Tag: SSRS

  • ตอนที่ 2 : จัดการรายงานด้วย Report Manager

    การใช้งาน Report Manager มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. เปิด Browser และพิมพ์ URL ของ Report Server ในช่อง Address โดย URL มีรูปแบบดังนี้ http://<report_server_name>/Reports 
    2. จะปรากฏ หน้าต่าง Windows Security ขึ้นมา เพื่อให้กรอก User name และ Password ในการยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบ
    3. หากการยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถเข้าสู่หน้า Home ของ Report Manager (ดูภาพประกอบที่ 1) แสดง Contents ที่ประกอบด้วย

    Home

    ภาพประกอบที่ 1 Home ของ Report Manager

          3.1 เมนูด้านบนขวาที่ใช้ตั้งค่าคุณสมบัติต่างๆ ของ Report Server ดังนี้

                » Home เป็นลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังหน้าหลักของ Report Server ซึ่งก็คือหน้า Home นั่นเอง ประกอบด้วยเมนู ดังนี้

    New Folder เพื่อสร้างโฟลเดอร์ไว้สำหรับเก็บรวบรวมรายงาน, Data Source, Data Model และอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้วไว้ภายใน Folder ที่สร้างขึ้นใหม่

    New Data Source เป็นการสร้าง Data Source ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลของการสร้างรายงาน

    Report Builder เป็นการใช้โปรแกรม Report Builder แบบ Click Launch โดย User สร้าง Ad hoc Report (โดยการอาศัย Data Model ที่ได้สร้างไว้บน Report Server นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการสร้างรายงาน)

    Folder Settings เพื่อกำหนดบทบาทในการเข้าถึงโฟลเดอร์

    Upload File เพื่อ Upload ไฟล์ต่างๆ เช่น Report (.rdl), Model (.smdl), Shared Dataset (.rsd), Report Part (.rsc) หรือ Resource อื่นๆ มายัง Home ของ Report Server

    Layout  อยู่ด้านขวาสุดของเมนู เป็นมุมมองในการแสดงข้อมูล ซึ่งมี 2 โหมด คือ  Details View และ  Tile View

              เมื่อคลิก Dropdown ที่โฟลเดอร์จะมีเมนู เช่น Move, Delete, Security, Manage และเมื่อคลิก Dropdown ที่รายงานจะมีเมนู เช่น Move, Delete, Subscribe…, Create Linked Report, View Report History, Security, Manage, Download และ Edit in Report Builder (ดูภาพประกอบที่ 3) ซึ่งหากคลิกที่ชื่อรายงานจะไปยังหน้าจอสำหรับเรียกดูรายงาน โดยผู้ใช้สามารถ Export ไฟล์ในรูปแบบต่างๆที่ SSRS Support ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ในตอนที่ 1 และกด Print เพื่อพิมพ์รายงาน (ดูภาพประกอบที่ 4)

    Menu Report

    ภาพประกอบที่ 3 เมนูของรายงาน

    Sale_Order

    ภาพประกอบที่ 4 View Report

                » My Subscriptions เป็นลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังหน้าที่แสดงการตั้ง Subscriptions ทั้งหมดของ Report Server กล่าวคือ เป็นหน้าจอที่แสดงรายการที่ผู้ใช้ได้ตั้ง Schedule สำหรับ Run รายงานเอาไว้ (ดูภาพประกอบที่ 5)

    Subscriptions ของ Report Manager

    ภาพประกอบที่ 5 Subscriptions ของ Report Manager

                » Site Setting เป็นลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังหน้าการตั้งค่าหน้าเว็บ Report Manager ซึ่งมี 3 ส่วน คือ

                   − General เป็นการตั้งค่า Properties ต่างๆ เช่น ชื่อ, การเก็บ History, เวลา Timeout และ Custom URL สำหรับ Report Builder (ดูภาพประกอบที่ 6)

    General - Site Settings ของ Report Manager

    ภาพประกอบที่ 6 General – Site Setting ของ Report Manager

                   − Security เป็นการกำนดบทบาท (Role) ในการเข้าถึงหน้าเว็บ Report Manager (ดูภาพประกอบที่ 7) ประกอบด้วย

                          • System Administrator สามารถดู และแก้ไขข้อมูลการตั้งค่าได้

                          • System User สามารถดูข้อมูลได้อย่างเดียว

    Security - Site Settings ของ Report Manager

    ภาพประกอบที่ 7 Security – Site Setting ของ Report Manager

                   − Schedules ป็นการกำนดตารางเวลาที่สามารถใช้ร่วมกัน โดยตอน Create Subscriptions เลือก shared schedules (ดูภาพประกอบที่ 8)

    Schedules - Site Settings ของ Report Manager

    ภาพประกอบที่ 8 Schedules – Site Setting ของ Report Manager

                » Help เป็นลิงค์ที่เชื่อมโยงไปสู่หน้า Report Manager Help ที่จะให้คำแนะนำหากเกิดการตั้งค่า หรือการทำงานที่ผิดพลาด

  • ตอนที่ 1 : มารู้จัก SSRS กันเถอะ…

              SQL Server Reporting Services (SSRS) เป็น Technology หนึ่งของ Microsoft SQL Server Services ที่ใช้ในการสร้างและบริหารจัดการรายงาน เริ่มมีใน SQL Server 2005 และในปัจจุบันเป็น SQL Server 2016 ซึ่งข้อดีของการใช้ SSRS อาทิเช่น ไฟล์รายงานเป็นภาษา Rdl ที่เป็น Text File ธรรมดาสามารถเปิดด้วย Text Editor อะไรก็ได้ (ดูภาพประกอบที่ 1) อีกทั้ง SSRS แถมฟรีมากับ SQL Server ดังนั้นหากมี License การใช้งาน SQL Server ก็จะสามารถใช้ SSRS ทำรายงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม และเมื่อมีการ Deployed รายงานไปแล้ว รายงานจะอยู่ใน Web Server ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูรายงานผ่าน Web Browser ได้ (ดูภาพประกอบที่ 2) โดยจะต้องกำหนดสิทธิการเช้าถึง Site และสิทธิการเข้าถึงรายงาน นอกจากนั้นยังสามารถนำรายงานไปฝังตัวไว้เป็นส่วนหนึ่งของ Application ก็ได้ เป็นต้น

    1_1

    ภาพประกอบที่ 1 เปิดไฟล์ *.rdl ด้วย Notepad

    1_2

    ภาพประกอบที่ 2 เรียกดูรายงานผ่าน Web Browser

              SSRS มีสถาปัตยกรรมแบบ Multi-Tier สนับสนุนการใช้งานทั้ง Native Mode และ SharePoint mode ในที่นี้จะขอกล่าวถึงสถาปัตยกรรมของSSRSที่เป็น Native Mode ซึ่งประกอบด้วย Components ต่างๆ ดังนี้ (ดูภาพประกอบที่ 3)

    1. Report Processor เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดที่อยู่ใน Report Server ตั้งแต่ Data Processing จนถึง Authentication โดยการทำงานบางอย่างจะแสดงผลผ่าน Programmatic Interfaces
    2. Programmatic Interfaces เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่รับการติดต่อการทำงานจากผู้ใช้ แสดงผลการทำงานของรายงาน และ Report Server ให้ผู้ใช้เห็น โดยจะมีการทำงานรวมทั้งนำรายงานจาก Report Server Database มาแสดงผลให้เห็นด้วย
    3. Data Processing เป็นการประมวลผลข้อมูลที่มาจาก Data Source เพื่อนำมาสร้างรายงาน โดยถูกควบคุมการประมวลผลโดย Report processor
    4. Rendering เป็นการแสดงผลรายงาน ก่อนที่จะทำการส่งไปให้ผู้ใช้หรือสั่งพิมพ์นำไปใช้งาน
    5. Report Processing เป็นการประมวลผลรายงาน โดยจะรับข้อมูลที่ถูกส่งต่อมาจาก Data Processing มาประมวลผล
    6. Authentication (Security) เป็นการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ที่ต้องการใช้งาน Report Server โดยแสดงหน้าจอในการ Log on เข้าใช้งาน ผ่าน Programmatic interfaces หาก Log on สำเร็จผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าใช้งานได้
    7. Scheduling and Delivery Processor เป็นตัวประมวลผลการตั้งเวลาและการส่งรายงาน ทำหน้าที่ควบคุม การส่งรายงาน จะมีการให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ได้ตั้งเวลาและทำการกำหนดการส่งรายงานให้กับเป้าหมายโดยผ่าน Programmatic interfaces
    8. Delivery เป็นการส่งรายงานให้กับผู้ใช้ที่เป็นเป้าหมาย

     

    1_3

    ภาพประกอบที่ 3 SSRS components

    ที่มา : https://msdn.microsoft.com/en-us/library/ms157231.aspx

     

    ความสามารถในการ Authoring SSRS 

    1. สร้างรายงานได้จากหลายแหล่งข้อมูล (Data Sources) ที่มีอยู่ เช่น SQL Server, Oracle, OLE DB, OLEDB-MD, ODBC, XML, SAP BI NetWeaver, Hyperion Essbase, Teradata, Microsoft SQL Azure (SQL in the Cloud), Microsoft SQL Server Parallel Data Warehouse, Microsoft SharePoint List เป็นต้น
    2. สามารถกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้สร้างรายงานได้เอง ผ่านโปรแกรม SQL Server Report Builder
    3. สามารถใช้ Expression ในการแสดงข้อมูล ซึ่งมีหลายประเภทให้ใช้งานตามความต้องการ (ดูภาพประกอบที่ 4)
    4. สามารถจัดกลุ่มข้อมูล (Grouping), การเรียงข้อมูล (Sorting) และ การกรองข้อมูล (Filtering) รวมถึงสร้างตัวแปร, เขียนฟังก์ชั่นประมวลผลข้อมูล
    5. Layout, Table, Matrix ของรายงานมีความยืดหยุ่น
    6. นำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้ผู้ใช้รายงานเข้าใจได้ง่าย ด้วยการแสดงข้อมูลแบบ Graphic ที่แสดงภาพรวมของการสรุปข้อมูลโดยใช้ Chart หรือ Gauge
    7. สามารถ Export ไฟล์ ในรูปแบบต่างๆ XML (File With Report Data), CSV (Comma Delimited), Tiff File, Pdf, Mhtml (Web Archive), Excel และ Word เป็นต้น

    1_4

    ภาพประกอบที่ 4 Expression

    อ้างอิง:

    เคล็ดลับการทำรายงานจากฐานข้อมูล