Tag: Google Drive

  • วิธีการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word แบบบ้าน ๆ โดยใช้ Google Drive

    วิธีการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word มีหลากหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเว็บไซต์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับแปลงไฟล์กัน แต่…สำหรับคนที่ไม่ต้องการให้เอกสารของเราไปอัปโหลดเพื่อแปลงไฟล์กับเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก หรือไม่มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ที่สามารถแปลงไฟล์ได้ ลองมาดูวิธีนี้กันนะคะ คิดว่าทุกคนสามารถทำได้อย่างง่ายดายค่ะ

    ในตัวอย่างวันนี้จะมีวิธีการแปลงไฟล์ PDF เป็น Word วิธีเดียวเท่านั้นแต่….จะทดลองทำให้ดูกับ 2 ไฟล์ ได้แก่

    แบบที่ 1 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการแปลงจาก Word มาโดยตรง ซึ่งการแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

    สิ่งที่คิด คือ ข้อความในเอกสารส่วนใหญ่ จะถูกต้องครบถ้วน และสวยงาม

    แบบที่ 2 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการสแกน หรือเป็นรูปถ่าย การแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

    สิ่งที่คิด คือ ข้อความจะมีลักษณะไม่เหมือนกับต้นฉบับ อาจจะมีสระหรือวรรณยุกต์ที่ไม่ครบถ้วน แต่สามารถนำไปปรับปรุงต่อให้สวยงามได้ค่ะ

    มาดูวิธีการกันเลย และจะเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบเอกสารให้ดูนะคะ

    แบบที่ 1 : เป็นเอกสารที่เกิดจากการแปลงมาจากเอกสาร Word

    เมื่อเปิดไฟล์ในรูปแบบ PDF

    วิธีการคือคลิกที่ไฟล์ที่ต้องการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word (1) คลิกเลือก Open with (2) คลิกเลือก Google Docs ดังรูป

    รอระบบทำการแปลงไฟล์ ดังรูป

    เมื่อแปลงไฟล์เรียบร้อยจะแสดงเอกสาร Word มาให้ ดังรูป

    แบบที่ 2 : เป็นเอกสารที่เกิดจากการแปลงมาจากเอกสารที่ผ่านการสแกน

    เมื่อเปิดไฟล์ในรูปแบบ PDF

    เมื่อแปลงไฟล์เรียบร้อยจะแสดงเอกสาร Word มาให้ ดังรูป

    สรุปผลการแปลงไฟล์ทั้ง 2 รูปแบบ

    แบบที่ 1 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการแปลงจาก Word มาโดยตรง ซึ่งการแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

              สิ่งได้ คือ มีตัวสระที่ยังไม่ถูกต้องนัก อาจจะเป็นเพราะรูปแบบตัวอักษรที่แปลงมา แต่ภาพรวมก็ถือว่าดีมากแล้ว

    แบบที่ 2 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการสแกน หรือเป็นรูปถ่าย การแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

              สิ่งได้ คือ ว๊าวมากค่ะ ไม่คิดว่าตัวอักษรที่ออกมาจาะครบถ้วนสมบูรณ์ขนาดนี้ แต่ต้องปรับนิดหน่อยให้สวยงาน

    *** นี่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการแปลงไฟล์จาก PDF มาเป็น Word โดยไม่ต้องง้อโปรแกรมหรือเว็บไซต์ออนไลน์ทั่วไปเลยค่ะ

    ขอบคุณผู้อ่านที่รักทุกท่านค่ะ ^^

  • เค้าเอาไฟล์ MP4 บน Google Drive ไปแสดงใน Video Player บนเว็บได้อย่างไร

    สมมุติว่า เรามีไฟล์วิดีโอเป็น .mp4 อยู่ไฟล์หนึ่ง อยู่ใน Google Drive ต้องการเผยแพร่ เฉพาะบน Website ของเราเท่านั้น จะต้องทำอย่างไร?

    Javascript video player

    สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ตัว Video Player บนเว็บ ลอง Google ด้วยคำว่า “javascript video player” ดู มีหลายตัวให้เลือกใช้ แต่ในที่นี้ ขอทดลองกับ video.js (เว็บไซต์ https://videojs.com )

    คลิกที่ USE NOW ( https://videojs.com/getting-started/ )

    จากนั้น ลองสร้างไฟล์ test.html โดยเอา Code จาก Video.js CDN ไปแปะเลย

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='MY_VIDEO.mp4' type='video/mp4'> <!-- แก้ตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    จาก Code นี้ JavaScript จาะเรียกไฟล์ .MP4 จากไฟล์ชื่อ MY_VIDEO.mp4 ซึ่ง ถ้าเอา test.html นี้ไปวางบน Web Server ก็หมายความว่า เราต้องมีไฟล์ MY_VIDEO.mp4 ด้วย

    ไฟล์ MP4 บน Google Drive

    ตัวอย่างเช่น เราอาจอัดคลิปวิดีโอการสอน อยากจะเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ผ่าน JavaScript Video Player อย่าง video.js ข้างต้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

    1. แชร์ไฟล์ดังกล่าว ให้เป็น Anyone with the link can View
    2. แล้ว copy link นั้นมา หน้าตาประมาณนี้

      https://drive.google.com/open?id=FILE_ID
    3. จะเห็นคำว่า id= FILE_ID ตรงนี้ให้ Copy เก็บไว้

    แต่การที่เราจะเอา Link นี้ไปใช้ใน Video Player ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะมันเป็นการเรียกใช้ Google Drive ไม่ใช่การเรียก File Content

    GoogleAPI

    วิธีการที่จะ Get Content ของไฟล์ที่ต้องการออกมากจาก Google Drive สามารถเรียกผ่าน Google API ซึ่ง หากจะทำเองก็สามารถทำได้ มีพวก node.js ให้ใช้งานอยู่ แต่พบว่า สามารถเรียกใช้ www.googleapis.com ได้ โดยอ้างอิงจาก https://googleapis.github.io/

    ในที่นี้ จะเรียกผ่าน Google Drive API ใน Version 3 รูปแบบ URL จะเป็นดังนี้

    https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY

    ในการใช้งาน ต้องการ 2 ส่วน

    • FILE_ID ได้จากการแชร์ไฟล์ข้างต้น
    • API_KEY ได้มาจากการสร้าง Credential บน Google Cloud Platform วิธีการทำตามนี้ https://cloud.google.com/docs/authentication/api-keys

    การใช้งาน Google API นั้น มีส่วนทั้งที่ต้องจ่ายเงิน และส่วนที่ใช้ฟรี แต่ถูกจำกัด Quota ในกรณี Google Drive API สามารถใช้ได้ฟรี แต่จะมี Quota อยู่ โดยดูได้จาก https://developers.google.com/drive/api/v3/about-sdk

    ประกอบร่าง

    เมื่อได้ FILE_ID และ API_KEY มาแล้ว ก็เอาไปใส่ใน Code ข้างต้น

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY' type='video/mp4'> <!-- เปลี่ยนตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    Disclaimer: จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อแนะนำวิธีการทำเท่านั้น โปรดนำความรู้นี้ไปใช้งานอย่างสร้างสรรค์นะครับ ผู้เขียนบทความไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับผู้นำไปใช้ทั้งสิ้น

  • วิธีการใช้ Google Drive เป็น Private Git Repository

    git คือ distributed revision control system

    เรามักใช้ github.com สำหรับเก็บ source code แต่มัน public ซึ่ง บางทีเราก็ต้องการอะไรที่ private

    ต่อไปนี้ คือวิธีการใช้งาน Google Drive เพื่อสร้าง Private Git Repository

    1. ติดตั้ง Google Drive File Stream, git ให้เรียบร้อย
    2. ใน Google Drive สร้าง Directory ชื่อ git ขึ้นมาที่ My Drive
      กรณี Google Drive File Stream ก็จะเห็นที่
      G:\My Drive\git
    3. จากนั้น ก็สร้าง Working Directory  เช่น ที่ Documents
      ในภาพ สร้างไว้ใน Documents\firebase\fmsworkshop
      จากนั้น คลิก Git Bash Here
    4. ใช้คำสั่ง
      git init

      เพื่อสร้าง .git ใน Directory นี้ก่อน
      จากนั้นใช้คำสั่งนี้ ที่มี –bare เพื่อสร้าง Remore Repository บน Google Drive

      git init --bare "G:\My Drive\git\fmsworkshop.git"

    5. บน Google Drive File Stream ก็จะมี fmsworkshop.git ปรากฏขึ้น
      ซึ่งต่อไปก็สามารถ git push ขึ้นไปเก็บไว้ได้แล้ว
    6. ต่อไป ก็พัฒนาโปรแกรมไป
    7. แล้ว ก็ git push ตามปรกติครับ
      git add .
      git commit -m "some text"
      git push "G:\My Drive\git\fmsworkshop.git"

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • การใช้งาน Google Drive API ด้วย Google Client Library for Python

    ในบทความนี้ จะแนะนำวิธีการเขียน Python เพื่อติดต่อกับ Google Drive API ทาง Google Client Library ซึ่ง จะใช้ REST v2 [1] เนื่องจาก ใน REST v3 ยังหาทางแสดง Progress ไม่ได้ (หากได้แล้วจะมา Update นะ)

    สิ่งต้องมี

    1. Python 2.6 ขึ้นไป
    2. PIP Package Management Tool
    3. เครื่องต้องต่อ Internet ได้
    4. แน่นอน มี Google Account

    ขั้นที่ 1: เปิดใช้ Drive API

    เปิด URL https://console.cloud.google.com แล้วคลิก Select a project

    จากนั้นคลิกปุ่ม + เพือสร้าง Project

    ตั้งชื่อ Project แล้วคลิก Save

    เลือก Project ที่สร้างขึ้น เลือก API Library ที่ต้องการ ในที่นี้คือ Google Drive API

    แล้วคลิก Enable

    จากนั้น Create Credentials

    เลือกชนิดเป็น OAuth Client ID แล้วกรอกข้อมูลดังนี้

    สร้าง Consent Screen

    เลือก Application Type เป็น Web Application, ระบุ Name (จะแสดงตอนขอ Permission) แล้วตั้งค่า URL ทั้ง 2 อันเป็น http://localhost:8080

     

    และ สุดท้าย คลิก Download

    ก็จะได้ไฟล์ JSON มา ส่งนี้จะเรียกว่า “Client Secret File”  ให้เก็บไฟล์ไว้ใน Directory เดียวกันกับที่ต้องการจะเขียน Python Code โดยสามารถแก้ไขเปลี่ยนชื่อ เช่น ตั้งเป็น client_secret.json

    ขั้นที่ 2: ติดตั้ง Google Client Library

    ติดตั้งด้วย pip ตามคำสั่งต่อไปนี้

    pip install --upgrade google-api-python-client

    ขั้นที่ 3: เขียน Code เพื่อติดต่อ Drive API

    จาก Python Quickstart [1] เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก เราสามารถนำ Code มาเป็นจุดเริ่มต้นได้ โดยตัวอย่างจะทำการติดต่อไปยัง Google Drive แล้ว List รายการของไฟล์ 10 อันดับแรกออกมา

    ตัวอย่างที่ Google ให้มา จะอ้างอิงไปยัง Credentials Path ไปยัง directory “.credentials” ใน “Home Directory” ของผู้ใช้ แต่ในตัวอย่างที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้แก้ไขให้ “Client Secret File” อยู่ที่ directory เดียวกับ python file และเมื่อทำการ Authorization แล้วก็จะได้ “Credential File” มาเก็บไว้ที่เดียวกัน

    Code ต้นฉบับ สามารถดูได้จาก https://developers.google.com/drive/v2/web/quickstart/python ในที่นี้จะเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่ต้องการข้างต้น และ เขียน Comment เพื่ออธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาไทย (ซึ่งไม่สามารถเขียนลงไปใน Python Code ได้) โดยตั้งชื่อไฟล์ว่า listfile.py

    from __future__ import print_function
    ...
    # การกำหนด SCOPES ต้องสอดคล้องกับบริการที่เราจะใช้งาน
    SCOPES = 'https://www.googleapis.com/auth/drive.metadata.readonly'
    
    # แก้ไข Client Secret File ให้สอดคล้องกับไฟล์ที่ได้จาก ขั้นตอนที่ 1
    CLIENT_SECRET_FILE = 'client_secret.json'
    # แก้ไข Application Name ตามต้องการ
    APPLICATION_NAME = 'Drive API Python Quickstart'
    
    ...
    def get_credentials():
    ...
     # ไม่ใช้
     # home_dir =os.path.expanduser('~')
     
     # เดิม อยู่ใน os.path.join(home_dir, '.credentials')
     # แก้ไขให้อยู่ที่ Current Working Directory เดียวกันเลย
     credential_dir = os.getcwd()
     ...
     # เดิม os.path.join(credential_dir,'drive-python-quickstart.json')
     # ตั้งชื่อ Credential ตามต้องการ 
     credential_path = os.path.join(credential_dir,'drive_credential.json')
    ...
    
    def main():
    ...
     credentials = get_credentials()
     http = credentials.authorize(httplib2.Http())
    
     # ตรงนี้สำคัญ จะต้องเลือกใช้ REST Version ที่ต้องการ
     # ในที่นี้ ใช้ REST v2
     service = discovery.build('drive', 'v2', http=http)
     
     # ส่วนของการเขียน Code
     # ตัวอย่างนี้ เรียกใช้ files().list()
     # โดยตั้งค่า maxResults เป็น 10 ก็คือ เรียกเฉพาะ 10 รายการแรก
     # อ้างอิงจาก https://developers.google.com/drive/v2/reference/files/list
     results = service.files().list(maxResults=10).execute()
    
     # จาก อ้างอิง จะเห็นได้ว่า files().list() นั้น Return หรือ Response
     # items[] ซึ่งมี element เป็น รายการของไฟล์
     items = results.get('items', [])
     
     # ตรวจสอบว่ามีไฟล์หรือไม่
     if not items:
       print('No files found.')
     else:
       # หากมีไฟล์อยู่
       print('Files:')
       # loop เพื่อแสดงไฟล์ที่มีอยู่ ในที่นี้ จะไม่เกิน maxResults ข้างต้น
       for item in items:
         # แสดงฟิลด์ title และ id
         # เพิ่มเติม .encode('utf-8') ด้วย
         print('{0} ({1})'.format(item['title'].encode('utf-8'), item['id']))
    
    if __name__ == '__main__':
     main()

    ขั้นที่ 4: Run

    ตอนนี้ใน Directory จะมีไฟล์

    • client_secrets.json
    • listfile.py

    ใช้คำสั่ง

    python listfile.py

    หากเป็นการ Run ครั้งแรก ซึ่งจะยังไม่มีไฟล์ drive_credential.json โปรแกรมก็จะทำตาม “flow” โดย ถ้า run command line บนเครื่องที่มี X Window ก็จะเปิด Web Page ไปยัง Google เพื่อ Authorization

    และเปิด Web นี้ ให้คลิกเลือก Account ที่จะติดต่อด้วย

    หน้า Consent Screen คืออย่างนี้ คลิกอนุญาต

    ผลที่ได้

    Reference:

    [1] https://developers.google.com/drive/v2/web/quickstart/python

     

  • วิธีกู้ไฟล์ที่ถูก Ransomware จับไปเรียกค่าไถ่

    Ransomware หรือ โปรแกรมเรียกค่าไถ่ไฟล์ต่างๆ โดยการเข้ารหัสไฟล์เหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานได้อีก นอกจากจะยอมเสียค่าไถ่ให้กับผู้ร้ายด้วยเงินสกุล Bitcoin โปรแกรมเหล่านี้จะมาจากการติดตั้ง หรือถูกหลอกให้ติดตั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ “อโคจร” ต่างๆ Software เถื่อน ละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหลาย และที่มีบ่อยมากคือ มาจาก “จดหมายหลอกลวง (Phishing)” ซึ่งทำให้ติดเชื้อได้อย่างง่ายดาย

    ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2015/al2015us001.html

    เมื่อติด หรือ โดนเรียกค่าไถ่ เรียกได้ว่า ยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะกู้คืนโดยการ Decrypt  หรือถอดรหัสกลับคืน

    มีวิธีการเดียวที่ทำได้เลยคือ “กู้คืนจากไฟล์สำรองไว้” บนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เอง ก็สามารถทำได้ โดยผู้ใช้จะต้อง “ตั้งค่าการสำรองข้อมูล” ไว้ก่อน จึงจะสามารถกู้คืนได้ แต่หากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเสียหาย ก็จะไม่สามารถกู้คืนได้อีกเลย

    แต่ยังมีวิธีการ “สำรองและกู้คืน” ที่ง่าย ปลอดภัย และแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะเสียหายอย่างไร ก็จะสามารถ “กู้คืนข้อมูลได้” นั่นคือการใช้งาน Google Drive ในการสำรองข้อมูล โดยผู้ที่มี Google Account หรือ Gmail สามารถใช้งานได้ทันที โดยมีพื้นที่ให้ 15 GB (รวมกับการเก็บ email) ส่วนผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยสงขลานคริทนร์ จะได้ใช้ Google Apps for Education ซึ่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บ “Unlimited” หรือไม่มีขีดจำกัดเลยทีเดียว (เบื้องต้นจะเห็นพื้นที่จัดเก็บ 10 TB — 10,000 GB)

    Google Drive เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ หรือ Cloud Storage ผู้ใช้ของ Google Account สามารถเข้าถึงได้ที่ https://drive.google.com เมื่อทำการลงชื่อเข้าใช้งาน (Sign In)  แล้วก็จะสามารถมองเห็นข้อมูลบนระบบ สามารถสร้าง Folder และ Upload ไฟล์ขึ้นไปเก็บได้ และสามารถเข้าถึงได้จากทั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และ Smartphone ได้จากทุกแห่งทั่วโลก ดังภาพที่ 1 (โดยต้องมีระบบ Internet เข้าถึงนะ)

    01-googledrivepsu

     

    ภาพที่ 1: Google Drive บนระบบ Google Apps for Education ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ในที่นี้ จะแสดงวิธีการ สร้างโฟล์เดอร์ชื่อว่า “เอกสารสำคัญ” ไว้บน Google Drive เพื่อใช้ในการสำรองไฟล์สำคัญไว้ ขั้นตอนคือ คลิกที่ New > Folder แล้วตั้งชื่อว่า “เอกสารสำคัญ” แล้วคลิกปุ่ม Create ดังภาพที่ 2

    02-newfolder เอกสารสำคัญ

    ภาพที่ 2: สร้างโฟล์เดอร์ชื่อว่า “เอกสารสำคัญ” ไว้บน Google Drive

    ส่วนการทำงานเพื่อ Backup ข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเก็บไว้บนระบบ Google Drive อัตโนมัติ ทำได้โดยติดตั้งโปรแกรม “Google Drive” บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วตั้งค่าให้ Sync ข้อมูลกับโฟลเดอร์ “MyGoogleDrive” ใน My Documents ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังวิธีการต่อไปนี้

    1. Google Drive สามารถดาว์นโหลดได้จาก https://www.google.com/drive/download/
    2. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วให้ลงชื่อเข้าใช้ และคลิก Next ไปเรื่อยๆ ดังภาพที่ 303-installgoogledrive
      ภาพที่ 3: คลิก “ถัดไป” จนถึงหน้าจอสุดท้าย
    3. หน้าจอสุดท้าย คลิก “การตั้งค่าขั้นสูง” ดังภาพที่ 404-advance
      ภาพที่ 4: คลิก “การตั้งค่าขั้นสูง”
    4. คลิก “เปลี่ยน” แล้วสร้าง MyGoogleDrive ไว้ใน My Documents ดังภาพที่ 506-MyGoogleDrive
      ภาพที่ 5: สร้าง MyGoogleDrive ไว้ใน My Documents
    5. ต่อไป เลือก “เลือกเฉพาะโฟล์เดอร์เหล่านี้”  แล้ว เอาเฉพาะ “เอกสารสำคัญ” แล้วคลิก “เริ่มการซิงค์” ดังภาพที่ 607-syncspecificfolder
      ภาพที่ 5: เลือกเฉพาะ “เอกสารสำคัญ”
    6. สักครู่ระบบก็จะทำการ Sync เมื่อเสร็จสิ้น จะได้ผลดังภาพที่ 608-syncsuccess
      ภาพที่ 6: Sync “เอกสารสำคัญ” เสร็จแล้ว

    ให้นำเอกสารสำคัญต่างๆมาใส่ไว้ใน “เอกสารสำคัญนี้” ระบบก็จะทำการ Sync ขึ้นไปบน Google Drive แล้ว และ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์ในโฟล์เดอร์นี้ จะถูกสำรองเอาไว้

    ต่อไป มาดูกันว่า เมื่อมีการแก้ไขไฟล์เอกสารชื่อ “doc1.docx” ระบบ Google Drive จะสำรองข้อมูลเอาไว้ให้ตลอด และสามารถกู้คืนรุ่นของเอกสารได้ ดังภาพที่ 7

    12-sequence

     

    ภาพที่ 7: แสดงเวลากับการแก้ไขข้อความ

    สิ่งที่ Google Drive สำรองไว้ให้ สามารถดูได้จากการ คลิกขวาที่ไฟล์นั้นๆ แล้วเลือก “Manage Version” ดังภาพที่ 8

    13-manageversion

    ภาพที่ 8: การเลือก Manage Versions

    จากนั้น สามารถหากต้องการย้อนเวลา ไปเอาไฟล์นี้ ขณะที่ยังมีข้อความและรูปภาพ ก็คลิกที่เวลา 14:56 แล้วเลือก Download ออกมาทับไฟล์เดิม หรือ เก็บไว้ที่อื่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ ดังภาพที่ 9

    14-restore1456

    ภาพที่ 9: เลือก Version 2 ที่บันทึกเมื่อเวลา 14:56 แล้ว download ไฟล์ออกมา

    ผลที่ได้คือ ไฟล์เดิมที่มีข้อความและภาพ ที่บันทึกเมื่อเวลา 14:56 ดังภาพที่่ 10

    09-doc1.docx

     

    ภาพที่ 10: ไฟล์ที่ถูกแก้ไขไปแล้ว ก็สามารถกู้กลับมาได้

    ในกรณีที่ไฟล์นี้ ถูก “ลบ” ทิ้ง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจ หรือ ถูก Ransomware ลบทิ้งแล้วเหลือไว้แต่ไฟล์ที่เปิดไม่ได้ก็ตาม ดังภาพที่ 11  ก็สามารถกู้กลับมาได้

    15-deletedfile

    ภาพที่ 11: ไฟล์ doc1.docx ถูกลบหายไปจาก “เอกสารสำคัญ” บนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว

    การกู้ไฟล์ที่ถูกลบไปแล้ว ต้องทำจากบน Google Drive ผ่านทางเว็บเบราเซอร์ โดยเข้าไปใน “เอกสารสำคัญ” แล้วคลิกตัว i ด้านขวามือบน แล้วคลิกที่คำว่า Activity จะพบว่า มีการลบ หรือจริงๆแล้วคือการย้ายไฟล์ไปลง Bin นั่นเอง ดังภาพที่ 12

    16-detailactivity

    ภาพที่ 12: แสดงให้เห็นว่าไฟล์ที่ถูกลบ ไปเก็บอยู่ใน Bin ของ Google Drive

    การกู้ไฟล์นี้คืนมา ก็เพียงคลิกที่ชื่อไฟล์ doc1.docx แล้วคลิกรูปแว่นขยาย จากนั้นระบบจะนำไปสู่ Bin หลังจากนั้น ให้คลิกขวาที่ doc1.docx แล้วเลือก Restore ตามภาพที่ 13:

    17-restore

    ภาพที่ 13: วิธีการ Restore ไฟล์ doc1.docx

    ผลก็คือ ได้ไฟล์ที่ถูกลบทิ้งกลับคืนมา ดังภาพที่ 14

    18-restorecomplete

    ภาพที่ 14: การกู้ไฟล์เสร็จสมบูรณ์

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

     

     

     

     

  • การใช้งาน Google Drive ภายในหน่วยงาน

    สืบเนื่องจากหน่วยงานมีการส่งต่อไฟล์ข้อมูลด้วย Flash Drive ซึ่งปัญหาที่ตามมาในทุกครั้งคือ flash drive มีไวรัส อีกทั้งเห็นว่า ตอนนี้มอ.เราตื่นตัวเรื่อง Google Apps. ผมก็เลยนำเสนอให้หน่วยงานใช้ Google Drive เพื่อการแชร์ไฟล์ที่สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น (แว่วว่า คณะต้นสังกัดกำลังจะจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนใช้ Google Drive อยู่ในเวลาอันใกล้นี้) ผมเลยทำคู่มือการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เลยขอนำมาแชร์นะคับ ผิด-ถูกอย่างไร แนะนำได้นะคับ ^^

    มาเริ่มกันเลยดีกว่านะคับ ^^

    จะมี 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

    • การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps
    • การ Login โดยใช้ PSU Mail on Google
    • การสร้างรายชื่อ Contacts
    • การสร้างโฟลเดอร์เพื่อแชร์

    การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps

    ในส่วนนี้ทำเพียงครั้งแรกที่จะเริ่มเข้าใช้งาน Google Apps เท่านั้น ในการเข้าใช้งานครั้งต่อๆไป ไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้

    1. เปิดเว็บ https://webmail.psu.ac.th > คลิก Password Setting เพื่อทำการยืนยันตัวตนในการใช้งาน Google Apps. (ทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว)
      01
    1. จะเป็นการยืนยันตัวตน โดยทำการใส่
      1. ใส่ข้อมูล PSU Passport
      2. ใส่รหัสผ่านของ PSU Mail โดยสามารถใช้รหัสผ่านเดิม หรือเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ โดยกรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง
      *** กรณีการตั้งรหัสผ่านใหม่ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขในการตั้งรหัสผ่าน
      3. คลิก Change Password
      02

     Google Drive มีพื้นที่แบบไม่จำกัด (Unlimited) โดยสามารถโยนไฟล์ใหญ่ๆ ขนาด 1TB ได้สบายๆ (ไฟล์เดียวที่มีขนาด 1000 MB)
    สามารถเข้าถึง Google Drive ได้ 2 ช่องทาง คือ

    A: http://drive.google.com
    B: http://drive.psu.ac.th

    การ Login โดยใช้ PSU Mail on Google

    1. เปิดเว็บ google.co.th > คลิก ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
      01
    1. ใส่ PSU mail และ Password > คลิก ลงชื่อเข้าใช้
      02
    2. คลิกที่ > คลิก ไดร์ฟ
      03
    1. เพื่อความสะดวกในการใช้งานในรูปแบบ Folder บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้คลิก Install Drive for your PC เพื่อติดตั้งโปรแกรม Google Drive บนเครื่องคอมพิวเตอร์
      04
    2. ไอคอน Google Drive จะอยู่บนหน้า Desktop ซึ่งจะทำงานในรูปแบบ My Computer ได้ (copy, past, ลาก-วาง, drag mouse)
      16

    การสร้างรายชื่อ Contacts

    1. สร้างรายชื่อ (Contacts)
      05
    2. คลิกปุ่ม New Contact > พิมพ์ชื่อ > ใส่ email แล้ว enter
      *** เพิ่มรายชื่ออีเมลล์ที่ต้องการ
      06
    1. สร้างกรุ๊ปเพื่อความง่ายในการส่งเมลล์เป็นกลุ่ม โดยคลิกที่ New Group
      07
    1. พิมพ์ชื่อกลุ่ม > คลิกปุ่ม OK
      08
    2. เปิด My Contacts > คลิกเลือกอีเมลล์ที่ต้องการให้อยู่ในกลุ่ม SouthGIST > คลิกเมนู Group > เลือก SouthGIST > คลิก Apply
      09
    3. จะเห็นได้ว่ารายชื่อที่เลือกไว้ก่อนหน้านี้ จะอยู่ในกลุ่ม SouthGIST10

    การสร้างโฟลเดอร์เพื่อแชร์

    12. คลิก Create > คลิก Folder
    11

    13. พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ > คลิก Create
    12

    14. โฟลเดอร์ที่สร้างจะอยู่ใน list ของ My Drive ให้คลิกโฟลเดอร์ที่ต้องการจะแชร์ > เลือก Share > คลิก Share…
    13

    15. ตรงช่องบุคคล ให้ใส่รายชื่ออีเมลล์ที่ต้องการจะแชร์ให้คนนั้น หรือเลือก Contacts Group เพื่อแชร์แบบกลุ่ม > พิมพ์ข้อความเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโฟลเดอร์ที่จะแชร์ให้ผู้ใช้งานแต่ละคนทราบ > คลิกปุ่ม ส่ง
    14

    16. ใช้จะได้รับเมลล์ คำเชิญให้ทำงานร่วมกัน โดยจะแสดงโฟลเดอร์ที่เราแชร์ (SouthGIST) พร้อมกับข้อความที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับโฟลเดอร์ที่แชร์
    15

     

    *** คู่มือนี้ ผมเน้นการใช้งานจริงกับหน่วยงานหน่ะคับ ผิดพลาดประการใด แจ้ง-เตือน ติ-ชม ได้คับ ^^

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://support.google.com/drive/?hl=en#topic=14940

    Last update : 17-12-2014 15:47