Tag: Load Balance

  • Juju #06 – เชื่อม MySQL Master-Master เข้ากับ HAProxy

    ต่อจาก Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master เมื่อสร้าง MySQL แบบ Master-Master Replication ได้แล้ว ก็มาเชื่อมกับ HAProxy เพื่อให้ Application ที่เขียน มองเห็นทั้งระบบเป็นชิ้นเดียว

    IP Address ของระบบต่างๆเป็นดังนี้
    haproxy : 10.107.107.71

    mysql-master1: 10.107.107.35

    mysql-master1: 10.107.107.83

    ขั้นตอนการติดตั้ง

    1. ที่ mysql-master1 ต้องสร้าง 2 Users ขึ้นมา ชื่อ haproxy_check และ haproxy_root ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e "INSERT INTO mysql.user (Host,User) values ('10.107.107.71','haproxy_check'); FLUSH PRIVILEGES;"
      
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e "GRANT ALL PRIVILEGES ON *.* TO 'haproxy_root'@'10.107.107.71' IDENTIFIED BY 'password' WITH GRANT OPTION; FLUSH PRIVILEGES;"
    2. ที่ haproxy
      ติดตั้ง mysql-client ด้วยคำสั่ง

      sudo apt-get install mysql-client

      ทดสอบด้วยคำสั่ง

      mysql -h 10.107.107.35 -u haproxy_root -ppassword -e "SHOW DATABASES;"
      mysql -h 10.107.107.83 -u haproxy_root -ppassword -e "SHOW DATABASES;"

      แก้ไขไฟล์ /etc/haproxy/haproxy.cfg โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ท้ายไฟล์ [3]

      frontend mysql-cluster
       bind *:3306
       mode tcp
       default_backend mysql-backend
      
      backend mysql-backend
       mode tcp
       balance roundrobin
       server mysql-master1 10.107.107.35:3306 check
       server mysql-master2 10.107.107.83:3306 check

      และสุดท้าย ทดสอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้

      for i in `seq 1 6`; do 
         mysql -h 127.0.0.1 -u haproxy_root -ppassword -e "show variables like 'server_id'"; 
      done
      

      ควรจะได้ผลประมาณนี้

    3. จากนั้นก็สามารถพัฒนา Application โดยใช้ IP Address ของ haproxy ซึ่งในที่นี้คือ 10.107.107.71 และ Port 3306 ได้แล้ว ซึ่งเบื้องหลัระบบจะทำการ Replication กันเองทั้งหมด

    Reference:

    [1] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-set-up-mysql-master-master-replication

    [2] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-use-haproxy-to-set-up-mysql-load-balancing–3

    [3] https://serversforhackers.com/load-balancing-with-haproxy

     

  • Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master

    ต่อจาก Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB ซึ่งเป็นวิธีการกระจายงานให้ MySQL แบบ Master-Slave จะต้องอาศัยความสามารถของ HyperDB Plugin ของ WordPress ในการทำงาน ซึ่งถ้าเป็นการพัฒนา Application ทั่วไปที่ไม่ใช่ WordPress ก็จะทำด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้

    ในบทความนี้จะกล่าวถึง การสร้าง Load-Balanced MySQL แบบ Master-Master ซึ่งทำให้สามารถกระจายการ Write ไปยัง MySQL หลายตัวได้ (ในเบื้องต้น 2 ตัว)
    *** ในบทความต่อไป จะต่อด้วยการเชื่อมเข้ากับ haproxy ***

    ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้

    1. Deploy haproxy (ตั้งชื่อ haproxy-mysql) และ MySQL (ตั้งชื่อ mysql-master1 และ mysql-master2)
    2. ต่อไปนี้เป็นวิธีการติดตั้ง MySQL Master-Master Replication [1]
    3. บนเครื่อง mysql-master1
      แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf
      ค้นหาคำว่า server-id
      จากนั้น Uncomment บรรทัดต่อไปนี้
      server-id
      log_bin
      binlog_do_db

      จากนั้น ในบรรทัด
      server_id = 1
      – binlog_do_db ใส่เป็น Database Name ที่จะทำการ Replication

      เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql
      sudo service mysql restart
      แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd)
      สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง
      mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’;
      และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง
      mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’;
      สุดท้ายใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อเรียกข้อมูลที่สำหรับการตั้งค่า mysql-master2
      mysql> show master status;
      ได้ผลดังนี้

      จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ แล้วเก็บค่า FILE และ POSITION ไว้ เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป
    4. บนเครื่อง mysql-master2
      แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf เหมือนกับที่ทำบน mysql-master1 แต่เปลี่ยนค่า server_id เป็น 2

      เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql
      sudo service mysql restart
      แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd)
      สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง
      mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’;
      และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง
      mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’;
      ** ขั้นตอนต่อไปนี้ ทำที่ mysql-master2 (mysql-master1 ใช้ IP 10.107.107.35)
      mysql>  slave stop;
      mysql>  CHANGE MASTER TO MASTER_HOST = ‘10.107.107.35’, MASTER_USER = ‘replicator’, MASTER_PASSWORD = ‘password’, MASTER_LOG_FILE = ‘mysql-bin.000003’, MASTER_LOG_POS = 344;
      mysql> slave start;จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ แล้วเก็บค่า FILE และ POSITION ไว้ เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป
      mysql> show master status;
    5. กลับมาที่ mysql-master1 อีกครั้ง แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ (mysql-master2 ใช้ IP 10.107.107.83)
      mysql> slave stop;
      mysql> CHANGE MASTER TO MASTER_HOST = ‘10.107.107.83’, MASTER_USER = ‘replicator’, MASTER_PASSWORD = ‘password’, MASTER_LOG_FILE = ‘mysql-bin.000003’, MASTER_LOG_POS = 344;
      mysql> slave start;
    6. ที่ mysql-master1 ทำการสร้าง Database ชื่อ wordpress
    7. ไปดูที่ mysql-master2 ก็จะพบว่า wordpress database ปรากฏขึ้นแล้วด้วย

    Reference:

    [1] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-set-up-mysql-master-master-replication

    [2] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-use-haproxy-to-set-up-mysql-load-balancing–3

     

     

  • Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB

    ต่อจาก Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL เมื่อมี MySQL Server มากกว่า 1 ตัว ซึ่งทำการ Replication กัน (ในตอนนี้ 2 ตัว คือ Master กับ Slave) ซึ่งให้ความสามารถในเรื่อง [1]

    • Data-Security : เมื่อข้อมูลถูก Replicate ไปที่ Slave แล้ว เราสามารถหยุดการทำงานของ Slave เพื่อทำการสำรองข้อมูลได้ โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Analytics: ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ที่ Slave โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Scale-Out Solutions: เมื่อมี Slaves หลายตัว ทำให้สามารถกระจายงานในด้าน Read เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการแก้ไขข้อมูล จะทำที่ Master เท่านั้น

    ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการ Scale-Out Solutions ของ WordPress เท่านั้น โดยใช้ Plugin ชื่อ HyperDB

    HyperDB [2] เป็น Database Class ที่ใช้แทนที WordPress built-in database functions โดยจะทำให้ WordPress สามารถติดต่อกับ MySQL ได้หลายเครื่อง โดยที่สามารถกำหนดได้ว่าจะ Write ไปยัง Master และ Read จากทั้ง Master และ Slaves อีกทั้งยังสามารถ Failover ได้อีกด้วย

    วิธีการติดตั้ง HyperDB

    1. ที่ WordPress ใช้คำสั่ง
      wget https://downloads.wordpress.org/plugin/hyperdb.1.2.zip
      sudo apt-get install unzip
      sudo unzip hyperdb.1.2.zip
    2. ย้ายไฟล์ hyperdb/db-config.php ไปยังที่ Directory เดียวกันกับ wp-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/)
      sudo cp hyperdb/db-config.php /var/www
    3. ย้ายไฟล์ hyperdb/db.php ไปยังที่ Directory wp-content (ในที่นี้คื่อ /var/www/wp-content)
      sudo cp hyperdb/db.php /var/www/wp-content/
    4. แก้ไขไฟล์ db-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/db-config.php) [3] โดยค้นหาคำว่า DB_HOST ซึ่งควรจะปรากฏอยู่แค่ 2 แห่งในไฟล์ ให้ไปที่ชุดที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณนี้

      จากนั้นแก้ไข DB_HOST ให้เป็น DB_SLAVE_1
    5. ต่อไปก็ไปเพิ่ม define(‘DB_SLAVE_1′,’xxx.xxx.xxx.xxx’) ซึ่งไฟล์ wp-config.php หรือไม่ก็ wp-info.php (ในที่นี้อยู่ที่ /var/www/wp-info.php)
    6. เมื่อทดสอบใช้งาน พบว่า มี Query มาทั้งที่ master และ slave
      ในภาวะว่าง

      ในภาวะมีงานเข้ามา
    7. ทดสอบเพิ่มบทความใหม่ ชื่อ “This is my first article” พบว่า ระบบสามารถเขียนไปยัง Master แล้วสามารถส่งต่อไปให้ Slave ได้
    8. ต่อไป เพิ่ม mysql-slave2 เข้าไปใน Juju และสร้าง Relation เป็น master -> Slave เช่นกัน

      แล้วทำการเพิ่ม DB_SLAVE_2 เข้าไปใน db-config.php และ wp-info.php

    9. ก็จะพบว่าข้อมูลได้ Replicate ไปหา Slave2 แล้ว
    10. และ เมื่อทำการ query ข้อมูลก็พบว่า มีการกระจายคำสั่ง Read ไปทั้ง 3 เครื่อง

    References

    [1] https://dev.mysql.com/doc/refman/5.7/en/replication.html

    [2] https://th.wordpress.org/plugins/hyperdb/

    [3] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-optimize-wordpress-performance-with-mysql-replication-on-ubuntu-14-04

  • Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL

    จาก Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress ทำให้ได้ WordPress ซึ่งเป็น Web Application 2 เครื่องทำหน้าที่ Load Balance กัน ด้วย haproxy แล้ว

    จากนั้น ทำการเพิ่ม MySQL เข้าไปใหม่ แล้วตั้ง Application Name เป็น mysql-slave แล้ว Commit Chages

    จากนั้น สร้าง Relation เป็น mysql:master –> mysql-slave:slave

    เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ผลอย่างนี้

    ทดสอบเพิ่ม Post ใหม่

    แล้วเข้าไปใน mysql-slave (juju-xxx-xx เป็นชื่อเครื่องที่ Juju สร้างขึ้น)

    lxc exec juju-xxxx-xx  bash

    แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้

    mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e ‘use wordpress; select post_title from wp_posts;’

    ก็จะพบว่า mysql-slave ได้รับการ Update ตามไปด้วย

    บทความต่อไป จะกล่าวถึงวิธีการทำให้ WordPress สามารถใช้ mysql-slave ในการ Read ได้ เพื่อกระจายโหลดครับ

     

  • การสร้างระบบ Load Balance Web Server ด้วยวิธีการ URL Redirect

    เราสามารถสร้างระบบ Load Balance Web Server ด้วยวิธีการ URL Redirect
    โดยสามารถสร้างด้วยภาษาใดก็ได้ แต่จะขอยกตัวอย่างด้วยภาษา PHP ได้ง่าย ๆ ดังนี้

    ตัวอย่างไฟล์ server-status ที่ได้ทำการ monitor web server มาเรียบร้อยแล้ว

    webserver1.testlab UP
    webserver2.testlab DOWN
    

    – เราสามารถใช้คำสั่งดึงไฟล์เพื่อคัดเฉพาะ Web Server ที่สามารถใช้งานได้จริง ๆ ดังนี้

    exec("cat /tmp/server-status | grep UP",$redirect);

    – จากนั้นจะทำการ นำรายการ server ทั้งหมดซึ่งอยู่ในตัวแปร $redirect มาทำการสุ่ม ดังนี้

    $random = rand(0,(count($redirect)-1);

    – ก็จะทำเอาเลข server ที่ random ได้ไปเข้ากระบวนการ Redirect ดังนี้

    $server = explode(" ",$redirect[$random]);
    header('HTTP/1.1 301 Moved Permanently');
    header('Cache-Control: no-store, no-cache, must-revalidate');
    header('Expires: Thu, 01 Jan 1970 00:00:00 GMT');
    header('Location: https://'.$server[0].'/');
    unset($server);
    

    ในกรณีที่ต้องการสร้างหน้ารอให้ทำการตรวจสอบว่าในกรณีที่ไม่มีเครื่องให้บริการให้แสดงข้อความ ตัวอย่างดังนี้

    if(count($redirect)==0){
       echo "Server Unavailable or Maintenance Period";
    }

    ดังที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสามารถรวมเป็น script ไฟล์ PHP ได้ดังนี้

    <?php
    exec("cat /tmp/server-status | grep UP",$redirect);
    if(count($redirect)==0){
       echo "Server Unavailable or Maintenance Period";
    }else{
       $random = rand(0,(count($redirect)-1));
       $server = explode(" ",$redirect[$random]);
       header('HTTP/1.1 301 Moved Permanently');
       header('Cache-Control: no-store, no-cache, must-revalidate');
       header('Expires: Thu, 01 Jan 1970 00:00:00 GMT');
       header('Location: http://'.$server[0].'/');
       unset($server);
    }
    unset($redirect);
    ?>

    *สามารถอ่านวิธีสร้างไฟล์สำหรับ monitor web serverได้จาก บทความนี้ http://sysadmin.psu.ac.th/2014/06/19/monitor-web-server-wget-shell-script-daemon/

  • Server High Availability คืออะไร

    “เคยได้ยินคำว่า Server เรามี Uptimeถึง 99% ไหม” 

    High Availability มีชื่อย่อในวงการสั้น ๆ ว่า HA องค์กรหรือหน่วยงานมากมายในปัจจุบันมีการวัดประสิทธิภาพการให้บริการด้วย HA โดยจะมีหน่วยการวัดที่เรียกว่า Uptime ซึ่งคิดจากเวลาเป็น % ของการให้บริการ โดยมีชื่อเรียกระดับการให้บริการตามตารางดังนี้

    Availability % Downtime per year Downtime per month* Downtime per week
    90% (“one nine”) 36.5 days 72 hours 16.8 hours
    95% 18.25 days 36 hours 8.4 hours
    97% 10.96 days 21.6 hours 5.04 hours
    98% 7.30 days 14.4 hours 3.36 hours
    99% (“two nines”) 3.65 days 7.20 hours 1.68 hours
    99.5% 1.83 days 3.60 hours 50.4 minutes
    99.8% 17.52 hours 86.23 minutes 20.16 minutes
    99.9% (“three nines”) 8.76 hours 43.8 minutes 10.1 minutes
    99.95% 4.38 hours 21.56 minutes 5.04 minutes
    99.99% (“four nines”) 52.56 minutes 4.32 minutes 1.01 minutes
    99.999% (“five nines”) 5.26 minutes 25.9 seconds 6.05 seconds
    99.9999% (“six nines”) 31.5 seconds 2.59 seconds 0.605 seconds
    99.99999% (“seven nines”) 3.15 seconds 0.259 seconds 0.0605 seconds

    ระดับที่หลายหน่วยงานหรือหลายอุปกรณ์พยายามจะโฆษณา จะอยู่ที่ระดับ Five nines หรือ Uptime 99.999% นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจะมี Downtime แค่ 5.26 นาที ต่อปีเท่านั้น ซึ่งมองในด้านอุปกรณ์เครือข่าย จะมีปัจจัยน้อยที่จะทำให้เกิด Downtime แต่ในส่วนของ Server นั่นจะมีปัจจัยมากกว่าเพราะประกอบด้วยอุปกรณ์มากชิ้น แต่ปัญหาดังกล่าวในปัจจุบันน้อยลง หลังจากเข้าสู่ยุคของ Cluster หรือ Cloud เพราะจะมีเครื่องคอยทำงานแทนกันอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

    network_ha_design
    ตัวอย่างการทำ HA ระดับองค์กร

    โดยคำว่า HA มักจะใช้คู่กับสิ่งที่เราจะต้องการจะสื่อว่าจะทำอย่างไรให้ระบบมี Uptime สูง ๆ เช่น Server High Availability ก็คือทำให้เครื่อง Server มีการให้สามารถทำงานได้โดยไม่ Hang ไม่ดับ ถ้าใช้กับคำว่า Web Server High Availability ก็หมายความว่า จะทำอย่างไรให้สามารถให้บริการ Web Site โดยไม่มีอาการล่ม ซึ่งบางครั้งเราจะมีการ ตัด Downtime ที่เป็นการวางแผนเอาไว้ก่อนแล้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่าการ Maintenance ระบบนั่นเอง

    การที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า HA ก็มีอยู่ 3-4 แบบใหญ่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่ม Uptime ได้ดังนี้

    การใช้เทคโนโลยีคลัชเตอร์ (Cluster) : คือการนำเครื่องหลาย ๆ เครื่องมาตั้งค่าให้เหมือนกัน และทำงานได้เสมือนว่ามี Server แค่ตัวเดียว ในกรณที่เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหายจะไม่ส่งผลต่อการให้บริการ

    การทำรีดันแดนซ์ (Redundancy) : คือการใช้อุปกรณ์จำนวนสองชุดขึ้นไปทำงานพร้อมกัน ทำให้ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย

    การทำโหลดบาลานซ์ (Load Balance) : เราสามารถที่จะเอาเครื่อง Server หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ทำงานหลาย ๆ อย่างร่วมกัน

    การเรพพลีเคนและแบคอัพ (Replication & Backup) : คือการคัดลอกข้อมูลจากระบบหลักไประบบรอง เมื่ออุปกรณ์หลักเกิดล่ม ก็จะมีการเปิดระบบสำรองใช้ได้ทันที

    โดยการทำ Load Balance ยังสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ 3 ลักษณะด้วยกันดังนี้

    Round-Robin : คือการใช้วิธีหมุนวนไปเรื่อย ๆ ซึ่งอาจทำได้ทั้งแบบ Round-Robin ที่อุปกรณ์ Load Balance หรือการจด DNS แบบ Round Robin

    Sticky  : คือการยึดติดกับ Session ในกรณีที่เมื่อระบบมีการเลือก Server ไปแล้วก็จะให้ ผู้ใช้คนเดิมใช้ Server เดิมไปจนกว่าจะหมด Session (นึกถึงกรณีต้อง Login ก่อนใช้งาน ถ้าเปลี่ยน Server ไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่)

    Work Load : คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของ Server ก่อนที่จะเลือก โดยเลือกจากเครื่องที่ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าก่อน ทำให้ระบบโดยรวมจะมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบ Round-Robin เหมาะกับระบบที่มีประสิทธิภาพ Server แตกต่างกัน (เครื่องแรงปนเครื่องอ่อน)

    จากที่กล่าวไปเราสามารถใช้หลาย ๆ วิธีผสมกันก็ได้เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการเพิ่ม Uptime โดยเครื่องมือที่เป็น Opensource ที่ใช้วัด และที่มีมานานรวมทั้งเป็นยอมรับคือเครื่องมือตระกูล nagios และ cacti นั่นเอง แต่อย่าลืมไปละครับว่าเครื่องมือเหล่านั้นต้องรันอยู่บนเครื่องที่มี Uptime สูงด้วย ไม่ใช่ คนตรวจสอบก็ Down, อุปกรณ์ ก็ Down ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ค่าหลอก ๆ ไม่ตรงกับความเป็นจริงก็เป็นได้

    “ถึงเวลาต้องทำ HA กันหรือยังเอ่ย ?”

     

    Reference : 
    [1] http://en.wikipedia.org/wiki/High_availability
    [2] http://smart.tnis.com/th/articles/details/30/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-HIGH-AVAILABILITY
    [3] http://www.dctwo.com.au/virtual/virtual_server_hardware_platform.html
    [4] http://bomber.exteen.com/20040813/cluster-load-balance