Tag: minidlna

  • สร้าง DLNA Media Server ผ่าน Ubuntu ด้วยโปรแกรม MiniDLNA

    อุปกรณ์ที่บ้านรองรับ DLNA (มือถือ, PC, Notebook, TV ฯลฯ) มี Notebook เก่า ๆ อยู่เครื่องไม่รู้เอามาทำอะไรดี จะทำ Stream Media Server ใช้ง่าย ๆ ได้ยังไง

    อยากรู้ DLNA คืออะไรเชิญอ่านได้ที่นี่ครับ

    http://www.deviceacademy.com/forum/th/node/858

    เกี่ยวกับ Project MiniDLNA

    http://sourceforge.net/projects/minidlna/

    https://help.ubuntu.com/community/MiniDLNA

    ขั้นตอนการติดตั้ง DLNA Media Server ผ่าน Ubuntu ด้วยโปรแกรม MiniDLNA

    1. วิธีการขั้นแรกก็ติดตั้ง Ubuntu 14.04 LTS จะ Desktop หรือ Server แล้วแต่ศรัทธา

    2. ติดตั้ง MiniDLNA

    sudo apt-get install minidlna

    3. สร้าง Folder สำหรับทำ Media Server ดังนี้

    mkdir /home/[user]/music
    mkdir /home/[user]/picture
    mkdir /home/[user]/video
    sudo mkdir /var/cache/minidlna

    4. แก้ไขไฟล์ดังนี้

    sudo vim /etc/minidlna.conf

    4.1) ตั้งค่าในส่วนของ folder ที่จะให้ DLNA Server ให้บริการโดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ A = Audio, V= Video, P = Picture

    # If you want to restrict a media_dir to a specific content type, you can
    # prepend the directory name with a letter representing the type (A, P or V),
    # followed by a comma, as so:
    # * "A" for audio (eg. media_dir=A,/var/lib/minidlna/music)
    # * "P" for pictures (eg. media_dir=P,/var/lib/minidlna/pictures)
    # * "V" for video (eg. media_dir=V,/var/lib/minidlna/videos)
    #media_dir=/var/lib/minidlna
    media_dir=A,/home/[user]/music
    media_dir=P,/home/[user]/picture
    media_dir=V,/home/[user]/video

    4.2) ตั้งในส่วนของ network_interface โดยอุปกรณ์ที่จะใช้งานได้ต้องอยู่วงเดียวกับ DLNA Server

    # Network interface(s) to bind to (e.g. eth0), comma delimited.
    # This option can be specified more than once.
    network_interface=eth0

    4.3) ตั้งค่าชื่อที่จะปรากฎที่อุปกรณ์เมื่อจะเข้าใช้งาน DLNA Server

    # Name that the DLNA server presents to clients.
    # Defaults to "hostname: username".
    friendly_name=DLNA Media Server

    4.4) ทำการตั้งค่า Folder ที่ไว้เก็บ Database และ Cache หน้าปก Album Art (อาจจะทำให้การ Update ข้อมูลเมื่อมีการใส่ file ใหม่หน่วงบ้าง แต่เวลาเรียกไฟล์เยอะ ๆ จะได้เร็วขึ้น)

    # Path to the directory that should hold the database and album art cache.
    db_dir=/var/cache/minidlna

    4.5) ตั้งค่าให้เขียน log file เอาไว้ debug software

    # Path to the directory that should hold the log file.
    log_dir=/var/log

    4.6) ตั้งให้ scan file อัตโนมัติเมื่อมีไฟล์ใหม่

    # Automatic discovery of new files in the media_dir directory.
    inotify=yes

    5. ตั้งให้ start โปรแกรมเมื่อเปิดเครื่องโดยทำการแก้ไขไฟล์

    sudo vim /etc/default/minidlna

    – ตรวจสอบค่า START_DAEMON ว่าเป็น yes หรือไม่

    # Start the daemon if set to "yes"
    START_DAEMON="yes"

    5. ทำการ Restart MiniDLNA Server ดังนี้

    sudo service minidlna restart

    ที่เหลือก็แค่เปิด tv notebook pc ดูครับ โดยไฟล์ที่ใส่ลงไป จะโยนผ่าน samba share, ssh, ftp แล้วแต่จะสะดวกครับ โดยข้อจำกัดมีอยู่บ้างครับ คือไฟล์ที่ DLNA Support แน่ ๆ ก็ mp4 แต่พวก flv ไม่ครับส่วน mkv อันนี้รองรับเปิดได้ครับ (จริง ๆ ก็อยู่ที่อุปกรณ์ปลายทางด้วยว่ารองรับ codec ไหม)

    ส่วนอุปกรณ์ที่รองรับมีอีกคำนอกเหนือ DLNA คือ UPnP ลองดูแล้วครับ กล่อง TV Digital หลายกล่องก็รองรับอยู่นะครับ ส่วน SMART TV มีแน่ ๆ ครับ จริง ๆ Windows Media Player ก็ทำเป็น DLNA Server ได้เช่นเดียวกับแต่จะเรียกว่า Media Stream ครับ

    จริง ๆ youtube ก็ทำ stream ได้เช่นกัน แต่ไม่ได้ stream ตรง ๆ แต่เหมือน remote control ซึ่งก็หน่วงพอสมควร แต่ DLNA ที่ผมใช้ก็เพื่อดูหนัง MV การ์ตูนซะมากกว่า ซึ่งจะไม่มีการ remote control ต้องควบคุมที่อุปกรณ์เอง ทำหน้าที่เป็นแค่ share file server แต่ share ทั้งทีก็ทำให้ใช้ได้ทุกรูปแบบ โดยวิธีใช้ประมาณโหลดเสร็จก็โยนใส่ notebook ที่ลง dlna server ไว้ แล้วก็ปิดเครื่องที่โหลดทิ้ง นอนดูผ่านทีวี หรือดูผ่านมือถือได้เลย