Tag: kmz

  • การ Import KML / KMZ to Google Earth on Android device

    Google Earth on Android ได้มี Feature ใหม่ ซึ่งสามารถนำเข้าหรือเปิด kml/kmz file ได้ และสามารถซ้อนทับชั้นข้อมูลได้หลาย layer เลยทีเดียว ถือว่าสะดวกมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเปิดอ่าน kml/kmz file บนมือถือ

     

    ขั้นตอนการทำ

    1. ก่อนอื่น ต้องเตรียม kml หรือ kmz ไฟล์ก่อน หากไม่มี ลองเข้าไป download ได้ที่เว็บฐานข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    2. update Google Earth บน Android device ให้เป็น version ล่าสุด (ตามตัวอย่างนี้ เป็นเวอร์ชั่น 9.0.4.2) หากยังไม่ได้ติดตั้ง คลิกที่นี่

    3. เปิดแอพ Google Earth > คลิกเมนู (ตามรูป)

    4. เลือก My Places

    5. คลิก Import KML file

    6. เลือกไฟล์ kml

    7. แอพจะแสดงไฟล์ที่นำเข้า ให้คลิก Fly Here

    8. แสดงข้อมูล

    9. คลิกที่ point บนแผนที่ จะแสดงรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับไฟล์ kml ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง

    10. สามารถ import kml file ได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยแอพจะแสดงเป็นชั้นข้อมูล(layer) ในตัวอย่างเพิ่มขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำฯ

    11. แสดงข้อมูล 2 layers

    12. สามารถ save เป็นรูปภาพ ได้โดยคลิกที่ไอคอน กล้อง

    13. นอกจากนั้น ยังสามารถดูแบบ Street View ได้ด้วย โดยคลิกที่ไอคอนรูปคน

    14. จะปรากฎเส้นสีฟ้า แสดงจุดที่สามารถคลิกดูแบบ Street View ได้ > จิ้มดูเลยคับ ^^

    15. ลองจิ้มดูหน้า คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. นะคับ ^^

    16. ดูแบบ 3D ก็คลิกที่ไอคอน 3D เลยคับ

    17. แสดงเป็นรูป 3มิติ

    5. นอกนั้น ก็ลองคลิกเล่นดูนะคับ ^^

     

    ****บริการโหลดฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
    โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ

    นักพัฒนาเว็บหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการสร้าง web map ด้วย google map api กันนะคับ (เป็นที่นิยมเลยล่ะ) แต่ในยุคปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น near real time กันมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหลายหน่วยงานมีการเผยแพร่ Web Map Services กันเยอะมากยิ่งขึ้น และแย่งชิงความเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนที่สุด

    แต่ด้วยปัจจัยในการต้องติดตั้งโปรแกรมบน Web Map Server เพื่อให้สามารถใช้งาน web map ผ่าน server ได้ (เสียงบประมาณเพิ่ม)
    ***ใครมี ArcGIS Server จะลองทำ การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ดูได้นะคับ

     

    วันนี้เลยจะขอนำเสนอโค้ดง่ายๆ ในการนำลิงค์ KML/KMZ จากเว็บที่ให้บริการฟรี! มาสร้างเป็นหน้าเว็บเพจของเราโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง map server กันคับ ^^ ที่สำคัญ ต้นทางข้อมูลอัพเดทข้อมูล หน้าเว็บเราก็อัพเดทไปด้วย อิอิ

    ขั้นตอนการสร้าง

    1. เปิดหน้าเว็บที่ให้บริการลิงค์ ***ตัวอย่างเว็บ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    2. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกขวา > copy link address

    00

    3. สร้างไฟล์ gmap.html แล้วเปิด edit ด้วยโปรแกรม notepad หรือ text editor

    4. copy โค้ดนี้ไปวาง

    <!DOCTYPE html>
    <html>
    <head>
    <meta name=”viewport” content=”initial-scale=1.0″>
    <meta charset=”utf-8″>
    <title>การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ</title>
    <style>
    html, body {
    height: 100%;
    margin: 0;
    padding: 0;
    }
    #map {
    height: 100%;
    }
    </style>
    </head>
    <body>
    <div id=”map”></div>
    <script>

    function initMap() {
    var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), {
    zoom: 11,
    center: {lat: 100.756297, lng: 14.790059}
    });

    var ctaLayer = new google.maps.KmlLayer({
    url: ‘ที่อยู่ kml/kmz ลิงค์‘,
    map: map
    });
    }

    </script>
    <script async defer
    src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=google map api key“>
    </script>
    </body>
    </html>

    4. วางลิงค์ที่ copy มาจากเว็บตรงurl: ‘http://slb-gis.envi.psu.ac.th/home1/images/download/kmz/gcs_slbforu.kmz‘,

    และใส่ google map api key ***ถ้าไม่มีให้ไปที่ https://developers.google.com/maps/documentation/javascript/get-api-key

    01

    5. ลองเปิดผ่าน http://localhost/gmap.html จะได้ตามรูป

    02

    6. หากคลิกที่ข้อมูล จะมี pop-up แสดงข้อมูลขึ้นมา

    03

    7. เว็บไซต์ของท่านก็จะมีหน้าเว็บแมพไว้ใช้งานได้แบบง่ายๆ โดยไม่ต้องติดตั้ง web map server ^^

     

    ****บริการฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์