Tag: psu mail

  • PSU Webmail ทำไมลบ email ออกไปตั้งเยอะแล้ว แต่ Quota ยังเต็ม ?

    เหตุ: แบ่งเป็น 4 กรณี

    (1) ลบแล้ว แต่ยังไม่ Expunge

    ก่อนหน้านี้ เคยตั้งค่าให้ Delete แล้วก็ให้ลบหายไปเลย แต่ก็มีบางคน (หลายคน) แจ้งว่า อยากให้แค่ Mark Delete กล่าวคือ … ลบแล้ว แต่ให้เปลี่ยนใจได้ จึง … ทำให้คนอื่น ๆ เมื่อลบแล้ว ก็ต้องกดปุ่ม Expunge ด้วย เพื่อให้ลบถาวร

    *** ระบบ PSU Email เมื่อลบและกด Expunge แล้วจะเป็นการลบ ถาวร ไม่สามารถกู้คืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ***

    (2) ลบแต่จดหมายเล็ก ๆ

    บางที เราก็มีจดหมายไม่กี่ฉบับ แต่ว่า แต่ละฉบับ อาจจะแนบไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น วิธีการคือ สั่งให้ PSU Webmail แสดง ขนาดของ email แต่ละฉบับ โดยไปที่

    Options > Index Order

    จากนั้นคลิกปุ่ม Add ข้าง ๆ Size แล้ว คลิก Inbox อีกครั้ง

    จะปรากฏ Column “Size” ด้านขวามือ ให้คลิกเรียงลำดับ ตามขนาดของ email ให้เลือกลบฉบับที่มีขนาดใหญ่ ๆ ก่อน แล้ว *** และเมื่อลบแล้ว ก็อย่าลืม Expunge และ อย่าลืม เรียงลำดับใหม่ด้วย มิฉะนั้น จะไม่เห็นอีเมลใหม่สุด อยู่บนสุด *** เพราะระบบกำลังแสดงผลแบบเรียงลำดับตาม ขนาดของอีเมลอยู่

    (3) ลบใน Inbox หมดแล้ว แต่พื้นที่ยังเต็ม เป็นเพราะ มันเต็มใน Folder อื่น

    ให้คลิกที่ Folder Size ด้านล่างซ้ายของ PSU Webmail

    จะแสดงผลให้เห็นว่า จริง ๆ แล้ว Folder ใดที่กินพื้นที่ เมื่อทราบแล้ว ก็ไปจัดการให้ถูกที่

    (4) ทำตามข้อ 1-3 แล้ว ยังเต็ม ก็เป็นเพราะมี Folder “Trash” ซึ่งซ่อนอยู่

    มันมาได้ไง ?? มาจากการใช้ Mail Client บน โทรศัพท์มือถือ แล้วต่อ IMAP มายัง PSU Email Server มักจะสร้าง “Trash” Folder ไว้ เมื่อผู้ใช้ ลบอีเมล ก็จะย้ายไปไว้ใน Trash นี้ (ไม่ใช่ INBOX.Trash ของระบบ) ซึ่งจะมองเห็นได้บนโทรศัพท์มือถือ แต่ มักจะมองไม่เห็นบน PSU Webmail

    วิธีการแก้ไขคือ เลือกให้แสดง Folder นี้ โดยคลิกที่

    Folders > Trash > Subscribe

    แล้วกด Refresh folder list

    ก็จะปรากฏ Trash อยู่ในรายการด้าน ซ้ายมือ ให้ทำการลบได้ตามปรกติ

  • {obsoleted!!!}{ยกเลิกแล้ว!!!} เริ่มใช้งาน @psu.ac.th on Google Apps

    ด้วยทางศูนย์คอมพิวเตอร์ มอ. ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสะดวกในการใช้งาน Google Apps จึงได้สร้าง Account บน Google Apps for Education ซึ่งผู้ใช้งาน @psu.ac.th สามารถใช้งาน email และ GDrive ที่มีพื้นที่ 30 GB อีกทั้งตัดปัญหาเรื่องการส่งเมลล์ไม่ออก(บ้างในบางครั้ง)ไปยังภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย

    บุคคลากร และนักศึกษา @psu.ac.th สามารถเช็คเมลล์ และใช้ google app ได้ผ่านทาง Browser (เสมือนเป็นการเช็คเมลล์ด้วย webmail.psu.ac.th
    โดยมีขั้นตอนตามภาพประกอบ

    1. เข้าเว็บ www.gmail.com

    01

    2. ใส่ PSU mail และ Password แล้วคลิก Sign in

    02

    3. ใส่ PSU mail Name โดยที่ไม่ต้องใส่ @psu.ac.th
    – ใส่รหัสผ่าน
    – คลิกปุ่ม Login

    03

    4. จะเข้าสู่หน้าเว็บเมลล์ ซึ่งจะมีหน้าตาและลักษณะการทำงานเหมือน gmail

    04

    5. คลิกที่ไอคอนตามลูกศรสีแดง จะปรากฏ app ต่างๆ ที่เราสามารถใช้งานได้ โดย Google drive มีพื้นที่ 30GB (พื้นที่ 30 GB จะเป็นพื้นที่รวมทั้งหมดของ account ของเรา ซึ่งสามารถจัดแบ่งได้ว่าจะให้เป็น drive เท่าไหร่? email เท่าไหร่? เป็นต้น)

    05

     

    การทำ PSU mail forwarding

    1. login เข้า webmail.psu.ac.th > คลิกที่ Filters

    01

    2. คลิกปุ่ม Add a New Rule

    02

    3. คลิกเลือก drop down แรก เป็น All

    03

    4. ในส่วนของ Action ให้เลือก Redirect to the following email address
    – ใส่ psu mail ลงไปในช่อง โดยให้เติม g เข้าไปหลัง @ ตามภาพจะได้ @g.psu.ac.th
    – คลิกปุ่ม Add New Rule

    *** ติ๊กคำว่า Keep ไว้เวลาผ่านไปอาจจะทำให้ Mailbox ของมหาวิทยาลัยเต็มได้ ถ้าไม่ได้เข้ามาลบเลย ดังนั้น แนะนำให้หลังจากคุ้นเคยกับระบบแล้ว ให้เอา Keep ออกครับ

    04

    5. ติ๊กถูก แล้วคลิกปุ่ม Enable เพื่อเปิดใช้งาน

    05

    6. เสร็จสิ้นกระบวนการ

    *** ผิด-ถูกอย่างไร แจ้งแก้ไขได้นะคับ ^^

    refer : การทำ PSU mail forwarding จากเว็บ http://opensource.cc.psu.ac.th/RedirectEmail-SquirrelmailHowto

  • การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device

    การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device โดยใช้ app Email (ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่อง)

    บางท่านอาจจะเจอปัญหาว่า เช็คเมลล์เข้าได้ แต่ไม่สามารถส่งเมลล์ออกได้ ลองทำตามขั้นตอนนี้ดูนะครับ ^^

    1. ไปที่ไอคอน Email บน android
    Screenshot_2014-05-12-12-57-25

    2. ใส่ email address และ password
    Screenshot_2014-05-12-12-57-58

    3. กดปุ่ม Next

    4. รอการตรวจเช็คสักครู่
    Screenshot_2014-05-12-12-58-06

    5. เลือก IMAP account
    Screenshot_2014-05-12-12-58-11

    6. ในส่วนของ Incoming server settings

    • ให้ใส่ IMAP server ให้เป็น mail.psu.ac.th
    • Port : 143
      Screenshot_2014-05-12-12-58-56

    จากนั้น กดปุ่ม Next

    7. ในส่วนของ Outgoing server settings ให้ใส่

    • ให้ใส่ SMTP server ให้เป็น smtp2.psu.ac.th
    • Security type : TLS
    • Port : 587
      Screenshot_2014-05-12-12-59-30
      จากนั้น กดปุ่ม Next

    8. กำหนดค่า Account options หากไม่ต้องการปรับแก้ ก็ให้กดปุ่ม Next ได้เลย
    Screenshot_2014-05-12-12-59-37

    9. ทำการระบุ account a name และ display name หรือหากไม่ต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้กดปุ่ม Done เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตั้งค่า
    Screenshot_2014-05-12-12-59-48

     

    *** การตั้งค่าบน android นี้ จะเหมือนกับการตั้งค่าที่ Outlook Express เพียงแต่ว่าจะต่างกันตรงที่ จะต้องกำหนดค่า Security type  เป็น TLS
    refer : วิธีตั้งค่า PSU Email สำหรับ Outlook Express