Tag: multimedia

  • สร้างสื่อเสมือนจริงง่ายๆ ด้วย Pixlive maker

    Blog ก่อนหน้าเราได้ทำความรู้จักกับ สื่อเสมือนจริง หรือที่เราเรียกกันว่า AR กันไปแล้ว ภาคต่อใน Blog นี้จะพาไปเจาะลึกมากขึ้นอีก Step นึง ก็คือ เราจะมาดูกันว่า AR เนี่ย สร้างกันอย่างไร

    สำหรับผู้เขียน Blog นี้ขอเลือกใช้งานการสร้าง AR ง่ายๆ ผ่านเว็บ VIDINOTI ละกันนะ
    ปะ ไปดูกันเลย

    เริ่มต้นด้วยไปที่เว็บ https://www.vidinoti.com/home/ เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บเรียบร้อยแล้ว ก็สมัครเข้าใช้งานกันก่อนเลย คลิกเลือกที่ Free Sign up มุมบนด้านขวา จากนั้นก็กรอกข้อมูลเพื่อสมัครเข้าใช้งาน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะทุกคน

    เมื่อ Register เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไป Activate จาก link ที่ส่งไปยัง e-mail ที่เราได้สมัครเอาไว้นะ เมื่อ Activate แล้วก็ Log in เพื่อใช้งานกันโลดดดดดดด !!

    หน้าแรกจะมีการแนะนำขั้นตอนเบื้องต้นบอกเราว่า เราต้องทำการดาวน์โหลด App V-Player นะ จะต้อง Scan QR Code นะ และก็มีวีดีโอแนะนำการใช้งานให้เราได้ดูกัน อ่านเสร็จแล้วก็กด “OK” ได้เลย

    หน้าแรกของระบบจะประกอบด้วย

    1. ซ้ายมือจะเป็นกลุ่มเมนูการจัดการต่างๆ
    2. ตรงกลางเป็นส่วน Plan ซึ่งเราสามารถดูได้ว่าเราทำไปกี่ content แล้ว หรือ publish ไปแล้วกี่ content รวมถึงสามารถ upgrade account ได้ด้วยน๊าาาาาา (ระดับเราแล้ว ฟรี อย่างเดียว !!)
    3. มุมล่างด้านขวาของหน้าจอจะเป็น QR Code ซึ่งประโยชน์ของมันก็คือ คนที่จะมองเห็นงาน AR ของเรานั้น จะต้องทำการเปิด App V-Player จากนั้นนำมาส่ง QR Code ตัวนี้เพื่อจะดูผลงานของเรานั่นเอง
      หมายเหตุ : ให้บันทึก QR Code เก็บไว้ก่อนนะ แล้วค่อยนำรูปไปแปะไว้ในงานของเรา

    มาเริ่มสร้างงาน AR ของเรากันเถอะ !!

    Step 1
    จากหน้าแรก ให้คลิกเลือก “Create new content”

    Step 2
    เลือก “Image AR” จากนั้นให้เราทำการ Drop file หรือ Browse file ที่เราได้สร้างหรือออกแบบเอาไว้ เข้ามาในระบบ

    Step 3
    เมื่อเลือกรูปที่ต้องการ upload เสร็จแล้ว ให้กด “Continue” จากนั้นระบบก็จะแสดงหน้าถัดไป ให้ตั้งชื่อ “content name” และ “Description” (อันหลังนี่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้นะ) จากนั้นกด “Continue” อีกรอบนึงนะ ปุ่มจะอยู่ด้านล่างขวาของหน้าจอนั่นแหละ

    Step 4
    เมื่อเจอหน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้เราคลิกที่รูปในหน้าจอได้เลย ระบบจะพาเราไปยังหน้า Pixlive editor

    Step 5
    ครั้งแรกที่เข้ามาในส่วน Pixlive editor ก็มีการแนะนำการใช้งาน คลิก “take the tour!” ก็คลิกๆ ตามๆ ที่เค้าชี้ไปเรื่อยๆ เมื่อครบแล้วก็โปรดรอสักครู่ ! ก็จะเจอกับหน้าจอดังรูป

    • ซ้ายของหน้าจอคือ content ต่างๆ ไว้ให้เราเลือกใช้
    • ตรงกลางส่วนแสดงผล สามารถเลือกมุมมองสลับไปมาได้ระหว่าง Scene View หรือ Scenario มี % การแสดงผล
    • ขวาของหน้าจอก็จะเป็น Properties ของแต่ละ Scene ที่เราโฟกัสอยู่นั่นเอง

    Step 6
    ก่อนอื่นเรามามองภาพรวมก่อนการสร้างงานกันสักนิดนึง ตามตัวอย่างที่ผู้เขียนออกแบบงานของผู้เขียนไว้คือ “จะมีเมนู 5 เมนู ซึ่ง 3 เมนูแรกจะเชื่อมโยงไปยัง VDO เมนูถัดมาจะเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ได้มีไฟล์แขวนเอาไว้ ส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนแสดงช่องทาง Contact มายังผู้จัดทำ storyboard ก็ประมาณนี้นะ” มาเริ่มกันที่ 3 เมนูแรกเลยละกัน

    ให้คลิกเลือก content “Image Button” เพื่อเพิ่มปุ่มแรกกันเลย จริงๆ Image Button จะมีสองแบบคือ ด้านซ้ายรูปแบบที่ระบบมีไว้ให้แล้ว ส่วนด้านขวาจะเป็นแบบที่เราออกแบบเอาไว้ ให้เรา Browse file ที่ต้องการเข้ามาได้เลย เมื่อเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม “Apply changes

    Step 7
    เมื่อสร้างปุ่มแรกเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะ New Scene2 ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ โดยให้ลอง Switch ไปดูในมุมมอง Scenario จะเห็นภาพชัดเจน ตามรูปเลยนะ

    Step 8
    คราวนี้เราจะมาโฟกัสที่ Scene2 กันนะ ตามที่บอกไว้ ปุ่มแรกของเราจะเชื่อมโยงไปยัง VDO ดังนั้นให้คลิกบน Scene2 ก่อนเลย เมื่อคลิกเสร็จแล้วก็ให้เลือก content ที่เป็น “Video” มาวางบน Scene2 เลย
    ปล … ชื่อ Scene นี่สามารถเปลี่ยนได้ตรง Properties ด้านขวามือเลยนะ เปลี่ยนให้เป็นชื่อที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ เวลามีหลาย Scene จะได้ไม่งงเน้อออ

    Step 9
    VDO นี่ก็เลือกได้ 2 แบบเหมือนกันนะ upload จากเครื่องเราขึ้นไป หรือจะแปะ link แทน เช่น พวก link จาก youtube เป็นต้น แต่ผู้เขียนขอ upload จากเครื่องตัวเองละกันนะ และเลือกแสดงได้นะว่าจะให้แสดงแบบไหน Full , Loop หรืออื่นๆ ตามที่เห็นนั่นแหละ จากนั้นคลิก “Apply changes” ได้เลย

    Step 10
    ก็ทำตามขั้นตอนเดิม จนครบทุกหน้าที่ตาม Storyboard ที่เราวางไว้ แต่ปุ่มเมนูหลักเนี่ยเวลาจะลากมาวางให้ วางไว้ใน Start Scene นะ อย่าลืมกันละทุกคน และสำหรับหน้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ VDO เนี่ย ก็ให้เลือก content ให้ถูกนะ เป็น Web เป็น PDF หรืออื่นๆ ก็เลือกให้ถูกต้องก่อนนำมาวางละ หากทำครบตามที่วางแผนเอาไว้ ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้นะ

    Step 11
    ทำเสร็จแล้ว รีวิวดูแล้วถูกต้องก็มา Save กันเลย ให้คลิกเลือกที่มุมบนด้านขวาของหน้าจอเลยนะ ตามรูปเลย

    Step 12
    เมื่อบันทึกเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เลือก “My Contents” ระบบก็จะมาโฟกัสที่ Content list ให้เรา จากนั้นก็ให้ดูว่า Content ที่เราได้สร้างไปนั้น แสดงสถานะเป็น Published แล้วหรือไม่ ปล..จริงๆ แล้วก็จะ Publish ให้อัตโนมัตินั่นแหละ

    Step สุดท้ายยยยยยยย
    ถ้าจะทดสอบงานของเราก็คลิกเข้าไปใน Content ที่เราสร้างไว้ได้เลย จากนั้นให้เอา smartphone ของเราที่ได้ติดตั้ง App V-Player เรียบร้อยแล้ว นำมาส่อง QR Code ของเราได้เลย งานที่เราสร้างก็จะแสดงให้เราเห็น ตามตัวอย่างใน VDO ด้านล่างเลยนะ

    ตัวอย่างผลลัพธ์ AR ที่เราได้สร้างไว้

    เป็นยังไงกันบ้างทุกคน ยากมั้ย นี่ผู้เขียนว่ามันไม่ยากนะ แต่มันแค่ยาวเท่านั้นเอง 555+ ยังไงก็แล้วแต่สามารถทดลองไปสร้างไปใช้งานกันได้นะ สนุกดี แถมเรายังได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ ไว้ใช้ในการพัฒนาตัวเราเองได้ด้วย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยแหละเนอะ ไว้เจอกันใหม่ Blog หน้า เน้อทุกคนนนนน แฮ่ 🙂

    อ้างอิง
    youtube ช่องของอาจารย์ Apiwat Wongkanha ค่ะ ละเอียด และทำตามได้จริงๆ แนะนำๆ

  • รู้จักสื่อแบบ AR

    TOR รอบใหม่นี้ Blog แรก (จาก 16 Blog!! ที่ต้องเขียน) ที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าสู่กันฟังก็คือ เทคโนโลยี AR จะมาเล่าว่ามันคืออะไร แล้วถ้าเราจะสร้าง AR เนี่ย จะต้องทำยังไง ยากง่ายแค่ไหน แต่ๆๆ Blog แรกเนี่ยเอาเป็นแค่ลองมาทำความรู้จักกันก่อนละกันเนอะ วิธีการสร้างขอเป็น Blog ถัดๆ ไปละกัน อิอิ 🙂

    AR คืออะไร ??
    หลายๆ คนคงมีคำถามแบบเดียวกัน และอีกหลายๆ คนก็คงจะไม่เคยรู้ว่าเจ้า AR เนี่ย อยู่ใกล้กับชีวิตประจำวันเรามากกว่าที่คิดนะ 55+

    ——————————————————————————————————————–

    เรามารู้จักกับเจ้าเทคโนโลยี AR กันเถอะ ….

    เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) คือเป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์เว็บแคม กล้องโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือคอมพิวเตอร์ ร่วมกับการใช้ Software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็นวัตถุ (Object) ยกตัวอย่างเช่น คน สิ่งของ โดยแสดงผลออกมาเป็นลักษณะ 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศาเลยนะ

    ——————————————————————————————————————–

    จริงๆ แล้วเนี่ย AR มันเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากกกกแล้ว ทางผู้เขียนก็ได้ยินผ่านๆ มาอยู่ตลอด แต่ยังไม่เคยได้ลองทดสอบเข้าไปศึกษาและใช้งานแบบจริงๆจังๆ ซะที

    อาจเพราะในอดีต จะมีข้อจำกัดในทางเทคโนโลยีจึงยังไม่ค่อยมีความแพร่หลายในการใช้งานสักเท่าไหร่ แต่สำหรับยุคปัจจุบัน แทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่า อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเนี่ยเราสามารถข้าถึงได้ง่ายดายแค่ไหน “เรียกว่าปัจจัยที่ 5 กันเลยทีเดียว” เล่นกันตั้งแต่เด็ก 3 ขวบ จนไปถึงผู้สูงอายุวัย 80 กันนั่นแหละ !!

    ดังนั้นเทคโนโลยีตัวนี้จึงกลับมาเริ่มมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ถูกกล่าวถึงและมีคนให้ความสนใจอยู่เป็นระยะ อาจจะไม่โดดเด่นเท่ากับอีกหลายๆ ตัว แต่ก็คาดว่ายังสามารถต่อยอดไปได้อีกไกลแหละนะ

    ในปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถนำมาพัฒนาเป็น Application เพื่อช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กๆ หรือช่วยในส่วนของธุรกิจการค้าที่ต้องปรับกลยุทธ์เชิงรุกในรูปแบบออนไลน์ หรือจะให้ยกตัวอย่าง AR ง่ายๆ เลยคือ “เกมส์โปเกมอน โก” นั่นแหละ

    หลักการทำงานของ AR หลักๆ ประกอบด้วย

    1. วิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) โดยค้นหาจากตัว Marker (หรือที่เราเรียกว่า Markup) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ หรือรูปภาพที่เรากำหนดไว้เป็นตัวเปรียบเทียบ กับสิ่งที่เราได้เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Marker Database)
    2. กล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับ Sensor อื่นๆ
    3. Software ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบ 3 มิติ
    4. การแสดงผลบนจอภาพจากคอมหรือโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ โดยกระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพโดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

    พื้นฐานหลักของ AR

    ง่ายๆ คือ ใช้หลักการการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การเต้น หรือ การเคาะ (Beat Detection) การจดจำเสียง (Voice Recognize) และการประมวผลภาพ (Image Processing) นั่นเอง

    เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา AR ก็มีอยู่หลากหลายนะ เช่น Unity , Pixlive Maker เป็นต้น
    หาดูใน google ก็จะขึ้นเยอะแยะไปหมด เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย พอจะเข้าใจเทคโนโลยีเสมือนจริงเพิ่มมากขึ้นอีกสักนิดกันมั้ย
    ไม่ต้องรีบๆ ค่อยๆเรียนรู้ไปด้วยกันนะทุกคนน

    ——————————————————————————————————————–

    เอาไว้ใน Blog ถัดไป ผู้เขียนจะมาเล่าถึงวิธีการสร้างเจ้า AR ตัวนี้ละกันนะ ขอเวลาไปเขียน storyboard ก่อนแป๊บนึง …. Bye 🙂
    ปล … สร้างอะไม่ยากหรอก จะยากก็ตอนออกแบบ นั่งหารูป สร้างข้อความ เลือกสี หา Background เหล่านี้นี่แหละ พูดเลย นาน 55+

    ขอบคุณข้อมูลดีดี
    อ้างอิง : http://www.techno.lru.ac.th/techno