ในโลก Web 2.0 มีการสร้างเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการแชร์ URL ข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน URL จะมีความยาวมาก เช่นจากการสร้าง Link แชร์เอกสาร แบบฟอร์ม ที่เก็บไฟล์ต่างๆ
ซึ่งใน ม.อ. คุณ อัษฎายุธ ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชุมชนผู้ใช้ไอที ม.อ. ได้ใช้ Shorten URL กันตามข่าว แทนที่จะไปใช้บริการจากนอก ม.อ. เช่น bit.ly tiny.cc
และในอีกทางหนึ่ง ทางด้านมืด สายมาร เหล่ามิจฉาชีพ ก็นำไปใช้ด้วยเช่นกัน ทำให้เหล่าผู้ใช้ น่าจะรู้สึกกังวลเวลาได้ลิ้งค์ย่อ กังวลว่ากดคลิกต่อไปแล้วจะนำไปสู่หน้าเว็บไซต์ไหน เจออะไร หรือเจอสายมืดก็เปิดเข้าไปเจอเว็บไซต์ประสงค์ร้าย มีแฝงมัลแวร์ มาพร้อมรอต้อนรับผู้ใช้ ที่ยังไม่ตระหนักรู้ ผู้ใช้สาย คลิก “ต่อไป”
วิธีลดความเสี่ยง ในวันนี้ จึงขอเสนอว่าให้นำ Shorten URL นั้นไปแปะให้ Virus Total ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้นให้ก่อน
https://www.virustotal.com/gui/home/url
และฝากเพิ่มเติมสำหรับ สายแชร์ ที่สร้าง URL ลิ้งค์ ที่นำไปสู่เอกสารภายในของกลุ่ม ขององค์กร ของส่วนงาน หรือกลุ่มทำงาน ให้ตรวจสอบการตั้งค่า Share ของสิ่งนั้นให้ดี “ให้เป็นเฉพาะกลุ่ม” เพราะหากเปิดเป็นสาธารณะแล้ว หากผู้รับได้นำ Link ไปใช้ Virus Total ตรวจสอบ ก็อาจจะเป็นการเรียกทัวร์มาลง มาเยี่ยมเยียน ไฟล์ข้อมูลที่เปิดไว้เป็นสาธารณะแบบผิดๆ ไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะ URL ต่างๆ ที่ส่งไปตรวจสอบ Virus Total ก็จะถูกเผยแพร่ไปยังระบบตรวจสอบกลางของ Virus Total ที่ใช้ร่วมกันระหว่างบริษัทที่บริการเครื่องมือความปลอดภัยต่างๆ จำนวนมาก เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบความปลอดภัยร่วมกัน
ก่อนจะกดที่ ลิ้งค์ย่อ Shorten URL อย่าลืมใช้ Virus Total ตรวจสอบกันก่อนนะครับ
ขอขอบพระคุณ คุณชยา ลิมจิตติ ที่ได้แนะนำเครื่องมือ Virus Total ให้ได้รู้จักกันครับ
Tag: Tools
-
Virus Total เครื่องมือตรวจสอบ Shorten URL (ช่วยย่อ URL, ย่อ Weblink, ลิ้งค์ย่อ)
-
จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 3
ต่อจาก Blogก่อนหน้า Blog นี้ เรามาว่ากันด้วยเรื่องของการ upload file และสั่งให้โปรแกรม Generate QR code กัน
หลังจากที่เราบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว และเราอยาก upload file ขึ้นไปเก็บไว้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น “บันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว upload file ขึ้น youtube เมื่อ upload เสร็จ ให้แสดง QR Code ขึ้นมา” โอเคมั้ย โจทย์ประมาณนี้นะ งั้นไป … เราไปเริ่มกันเลย !!!
ลำดับแรกคลิกเลือก “Destinations” จากนั้นเลือกไปที่ “File uploader” เลือกเป็น “Youtube” เน้อออ
จากนั้นก็มาเริ่มตั้งค่ากันเลย ให้ไปที่ “Destination” อีกรอบนึง แต่คราวนี้เลือกไปที่ข้อความ “Destination settings….” โปรแกรมก็จะเปิดหน้าต่างให้เราตั้งค่า
เลือกที่เป็นประเภท File uploader จากนั้นเลือก youtube ขวามือจะแสดง ให้เรา authorize ไปยัง youtube ของเรา คลิกเลือกตรง Step 1 : Open authorize page จากนั้นก็จะเจอหน้าจอดังรูป
ให้เราเลือกเลย กรณีเรามีบัญชีมากกว่า 1 ก็เลือกว่าจะใช้บัญชีไหน เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่างเลย ก็ให้เลือก “อนุญาต”
เมื่ออนุญาตการเข้าถึงบัญชีของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ code ยาวๆ มา หน้าตาประมาณรูปด้านล่าง ให้เรา copy code ที่ได้ไว้นะ
จากนั้นให้เอา code ที่ได้กลับมาวางในหน้าของโปรแกรมแกรม shareX ตรง ช่อง “Verification code” เสร็จแล้วรอแป๊บนึง เมื่อโปรแกรมตรวจสอบและ verify code แล้วว่าถูกต้องก็จะแจ้งเราว่า login successful. ถือว่าครบถ้วนกระบวนความ โดยในหน้านี้ เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น Private type: เลือกได้ว่าต้องการเป็นแบบใด public, private เป็นต้น และสามารถระบุได้ว่า link ที่ได้ต้องการเป็นแบบ shortened link หรือไม่
ต่อมาตะกี้แผนของเราคือ upload ขึ้น youtube เสร็จแล้วให้แสดง QR Code ใช่มั้ย ก็ไปตั้งค่าเพิ่มกันอีกนิดนึง ให้ไปตรงเมนู “After upload task….” จากนั้นเลือก QR Code
เมื่อตั้งค่าเสร็จทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว คราวนี้มาดูผลลัพธ์กัน ก็ลองบันทึกวีดีขึ้นมาสักอันนึง เมื่อบันทึกวีดีโอเสร็จแล้วให้ “คลิกขวา” บนไฟล์วีดีโอของเราจากนั้นเลือก Upload
เมื่อเลือก upload แล้วก็รอสักครู่ จนโปรแกรมบอกเราว่า upload 100% พร้อม ๆ กับแสดงหน้าต่าง QR Code ขึ้นมาให้เราทันที
ก็ลอง Scan QR Code กันดูได้ มันก็จะวิ่งไปที่วีดีโอของเราที่อัพขึ้น youtube นั่นแหละ
เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ดูเหมือนยาก แต่มันไม่ยากนะ แถม Destination ที่มีให้เราเลือกอัพก็มีมากมายซะเหลือเกิน ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นกันดู มันมีประโยชน์จริงๆ เล่นไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ไม่ต้องรีบร้อนกันนะ สบาย สบายยยยยยย วันนี้ผู้เขียนก็ขอจบ Blog แต่เพียงเท่านี้ และก็ขอจบในเรื่องราวของเจ้า shareX ตัวนี้แต่เพียงเท่านี้
หากผู้อ่านมีข้อสงสัย สามารถถามเข้ามาได้นะ ถ้ารู้ก็จะบอก แต่ถ้าไม่รู้ก็จะพยายามหาคำตอบมาให้ 55+ ส่วน Blog หน้าจะมาเล่าเรื่องอะไร รอติดตามกันนะทุกคนนนน …. บุ้ยบุ่ย ^___^
-
จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 2
Blog นี้ ขอมาต่อในส่วนของโปรแกรม shareX โดยจะมาว่ากันในเรื่องของการบันทึกหน้าจอในรูปแบบ VDO กันค่ะ
สำหรับการบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ ผู้ใช้สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอ หรือจะเลือกเป็นพื้นที่ก็ได้เช่นกัน
แต่ก่อนที่เราจะบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอด้วย shareX ได้นั้น เครื่องของเราก็ต้องมี plugin ที่ชื่อ “FFmpeg” ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องตกใจหรอก เพราะว่าพอเราเลือกฟังก์ชันบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอ (Screen recording) โปรแกรมก็จะบอกเราว่า เราไม่มี plugin ตัวนี้ จะไปดาวน์โหลดมาติดตั้งเลยมั้ย ก็ให้ตอบตกลงไปเลย แค่นี้เราก็สามารถใช้งานการบันทึกภาพหน้าจอได้แล้ว
หรืออีกวิธีนึง !!!
เราสามารถไปดาวน์โหลดด้วยตัวเองก่อนก็ได้ โดยไปที่ “Task settings”
จากนั้นก็ปรากฏหน้าจอดังรูป ให้เลือก “Screen recorder” –> “Screen recording options….” –> คลิก Download
รอสักครู่ ไฟล์ไม่ใหญ่ โหลดไม่นาน หน้าตาก็ประมาณนี้น่ะ
เพิ่มเติมอีกนิดนึง นอกจากเราจะบันทึกการจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอเป็นแบบวิดีโอแล้วเรายังสามารถบันทึกในแบบ GIF Animation ได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้คือดีมากๆ เลย
อะ มาๆ เรามาลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริงๆ กันเลย
Step 1 : เลือก capture –> Screen recording
Step 2 : โปรแกรมก็จะให้เราเลือกพื้นที่ ที่เราต้องการจะบันทึก เราก็ลองลากเลือกเลยว่าจะบันทึกตรงไหน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็ให้สังเกตุ โปรแกรมจะขึ้นเส้นประรอบๆ พื้นที่ที่เราเลือก พร้อมทั้งเริ่ม Record หน้าจอของเราละ
Step 3 : เราก็เริ่มต้นทำงานบนหน้าจอของเราได้เลย โปรแกรมจะบันทึกวีดีโอเก็บไว้ เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการบันทึกได้เลย โปรแกรมก็จะแสดงให้เราเห็นว่าบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว
จากรูป สามารถคลิกบนลิงค์เพื่อ Play วีดีโอของเราได้เลย หรือหากไม่คลิกจากลิงค์ ก็สามารถเข้าไปดูใน Folder ตาม path ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้นะ ได้ทั้ง 2 วิธีนั่นแหละ หรือใครไม่รู้ว่าไปตั้ง path ได้จากไหน ก็ทำตามวิธีนี้ดูนะ
คลิกเลือก Application settings …… –> เลือก path –> คลิก Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ได้เลย
ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นเจ้า shareX ตัวนี้จริงๆ นี่ขนาดผู้เขียนลองเล่น ลองใช้มาจะสัปดาห์นึงละ ยังทำความรู้จักเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้แค่ผิวเผิน เท่านั้นเอง ลูกเล่นเค้าเยอะดีจริงๆ เยอะจนบางทีก็ทำให้เราสับสน งงๆ ได้เหมือนกันนะ 55 เอาเป็นว่า เดี๋ยว Blog หน้า Ep 3 จะมาเล่าต่อนะ ว่าหลังจากบันทึกวีดีโอ หรือรูปภาพเสร็จแล้วสามารถสั่งให้โปรแกรมทำอะไรต่อได้บ้าง วันนี้ก็ลากันไปเท่านี้ก่อน อย่าลืม อ่านแล้ว ลองเล่นดูนะ ^__^
-
จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep1
Blog ที่4 นี้ขอนำเสนอโปรแกรมจับภาพหน้าจอฟรี ย้ำนะว่าฟรี !! มีชื่อว่า shareX ซึ่งสามารถจับภาพหน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อในหลากหลายรูปแบบ เช่น ทำคู่มือ ทำวีดีโอ เอาไปลงในเว็บไซต์ หรื่ออื่นๆ ถือเป็นโปรแกรมฟรีแบบ Open Source ที่จัดเต็มในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้แบบครบครันนนนนน
จริงๆแล้วโปรแกรมฟรีที่สามารถจับภาพหน้าจอ record วีดีโอนี่ก็มีมากมายเลยแหละ อยู่ที่ใครชอบแบบไหน เอาเป็นว่าวันนี้ลองมาทำความรู้จักกับอีก 1 ตัว ที่มีชื่อว่า shareX กันหน่อยละกันนะ “จะได้รู้ว่าดีกว่าที่ใช้อยู่เนี่ย มันก็มีนะ !!” (อันนี้ผู้เขียนบอกตัวเองนะ 55+)
shareX สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://getsharex.com/ หรือจะหาผ่าน window store ก็ได้เหมือนกัน เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการติดตั้งบนเครื่องของเราได้เลย
สำหรับ shareX ก็จะมี feature หลักๆ คือ
- รองรับการจัดภาพหน้าจอแบบเต็มจอ เฉพาะหน้าต่าง หรือเฉพาะส่วน
- สามารถตั้งให้เปิดแก้ไขภาพในโปรแกรมอื่นๆ ก่อนที่จะอัพโหลดได้
- save file อัตโนมัติเอาไว้ในเครื่อง
- upload ภาพขึ้นไปยัง services ต่างๆ
- สามารถ copy code ต่างๆได้จากในตัวโปรแกรม เช่น html สำหรับแทรกภาพ หรือ BBCode สำหรับแปะในเว็บบอร์ด
- รองรับการย่อ URL ในตัว
- รองรับการ upload ข้อความขึ้นเว็บ
- รองรับการ upload file ขึ้นอินเตอร์เน็ต
- แชร์สิ่งที่อัพโหลดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้
- ตั้งค่า hotkey สำหรับจับภาพได้
เหล่านี้ถือเป็น feature คร่าวๆ ของเจ้า shareX นะ จริงๆ แล้ว services ต่างๆที่ตัวโปรแกรมเชื่อมต่อได้นั้นมีเยอะมากๆ เดี๋ยวเราจะลองไปดูกัน
เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะเจอกับหน้าตาเจ้าตัว shareX ประมาณนี้ …..
จะเห็นได้ว่าข้อความที่ขึ้นบอกไว้นั้นคือ ปุ่มใช้งานมาตรฐานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ หากเราต้องการปุ่มอื่นๆ ถามว่าเปลี่ยนได้มั้ย ตอบเลยว่า …. ได้ !! แต่เดี๋ยวจะอธิบายไว้ในส่วนของ Hotkey settings ด้านล่างนะ
——————————————————————————————————————————————–
Capture
มากันที่ Feature หลักอันแรกคือ “Capture” หรือการจับภาพหน้าจอนั่นเอง shareX จะรองรับการจับภาพในหลายรูปแบบ ย้ำว่าหลากหลาย จริงๆ
Fullscreen จับภาพหน้าจอแบบ Fullscreen
window จับภาพหน้าจอแบบ Window ซึ่งสามารถเลือกได้จากหน้าจอทั้งหมดที่เราเปิดไว้ในเครื่องได้เลย
monitor หากมีมากกว่า 1 จอ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะจับหน้าจอใด
Region จับภาพหน้าจอแบบเลือกเฉพาะส่วน
Last region จับภาพในส่วนล่าสุดที่เราเพิ่งจับภาพไป
Screen recording บันทึกภาพหน้าจอ
Screen recording (GIF) บันทึกภาพหน้าจอแบบ GIF
Scrolling capture จับภาพหน้าจอที่มีความยาวมากเกินกว่าที่จะสามารถแสดงบนหน้าจอได้ทีเดียวหมด (ต้อง Scroll mouse ขึ้นลงนั่นเอง)
Text capture (OCR) จับภาพโดยเลือกเฉพาะตัวอักษรในภาพนั้น
Auto capture สามารถตั้งเวลาได้ ว่าจะให้จับภาพหน้าจอ ทุกๆ กี่วินาที
Show Cursor สามารถเลือกได้ว่าภาพหน้าจอที่เรา capture ไปเนี่ย จะให้แสดง cursor หรือไม่
Screenshot delay: 0s สามารถเลือกความ delay ของการ capture หน้าจอได้Upload Feature
Workflows
แสดง Hotkey นั่นแหละ โดยส่วนหลักตัวโปรแกรมก็จะกำหนดมาให้อยู่แล้ว แต่เราสามารถปรับเปลี่ยน Hotkey ได้เอง และยังสามารถเพิ่ม workflows ได้อีกด้วยตัวอย่างจะอธิบายในส่วนของ Hotkey settings นะ
- Capture region คือการจับภาพโดยเลือกพื้นที่ ๆ เราต้องการ
- Capture entire screen คือการจับภาพแบบเต็มหน้าจอ
- Capture active window คือการจับภาพจากหน้าต่างที่เราเลือก หรือกำลังทำงาน
- Start/Stop screen recording using custom region คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้
- Start/Stop screen recording (GIF) using custom region คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้โดยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ GIF นั่นเอง
Tools
เครื่องมือเพิ่มเติม หรือส่วนเสริมของตัวโปรแกรมที่ทำให้เจ้า shareX เนี่ย ล้ำกว่าโปรแกรมอื่นไปอีก Step ขอยกตัวอย่างเป็นบางเครื่องมือละกัน เนื่องจากผู้เขียนก็ยังใช้ไม่ครบทุกเมนูเล้ยยยยย ตัวอย่างเช่น
- Color picker สามารถเลือกสีได้ ว่าต้องการสีอะไร
- Screen color picker… เลือกสีบนหน้าจอเราได้เลยว่าต้องการสีอะไร โดยโปรแกรมจะ copy code สีเราให้ทันที เราสามารถนำไป code สีดังกล่าวไปใช้ต่อได้
- Image editor หน้าจอสำหรับปรับแต่งแก้ไขรูปภาพของเรา เช่น บันทึก upload print, select and move, สามารถใส่ข้อความลงในภาพได้ ทั้งแบบตัวอักษร หรือ free hand ใส่ step ในรูปภาพได้, Hilight, zoom, ใส่ emotion ได้, crop รูปภาพ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
- Image effects… สำหรับใส่ effects ให้กับภาพได้ เช่น เพิ่ม filter ภาพ, ปรับ Adjustment, เพิ่ม text watermark หรือ image watermark เป็นต้น
- Ruler… เลือกเพื่อวัดขนาดของส่วนหน้าจอที่เราเลือกได้ ดังรูป
- Image combiner… อันนี้ก็เจ๋งดี เราสามารถเลือกภาพหน้าจอที่เราได้ capture ไว้เนี่ย นำมาผสมกันได้ ให้อยู่ในรูปเดียวกัน และยังเลือกแสดงผลได้อีกว่าจะให้แสดงในแนวนอน หรือแนวตั้ง เป็นต้น
After capture tasks
สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่จับภาพเสร็จแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป ตัวอย่างตามภาพด้านล่างเลย เช่น บันทึกเป็นไฟล์ภาพทันที, ใส่เอฟเฟกต์, ใส่ลายน้ำ, บันทึกเป็นภาพขนาดย่อ, คัดลอกในคลิปบอร์ด อัพโหลดไปยังเว็บ หรือ print เป็นต้น อยากเลือกอันไหนบ้างก็คลิกบนรายการ หรือบน icon ได้เลย
After upload tasks
สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่อัพโหลดภาพแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป เช่น แสดง shorten URL, Show QR code หรือ Copy URL to Clipboard เป็นต้น
Destinations
คือส่วนที่เราสามารถเข้ามาเลือกได้ว่าปลายทางที่เราจะเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์ตัวอักษร หรือแปลง URL shortener เนี่ย เราจะเลือกอะไร คือเอาจริงๆ มันเยอะมากกกกกก หลักๆ ถ้าเป็นรูปผู้เขียนก็จะเลือก upload ไว้ที่ google photo หากเป็น file ก็จะไว้ที่ google drive เป็นต้น เอาเป็นว่าการตั้งค่าเนี่ยจะมาเล่าในตอนต่อๆ ไปละกันนะ มันเยอะจริงๆ
Task settings…..
การตั้งค่าในการบันทึกหน้าจอ เมื่อคลิก “Task settings” ก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา จริงๆ การตั้งค่าหลักๆ โปรแกรมก็จะตั้งมาให้เรียบร้อยอยู่แล้ว
Application settings
เป็นส่วนสำหรับตั้งค่าต่างๆ ของตัวโปรแกรม shareX หลักๆ ก็จะมีภาษา ตั้งค่า path ที่เก็บไฟล์ การแสดงผลของ History หรือต้องการให้โปรแกรมแสดงหรือไม่แสดงในส่วนไหน เป็นต้น แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละคนนะ ก็ลองเข้ามาตั้งค่ากันดูได้
Hotkey settings
- เลือกเมนู “Hotkey setting“
- เลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยน
- คลิกบน hotkey เดิม จากนั้นก็จะปรากฏหน้าจอด้านล่างเพื่อให้เราสามารถ select hotkey…. ใหม่ตามที่เราต้องการได้เลย
แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ Hotkey ที่ให้มาก็จำง่ายอยู่แล้วก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เล้ย
Screenshots folder…..
เมนูนี้ใช้สำหรับเปิด Folder ที่เก็บภาพหน้าจอที่เราได้ Capture เอาไว้นั่นเอง หากต้องการเปลี่ยน path ที่เก็บสามารถเปลี่ยนได้โดยเลือกไปที่เมนู “Application settings” นะ
History
ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการใช้งานย้อนหลังทั้งหมดของเรา โดยจะแยกให้เห็นเลยว่า total รวมเป็นเท่าไหร่ และเป็นประเภท image , text , URL อย่างละกี่ไฟล์ เป็นต้น
Image history…..
ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการจับภาพหน้าจอย้อนหลังของเราทั้งหมด
News
ข่าวประกาศจากทาง shareX
Debug
ส่วนสำหรับข้อมูลการพัฒนา และมีในส่วนของการทดสอบเครื่องมือต่างๆ ไว้ด้วยเช่น test text upload, test images upload เป็นต้น
Donate
ถ้าใครคิดว่าใช้งานโปรแกรมนี้จนประทับใจแล้วก็สามารถไปบริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของ ShareX กันได้
About
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม shareX
——————————————————————————————————————————————–
สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนขอแนะนำโปรแกรม shareX โดยอธิบายคุณสมบัติหลักๆ แต่ละตัว แบบไม่ได้ลงลึกเอาไว้ก่อน Blog หน้า จะกลับมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมทั้งในส่วนของการ connect ไปยังปลายทางที่เราเลือกสำหรับ upload ภาพ หรือการ Generate ออกมาเป็น QR Code หรืออื่นๆ เท่าที่ผู้เขียนจะอธิบายได้ละนะ 555 อย่าลืมไปลองใช้กันดูละ จิ๋วแต่แจ๋ว นะจะบอกให้
อ้างอิง : bit.ly/refblog4
-
เช็คฟอนต์สวย ด้วย WhatFont ~ Extension
อะ แฮ่ม และแล้วก็เดินมาถึง Blog สุดท้ายในรอบ TOR ของปีนี้จนได้ แต่กว่าจะได้ฤกษ์เขียนได้ก็ปาเข้าไปกลางปีกันเลยทีเดียว (55+)
มาๆๆ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ต้องบอกว่าหลายครั้งที่เราได้เข้าเว็บไซต์นู้นนั่นนี่ แล้วเห็น font สวยๆ แต่ไม่รู้ว่านั่นน่ะมันคือ font อะไร ชนิดไหน … วันนี้ทางผู้เขียนขอนำเสนอ Chrome Extension (อีกแล้วเหรอ !) ที่เรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง นั่นคือ * WhatFont *
WhatFont คืออะไร ???
WhatFont เป็นหนึ่งในส่วนขยายของ Google Chrome ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูได้ว่า Font ที่ใช้หรือแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ นั้น คือ Font ชนิดอะไร ขนาดเท่าไหร่ และมีค่าสี เป็นอะไร อ๊ะๆ ยังไม่หมดนะ มันสามารถระบุได้แม้กระทั่งความหนา ความบาง ของ Font นั้นๆ กันเลยทีเดียว เพียงแค่เรานำเมาส์ไปวางบนตัวอักษรที่เราต้องการจะดูรายละเอียดเท่านั้นเอง
วิธีการติดตั้ง
- ดาวน์โหลดได้จาก Chrome เว็บสโตร์ คลิก จากนั้นให้คลิกปุ่ม “เพิ่มใน CHROME” หรือ Add to Chrome
- ระบบจะแสดง pop up ขึ้นมาให้คลิกเลือก “เพิ่มส่วนขยาย”
- เมื่อเราติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าจอก็จะแสดง pop up ขึ้นมาแจ้งให้เราทราบว่าได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- สำหรับวิธีการใช้งาน ให้เข้าเว็บที่เราต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ Icon ที่มุมบนด้านขวาของ Browser
- ให้นำเมาส์ไปวางไว้บนข้อความ / ตัวอักษร ที่เราต้องการจะรู้ว่าเป็น font อะไร
- และหากต้องการจะดูรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ขนาด สี ความหนา ความบาง ก็ให้คลิกเลือกบนข้อความดังกล่าว จากนั้นจะมีส่วนแสดงข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นมาให้เราได้ดูกัน
เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย ข้อมูลอันนี้นี่พอจะช่วยผู้อ่านได้บ้างมั้ย ??
ยังไงก็แล้วแต่ทางผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกคนไปลองใช้กันดูนะ ง่ายดี ฟรีด้วย แทนที่เรา จะมานั่งคาดเดา หรือมโน กันเองว่า เอ๊ ! ตัวนี้นี่มันเป็น font อะไรแล้วน๊าา แบบนั้นมันล้าสมัยไปแล้ว เสียเวลาเปล่าๆ ติดตั้งตัวนี้กันเลย ง่าย ครบ จบในตัวเดียว 55+
อย่าลืมลองเล่นกันดูนะ ไว้ปีหน้าฟ้าใหม่ เราจะมาเจอกันอีกใน Blog ถัดๆ ไปเน้ออออ
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://photoloose.com/what-font-chrome-extension/
-
ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว
ทดสอบเว็บผ่าน Browser
หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย
สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้
หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น
สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน
- เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย
- หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้
- เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร
- ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ
แบบด้านล่าง
- ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions
ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ
หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น
สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^
แหล่งความรู้อ้างอิง
– http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/
– https://medium.com/tag/browserstack
– https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/
– http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html -
Short Note on Workshop “Web Application Development Workflow”
ผมชวนเพื่อนๆ CoP PSU IT ซึ่งเป็นรุ่นน้องชื่อคุณราชศักดิ์ บูรณะพาณิชย์กิจ และพัฒนาวดี ศิวติณฑุโก อยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มาจัด Workshop ใช้เวลา 1 วัน เรื่อง Web Application Development Workflow
วิทยากรเตรียม slide ที่นี้ครับ http://bratchasak.github.io/slide/
คร่าวๆ คือ แนะว่า Web Application Development Workflow คืออะไร อธิบายว่าขั้นตอนของการพัฒนาและเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ก็คือ Chrome Browser และ Sublime Text และติดตั้งโปรแกรม Git ใช้งานแบบ command line และ github for Windows แบบ GUI และสมัครบริการที่จำเป็นต้องใช้ก็คือ GitHub web เครื่องมือทั้งหมดนี้ก็จะสร้างระบบ Version control สำหรับการพัฒนาด้วย Git ได้แล้วการเตรียมเครื่องมือสำหรับทำงาน
1.เกี่ยวกับ Chrome Browser (google chrome)
ต้องลงชื่อเข้าใช้ google เพื่อทำงานได้ครบทุก Feature
เข้าเว็บหน้านี้ https://www.google.com/intl/th/chrome/browser/ จะเห็นตัวอย่างชัดๆในการตรวจสอบด้วย Developper Tools
เปิดหน้าต่าง Developper Tool ด้วย Ctrl+Shift+i
คลิกเลือกไอคอน แว่นขยาย เพื่อส่องดูโค้ดได้
นอกจากนี้ก็มีแท็บน่าสนใจคือ แท็บ Console สำหรับ debug และ แท็บ Network สำหรับดู latency load timeเปิดดูการทำงาน เมนูที่ใช้ใน workshop คือ คลิกปุ่มกำหนดค่าและควบคุม (มุมบนขวา) > เครื่องมือ > ตัวจัดการงาน
ติดตั้งส่วนขยาย LiveReload
www.google.com > search คำว่า livereload > เลือก Chrome Web Store – LiveReload
คลิกปุ่มกำหนดค่าและควบคุม (มุมบนขวา) > เครื่องมือ > ส่วนขยาย > เลือกตัวเลือก อนุญาตให้เข้าถึงไฟล์ URL2. ติดตั้งโปรแกรม Sublime Text 3 for Windows
www.google.com > search คำว่า sublime
เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ Windows OS ที่ใช้
ตาม slide หน้านี้ http://bratchasak.github.io/slide/#sublimetext_packageติดตั้ง package เพิ่มลงใน Sublime
กดแป้น Ctrl+Shift+p > search คำว่า package > เลือก Package Control: Install Package
> search คำว่า emmet > คลิกเลือก emmet
> search คำว่า livereload > คลิกเลือก LiveReload
> search คำว่า syntax คลิกเลือก Syntax Managerต่อมา วิทยากรอธิบาย Software configuration management ว่ามี 3 model คือ Local data model, Client-server model และ Distributed model เช่น Git
“Git is a free and open source distributed version control system.”
3. ติดตั้ง Git
เข้าไปเว็บไซต์ http://git-scm.com/ และดาวน์โหลดเวอร์ชั่นสำหรับวินโดวส์ จะได้ไฟล์ Git-1.9.0-preview20140217.exe
คลิก Run เพื่อติดตั้ง แต่ไม่คลิก Next ทั้งหมด
ในหน้า Select Components เลือก Simple context menu
ในหน้า Adjusting your PATH environment เลือก Run Git from the Windows Command Prompt
ในหน้า Configuring the line ending conversions เลือก Checkout Windows-style,commit Unix-style line endingsต่อจากนั้น วิทยากรอธิบายเกี่ยวกับ Git – File Status Lifecycle
ดูที่ http://bratchasak.github.io/slide/#gitstatus
เริ่มต้นเข้าสู่การใช้งาน Git
แบบที่ 1 เรียนรู้การทำงานในแบบ command line
สร้างโฟลเดอร์ที่จะเป็น Repository (ก็คือ project)
คลิกปุ่ม Start > พิมพ์ cmd
cd \
mkdir test
cd test
git init
จะเกิดโฟลเดอร์ชื่อ .gitตรวจสอบสถานะ
git statusเริ่มต้นด้วยการกำหนดชื่อ identity เจ้าของ repository
git config –global user.name “Wiboon Warasittichai”
git config –global user.email “wiboon080808@gmail.com”ตรวจสอบรายการในไฟล์ config
git config –listนำไฟล์ index.html เข้าใน project หรือเรียกว่า repository
git add index.htmlเปลี่ยนเข้าสู่สถานะ staged
git commit -m “initial commit”ตรวจดูรายการแก้ไข
git log
หรือ
แสดงผลแบบ 1 บรรทัดพร้อมด้วยตัวชี้(pointer)
git log –graph –decorate –all –pretty –onelineการแตก branch เพื่อใช้ทำงานเขียนโปรแกรม แทนการแก้ไขที่ master
git branch feat_testเข้าแก้ไขใน branch
git checkout feat_testเปิดหน้า sublime แล้วลองเพิ่ม 1 บรรทัดลงใน index.html
ต่อไปทำซ้ำรอบในการทำงาน คือนำไฟล์ index.html เข้าใน project (จะเรียกว่า repository)
git add index.htmlเปลี่ยนเข้าสู่สถานะ staged อีกครั้งแต่รอบนี้เป็นการแก้ไขที่ branch
git commit -m “1st edit – add 1 line”แสดงผลแบบ 1 บรรทัดพร้อมด้วยตัวชี้(pointer)จะเห็นว่า pointer อยู่ที่ branch ชื่อ feat_test
git log –graph –decorate –all –pretty –onelineกลับไปที่ master
git checkout masterดูที่ sublime text editor จะเห็นว่าเป็น index.html ก่อนการเพิ่มอีก 1 บรรทัด
(แสดงผลที่แตกต่างทันทีจากที่เพิ่ม package ชื่อ LiveReload ลงใน sublime text)ต้องการ merge ไฟล์ index.html ของ branch ชื่อ feat_test เข้ากับ branch ชื่อ master
git merge feat_testตรวจสอบสถานะ
git statusสมัครสมาชิก GitHub web เพื่อใช้เป็นที่เก็บ repository ของเราเพื่อเผยแพร่สาธารณะ
เข้าไปที่ https://github.com/
แบบที่ 2 เรียนรู้การใช้งาน Git แบบ GUI
ต่อไปจะเป็นการใช้ GitHub for Windows (เรียกว่า Client) ให้ดาวน์โหลดที่นี่ http://windows.github.com
ติดตั้งใช้เวลานิดนึง เพราะไฟล์ขนาด 41.8MB เมื่อเสร็จจะมีหน้าต่าง Welcome เพื่อให้ login
ก็ใส่ e-mail และ password ที่สมัคร
ต่อไปจะอยู่ที่ขั้นตอน configure ให้คลิก Next
อยู่ที่ขั้นตอน repositories ให้คลิก dashboard
จะเปิดหน้าต่าง ให้เราลาก โฟลเดอร์ชื่อ test มาใส่ที่ local – repositories
แล้วคลิกลูกศรชี้ขวาที่บรรทัด test จะเป็นคำว่า Open this repo
คลิก publish
เมื่อมีการแก้ไข branch master หรือ branch feat_test ก็คลิก Syncในทางกลับกัน หากสร้าง repository จากหน้า GitHub web ก็สามารถ clone ลงไปที่ Windows ได้เช่นกัน
กลับไปที่ GitHub web โดยเข้าไปที่ https://github.com/
คลิก New repository
ตั้งชื่อ Repository name ตั้งว่า ztest แล้วคลิก Create repository
คลิกปุ่ม Set up in Desktop มันจะมาสร้างไดเรกทอรีที่ c:\My Documents\GitHub\ztest
Google chrome จะถามอะไรสักอย่าง ก็ให้ตอบ “เปิดใช้งานแอปพลิเคชัน”
เราก็เริ่มทดสอบสร้างไฟล์ my.html ไว้ที่นี่ แล้ว publish กลับไปที่ GitHub web ได้เมื่อต้องการเรื่องสุดท้าย GitHub – Features อันแรก Collaborators คือ การอนุญาต user บน GitHub ให้ร่วมแก้ไขไฟล์ด้วยกันได้ และอีกอัน Fork & Pull Request คือ เอาไปทั้งหมดแยกกันไปทำแล้วค่อยมารวม และ GitHub Pages คือ การสร้าง web page บน GitHub
การสร้าง web page บน GitHub ทำดังนี้
หากเราสร้าง repository ด้วยการตั้งชื่อด้วยข้อความ username.github.io ก็จะได้ web page ไว้ใช้งานด้วย
ซึ่งสร้างอย่างง่ายๆด้วย Automatic Page Generator (https://help.github.com/articles/creating-pages-with-the-automatic-generator) หลังจากสร้างเสร็จต้องรอ 10 นาที web page ก็จะใช้งานได้
ทดสอบด้วยการพิมพ์ว่า http://username.github.io ตัวอย่างเช่น http://wiboon.github.io/ทั้งหมดนี้ผมก็ฟังไปจดไปในกระดาษ แล้วก็กลับมาลองทำเองดูในวันนี้ แล้วก็เขียนลง sysadmin blog ที่นี้ไว้เผื่อเพื่อนๆด้วยครับ
-
pixlr online photo editor ใช้แทน photoshop
มีคำถามว่าหากไม่ต้องการจ่ายเงินซื้อโปรแกรมตกแต่ง แก้ไข ภาพถ่าย ที่นิยมที่สุดคือ photoshop เราจะใช้โปรแกรมอะไรดี ก็ลองมองดูที่โอเพนซอร์ส ชื่อ Gimp แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความนิยมเนื่องด้วย user interface ใช้งานไม่ถูกใจชาวกราฟิกดีไซน์เลยทีเดียว
ผมก็เจอตัวที่คิดว่าน่าใช้งาน คือ pixlr เป็น online photo editor และมีเวอร์ชั่นติดตั้งบนสมาร์ทโฟนด้วย ผมให้กราฟิกดีไซเนอร์คนหนึ่งทดสอบใช้งานดู ก็ได้รับคำตอบว่า ใช้ได้ ง่ายดี
พวกเราลองอ่านในบล็อกของเขา จะเห็นว่ามีการแนะนำวิธีการใช้งานผ่านบล็อกน่าอ่านมาก ที่ http://blog.pixlr.com/