Tag: manual

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 3

    ต่อจาก Blogก่อนหน้า Blog นี้ เรามาว่ากันด้วยเรื่องของการ upload file และสั่งให้โปรแกรม Generate QR code กัน

    หลังจากที่เราบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว และเราอยาก upload file ขึ้นไปเก็บไว้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น “บันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว upload file ขึ้น youtube เมื่อ upload เสร็จ ให้แสดง QR Code ขึ้นมา” โอเคมั้ย โจทย์ประมาณนี้นะ งั้นไป … เราไปเริ่มกันเลย !!!

    ลำดับแรกคลิกเลือก “Destinations” จากนั้นเลือกไปที่ “File uploader” เลือกเป็น “Youtube” เน้อออ

    จากนั้นก็มาเริ่มตั้งค่ากันเลย ให้ไปที่ “Destination” อีกรอบนึง แต่คราวนี้เลือกไปที่ข้อความ “Destination settings….” โปรแกรมก็จะเปิดหน้าต่างให้เราตั้งค่า

    เลือกที่เป็นประเภท File uploader จากนั้นเลือก youtube ขวามือจะแสดง ให้เรา authorize ไปยัง youtube ของเรา คลิกเลือกตรง Step 1 : Open authorize page จากนั้นก็จะเจอหน้าจอดังรูป

    ให้เราเลือกเลย กรณีเรามีบัญชีมากกว่า 1 ก็เลือกว่าจะใช้บัญชีไหน เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่างเลย ก็ให้เลือก “อนุญาต

    เมื่ออนุญาตการเข้าถึงบัญชีของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ code ยาวๆ มา หน้าตาประมาณรูปด้านล่าง ให้เรา copy code ที่ได้ไว้นะ

    จากนั้นให้เอา code ที่ได้กลับมาวางในหน้าของโปรแกรมแกรม shareX ตรง ช่อง “Verification code” เสร็จแล้วรอแป๊บนึง เมื่อโปรแกรมตรวจสอบและ verify code แล้วว่าถูกต้องก็จะแจ้งเราว่า login successful. ถือว่าครบถ้วนกระบวนความ โดยในหน้านี้ เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น Private type: เลือกได้ว่าต้องการเป็นแบบใด public, private เป็นต้น และสามารถระบุได้ว่า link ที่ได้ต้องการเป็นแบบ shortened link หรือไม่

    ต่อมาตะกี้แผนของเราคือ upload ขึ้น youtube เสร็จแล้วให้แสดง QR Code ใช่มั้ย ก็ไปตั้งค่าเพิ่มกันอีกนิดนึง ให้ไปตรงเมนู “After upload task….” จากนั้นเลือก QR Code

    เมื่อตั้งค่าเสร็จทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว คราวนี้มาดูผลลัพธ์กัน ก็ลองบันทึกวีดีขึ้นมาสักอันนึง เมื่อบันทึกวีดีโอเสร็จแล้วให้ “คลิกขวา” บนไฟล์วีดีโอของเราจากนั้นเลือก Upload

    เมื่อเลือก upload แล้วก็รอสักครู่ จนโปรแกรมบอกเราว่า upload 100% พร้อม ๆ กับแสดงหน้าต่าง QR Code ขึ้นมาให้เราทันที

    ก็ลอง Scan QR Code กันดูได้ มันก็จะวิ่งไปที่วีดีโอของเราที่อัพขึ้น youtube นั่นแหละ

    เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ดูเหมือนยาก แต่มันไม่ยากนะ แถม Destination ที่มีให้เราเลือกอัพก็มีมากมายซะเหลือเกิน ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นกันดู มันมีประโยชน์จริงๆ เล่นไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ไม่ต้องรีบร้อนกันนะ สบาย สบายยยยยยย วันนี้ผู้เขียนก็ขอจบ Blog แต่เพียงเท่านี้ และก็ขอจบในเรื่องราวของเจ้า shareX ตัวนี้แต่เพียงเท่านี้

    หากผู้อ่านมีข้อสงสัย สามารถถามเข้ามาได้นะ ถ้ารู้ก็จะบอก แต่ถ้าไม่รู้ก็จะพยายามหาคำตอบมาให้ 55+ ส่วน Blog หน้าจะมาเล่าเรื่องอะไร รอติดตามกันนะทุกคนนนน …. บุ้ยบุ่ย ^___^

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 2

    Blog นี้ ขอมาต่อในส่วนของโปรแกรม shareX โดยจะมาว่ากันในเรื่องของการบันทึกหน้าจอในรูปแบบ VDO กันค่ะ

    สำหรับการบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ ผู้ใช้สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอ หรือจะเลือกเป็นพื้นที่ก็ได้เช่นกัน

    แต่ก่อนที่เราจะบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอด้วย shareX ได้นั้น เครื่องของเราก็ต้องมี plugin ที่ชื่อ “FFmpeg” ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องตกใจหรอก เพราะว่าพอเราเลือกฟังก์ชันบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอ (Screen recording) โปรแกรมก็จะบอกเราว่า เราไม่มี plugin ตัวนี้ จะไปดาวน์โหลดมาติดตั้งเลยมั้ย ก็ให้ตอบตกลงไปเลย แค่นี้เราก็สามารถใช้งานการบันทึกภาพหน้าจอได้แล้ว

    หรืออีกวิธีนึง !!!

    เราสามารถไปดาวน์โหลดด้วยตัวเองก่อนก็ได้ โดยไปที่ “Task settings

    จากนั้นก็ปรากฏหน้าจอดังรูป ให้เลือก “Screen recorder” –> “Screen recording options….” –> คลิก Download

    รอสักครู่ ไฟล์ไม่ใหญ่ โหลดไม่นาน หน้าตาก็ประมาณนี้น่ะ

    เพิ่มเติมอีกนิดนึง นอกจากเราจะบันทึกการจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอเป็นแบบวิดีโอแล้วเรายังสามารถบันทึกในแบบ  GIF Animation ได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้คือดีมากๆ เลย

    อะ มาๆ เรามาลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริงๆ กันเลย

    Step 1 : เลือก capture –> Screen recording 

    Step 2 : โปรแกรมก็จะให้เราเลือกพื้นที่ ที่เราต้องการจะบันทึก เราก็ลองลากเลือกเลยว่าจะบันทึกตรงไหน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็ให้สังเกตุ โปรแกรมจะขึ้นเส้นประรอบๆ พื้นที่ที่เราเลือก พร้อมทั้งเริ่ม Record หน้าจอของเราละ

    Step 3 : เราก็เริ่มต้นทำงานบนหน้าจอของเราได้เลย โปรแกรมจะบันทึกวีดีโอเก็บไว้ เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการบันทึกได้เลย โปรแกรมก็จะแสดงให้เราเห็นว่าบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว

    จากรูป สามารถคลิกบนลิงค์เพื่อ Play วีดีโอของเราได้เลย หรือหากไม่คลิกจากลิงค์ ก็สามารถเข้าไปดูใน Folder ตาม path ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้นะ ได้ทั้ง 2 วิธีนั่นแหละ หรือใครไม่รู้ว่าไปตั้ง path ได้จากไหน ก็ทำตามวิธีนี้ดูนะ

    คลิกเลือก Application settings …… –> เลือก path –> คลิก Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ได้เลย

    ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นเจ้า shareX ตัวนี้จริงๆ นี่ขนาดผู้เขียนลองเล่น ลองใช้มาจะสัปดาห์นึงละ ยังทำความรู้จักเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้แค่ผิวเผิน เท่านั้นเอง ลูกเล่นเค้าเยอะดีจริงๆ เยอะจนบางทีก็ทำให้เราสับสน งงๆ ได้เหมือนกันนะ 55 เอาเป็นว่า เดี๋ยว Blog หน้า Ep 3 จะมาเล่าต่อนะ ว่าหลังจากบันทึกวีดีโอ หรือรูปภาพเสร็จแล้วสามารถสั่งให้โปรแกรมทำอะไรต่อได้บ้าง วันนี้ก็ลากันไปเท่านี้ก่อน อย่าลืม อ่านแล้ว ลองเล่นดูนะ ^__^

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep1

    Blog ที่4 นี้ขอนำเสนอโปรแกรมจับภาพหน้าจอฟรี ย้ำนะว่าฟรี !! มีชื่อว่า shareX ซึ่งสามารถจับภาพหน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อในหลากหลายรูปแบบ เช่น ทำคู่มือ ทำวีดีโอ เอาไปลงในเว็บไซต์ หรื่ออื่นๆ ถือเป็นโปรแกรมฟรีแบบ Open Source ที่จัดเต็มในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้แบบครบครันนนนนน

    จริงๆแล้วโปรแกรมฟรีที่สามารถจับภาพหน้าจอ record วีดีโอนี่ก็มีมากมายเลยแหละ อยู่ที่ใครชอบแบบไหน เอาเป็นว่าวันนี้ลองมาทำความรู้จักกับอีก 1 ตัว ที่มีชื่อว่า shareX กันหน่อยละกันนะ “จะได้รู้ว่าดีกว่าที่ใช้อยู่เนี่ย มันก็มีนะ !!” (อันนี้ผู้เขียนบอกตัวเองนะ 55+)

    shareX สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://getsharex.com/ หรือจะหาผ่าน window store ก็ได้เหมือนกัน เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการติดตั้งบนเครื่องของเราได้เลย

    สำหรับ shareX ก็จะมี feature หลักๆ คือ

    • รองรับการจัดภาพหน้าจอแบบเต็มจอ เฉพาะหน้าต่าง หรือเฉพาะส่วน
    • สามารถตั้งให้เปิดแก้ไขภาพในโปรแกรมอื่นๆ ก่อนที่จะอัพโหลดได้
    • save file อัตโนมัติเอาไว้ในเครื่อง
    • upload ภาพขึ้นไปยัง services ต่างๆ
    • สามารถ copy code ต่างๆได้จากในตัวโปรแกรม เช่น html สำหรับแทรกภาพ หรือ BBCode สำหรับแปะในเว็บบอร์ด
    • รองรับการย่อ URL ในตัว
    • รองรับการ upload ข้อความขึ้นเว็บ
    • รองรับการ upload file ขึ้นอินเตอร์เน็ต
    • แชร์สิ่งที่อัพโหลดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้
    • ตั้งค่า hotkey สำหรับจับภาพได้

    เหล่านี้ถือเป็น feature คร่าวๆ ของเจ้า shareX นะ จริงๆ แล้ว services ต่างๆที่ตัวโปรแกรมเชื่อมต่อได้นั้นมีเยอะมากๆ เดี๋ยวเราจะลองไปดูกัน

    เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะเจอกับหน้าตาเจ้าตัว shareX ประมาณนี้ …..

    จะเห็นได้ว่าข้อความที่ขึ้นบอกไว้นั้นคือ ปุ่มใช้งานมาตรฐานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ หากเราต้องการปุ่มอื่นๆ ถามว่าเปลี่ยนได้มั้ย ตอบเลยว่า …. ได้ !! แต่เดี๋ยวจะอธิบายไว้ในส่วนของ Hotkey settings ด้านล่างนะ

    ——————————————————————————————————————————————–

    Capture

    มากันที่ Feature หลักอันแรกคือ “Capture” หรือการจับภาพหน้าจอนั่นเอง shareX จะรองรับการจับภาพในหลายรูปแบบ ย้ำว่าหลากหลาย จริงๆ

    Fullscreen          จับภาพหน้าจอแบบ Fullscreen
    window               จับภาพหน้าจอแบบ Window ซึ่งสามารถเลือกได้จากหน้าจอทั้งหมดที่เราเปิดไว้ในเครื่องได้เลย
    monitor               หากมีมากกว่า 1 จอ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะจับหน้าจอใด
    Region                 จับภาพหน้าจอแบบเลือกเฉพาะส่วน
    Last region        จับภาพในส่วนล่าสุดที่เราเพิ่งจับภาพไป
    Screen recording      บันทึกภาพหน้าจอ
    Screen recording (GIF)           บันทึกภาพหน้าจอแบบ GIF
    Scrolling capture        จับภาพหน้าจอที่มีความยาวมากเกินกว่าที่จะสามารถแสดงบนหน้าจอได้ทีเดียวหมด (ต้อง Scroll mouse ขึ้นลงนั่นเอง)
    Text capture (OCR)    จับภาพโดยเลือกเฉพาะตัวอักษรในภาพนั้น
    Auto capture           สามารถตั้งเวลาได้ ว่าจะให้จับภาพหน้าจอ ทุกๆ กี่วินาที
    Show Cursor          สามารถเลือกได้ว่าภาพหน้าจอที่เรา capture ไปเนี่ย จะให้แสดง cursor หรือไม่
    Screenshot delay: 0s สามารถเลือกความ delay ของการ capture หน้าจอได้

    Upload Feature

    Workflows

    แสดง Hotkey นั่นแหละ โดยส่วนหลักตัวโปรแกรมก็จะกำหนดมาให้อยู่แล้ว แต่เราสามารถปรับเปลี่ยน Hotkey ได้เอง และยังสามารถเพิ่ม workflows ได้อีกด้วยตัวอย่างจะอธิบายในส่วนของ Hotkey settings นะ

    • Capture region คือการจับภาพโดยเลือกพื้นที่ ๆ เราต้องการ
    • Capture entire screen คือการจับภาพแบบเต็มหน้าจอ
    • Capture active window คือการจับภาพจากหน้าต่างที่เราเลือก หรือกำลังทำงาน
    • Start/Stop screen recording using custom region คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้
    • Start/Stop screen recording (GIF) using custom region  คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้โดยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ GIF นั่นเอง

    Tools

    เครื่องมือเพิ่มเติม หรือส่วนเสริมของตัวโปรแกรมที่ทำให้เจ้า shareX เนี่ย ล้ำกว่าโปรแกรมอื่นไปอีก Step ขอยกตัวอย่างเป็นบางเครื่องมือละกัน เนื่องจากผู้เขียนก็ยังใช้ไม่ครบทุกเมนูเล้ยยยยย ตัวอย่างเช่น

    • Color picker           สามารถเลือกสีได้ ว่าต้องการสีอะไร
    • Screen color picker… เลือกสีบนหน้าจอเราได้เลยว่าต้องการสีอะไร โดยโปรแกรมจะ copy code สีเราให้ทันที เราสามารถนำไป code สีดังกล่าวไปใช้ต่อได้
    • Image editor           หน้าจอสำหรับปรับแต่งแก้ไขรูปภาพของเรา เช่น บันทึก upload print, select and move, สามารถใส่ข้อความลงในภาพได้ ทั้งแบบตัวอักษร หรือ free hand ใส่ step ในรูปภาพได้, Hilight, zoom, ใส่ emotion ได้, crop รูปภาพ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
    • Image effects…       สำหรับใส่ effects ให้กับภาพได้ เช่น เพิ่ม filter ภาพ, ปรับ Adjustment, เพิ่ม text watermark หรือ image watermark เป็นต้น
    • Ruler…                เลือกเพื่อวัดขนาดของส่วนหน้าจอที่เราเลือกได้ ดังรูป
    • Image combiner…           อันนี้ก็เจ๋งดี เราสามารถเลือกภาพหน้าจอที่เราได้ capture ไว้เนี่ย นำมาผสมกันได้ ให้อยู่ในรูปเดียวกัน และยังเลือกแสดงผลได้อีกว่าจะให้แสดงในแนวนอน หรือแนวตั้ง เป็นต้น

    After capture tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่จับภาพเสร็จแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป ตัวอย่างตามภาพด้านล่างเลย เช่น บันทึกเป็นไฟล์ภาพทันที, ใส่เอฟเฟกต์, ใส่ลายน้ำ, บันทึกเป็นภาพขนาดย่อ, คัดลอกในคลิปบอร์ด อัพโหลดไปยังเว็บ หรือ print เป็นต้น อยากเลือกอันไหนบ้างก็คลิกบนรายการ หรือบน icon ได้เลย

    After upload tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่อัพโหลดภาพแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป เช่น แสดง shorten URL, Show QR code หรือ Copy URL to Clipboard เป็นต้น

    Destinations

    คือส่วนที่เราสามารถเข้ามาเลือกได้ว่าปลายทางที่เราจะเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์ตัวอักษร หรือแปลง URL shortener เนี่ย เราจะเลือกอะไร คือเอาจริงๆ มันเยอะมากกกกกก หลักๆ ถ้าเป็นรูปผู้เขียนก็จะเลือก upload ไว้ที่ google photo หากเป็น file ก็จะไว้ที่ google drive เป็นต้น เอาเป็นว่าการตั้งค่าเนี่ยจะมาเล่าในตอนต่อๆ ไปละกันนะ มันเยอะจริงๆ

    Task settings…..

    การตั้งค่าในการบันทึกหน้าจอ เมื่อคลิก “Task settings” ก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา จริงๆ การตั้งค่าหลักๆ โปรแกรมก็จะตั้งมาให้เรียบร้อยอยู่แล้ว

    Application settings

    เป็นส่วนสำหรับตั้งค่าต่างๆ ของตัวโปรแกรม shareX หลักๆ ก็จะมีภาษา ตั้งค่า path ที่เก็บไฟล์ การแสดงผลของ History หรือต้องการให้โปรแกรมแสดงหรือไม่แสดงในส่วนไหน เป็นต้น แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละคนนะ ก็ลองเข้ามาตั้งค่ากันดูได้

    Hotkey settings

    1. เลือกเมนู “Hotkey setting
    2. เลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยน
    3. คลิกบน hotkey เดิม จากนั้นก็จะปรากฏหน้าจอด้านล่างเพื่อให้เราสามารถ select hotkey…. ใหม่ตามที่เราต้องการได้เลย

    แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ Hotkey ที่ให้มาก็จำง่ายอยู่แล้วก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เล้ย

    Screenshots folder…..

    เมนูนี้ใช้สำหรับเปิด Folder ที่เก็บภาพหน้าจอที่เราได้ Capture เอาไว้นั่นเอง หากต้องการเปลี่ยน path ที่เก็บสามารถเปลี่ยนได้โดยเลือกไปที่เมนู “Application settings” นะ

    History

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการใช้งานย้อนหลังทั้งหมดของเรา โดยจะแยกให้เห็นเลยว่า total รวมเป็นเท่าไหร่ และเป็นประเภท image , text , URL อย่างละกี่ไฟล์ เป็นต้น

    Image history…..

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการจับภาพหน้าจอย้อนหลังของเราทั้งหมด

    News

    ข่าวประกาศจากทาง shareX

    Debug

    ส่วนสำหรับข้อมูลการพัฒนา และมีในส่วนของการทดสอบเครื่องมือต่างๆ ไว้ด้วยเช่น test text upload, test images upload เป็นต้น

    Donate

    ถ้าใครคิดว่าใช้งานโปรแกรมนี้จนประทับใจแล้วก็สามารถไปบริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของ ShareX กันได้

    About

    แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม shareX

    ——————————————————————————————————————————————–

    สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนขอแนะนำโปรแกรม shareX  โดยอธิบายคุณสมบัติหลักๆ แต่ละตัว แบบไม่ได้ลงลึกเอาไว้ก่อน Blog หน้า จะกลับมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมทั้งในส่วนของการ connect ไปยังปลายทางที่เราเลือกสำหรับ upload ภาพ หรือการ Generate ออกมาเป็น QR Code หรืออื่นๆ เท่าที่ผู้เขียนจะอธิบายได้ละนะ 555 อย่าลืมไปลองใช้กันดูละ จิ๋วแต่แจ๋ว นะจะบอกให้

    อ้างอิง : bit.ly/refblog4

  • สร้างสื่อเสมือนจริงง่ายๆ ด้วย Pixlive maker

    Blog ก่อนหน้าเราได้ทำความรู้จักกับ สื่อเสมือนจริง หรือที่เราเรียกกันว่า AR กันไปแล้ว ภาคต่อใน Blog นี้จะพาไปเจาะลึกมากขึ้นอีก Step นึง ก็คือ เราจะมาดูกันว่า AR เนี่ย สร้างกันอย่างไร

    สำหรับผู้เขียน Blog นี้ขอเลือกใช้งานการสร้าง AR ง่ายๆ ผ่านเว็บ VIDINOTI ละกันนะ
    ปะ ไปดูกันเลย

    เริ่มต้นด้วยไปที่เว็บ https://www.vidinoti.com/home/ เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บเรียบร้อยแล้ว ก็สมัครเข้าใช้งานกันก่อนเลย คลิกเลือกที่ Free Sign up มุมบนด้านขวา จากนั้นก็กรอกข้อมูลเพื่อสมัครเข้าใช้งาน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะทุกคน

    เมื่อ Register เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไป Activate จาก link ที่ส่งไปยัง e-mail ที่เราได้สมัครเอาไว้นะ เมื่อ Activate แล้วก็ Log in เพื่อใช้งานกันโลดดดดดดด !!

    หน้าแรกจะมีการแนะนำขั้นตอนเบื้องต้นบอกเราว่า เราต้องทำการดาวน์โหลด App V-Player นะ จะต้อง Scan QR Code นะ และก็มีวีดีโอแนะนำการใช้งานให้เราได้ดูกัน อ่านเสร็จแล้วก็กด “OK” ได้เลย

    หน้าแรกของระบบจะประกอบด้วย

    1. ซ้ายมือจะเป็นกลุ่มเมนูการจัดการต่างๆ
    2. ตรงกลางเป็นส่วน Plan ซึ่งเราสามารถดูได้ว่าเราทำไปกี่ content แล้ว หรือ publish ไปแล้วกี่ content รวมถึงสามารถ upgrade account ได้ด้วยน๊าาาาาา (ระดับเราแล้ว ฟรี อย่างเดียว !!)
    3. มุมล่างด้านขวาของหน้าจอจะเป็น QR Code ซึ่งประโยชน์ของมันก็คือ คนที่จะมองเห็นงาน AR ของเรานั้น จะต้องทำการเปิด App V-Player จากนั้นนำมาส่ง QR Code ตัวนี้เพื่อจะดูผลงานของเรานั่นเอง
      หมายเหตุ : ให้บันทึก QR Code เก็บไว้ก่อนนะ แล้วค่อยนำรูปไปแปะไว้ในงานของเรา

    มาเริ่มสร้างงาน AR ของเรากันเถอะ !!

    Step 1
    จากหน้าแรก ให้คลิกเลือก “Create new content”

    Step 2
    เลือก “Image AR” จากนั้นให้เราทำการ Drop file หรือ Browse file ที่เราได้สร้างหรือออกแบบเอาไว้ เข้ามาในระบบ

    Step 3
    เมื่อเลือกรูปที่ต้องการ upload เสร็จแล้ว ให้กด “Continue” จากนั้นระบบก็จะแสดงหน้าถัดไป ให้ตั้งชื่อ “content name” และ “Description” (อันหลังนี่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้นะ) จากนั้นกด “Continue” อีกรอบนึงนะ ปุ่มจะอยู่ด้านล่างขวาของหน้าจอนั่นแหละ

    Step 4
    เมื่อเจอหน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้เราคลิกที่รูปในหน้าจอได้เลย ระบบจะพาเราไปยังหน้า Pixlive editor

    Step 5
    ครั้งแรกที่เข้ามาในส่วน Pixlive editor ก็มีการแนะนำการใช้งาน คลิก “take the tour!” ก็คลิกๆ ตามๆ ที่เค้าชี้ไปเรื่อยๆ เมื่อครบแล้วก็โปรดรอสักครู่ ! ก็จะเจอกับหน้าจอดังรูป

    • ซ้ายของหน้าจอคือ content ต่างๆ ไว้ให้เราเลือกใช้
    • ตรงกลางส่วนแสดงผล สามารถเลือกมุมมองสลับไปมาได้ระหว่าง Scene View หรือ Scenario มี % การแสดงผล
    • ขวาของหน้าจอก็จะเป็น Properties ของแต่ละ Scene ที่เราโฟกัสอยู่นั่นเอง

    Step 6
    ก่อนอื่นเรามามองภาพรวมก่อนการสร้างงานกันสักนิดนึง ตามตัวอย่างที่ผู้เขียนออกแบบงานของผู้เขียนไว้คือ “จะมีเมนู 5 เมนู ซึ่ง 3 เมนูแรกจะเชื่อมโยงไปยัง VDO เมนูถัดมาจะเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ได้มีไฟล์แขวนเอาไว้ ส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนแสดงช่องทาง Contact มายังผู้จัดทำ storyboard ก็ประมาณนี้นะ” มาเริ่มกันที่ 3 เมนูแรกเลยละกัน

    ให้คลิกเลือก content “Image Button” เพื่อเพิ่มปุ่มแรกกันเลย จริงๆ Image Button จะมีสองแบบคือ ด้านซ้ายรูปแบบที่ระบบมีไว้ให้แล้ว ส่วนด้านขวาจะเป็นแบบที่เราออกแบบเอาไว้ ให้เรา Browse file ที่ต้องการเข้ามาได้เลย เมื่อเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม “Apply changes

    Step 7
    เมื่อสร้างปุ่มแรกเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะ New Scene2 ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ โดยให้ลอง Switch ไปดูในมุมมอง Scenario จะเห็นภาพชัดเจน ตามรูปเลยนะ

    Step 8
    คราวนี้เราจะมาโฟกัสที่ Scene2 กันนะ ตามที่บอกไว้ ปุ่มแรกของเราจะเชื่อมโยงไปยัง VDO ดังนั้นให้คลิกบน Scene2 ก่อนเลย เมื่อคลิกเสร็จแล้วก็ให้เลือก content ที่เป็น “Video” มาวางบน Scene2 เลย
    ปล … ชื่อ Scene นี่สามารถเปลี่ยนได้ตรง Properties ด้านขวามือเลยนะ เปลี่ยนให้เป็นชื่อที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ เวลามีหลาย Scene จะได้ไม่งงเน้อออ

    Step 9
    VDO นี่ก็เลือกได้ 2 แบบเหมือนกันนะ upload จากเครื่องเราขึ้นไป หรือจะแปะ link แทน เช่น พวก link จาก youtube เป็นต้น แต่ผู้เขียนขอ upload จากเครื่องตัวเองละกันนะ และเลือกแสดงได้นะว่าจะให้แสดงแบบไหน Full , Loop หรืออื่นๆ ตามที่เห็นนั่นแหละ จากนั้นคลิก “Apply changes” ได้เลย

    Step 10
    ก็ทำตามขั้นตอนเดิม จนครบทุกหน้าที่ตาม Storyboard ที่เราวางไว้ แต่ปุ่มเมนูหลักเนี่ยเวลาจะลากมาวางให้ วางไว้ใน Start Scene นะ อย่าลืมกันละทุกคน และสำหรับหน้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ VDO เนี่ย ก็ให้เลือก content ให้ถูกนะ เป็น Web เป็น PDF หรืออื่นๆ ก็เลือกให้ถูกต้องก่อนนำมาวางละ หากทำครบตามที่วางแผนเอาไว้ ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้นะ

    Step 11
    ทำเสร็จแล้ว รีวิวดูแล้วถูกต้องก็มา Save กันเลย ให้คลิกเลือกที่มุมบนด้านขวาของหน้าจอเลยนะ ตามรูปเลย

    Step 12
    เมื่อบันทึกเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เลือก “My Contents” ระบบก็จะมาโฟกัสที่ Content list ให้เรา จากนั้นก็ให้ดูว่า Content ที่เราได้สร้างไปนั้น แสดงสถานะเป็น Published แล้วหรือไม่ ปล..จริงๆ แล้วก็จะ Publish ให้อัตโนมัตินั่นแหละ

    Step สุดท้ายยยยยยยย
    ถ้าจะทดสอบงานของเราก็คลิกเข้าไปใน Content ที่เราสร้างไว้ได้เลย จากนั้นให้เอา smartphone ของเราที่ได้ติดตั้ง App V-Player เรียบร้อยแล้ว นำมาส่อง QR Code ของเราได้เลย งานที่เราสร้างก็จะแสดงให้เราเห็น ตามตัวอย่างใน VDO ด้านล่างเลยนะ

    ตัวอย่างผลลัพธ์ AR ที่เราได้สร้างไว้

    เป็นยังไงกันบ้างทุกคน ยากมั้ย นี่ผู้เขียนว่ามันไม่ยากนะ แต่มันแค่ยาวเท่านั้นเอง 555+ ยังไงก็แล้วแต่สามารถทดลองไปสร้างไปใช้งานกันได้นะ สนุกดี แถมเรายังได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ ไว้ใช้ในการพัฒนาตัวเราเองได้ด้วย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยแหละเนอะ ไว้เจอกันใหม่ Blog หน้า เน้อทุกคนนนนน แฮ่ 🙂

    อ้างอิง
    youtube ช่องของอาจารย์ Apiwat Wongkanha ค่ะ ละเอียด และทำตามได้จริงๆ แนะนำๆ