่อไฟล์ด้วย เช่น /etc/apache2/sites-available/pma.conf
    หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง
    sudo a2ensite pma แล้วจึงจะสั่ง restart apache สำเร็จ

    3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default
    DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www/html

    4.Apache2 config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/conf-available และต้องสั่ง enable config file ที่ต้องการใช้งานก่อนจึงจะใช้งานได้ แล้วจะเกิดไฟล์ขึ้นอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/conf-enabled
    สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้ เราต้องตั้งชื่อให้มี .conf ต่อท้ายด้วยคือ /etc/apache2/conf-available/jce.conf
    และใช้คำสั่งเพื่อ enable config file ดังนี้ sudo a2enconf jce แล้วก็สั่ง restart apache จึงจะสำเร็จ และเมื่อจะไม่ใช้ config file นั้น ก็จะต้องสั่งดังนี้ sudo a2disconf jce แล้วก็สั่ง restart apache จึงจะสำเร็จ

    ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็น guide ให้แอดมินคิดออกว่า “เอ๊ะ! ทำไมเราตั้งค่าไม่ได้ทั้งๆที่เคยทำได้และทำอยู่บ่อยๆด้วย”

    ขอบคุณครับ

  • How to: install Owncloud (Easy method)

    • สำหรับ Ubuntu 12.04 เท่านั้น
    • เปิด terminal
    • พิมพ์คำสั่ง (ไม่ต้องพิมพ์ $)

    $wget -q -O - http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/Release.key|sudo apt-key add -

    wget -nv https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/Release.key -O Release.key
    apt-key add - < Release.key
    • ต่อด้วย

    $sudo sh -c "echo 'deb http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/ /' >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list"

    sh -c "echo 'deb http://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/ /' >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list"
    apt-get update
    apt-get install owncloud
    • ปิดท้าย

    $sudo apt-get update
    $sudo apt-get install -y owncloud

    • ต่อด้วยคำสั่ง

    $sudo /etc/init.d/apache2 restart

    • เปิดเว็บ http://localhost/owncloud เพื่อสร้าง user ที่เป็น admin ชื่ออะไรก็ได้ตามสะดวก และตั้งรหัสผ่านให้เรียบร้อย คลิก Advanced เพื่อดูค่าอื่นๆ เช่น โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล การตั้งค่าฐานข้อมูลว่าจะใช้อะไร แบบง่ายนี้ขอใช้ sqlite ไปก่อนเพื่อความรวดเร็ว คลิก Finish Setup
    • ระบบจะล็อคอินเป็น user ที่สร้างให้คนแรกโดยอัตโนมัติ
    • ที่เหลือ ... ขอให้สนุกครับ

    ที่มา
    http://software.opensuse.org/download/package?project=isv:ownCloud:community&package=owncloud
    https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/owncloud/

  • How to install mathtex.cgi ubuntu 12.04

    1. ติดตั้ง texlive-full , dvipng,  imagemagick
      $sudo apt-get install -y texlive-full dvipng imagemagick
    2. ดาวน์โหลด mathtex.zip
      $wget http://www.forkosh.com/mathtex.zip
    3. สร้างไดเร็คทอรี่ mathtex
      $mkdir mathtex
    4. cd mathtex
    5. unzip ../mathtex.zip
    6. compile mathtex.c ด้วยคำสั่ง
      $cc mathtex.c -DLATEX=\"$(which latex)\" -DDVIPNG=\"$(which dvipng)\"  -o mathtex.cgi
    7. sudo mv mathtex.cgi /usr/lib/cgi-bin
    8. sudo chown :www-data /usr/lib/cgi-bin
    9. sudo chmod g+w /usr/lib/cgi-bin
    10. เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในแฟ้ม /etc/apache2/sites-enabled/000-default ภายใน Directive VirtualHost ถ้าใส่ตามนี้คืออนุญาติเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้นเข้าถึงได้
      ScriptAlias /cgi-bin/ /usr/lib/cgi-bin/
      <Directory /usr/lib/cgi-bin>
          Options +ExecCGI
          Order deny,allow
          Deny from all
          Allow from 10.0.0.0/8 172.16.0.0/12 192.168.0.0/16
      </Directory>
    11. restart apache
      $sudo service apache2 restart
    12. ทดสอบเรียกใช้งานได้ที่ http://yourhostname/cgi-bin/mathtext.cgi?x
    13. texlive เป็นโปรแกรมที่ทดแทน latex ใช้สร้างสมาการทางคณิตศาสตร์
    14. ใน WordPress มีปลั๊กอินชื่อ Youngwhan’s Simple Latex สามารถเรียกใช้ mathtex นี้ได้ทันที โดยปกติจะเซ็ตไว้ให้ใช้ shared host ภายนอกมหาวิทยาลัย
    15. ทดสอบเรียกใช้งาน E=mc^2 ได้ผลเป็น
    16. ตัวอย่างอื่นๆ สำหรับสมการแปลกๆ Example
    17. จบ…. ขอให้สนุกครับ

    ที่มา

    • https://help.ubuntu.com/community/LaTeX
    • http://www.forkosh.com/cgi-bin/weblist.cgi?-t=weblist&-o=php&-f=sources/mimetexquickstartweb.php
  • แก้ปัญหา update ubuntu server แล้วแจ้ง error ว่า perl: warning: Setting locale failed.

    update Ubuntu Server แล้วมี error message แจ้งดังนี้

    perl: warning: Setting locale failed.
    perl: warning: Please check that your locale settings:
    LANGUAGE = "en_US:en",
    LC_ALL = (unset),
    LC_TIME = "th_TH.UTF-8",
    LC_MONETARY = "th_TH.UTF-8",
    LC_ADDRESS = "th_TH.UTF-8",
    LC_TELEPHONE = "th_TH.UTF-8",
    LC_NAME = "th_TH.UTF-8",
    LC_MEASUREMENT = "th_TH.UTF-8",
    LC_IDENTIFICATION = "th_TH.UTF-8",
    LC_NUMERIC = "th_TH.UTF-8",
    LC_PAPER = "th_TH.UTF-8",
    LANG = "en_US.UTF-8"
    are supported and installed on your system.
    (more…)

  • Multiple SSL Web Sites On One IP Address

    แก้ให้ apache 2 สามารถให้บริการ ssl-site ได้มากกว่า 1 site บน ubuntu 12.04 ; Apache 2.2.22

    * Server ต้องสามารถให้บริการ https ได้อยู่แล้ว

    1. เพิ่มบรรทัด NameVirtualHost *:443 ลงไปในไฟล์ /etc/apache2/ports.conf
      ตัวอย่าง
      ports.conf

      # /etc/apache2/sites-enabled/000-default
      # This is also true if you have upgraded from before 2.2.9-3 (i.e. from
      # Debian etch). See /usr/share/doc/apache2.2-common/NEWS.Debian.gz and
      # README.Debian.gz

      NameVirtualHost *:80
      NameVirtualHost *:443
      Listen 80
      (more…)