Tag: oracle database

  • Oracle: retrieve top n records from a query

    Top-N queries เป็นวิธีการดึงข้อมูลสูงสุดหรือต่ำสุด N ลำดับแรกออกมาจากตาราง โดยวิธีการดึงข้อมูลแบบ Top-N นั้นมีได้หลายวิธี แต่ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการดึงข้อมูลแบบ Top-N records เพียง 3 วิธีการดังนี้

    1. Inline View and ROWNUM
    2. WITH Clause and ROWNUM
    3. ROW_NUMBER

     

    สมมติว่าเรามีข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ซึ่งประกอบด้วย 5 ฟิลด์ข้อมูลดังตัวอย่างข้างล่าง
    ข้อมูล: ตาราง TEST_NEW_STUDENT เป็นตัวอย่างข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการ

    โจทย์: ต้องการดึงข้อมูลนักศึกษาที่ได้คะแนนภาษาอังกฤษสูงสุด 5 อันดันแรกจากข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 773 รายการนี้

     

    เริ่มต้น Top-N query ตามลำดับเพื่อแก้โจทย์กันค่ะ

    Inline View and ROWNUM
    Classic Top-N style query

    SELECT a.*,rownum
    FROM (SELECT *
    FROM test_new_student
    ORDER BY eng_score desc) a
    WHERE ROWNUM <= 5;

    ผลลัพธ์:

    • จากผลลัพธ์ที่ได้ข้อมูลจะถูกจัดเรียงจากคะแนนจากมากไปน้อยก่อนด้วย ORDER BY clause และหลังจากนั้นก็จะจำกัดจำนวนข้อมูลที่ต้องการด้วย ROWNUM
    • Pseudocolumn ROWNUM เป็นค่าตัวเลขแสดงลำดับที่ของการดึงข้อมูลจากตาราง
    • กรณีที่ต้องการข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษต่ำสุด ใส่ ASC แทน DESC ตรง ORDER BY clause

     

    WITH Clause and ROWNUM
    จากตัวอย่างข้างต้นเรายังสามารถเขียน query ด้วย WITH clause แทนที่ inline view ได้ดังนี้

    WITH ordered_query AS
    (SELECT *
    FROM test_new_student
    ORDER BY eng_score desc)
    SELECT ordered_query.*,rownum
    FROM ordered_query
    WHERE rownum <= 5;

     

    ROW_NUMBER
    ฟังก์ชัน ROW_NUMBER เป็นฟังก์ชันที่กำหนดค่าลำดับของข้อมูลที่จัดเรียงตามข้อมูลที่กำหนดไว้ใน order_by_clause โดยจะมีค่าเริ่มต้นเท่ากับ 1 โดยเราจะมีวิธีการเขียน query ได้ดังนี้

    SELECT *
    FROM (SELECT a.*, row_number() OVER (ORDER BY eng_score DESC) AS val_row_number
    FROM test_new_student a)
    WHERE val_row_number <= 5;

    ผลลัพธ์:

    สังเกตที่ฟิลด์ VAL_ROW_NUMBER จะเห็นว่ามันแสดงตามอันดับของคะแนนภาษาอังกฤษแล้ว แค่นี้เราก็สามารถที่จะ select เอา Top ที่เท่าไหร่ได้แล้ว โดยเลือกเอา VAL_ROW_NUMBER ที่ต้องการ

  • Removing duplicate records by using Oracle’s ROWID

    ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ?

     

    การหาแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน

    เราสามารถหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้

     

    select a,b,count(*)

    from test

    group by a,b

    having count(*) > 1;

    ผลลัพธ์ที่ได้ :

    A          B   COUNT(*)

    ———- ———- ———-

    1          2        259

    2          2          5

     

    จากตัวอย่างในตาราง test นี้เราจะกำหนดว่าให้ค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว

     

    การกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน
    เราสามารถกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยการใช้ rowid เข้ามาช่วย คราวนี้คุณต้องเลือกว่าจะเลือกเก็บข้อมูลแถวไหนไว้

    เราลองมาดูข้อมูลที่ควรจะเป็นที่ไม่ซ้ำกันว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง โดยสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้

    select a,b,count(*) from test

    group by a,b;

    A          B   COUNT(*)

    ———- ———- ———-

    1          2        259

    2          2          5

    3          0          1

     

    กรณีที่ต้องการลบและคงเหลือไว้เฉพาะแถวแรกที่ซ้ำสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้

     

    เราต้องการกำจัด 258 แถวที่ซึ่ง A = 1 และ B = 2 บวกกับ

    — 4 แถวที่ซึ่ง A = 2 และ B = 2

    ลองมา select แถวที่เราจะคงไว้ดูก่อน

    select min(rowid),a,b from test

    group by a,b;

    MIN(ROWID)                             A          B

    ——————————- ———- ———-

    AAAAyvAAGAAAABYAAA          1          2

    AAAAyvAAGAAAABYAED          2          2

    AAAAyvAAGAAAABYAEI           3          0

     

    — คราวนี้ก็ถึงเวลาลบข้อมูลกันแล้ว

    — เริ่มกันเลย

    delete from test where rowid not in (

    select min(rowid) from test group by a,b);

    262 rows deleted.

     

    — คราวนี้มาตรวจสอบกันว่าข้อมูลที่คงเหลือถูกต้องหรือไม่

    select rowid,a,b from test;

    ROWID                                      A          B

    ——————————— ———- ———-

    AAAAyvAAGAAAABYAAA          1          2

    AAAAyvAAGAAAABYAED          2          2

    AAAAyvAAGAAAABYAEI           3          0

     

    กรณีที่ต้องการลบและคงเหลือไว้เฉพาะแถวสุดท้ายที่ซ้ำสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้

    delete from test where rowid not in (

    select max(rowid) from test group by a,b);

    262 rows deleted.

     

    แต่เพื่อป้องกันการเกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถที่จะใช้ unique constraints หรือ primary key ช่วยได้ ปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนแบบนี้ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นให้เกิดความปวดหัวได้อีก

     

  • อีกหนึ่งวิธีในการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันในตาราง

    ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ?

    อีกวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ในการกำจัดแถวที่ซ้ำซ้อนกันคือการใช้คำสั่ง select distinct และใส่ข้อมูลที่ได้ลงในตารางใหม่

     

    จากที่เราสามารถตรวจสอบหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้

    SQL> select a,b,count(*) from test group by a,b;

    ผลลัพธ์ที่ได้

    A           B COUNT(*)
    ———- ———- ———-
    1           2       259
    2           2           5
    3           0           1

    จากตัวอย่างในตาราง test นี้ที่กำหนดไว้ว่าค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว

     

    เรามาเริ่มต้นกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนอีกวิธีกันเลย

     

    การหาแถวข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน

    เราสามารถหาข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select distinct ดังนี้

    SQL> select distinct * from test;

    ผลลัพธ์ที่ได้

             A           B
    ———- ———-
              1           2
              2           2
              3           0

     

    สร้างตารางใหม่ชั่วคราวเพื่อเก็บผลลัพธ์ที่ได้

    SQL> create table new_test as (select distinct * from test);

     

    ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ในตารางชั่วคราวนี้

    SQL> select * from new_test;

    ผลลัพธ์ที่ได้

             A           B
    ———- ———-
              1           2
              2           2
              3           0 

     

    ทำการลบข้อมูลในตาราง test ทั้งหมด

    SQL> truncate table test;

    Table truncated.

     

    ทำการเพิ่มข้อมูลกลับไปยังตาราง test จากตารางชั่วคราว    

    SQL> insert into test (select * from new_test);

    3 rows created.

     

    ทำการลบตารางข้อมูลชั่วคราวทิ้ง

    SQL> drop table new_test;

    Table dropped.

     

    ตรวจสอบกันอีกครั้งว่าข้อมูลยังซ้ำกันอีกหรือไม่โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้

    SQL> select a,b,count(*) from test group by a,b;

    ผลลัพธ์ที่ได้

    A           B COUNT(*)
    ———- ———- ———-
    1           2           1
    2           2           1
    3           0           1

     

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันในตาราง แต่เพื่อป้องกันการเกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ ขอย้ำอย่าลืมใช้ unique constraints หรือ primary key ช่วยได้ ปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนแบบนี้ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นให้เกิดความปวดหัวได้อีก

  • Oracle Database 12CR1 monitoring with MRTG

    • OS: Oracle Enterprise Linux  7.2  (CentOS 7.2)
    • วิธีติดตั้ง MRTG สามารถติดตั้งได้โดยสามารถดูคู่มือที่ ติดตั้ง mrtg บน ubuntu อาจไม่เหมือนกันแต่สามารถทำได้ทำนองเดียวกัน
    • กราฟสำหรับ Idle CPU and Load average, CPU Time spent waiting for IO, Traffic Analysis for eth0, TCP Current Establish สามารถใช้ script เดียวกับลิงค์ในข้อ ๒ ได้เลย
    • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-memory.sh มีข้อความว่า
      #!/bin/bash
      FREE=$(free |grep "Mem:"|awk '{print $7}')
      SWAP=$(free |grep "Swap:"|awk '{print $3}')
      TIME=$(uptime)
      echo "${FREE}"
      echo "${SWAP}"
      echo "$TIME"
      hostname 

      สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-memory.cfg มีข้อความว่า
      WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
      Target[myhost-mem]:`/etc/mrtg/get-memory.sh`
      MaxBytes[myhost-mem]: 20000000000
      Title[myhost-mem]: Free Memory and Swap Used
      PageTop[myhost-mem]: <H1>Free Memory and Swap Used</H1>
      ShortLegend[myhost-mem]: bytes
      YLegend[myhost-mem]: bytes
      LegendI[myhost-mem]:  Free Memory:
      LegendO[myhost-mem]: Swap Used:
      Legend1[myhost-mem]: Free memory, in bytes
      Legend2[myhost-mem]: Swap Used, in bytes
      Options[myhost-mem]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง

      env LANG=C /usr/bin/mrtg/myhost-memory.cfgปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง
      indexmaker --column=2 --output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg

    • โฟลเดอร์ที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ /u02/app/oracle/adump, /u02/app/oracle/diag/rdbms/regist/regist/alert, /u02/app/oracle/rdbms_trace ซึ่งเป็นโฟลเดอร์สำหรับเก็บ Log ไฟล์ต่างๆ ซึ่งอาจมีขนาดเพิ่มขึ้นจนระบบไม่สามารถให้บริการได้ และโฟลเดอร์ /u03 เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บ archive log (ในกรณีที่ฐานข้อมูลเปิด archive log mode)
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        adump=$(du -sm /u02/app/oracle/adump|awk '{ print $1 }')
        free=$(df -m /u02|grep u02|awk '{ print $4 }')
        TEMP=$(uptime|grep -o "load average.*"|awk '{print $3}'|cut -d',' -f 1)
        LOAD=$(echo "${TEMP:-0} * 100"|bc|cut -d'.' -f 1)
        TIME=$(uptime)
        echo "${adump}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg มีข้อความว่า
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-misc1]:`/etc/mrtg/get-diskfree-misc1.sh`
        MaxBytes[myhost-misc1]: 20000000000
        Title[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump
        PageTop[myhost-misc1]: Free disk space and disk Used of /u02/app/oracle/adump
        ShortLegend[myhost-misc1]: bytes
        kMG[myhost-misc1]: M,G,T
        kilo[myhost-misc1]: 1024
        YLegend[myhost-misc1]: bytes
        LegendI[myhost-misc1]: Disk Used:
        LegendO[myhost-misc1]: Free Disk:
        Legend1[myhost-misc1]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-misc1]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-misc1]: gauge, nopercent, growright
        Timezone[myhost-misc1]: Bangkok

        ทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg
        ปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วยคำสั่ง
        indexmaker --column=2 --output=/var/www/mrtg/myhost/index.html /etc/mrtg/myhost-cpu.cfg /etc/mrtg/myhost-cpu-io.cfg /etc/mrtg/myhost-speed-eth0.cfg /etc/mrtg/myhost-tcpestab.cfg /etc/mrtg/myhost-memory.cfg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg
      • สร้างแฟ้มเลียนแบบข้อ 1 และ 2 สำหรับโฟลเดอร์ที่เหลือ
      • แก้ไขแฟ้ม /etc/mrtg/mymrtg.sh เพิ่มข้อความ  env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-misc1.cfg ต่อท้ายไฟล์และเพิ่มทุกไฟล์ของทุกโฟลเดอร์
      • สำหรับโฟลเดอร์ /u03 ให้สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-diskfree-u03.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        used=$(df -m /u03|grep u03|awk '{ print $3 }')
        free=$(df -m /u03|grep u03|awk '{ print $4 }')
        TEMP=$(uptime|grep -o "load average.*"|awk '{print $3}'|cut -d',' -f 1)
        LOAD=$(echo "${TEMP:-0} * 100"|bc|cut -d'.' -f 1)
        TIME=$(uptime)
        echo "${used}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname
        nof=$(ls -d1 /u03/app/oracle/fast_recovery_area/REGIST/archivelog/* |wc -l)
        max=3if [ "${nof}" == "${max}" ]
        then
                nod=$(expr ${max} - 1)
                f2d=$(ls -d1 /u03/app/oracle/fast_recovery_area/REGIST/archivelog/*|head -${nod})
                rm -rf ${f2d}
                su - oracle -c "/bin/sh /home/oracle/reclaim.sh"
        fi
        สร้างแฟ้ม /home/oracle/reclaim.sh มีข้อความว่า
        rman target / <<EOF
        crosscheck archivelog all;
        delete noprompt expired archivelog all;
        quit
        EOF
        สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-diskfree-u03.cfg มีข้อความว่า
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-u03]:`/etc/mrtg/get-diskfree-u03.sh`
        MaxBytes[myhost-u03]: 20000000000
        Title[myhost-u03]: Free disk space and disk Used of /u03
        PageTop[myhost-u03]: Free disk space and disk Used of /u03
        ShortLegend[myhost-u03]: bytes
        kMG[myhost-u03]: M,G
        kilo[myhost-u03]: 1024
        YLegend[myhost-u03]: bytes
        LegendI[myhost-u03]: Disk Used:
        LegendO[myhost-u03]: Free Disk:
        Legend1[myhost-u03]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-u03]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-u03]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-diskfree-u03.cfg
        อย่าลืมปรับปรุงแฟ้ม index.html ด้วย
    • เฝ้าระวังขนาดของ Tablespace SYSTEM และ USERS
      • สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/get-tablespace-system.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        used=$(su - oracle -c "sh /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh"|grep SYSTEM|awk '{ print $2 }'|sed -e 's/,//g')
        used=$(expr ${used} \* 1024)
        free=$(su - oracle -c "sh /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh"|grep SYSTEM|awk '{ print $3 }'|sed -e 's/,//g')
        free=$(expr ${free} \* 1024)
        TIME=$(uptime)
        echo "${used}"
        echo "${free}"
        echo "$TIME"
        hostname

        สร้างแฟ้ม /home/oracle/monitor/tablespacesize.sh มีข้อความว่า
        #!/bin/bash
        sqlplus / as sysdba << EOF
        col "Tablespace" for a22
        col "Used MB" for 99,999,999
        col "Free MB" for 99,999,999
        col "Total MB" for 99,999,999
        select df.tablespace_name "Tablespace",
        totalusedspace "Used MB",
        (df.totalspace - tu.totalusedspace) "Free MB",
        df.totalspace "Total MB",
        round(100 * ( (df.totalspace - tu.totalusedspace)/ df.totalspace))
        "Pct. Free"
        from
        (select tablespace_name,
        round(sum(bytes) / 1048576) TotalSpace
        from dba_data_files
        group by tablespace_name) df,
        (select round(sum(bytes)/(1024*1024)) totalusedspace, tablespace_name
        from dba_segments
        group by tablespace_name) tu
        where df.tablespace_name = tu.tablespace_name ;
        quit
        EOF

        สร้างแฟ้ม /etc/mrtg/myhost-tablespace-system.cfg
        WorkDir: /var/www/mrtg/myhost
        Target[myhost-system]:`/etc/mrtg/get-tablespace-system.sh`
        MaxBytes[myhost-system]: 20000000000
        Title[myhost-system]: Tablespace SYSTEM disk usage
        PageTop[myhost-system]: Tablespace SYSTEM Disk Usage
        ShortLegend[myhost-system]: bytes
        kMG[myhost-system]: k,M,G
        kilo[myhost-system]: 1024
        YLegend[myhost-system]: bytes
        LegendI[myhost-system]: Disk Used:
        LegendO[myhost-system]: Free Disk:
        Legend1[myhost-system]: Disk usage, in Bytes
        Legend2[myhost-system]: Free Disk Space, in Bytes
        Options[myhost-system]: gauge, nopercent, growrightทดสอบสร้างภาพต้นแบบด้วยคำสั่ง
        env LANG=C /usr/bin/mrtg /etc/mrtg/myhost-tablespace-system.cfgอย่าลืมปรับปรุง index.html ด้วย
      • ทำแบบเดียวกันกับ tablespace users
    • จบขอให้สนุก