Tag: GIS

  • ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS

    คราวนี้ มาดูการประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS

    ต่อจาก ELK #01 > ELK #02 > ELK #03 > ELK #04 ซึ่งเป็นการติดตั้งทั้งหมด คราวนี้มาดูการประยุกต์ใช้งานกันบ้าง

    โจทย์มีอยู่ว่า มีการไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม แล้วมีการบันทึก พิกัดด้วย GPS เป็น Latitude กับ Longitude พร้อมกับค่าบางอย่าง ทั้งหมดถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล MySQL

    การนำข้อมูลเข้า ELK ก็เลย Export ข้อมูลจาก MySQL มาเป็น CSV File ประกอบด้วย

    id,LATITUDE,LONGITUDE,something

    ตัวอย่างข้อมูล มีดังนี้

    id,LATITUDE,LONGITUDE,something
    1,6.97585,100.448963,100
    2,6.975627,100.450841,19
    3,6.973472,100.449196,65
    4,6.973468,100.449104,53
    5,6.973455,100.449135,33
    6,6.973252,100.44888,13
    7,6.985862,100.45292,85
    8,6.993386,100.416214,90
    9,7.005465,100.447984,1

    นำข้อมูลเข้า ELK ผ่านทาง Logstash

    ใน  ELK #2 ได้อธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Logstash ไว้แล้วนั้น ต่อไปเป็นการนำข้อมูลชนิด CSV เข้าไปใส่ใน Elasticsearch

    Logstash จะอ่าน “กระบวนการทำงาน” หรือเรียกว่า Pipeline จากไฟล์ Configuration ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ Input, Filter และ Output

    input {
       stdin { }
    }

    ในส่วน input นี้ จะเป็นการอ่าน STDIN หรือ ทาง Terminal

    filter {
     csv {
       separator => ","
       columns => [
         "id","latitude","longitude","something"
       ]
     }
     if [id] == "id" {
       drop { }
     } else {
       # continue processing data
       mutate {
         remove_field => [ "message" ]
       }
       mutate {
         convert => { "something" => "integer" }
         convert => { "longitude" => "float" }
         convert => { "latitude" => "float" }
       }
       mutate {
         rename => {
           "longitude" => "[geoip][location][lon]"
           "latitude" => "[geoip][location][lat]"
         }
       }
     }
    }

    ในส่วนของ filter นี้ เริ่มจาก เลือกใช้ Filter Plugin ชื่อ “csv” เพื่อจัดการไฟล์ CSV โดยกำหนด “separator” เป็น “,” แล้วกำหนดว่ามีชื่อ Column เป็น “id”,”latitude”,”longitude”,”something”

    จากนั้น ก็ตรวจสอบว่า ถ้าข้อมูลที่อ่านเข้ามา ใน Column “id” มีค่าเป็น “id” (ซึ่งก็คือบรรทัดหัวตารางของไฟล์ csv นั่นเอง) ก้ให้ “drop” ไป

    แต่หากไม่ใช่ ก็ให้ทำดังนี้ (mutate คือการแก้ไข)

    • remove field ชื่อ message (ซึ่งจะปรากฏเป็น Default อยู่ ก็เลยเอาออกเพราะไม่จำเป็น)
    • convert หรือ เปลี่ยน “ชนิด”  ของแต่ละ field เป็นไปตามที่ต้องการ ได้แก่ ให้ something เป็น Integer, latitude และ longitude เป็น float
    • rename จาก latitude เป็น [geoip][location][lat] และ longitude เป็น [geoip][location][lon] ซึ่งตรงนี้สำคัญ เพราะ geoip.location Field ข้อมูลชนิก “geo_point” ซึ่งจำเป็นต่อการนำไปใช้งานเกำหนดตำแหน่งพิกัดบนแผนที่ (เป็น Field ที่สร้างจาก Template พื้นฐานของ Logstash ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้)
    output {
     stdout { codec => rubydebug }
     elasticsearch {
       hosts => ["http://your.elastic.host:9200"]
     }
    }

    ในส่วนของ Output จะกำหนดว่า ข้อมูลที่อ่านจาก csv และผ่าน filter ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งไปที่ใน จากการกำหนดนี้ บอกว่า จะส่งออกไป

    • stdout คือ การแสดงผลออกมาทาง terminal โดยมีรูปแบบเป็น rubydebug (รูปแบบหนึ่ง)
    • Elasticsearch ซึ่งอยู่ที่ http://your.elastic.host:9200

    จากนั้น Save ไฟล์นี้ แล้วตั้งชื่อว่า gis.conf

    แล้วใช้คำสั่ง

    cat sample1.csv | /usr/share/logstash/bin/logstash -f gis.conf

    การแสดงผลข้อมูลใน Elasticsearch ผ่าน Kibana

    จากบทความก่อนหน้า ได้แสดงวิธีการติดตั้ง Kibana และเชื่อมต่อกับ Elasticsearch แล้ว โดยจะเข้าถึง Kibana ได้ทางเว็บไซต์ http://your.kibana.host:5601

    ในกระบวนการของ Logstash ข้างต้น จะไปสร้าง Elasticsearch Index ชื่อ “logstash-YYYY-MM-DD”, ใน Kibana ก็จะต้องไป คลิกที่ Setting (รูปเฟือง) จากนั้นคลิกที่ Index Pattern โดยให้ไปอ่าน index ซึ่งมีชื่อเป็น Pattern คือ “logstash-*” จากนั้น คลิกปุ่ม Create

    จะได้ผลประมาณนี้

    ต่อไป คลิกที่ Discover ก็จะเห็นข้อมูลเข้ามา

    แสดงข้อมูลในรูปแบบของ Tile Map

    คลิกที่ Visualization > Create a visualization

    เลือก Tile Map

    เลือก Index ที่ต้องการ ในที่นี้คือ logstash-*

    คลิก Geo Coordinates

    จากนั้น คลิก Apply แล้วคลิก Fit Data Bound

    ก็จะได้เฉพาะ พื้นที่ทีมีข้อมุล

    วิธีใส่ Map Server อื่น

    ปัญหาของ Defaul Map Service ที่มากับ Kibana คือ Elastic Map Service นั้น จะจำกัดระดับในการ Zoom จึงต้องหา WMS (Web Map Service) อื่นมาใช้แทน ต้องขอบคุณ คุณนพัส กังวานตระกูล สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้)  สำหรับคำแนะนำในการใช้งาน WMS และระบบ GIS ตลอดมาครับ 🙂

    โดย เราจะใช้ WMS ของ Longdo Map API : http://api.longdo.com/map/doc/
    ข้อมูลการใช้งาน เอามาจาก http://api.longdo.com/map/doc/demo/advance/02-layer.php

    วิธีการตั้งค่าใน Kibana

    คลิกที่ Option > WMS compliant map server
    แล้วกรอกข้อมูล

    URL : https://ms.longdo.com/mapproxy/service
    Layer: bluemarble_terrain
    Version: 1.3.0
    Format: image/png
    Attribute: Longdo API

    จากนั้นคลิก Apply

    จากนั้นให้ Save พร้อมตั้งชื่อ

    ซึ่ง Longdo Map API สามารถ Zoom ได้ละเอียดพอสมควร

    สามารถนำเสนอระบบ GIS ได้บน Website ทันที

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • การ Import KML / KMZ to Google Earth on Android device

    Google Earth on Android ได้มี Feature ใหม่ ซึ่งสามารถนำเข้าหรือเปิด kml/kmz file ได้ และสามารถซ้อนทับชั้นข้อมูลได้หลาย layer เลยทีเดียว ถือว่าสะดวกมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเปิดอ่าน kml/kmz file บนมือถือ

     

    ขั้นตอนการทำ

    1. ก่อนอื่น ต้องเตรียม kml หรือ kmz ไฟล์ก่อน หากไม่มี ลองเข้าไป download ได้ที่เว็บฐานข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    2. update Google Earth บน Android device ให้เป็น version ล่าสุด (ตามตัวอย่างนี้ เป็นเวอร์ชั่น 9.0.4.2) หากยังไม่ได้ติดตั้ง คลิกที่นี่

    3. เปิดแอพ Google Earth > คลิกเมนู (ตามรูป)

    4. เลือก My Places

    5. คลิก Import KML file

    6. เลือกไฟล์ kml

    7. แอพจะแสดงไฟล์ที่นำเข้า ให้คลิก Fly Here

    8. แสดงข้อมูล

    9. คลิกที่ point บนแผนที่ จะแสดงรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับไฟล์ kml ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง

    10. สามารถ import kml file ได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยแอพจะแสดงเป็นชั้นข้อมูล(layer) ในตัวอย่างเพิ่มขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำฯ

    11. แสดงข้อมูล 2 layers

    12. สามารถ save เป็นรูปภาพ ได้โดยคลิกที่ไอคอน กล้อง

    13. นอกจากนั้น ยังสามารถดูแบบ Street View ได้ด้วย โดยคลิกที่ไอคอนรูปคน

    14. จะปรากฎเส้นสีฟ้า แสดงจุดที่สามารถคลิกดูแบบ Street View ได้ > จิ้มดูเลยคับ ^^

    15. ลองจิ้มดูหน้า คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ. นะคับ ^^

    16. ดูแบบ 3D ก็คลิกที่ไอคอน 3D เลยคับ

    17. แสดงเป็นรูป 3มิติ

    5. นอกนั้น ก็ลองคลิกเล่นดูนะคับ ^^

     

    ****บริการโหลดฟรี! ชั้นข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพิ่มเติมได้ที่ โครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
    โดย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน

    Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS)

     

    วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำเสนอ การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS มาแล้วสำหรับคนที่ใช้โปรแกรม QGIS ลองแวะเข้าไปอ่านดูได้นะคับ ^^

     

    ขั้นตอนการติดตั้ง

    1. ดาวน์โหลดไฟล์ ArcGoogle ได้ ที่นี่

    โดยเลือกดาวน์โหลดไฟล์ให้เหมาะกับ ArcGIS เวอร์ชั่นที่ใช้งานอยู่

    • For ArcGIS 9.3, 10.0, 10.1 or 10.2
    • For ArcGIS 10.3 or 10.4

    2. เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ unzip จากนั้นดับเบิ้ลคลิก setup.exe

    3. ติดตั้งตามรูปเลยคับ

    4. ติดตั้งเสร็จสิ้น

    ขั้นตอนการใช้งาน

    1. เปิดโปรแกรม ArcGIS หากใครยังไม่ได้ติดตั้ง สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้ง เวอร์ชั่นทดลองใช้งานได้ 60 วัน ที่นี่

    2. คลิกที่เมนู Customize > เลือก Customize Mode…

    3. คลิกเลือก ArcGoolge-ungdungmoi.com จะแสดงแถบเมนูเครื่องมือขึ้นมา  จากนั้นคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าต่าง

    4. คลิก Google Map > Google Satellite

    5. จะมีชั้นข้อมูล(Layer) ขึ้นมา พร้อมกับแสดงแผนที่ Google Satellite ขึ้นมา

    6. นอกจากนี้ ยังสามารถคลิกบนแผนที่ เพื่อแสดงภาพ Google Street View ได้ด้วย

    7. นอกจากนี้ ยังสามารถดึงค่า Elevation จาก Google ได้ด้วย โดยการคลิกที่ไอคอน 

    8. กำหนด Cell size (หน่วยเป็น เมตร) (จำนวนสูงสุดของจุดแต่ละครั้งดาวน์โหลด 300m)

    9. จากนั้นคลิกปุ่ม Get Elevation > รอสักครู่ จะแสดงตารางค่าขึ้นมา

    ** อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Elevation ที่นี่

    10. เราสามารถ export ค่า elevation ออกมาเป็น shape file ได้ โดยคลิกปุ่ม Export to Shapefile > ตั้งชื่อไฟล์ > คลิกปุ่ม Save

    11. มีชั้นข้อมูล (Layer) เพิ่มขึ้นมา โดยจะมีจุด elevation อยู่บนแผนที่ และแสดงค่าและตำแหน่งพิกัด(Lat, Long) ด้วยการเปิด attribute table ดังรู)

     

    จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย

     

    ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^

    สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS

     

    ===============================================
    สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
    แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand

  • การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View

    n7448_n160616_02x
    ภาพจากข่าวฯ เว็บมอ.

    จากข่าวล่าสุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เริ่มบางส่วนแล้ว….มอง ม.อ.ผ่าน Google Street View” ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://www.psu.ac.th/th/node/7448 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ด้วยความร่วมมือกับมอ.และ Google ในการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 360 องศา เสมือนเรายืนอยู่ ณ จุดนั้นๆ แล้วสามารถมองได้แบบรอบทิศทาง มาถ่ายภาพสถานที่และเส้นทางในมอ.ของเรา โดยได้เริ่มถ่ายทำในวิทยาเขตหาดใหญ่เป็นวิทยาเขตแรก และจะดำเนินการในวิทยาเขตอื่นๆ ต่อไป

    คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า จะวิวหรือชมกันอย่างไร สำหรับใครที่ไม่ทราบวิธีการดูภาพผ่าน Google Street View นะคับ

    ขั้นตอนการรับชม

    1. เปิด Google Maps

    2. เลือกบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ **หากไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน ก็ใช้ search หาสถานที่ได้คับ

    01

    3. คลิกตรงไอคอนตุ๊กตารูปคนสีเหลือง บริเวณมุมด้านขวาของหน้าจอ (ตามภาพ)

    02

    4. แผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ภาพใน 3 รูปแบบ คือ Street View , ภาพ 360 องศา และดูภายใน

    03

    5. ในแผนที่จะแสดงสัญลักษณ์ไว้ เราสามารถคลิกที่จุดวงกลมสีฟ้า เพื่อดูสถานที่ในจุดนั้นๆ แล้ว drag mouse หมุนชมภาพ

    06

    6. หรือเลือกเข้าชมภาพได้โดยคลิกที่ภาพ gallery ที่แถบภาพด้านล่างของหน้าจอ **เมื่อคลิกที่รูป จะแสดงเส้นวิ่งไปยังจุดสถานที่นั้นๆ

    04

    7. ก่อนหน้านี้ทางศูนย์ GIS มอ. ได้ถ่ายภาพมุมสูงจาก Drone แล้วจัดทำเป็นภาพมุมสูง 360 องศาเผยแพร่ผ่าน Google Street View ไว้แล้ว

    07

     

    หวังว่า… หลายๆ ท่านจะสนุกและมีความสุขกับการเข้าชมภาพ 360 องศา ภายในบริเวณรั้วมอ.ของเรานะคับ ^^

    หากไม่ต้องการแค่รับชมอย่างเดียว ก็ลองสร้างเองดีไม๊คับ??? คลิกเลย >> การสร้างภาพ 360 องศาเข้า Google Street View ด้วย Android device

     

    ===============================================
    สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้
    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เว็บไซต์ http://www.rsgis.psu.ac.th
    แฟนเพจ https://www.facebook.com/southgist.thailand

  • การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

    จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ
    วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

     

    WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น

    ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)

     

    ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS

     

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    *** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

     

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/

    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    01

    3. เปิดโปรแกรม Google Earth

    4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ

    • คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ
    • คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ
    • คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน

    02

    5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS

    03

    6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง

    04

    7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม ->

    05

    8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง

    06

    9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง

    07

    10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป

    08

    *** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง

    จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น

    ___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น หน่วยงานท่านล่ะคับ มีอะไรที่อยากจะมาแชร์บ้าง? หรืออยากแชร์แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร? คราวหน้าจะมาเขียนวิธีการทำ WMS เพื่อการเผยแพร่ให้นะคับ ^^

     

    สวัสดี—-

  • การ Save ภาพแผนที่จาก Google Earth เป็นภาพละเอียดคุณภาพสูง

    วันนี้มาแบบ clip vdo เนื่องด้วยเวลาอันจำกัดในการนำเสนอ ไม่อยากจะพูดเลยว่า “งานยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกก” แต่ก็ไม่อยากดองความรู้นี้ไว้ 555+

    ….. จริงแล้ว Google Earth Pro สามารถ save ภาพแผนที่ขนาดความละเอียดสูงได้ แต่ด้วยโปรแกรม Google Satellite Maps Downloader นี้ จะสามารถเลือก save พื้นที่ขนาด(area)ที่กว้างขึ้นได้ โดยจะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับนัก GIS ที่จะนำภาพนี้ไปใช้งานต่อ โดยการทำ GCP (Ground Control Point / การฝังค่าพิกัดในแผนที่) เพื่อใช้ในการแปลภาพถ่ายหรืองานอื่นๆ ต่อไป

    *** สามารถนำไฟล์นี้ไปสั่งพิมพ์โปสเตอร์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ได้ตามร้านพิมพ์ไวนิลหรือโปสเตอร์ก็ได้เช่นกันนะคับ

    ไฟล์ที่ได้จากการ save ภาพแผนที่ด้วยโปรแกรมนี้ คลิกที่นี่ (49.8MB)

    หากมีโอกาส จะนำเสนอการทำ GCP จากภาพที่ได้จากการ save นี้ ด้วยโปรแกรม QGIS นะคับ

    ** โปรแกรมสามารถหา download ได้จากการค้นหาใน Google นะคับ “Google Satellite Maps Downloader”

  • การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

    Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS)

    วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย

     

    *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^

     

    ขั้นตอน

    1. เปิดโปรแกรม QGIS 2.8 หรือทำการติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.8
    2. เมนู Plugin > Manage and Install Plugins…
      02
    3. เลือก OpenLayersPlugin > คลิก Install plugin
      03
    4. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็นว่าหน้า OpenLayers Plugin มีไอคอนสีฟ้าและเครื่องหมายกากบาท
      04
    5. เปิดการใช้งานโดยคลิกที่เมนู web Openlayers plugin > Google Maps > จะมีให้ชนิดของแผนที่ให้เลือก คลิกเลือก Google Satellite
      05
    6. จะมี Layer Google Satellite เพิ่มขึ้นมาตรงด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในพื้นที่งานจะยังไม่เห็นแผนที่ จะต้องทำการ add layer (ชั้นข้อมูล) ขึ้นมา ในตัวอย่างจะ add vector layer แผนที่ประเทศไทยขึ้นมา
      06
    7. จะมี layer เพิ่มขึ้นมาด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งจะซ้อนทับอยู่กับ Google Satellite Layer
      07
    8. ทำการปรับค่าให้แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสง เพื่อจะได้มองเห็น Layer ที่เป็น google maps
      08
    9. จะเห็นว่า แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสงแล้ว เห็นแต่เส้นขอบเขตการปกครอง
      09
    10. ลอง Zoom ใกล้ๆ ตรงบริเวณตึก LRC โดยแถบสถานะด้านล่างจะแสดงแผนที่มาตราส่วน (scale) เป็น 1:300 ( ความหมายคือ ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดรูปได้ เท่าไร ความยาวจริงก็จะยาวกว่าที่วัดได้ 300 เท่า)
      10

    จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย

    ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^

    สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th

    หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS

    ครัั้งหน้าจะนำเสนอการสร้างข้อมูลบน‬ QGIS เพื่อนำไปใช้ใน Google Earth และ Web Map นะคับ ^^

  • การตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เบื้องต้นด้วยตัวเอง

    ตอนนี้มีประเด็นข่าวร้อนแรงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่าและการใช้พื้นที่ผิดประเภทของรีสอร์ท แห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ โดยประเด็นเด่นคือ สนามแข่งรถ ถูกตรวจพบว่า เป็นที่ดิน ส.ป.ก. ที่ใช้พื้นที่ผิดประเภทของการให้เอกสารสิทธิ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เขามีการตรวจสอบกันอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ GIS ไม๊? วันนี้เลยขอนำเสนอแบบคร่าวๆ พอให้ได้เห็นภาพกันนะคับ ว่าเขาดูและตรวจสอบกันอย่างไร

    หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่สุด ควรตรวจสอบที่หน่วยงานราชการที่ให้บริการ

    หลักการ คือ การนำชั้นข้อมูล (Layer) ในแต่ละข้อมูล มาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อแสดงผล ในตัวอย่างจะประกอบด้วย 3 ชั้นข้อมูลคือ ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) , ชั้นข้อมูล พื้นที่สปก. และชั้นข้อมูล เขตป่าสงวน

    มีขั้นตอนดังนี้

    1. เปิดหน้าเว็บ dsi-map > เลือกพื้นที่ที่ต้องการจะตรวจสอบ
    01

    ลองขยายชัดๆ จะเห็นสนามแข่งรถได้อย่างชัดเจน
    02

    2. ติ๊กถูกที่เลเยอร์ พื้นที่สปก. > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีขาวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ส.ป.ก.
    *** ตามภาพคือ สนามแข่งรถอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. แน่ๆ

    03

    3. ลองคลิกดูที่เลเยอร์ เขตป่าสงวน > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีเขียวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ป่าสงวน
    04

    4. ลองคลิกเลือกทั้ง 2 เลเยอร์ พร้อมกัน คือ พื้นที่สปก. และ เขตป่าสงวน
    05

    นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มาประยุกต์ใช้ด้านบริหารเขตพื้นที่และการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งกว่าที่หน่วยงานจะได้เลเยอร์ชั้นข้อมูลนี้มา ต้องมีขั้นตอนต่างๆ มากมายหลายขั้นตอน แต่เพื่อการใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หลายหน่วยงานจึงยินดีที่จะเปิดให้บริการแบบฟรีๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ^^

     

     

     

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application

    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ

    ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน

    ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    01

    จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ

    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์

    คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน?
    ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?
    ตอบ : ในทุกๆด้าน
    05

    ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน02

    GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

    04 03

    *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^

    สรุป
    Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน

    ตัวอย่าง Web Map App.