Tag: file permission

  • How to list linux file permissions in Octal Notation

    วันนี้เนื่องจากทีมผู้ดูแล  Web Hosting ต้องการดูว่ามีไฟล์ไหนบ้างที่มี permission เป็น 777 ก็เลยนั่งหาดูพบว่า สามารถใช้คำสั่ง stat ในการดูได้ เช่น

    $stat -c "%a %n" /var/www

    ผลลัพธ์
    Screenshot from 2013-05-01 11:47:06

    หรือ

    $stat -c "%A (%a) %8s %.19y %n" /var/www

    ผลลัพธ์
    Screenshot from 2013-05-01 11:49:19

    ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถทำให้มัน recursive ได้ ก็ต้องหาไปทีละโฟลเดอร์ …. จนกระทั่งเจออีกคำสั่ง คือ สร้าง alias ชื่อ lso ดังนี้

    $alias lso="ls -alG | awk '{k=0;for(i=0;i<=8;i++)k+=((substr(\$1,i+2,1)~/[rwx]/)*2^(8-i));if(k)printf(\" %0o \",k);print}'"

    เมื่อจะใช้งาน ก็เพียงสั่ง lso ที่คอมมานด์ไลน์ ผลลัพธ์
    Screenshot from 2013-05-01 11:54:27

    สามารถปรับ option ของ ls ใน alias ให้ recursive ได้โดยเพิ่ม R ตัวใหญ่ลงไป ดังนี้

    $alias lso="ls -alGR | awk '{k=0;for(i=0;i<=8;i++)k+=((substr(\$1,i+2,1)~/[rwx]/)*2^(8-i));if(k)printf(\" %0o \",k);print}'"

    เมื่อเรียกใช้จะได้ผลลัพธ์
    Screenshot from 2013-05-01 11:57:21

    สามารถใช้ร่วมกับ grep เพื่อค้นหาเฉพาะค่าที่ต้องการ เช่น

    $lso|grep " ^777"

    ผลลัพธ์
    Screenshot from 2013-05-01 13:11:12

    ก็พอจะช่วยได้บ้างครับ Big Smile ขอให้สนุกครับ

    ที่มา

    http://thenubbyadmin.com/2012/02/16/how-to-list-linux-file-permissions-in-octal-notation/

    http://askubuntu.com/questions/152001/how-can-i-get-octal-file-permissions-from-command-line

  • WordPress file owner and permission

    ตอนนี้เราควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ wordpress โดยการตั้งค่าสิทธิของไดเรกทอรีและไฟล์มากขึ้นเพราะมีข่าวที่เว็บไซต์มีช่องโหว่แล้วถูกฝังโค้ด

    เช่น แต่เดิมเราติดตั้ง wordpress ไว้ในไดเรกทอรี /var/www/wordpress แล้วเพื่อให้ทำงานติดตั้ง plugins เพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บด้วย themes ใหม่ๆ หรือการอัปโหลดรูปภาพและสื่อ รวมทั้งการ upgrade เวอร์ชั่นของ wordpress ทำได้สะดวกง่ายๆ ด้วยการกำหนดสิทธิอย่างง่ายคือ

    sudo chown -R www-data.www-data /var/www/wordpress

    ก็ใช้งานได้แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเป็นเหยื่อได้ ผมได้คุยกับน้องใหญ่ แล้วก็ลงความเห็นกันว่า เราควรตั้งค่า file owner และ file permission ให้มันเข้มขึ้นแต่ยังสะดวกในการทำงานติดตั้งอะไรๆได้ด้วย ก็เป็นที่มาของคำสั่งข้างล่างนี้

    อันดับแรกก็จะต้องกำหนด file owner กันก่อน ถ้า ubuntu server ของเรา ใช้ username คือ mama และมี group ชื่อ adm ซึ่งเป็นชื่อ group ที่มีสิทธิทำอะไรได้มากกว่า user ธรรมดา ก็ใช้ mama:adm นี้ได้ หรือจะใช้ mama:mama ก็ได้ครับ (ที่เป็น adm ก็เผื่อไว้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะเพิ่ม username สักคนเข้าใน groupname adm นี้ก็เท่านั้นเอง) ดังนี้

    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress
    sudo chown -R mama:adm /var/www/wordpress/wp-content/

    ถัดมาก็กำหนด file owner ที่ให้สิทธิ apache web server ซึ่งใช้ username คือ www-data และ groupname คือ www-data เพียงแค่ไดเรกทอรีที่จำเป็น ดังนี้

    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/themes
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    sudo chown -R mama:www-data /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    ถัดไปก็กำหนด file permission ให้กับไดเรกทอรีเหล่านี้ด้วย (ผมเพิ่ม -R ลงไปในคำสั่งด้านล่างนี้ด้วยแล้ว) ดังนี้

    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/plugins
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/themes
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/upgrade
    chmod -R 775 /var/www/wordpress/wp-content/uploads

    สุดท้าย เราต้องแก้ไขไฟล์ชื่อ wp-config.php ด้วยนะ เหตุผลตรงนี้คือ เราไม่ต้องการติดตั้งแบบที่มันจะถาม ftp user แต่ต้องการให้ติดตั้งได้อัตโนมัติ ให้แก้ไขดังนี้

    sudo vi /var/www/wordpress/wp-config.php

    โดยให้แทรกบรรทัด

    define('FS_METHOD', 'direct');

    ไว้ก่อนบรรทัดนี้ อยู่ประมาณ 10 บรรทัดนับจากท้ายไฟล์ครับ

    /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */

    ผมคิดว่าหากเป็น CMS ตัวอื่นๆ ก็คงใช้แนวทางเดียวกันนี้ได้

    ขอจบเพียงเท่านี้ และขอขอบคุณข้อมูลจากคุณเกรียงไกร หนูทองคำ ครับ