Tag: excel

  • Mail merge ด้วย Excel Online และ Power Automate

    สิ่งที่ต้องมี

    1. เมล์มหาวิทยาลัยที่ใช้งานที่ http://email.psu.ac.th
    2. Browser เช่น Edge, Firefox ฯลฯ

    Optional

    1. Office 365 Desktop แต่บทความนี้จะไม่ใช้นะครับ

    เริ่มได้

    1. ล็อคอินเข้าระบบที่ http://email.psu.ac.th
    2. คลิกปุ่ม 9 จุดมุมบนซ้าย เลือก Excel คลิก Blank workbook
    1. คลิกที่คำว่า Book1 เพื่อเปลี่ยนชื่อไฟล์ และเลือกโฟลเดอร์บน Onedrive สำหรับเก็บไฟล์นี้ให้เรียบร้อย
    1. กรอกข้อมูลที่จะใช้ส่งอีเมล เช่น
    1. เลือกข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ A1 ถึง B3 แล้วคลิกที่ Insert เลือก Table และคลิกที่ My table has headers แล้วคลิก OK
    1. ได้ดังภาพ
    1. จากนั้นคลิกที่ Automate แล้วคลิกที่ Automate Work
    1. ได้ดังภาพ
    1. ให้เลื่อนช่องด้านขวาลงมาล่างสุดจนเห็นคำว่า See all templates
    1. คลิก See all templates จะได้หน้าต่างใหม่ดังภาพ
    1. พิมพ์ต่อท้ายคำว่า Excel ว่า send แล้วกดปุ่ม enter บนคีย์บอร์ดจะเจอ Send an email for a selected row ให้คลิกที่ช่องนั้นได้เลย
    1. จะได้หน้าตาประมาณนี้
    1. คลิก Continue จะได้
    1. ในส่วนของ For a selected row เลือกข้อมูลให้ถูกต้องดังนี้ ซึ่งในบทความนี้จะเซฟไฟล์ไว้ใน OneDrive เลยดังนั้นเลือกเป็นดังภาพ ช่อง Table สำคัญมากคือ Table1
    1. ในส่วนของ Send an email ในช่อง To ให้ลบของเก่าออกแล้วเลือกชื่อฟิลด์ email ของเราที่กรอกเตรียมไว้แล้วใน excel
    1. Subject พิมพ์ตามต้องการ และ Body ก็จะเป็นเนื้อหาที่ต้องการส่งให้ผู้รับอ่านสามารถกรอกได้เลย สามารถเลือกฟิลด์ต่าง ๆ ใน excel มาใช้งานได้
    1. เมื่อเสร็จสิ้นแล้วกด Save
    2. กลับมาที่ excel กดปุ่ม Automate Work อีกครั้ง จะเห็นว่าหัวข้อเพิ่มขึ้นมาคือ Flows in this workbook
    1. ให้เลือกแถวที่ต้องการส่งอีเมล (A2-A3) แล้วไปคลิกที่จุดสามจุดหลังชื่อ Flows ดังภาพ
    1. คลิก Run
    1. คลิก Run flow จะได้ดังภาพ เมล์จะถูกส่งไปเรียบร้อย คลิก Done เพื่อจบการทำงาน
    1. เมื่ออีเมลถูกส่งไปค่าต่างๆ ในไฟล์ excel และเราได้ใส่ในเนื้อเมล์จะถูกแทนที่ให้อัตโนมัติ
    1. จบขอให้สนุก
  • Excel : ลำดับที่แบบตัวเลขด้วยคำสั่งง่าย ๆ ไม่ต้องลากเมาส์!

    เคยไหม ที่พยายามใส่เลข 1-100 ใน Column ใด ๆ เอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ แบบนี้

    บางคนใช้วิธีพิมพ์เอง 😒

    บางคนใช้วิธีพิมพ์เลข 1 2 3 คลุมแล้วลาก 😂

    แต่!!! จะดีกว่าไหม ถ้ามีวิธีที่เร็วและเราสามารถระบุได้ว่าจะสิ้นสุดที่เลขใด 😍 มาดูวิธีกันเลยค่ะ

    ใน Cell A1 พิมพ์คำสั่งดังนี้ค่ะ

    =SEQUENCE(xx) โดยที่ xx คือจำนวนที่เราต้องการให้เลขแสดงถึง

    แล้วกดปุ่ม Enter!

    โดยตัวอย่างในวีดีโอ ให้แสดงถึงเลข 20 ดังนั้นคำสั่งจึงเป็นดังนี้ค่ะ

    =SEQUENCE(20)

    เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ Running Number จาก 1-100 โดยที่ไม่ต้องลากเมาส์แล้วค่ะ 😁👍💖

    หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่าาา

  • การนับจำนวนข้อมูลโดยใช้ Pivot Table

    ตามปกติหากเราต้องการนับจำนวนข้อมูลที่ซ้ำๆ กัน ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ใน Excel หลาย ๆคนคงใช้ฟังก์ชัน COUNTIF ในการนับจำนวนกัน แต่วันนี้มีอีกวิธีที่จะมานำเสนอนั้นคือการใช้ Pivot Table ในการนับจำนวน ซึ่งใช้งานง่ายและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ ลองมาดูวิธีกันเลยนะคะ

    1. ใน excel ที่เรามีข้อมูลซ้ำ ๆ กันหน้าตาแบบนี้

    2. ไปที่เมนู Insert เลือก Pivot Table

    3. ปรากฏหน้าจอ Create PivotTable เพื่อให้เลือกกลุ่มของข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน ให้เลือกคอลัมน์ที่ต้องการนับจำนวน  แล้วกดปุ่ม OK  ดังรูป

    4. ปรากฏหน้าจอการทำงานของ Pivot Table ให้เลือกลากข้อมูลชื่อ-สกุล มาไว้ในช่อง  Rows และ Values สังเกตุว่าในช่อง Values ใน Excel จะใช้ฟังก์ชัน Count ให้เราโดยอัตโนมัติ ดังรูป

    5. แสดงข้อมูลผลลัพธ์ของการนับจำนวนโดยใช้ Pivot Table ดังรูป

             

    เป็นไงบ้างคะ ยังไงก็ลองดูเอาไว้เป็นทางเลือกนะคะ เพราะบางคนอาจจะไม่ถนัดในการใช้สูตร คิดว่าวิธีนี้ก็น่าจะเป็นอีกวิธีที่น่าสนในค่ะ ^^

  • การสลับข้อมูลจาก Column เป็น Row ใน Excel

    ท่านผู้อ่านที่ใช้งาน Excel น่าจะเคยเจอปัญหาหรือมีความต้องการที่ว่า มีข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Column แต่ต้องการย้ายให้มาแสดงในรูปแบบ Row ถ้าต้อง copy แล้วมา paste ทีละตัวคงไม่สะดวกอย่างแน่นอน แต่ Excel ได้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับแก้ปัญหาเหล่านี้เอาไว้แล้ว ลองไปดูกันเลย

    1.สมมติเรามีข้อมูลชื่อเดือนเก็บอยู่ในเ Excel ในคอลัมน์เดียวกันเรียงกันลงมาดังรูป

    2. เลือกข้อมูลที่ต้องการย้ายทั้งหมดแล้ว copy เก็บไว้

    3. ไปยัง sheet หรือ cell ที่ต้องการ จากนั้นคลิกขวา ใต้เมนู Paste Options เลือกไอคอนที่ 4 (Transpose)

    4. ก็จะได้ข้อมูลมาอยู่ในรูปแบบแนวนอน ดังรูป

    5. จากข้อ 2 ถ้าเราเลือกเมนู Paste Special… จะปรากฏ dialog ดังรูป ให้เลือก Transpose จากกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ก็จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน

    นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ฟังก์ชัน TEXTJOIN() โดยฟังก์ชันนี้จะทำหน้าที่รวมข้อความจากช่วงข้อมูลหรือข้อความหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกันและสามารถระบุตัวคั่นระหว่างข้อมูลได้ด้วย โดยฟังก์ชันนี้จะมี parameter สามส่วนหลักๆ คือ

    TEXTJOIN(ตัวคั่น, ignore_empty, text1, [text2], …)
    พารามิเตอร์คำอธิบาย
    ตัวคั่นสตริงข้อความไม่ว่าจะเป็นสตริงข้อความว่าง, ประกอบอักขระอย่างน้อย 1 ตัวในอัญประกาศ หรือมีการอ้างอิงไปยังสตริงข้อความที่ถูกต้อง ถ้ามีตัวเลขอยู่ก็ถือว่าเป็นข้อความ
    ignore_emptyถ้าเป็นค่า TRUE ให้ละเว้นเซลล์ว่าง
    text1รายการข้อความที่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน สตริงข้อความ หรืออาร์เรย์ของสตริง เช่น ช่วงเซลล์
    [text2, …]รายการข้อความเพิ่มเติมที่จะถูกรวมเข้าด้วยกัน สามารถมีอาร์กิวเมนต์ข้อความสำหรับรายการข้อความได้สูงสุด 252 รายการ รวมถึง text1 แต่ละรายการสามารถเป็นสตริงข้อความหรืออาเรย์ของสตริงได้ เช่น ช่วงเซลล์

    ตัวอย่างการใช้งานดังรูป

    จะเห็นว่าถ้าเป็นวิธีใช้ฟังก์ชัน TEXTJOIN ข้อมูลจะถูกนำมารวมในฟิลด์เดียวกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเลือกนำไปประยุกต์ใช้ ว่าวิธีการไหนจะเหมาะกับงานตัวเอง

    ก่อนจะจากไป ขอแถมอีกวิธีบน MS Word เผื่อใครอยากทำอะไรคล้ายๆ แบบนี้ วิธีการคือ

    1. ข้อมูลแยกกันอยู่คนละบรรทัด ดังตัวอย่าง

    2. เลือกข้อมูลทั้งหมด จากนั้นกด Ctrl + H จะปรากฏ dialog “Find and Replace” ดังรูป

    3. ป้อน ^p ในช่อง Find what: และป้อน , ลงในช่อง Replace with: จากนั้นกด Replace All ข้อมูลทั้งหมดจะถูกยุบมาอยู่ในบรรทัดเดียวกัน โดยมี , คั่นอยู่ระหว่างข้อมูลแต่ละบรรทัด ดังรูป

    ซึ่งเทคนิคนี้ก็คือการแทนที่อักขระขึ้นบรรทัดใหม่ ด้วย , นั่นเอง

    ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย จนกว่าจะพบกันใหม่

    สวัสดีครับ


    อ้างอิง

    https://superuser.com/questions/240858/convert-a-column-into-a-comma-separated-list
    http://www.saranitus.com/2018/10/ย้ายข้อมูลจาก-row-เป็น-column-ใน-excel-2016.html
    https://www.it-guides.com/training-a-tutorial/office-tutorial/transpose-microsoft-excel-2007
    https://support.microsoft.com/th-th/office/textjoin-ฟังก์ชัน-textjoin-357b449a-ec91-49d0-80c3-0e8fc845691c

  • มาจัดการข้อมูลซ้ำ ๆ และเอาข้อมูลล่าสุดกัน ใน Excel

    สืบเนื่องจากเมื่อ 2-3 เดือนก่อน มีโอกาสได้ทำแบบสอบถาม เก็บข้อมูลนักศึกษา แล้วนักศึกษากรอกข้อมูลมาซ้ำ ๆ กันหลายคน และเราจะเอาแค่ข้อมูลล่าสุดเท่านั้น ทำไงกันดีนะ….. ในเมื่อแบบสอบถาม export ออกมาเป็น excel ได้ เราก็มาลองดูว่าทำไงได้บ้าง เล่นไปเล่นมา เฮ้ย ง่ายจุง ได้ข้อมูลตามต้องการด้วยสิ มาดูกัน

    จากภาพ เราต้องทำการ Sort รหัสนักศึกษาและ Timestamp ล่าสุด สุ่มดูคร่าว ๆ รหัสนักศึกษา 6110610025 มีรายการซ้ำ เมื่อจัดการข้อมูลซ้ำและให้เหลือเฉพาะข้อมูลล่าสุด ต้องเป็นแถวที่ 42

    จากนั้นคลิกแท็บ Data –> Remove Duplicates เลือกเลือกเฉพาะ รหัสนักศึกษา ซึ่งมันซ้ำกันอยู่ เมื่อเรียบร้อยแล้วจะแสดง Dialog แจ้งบอก

    มี 28 รายการที่ซ้ำและได้ลบออกไปแล้ว 165 รายการที่ไม่ซ้ำ สุ่มดู รหัส 6110610025 จะพบแค่รายการล่าสุดเท่านั้น

    เป็นวิธีที่ง่ายมาก ลองนำไปใช้กันดูนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ…..

  • เปลี่ยน font หัว column ใน Excel ง่ายๆ

    วันนี้ทางผู้เขียนขอเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ด้วยบทความอันแสนสั้น และเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

    ซึ่งสามารถทำตามได้ง่ายๆ เกี่ยวกับเจ้าตัว Microsoft Excel นี่แหละ ปะ! … เรามาเริ่มเลยละกัน

    สำหรับคนที่ใช้ Excel กันอยู่แล้ว หลายๆ คนอาจจะเคยสงสัยเหมือนผู้เขียน ว่ารูปแบบตัวอักษร

    ที่อยู่บนหัวตารางเนี่ย เราสามารถเปลี่ยนมันได้มั้ย เปลี่ยนเป็นตามแบบที่เราชอบได้รึเปล่า ???

     

    จริงๆ แล้วรูปแบบของหัวตาราง มันคือรูปแบบที่เรียกว่า Normal Style นั่นเอง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า

    ถ้าเราไปเปลี่ยนเจ้า Normal Style ตัวนี้ รูปแบบหัวตารางของเราก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย…จริงมั้ย

     

    คำถามถัดมาละ … แล้วเราจะไปเปลี่ยนเจ้า Normal Style ตัวนี้ได้ยังไง ไปตรงไหน เลือกอะไร ???

    วันนี้ขอเขียนขั้นตอนการเปลี่ยน Normal Style แบบง่ายๆ กลั้นหายใจไม่ถึง 10 วิ ก็เสร็จละ ปะ ลุยยย !

     

    Step 1. ขาดไม่ได้เลยนะขั้นตอนนี้ …. เปิด Excel ก่อนเลย แหะๆ พอเปิดแล้วก็จะได้มาประมาณนี้

    (สังเกตจากที่จากรูป แบบ Normal Style ตัวอักษรหน้าตาก็จะพื้นๆ เรียบๆ นิดหน่อย)

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 2. ให้คลิกขวา ตรงรูปแบบที่ชื่อว่า Normal จากนั้น ให้เลือก Modify… ตัวอย่างตามรูปที่ 2 เลยนะ

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 3. จะปรากฏหน้าต่างเล็กที่ชื่อว่า Style ขึ้นมา ให้เราคลิกเลือกปุ่ม Format… ไปได้เลย

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 4. หลังจากเลือก Format… แล้ว Excel ก็จะแสดงหน้าต่าง Format Cells ขึ้นมา ให้เราเลือกรูปแบบ

    ของ Font, Style, Size หรืออื่นๆ ตัวอย่างตามรูปด้านล่างเลยนะทุกคน เมื่อเราเลือกเรียบร้อยแล้วก็กด OK และ OK

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 5. เมื่อกด OK จนครบแล้วก็จะเห็นรูปแบบ Font ตัวอักษรตรงหัว Column เปลี่ยนไป ตัวอย่างตามรูปเลยจ๊ะ

    แท่น แท่น แท๊นนนนนนนน …. เย้ Font เปลี่ยนแล้ววววว !!

     

     

     

     

     

     

     

     

    เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ง่ายเนอะ คลิกไปคลิกมา ปุบปับๆ ก็เสร็จละ ซึ่งเจ้าตัว Normal Style ตัวนี้ที่เราเปลี่ยน

    เมื่อไหร่ที่เราเปิดไฟล์ใหม่ Style เหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเช่นเดิมน๊าาาาา สบายใจได้ สำหรับครั้งนี้

    ผู้เขียนขอขอบคุณทุกคนที่เผลอคลิกเข้ามาอ่านนะ 55+ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะมีประโยชน์ให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

    ***************************************************************************************************************

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

    –> http://www.inwexcel.com/10-excel-secrets/

  • วิธีแก้ไข Excel เปิดไฟล์ CSV แล้วอ่านภาษาไทยไม่ออก

    ผู้ใช้จะใช้คำประมาณว่า “เป็นภาษาต่างดาว” เอ่อ … ภาษาต่างดาวเนี่ยเป็นไงครับ ? อย่างคนเขียนคำว่า “私はあなたを愛している” ทำไมเราถึงรู้ว่า นี่คือภาษาญี่ปุ่น หรือ “我愛你”  ทำไมเราถึงรู้ว่า นี่เป็นภาษาจีน หรือ “Я люблю тебя” เป็นภาษารัสเซีย

    เปลี่ยนเป็นคำว่า “เป็นภาษาที่อ่านไม่ออก” หรือ “ไม่ออกมาเป็นภาษาไทย” จะถูกต้องกว่านะครับ

    ปัญหา

    ผู้ใช้เปิดไฟล์ที่แน่ใจได้ว่า Export จากระบบมาเป็น Unicode/UTF-8 แน่นอน

    สังเกต Column F

    เหตุ

    Microsoft Excel เค้าจะ Default ใช้ Charset เป็น Windows-874

    วิธีการแก้ไข

    สร้างไฟล์ Excel ใหม่

    คลิกเมนู Data -> From Text/CSV
    (ของใครเมนูภาษาไทย เทียบเคียงเอาเองนะครับ)

    เลือกไฟล์ CSV ที่ต้องการ เบื้องต้นตอนจะ Import จะได้เห็นสิ่งที่ Excel ทำ คือ Default เป็น Windows-874

    ต่อไป เปลี่ยนที่ File Origin เป็น Unicode/UTF-8
    หรือ แล้วแต่ที่ต้นทาง Export มา

    ก็จะได้ ภาษาไทยสวยงาม

    เมื่อคลิก Load ก็จะได้ข้อมูลที่เป็น “ภาษาไทย” อ่านออกแล้ว

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • รู้จักฟังก์ชัน Excel ตอนที่ 2 เรื่อง ตระกูลท่าน Count (COUNTIF, COUNTIFS)

    พบกันอีกครั้งนะคะ กับ Excel ตอน ตระกูลท่าน Count ตอนที่ 2 ค่ะ สำหรับตอนที่ 2 นี้จะเป็นการแนะนำการใช้ Function COUNTIF และ COUNTIFS มาเริ่มกันเลยค่ะ

    COUNTIF

    เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการ 1 เงื่อนไข เช่น

    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A”
    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 75 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 75”

    รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range, criteria)

    • range คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน
    • criteria คือ เงื่อนไขที่ต้องการ

    ตัวอย่าง

    จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A ดังนั้น

    • range คือ ช่วง D3 ถึง D7
    • criteria คือ “A”

    ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIF(D3:D7,”A”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 2 ดังภาพ

     


    COUNTIFS

    เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการโดยเงื่อนไขนั้นมีมากกว่า 1 เงื่อนไข เช่น

    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A และเป็นเพศหญิง : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A” และ “เพศหญิง”
    • ต้องการนับจำนวนเด็กเข้าอบรมได้คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79”

    รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range_criteria1, criteria1, [range_criteria2, criteria2],…)

    • range_criteria1 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 1 ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • criteria1 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขแรก ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • range_criteria2 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 2 ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • criteria2 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขที่สอง ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • สามารถระบุเงื่อนไขที่ต้องการได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A และได้คะแนนมากกว่า 90 ดังนั้น

    เงื่อนไขแรก

    • range_criteria1 คือ ช่วง D3 ถึง D7
    • criteria1 คือ “A”

    เงื่อนไขที่สอง

    • range_criteria2 คือ ช่วง E3 ถึง E7
    • criteria2 คือ “>=90”

    ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIFS(D3:D7,”A”,E3:E7,”>=90″) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1 ดังภาพ

    สำหรับเรื่องราวของตระกูลท่าน Count ก็จบลงในตอนที่ 2 แต่เพียงเท่านี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ

    แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ 

  • รู้จักฟังก์ชัน Excel ตอนที่ 1 เรื่อง ตระกูลท่าน Count

    หลาย ๆ ท่านคงใช้ Excel อยู่ในชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย อาจจะชินตากับ Function Count กันอยู่บ่อย ๆ แต่ Function นี้ ไม่ได้มาเดี่ยว ๆ นะคะ ยังมีญาติ ๆ ในตระกูลอีกเพียบเลย มาดูกันค่ะว่า มีอะไรบ้าง และแต่ละ Function นั้นทำงานกันอย่างไรค่ะ

    1. COUNT
    2. COUNTA
    3. COUNTBLANK
    4. COUNTIF
    5. COUNTIFS

    Function ตระกูล Count หลัก ๆ ที่ผู้เขียนใช้งานจะมี 5 Function ข้างต้นนะคะ สำหรับในตอนที่ 1 นี้ ผู้เขียนจะนำเสนอ 3 ฟังก์ชันแรกก่อนก็คือ COUNT, COUNTA และ COUNTBLANK ค่ะ ส่วนอีก 2 Function สามารถติดตามต่อได้ในตอนที่ 2 นะคะ

     

    COUNT 

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนเฉพาะตัวเลข โดยไม่นับตัวอักษรและช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range) หรือเลือกทีละค่า(value) ตามที่เราต้องการ

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNT(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวน ในที่นี้คือใส่ทีละค่า ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องมี
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    ภาพที่ 1 การเลือกทีละค่าเพื่อนับจำนวนโดยใช้ Function Count

     

    รูปแบบ Function แบบ range คือ COUNT(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวนในที่นี้คือใส่เป็นช่วง การระบุคือ จุดเริ่มต้น:จุดสิ้นสุด ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    ภาพที่ 2 การเลือกค่าเป็นช่วงเพื่อนับจำนวนโดยใช้ Function Count

    ผลลัพธ์ที่ได้

    หมายเหตุ เนื่องจาก จากภาพที่ 1 และ 2 มีการเลือกค่าเท่ากับการเลือกแบบช่วงดังนั้นค่าที่ได้จะเท่ากันค่ะ

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function Count จะนับเฉพาะตัวเลขเท่านั้น ส่วนตัวอักษรหรือช่องว่าง จะไม่ถูกนับค่ะ

    ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลคำนำหน้า เกรดและคะแนน จะนับได้แค่ 0 เนื่องจากมีช่องว่างข้อมูลและข้อมูลใน Column นั้นเป็นตัวอักษรค่ะ


    COUNTA

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนข้อมูลทั้งหมดทั้งตัวอักษรและตัวเลข แต่ไม่นับช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range) หรือเลือกทีละค่า(value) ตามที่เราต้องการดังภาพค่ะ

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNTA(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวน จะระบุทีละค่าหรือระบุเป็นช่วงก็ได้ แต่ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องมี
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function CountA จะนับข้อมูลทั้งหมด ยกเว้นช่องว่าง จะไม่ถูกนับค่ะ

    ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลเกรดและคะแนน จะนับได้แค่ 4 เนื่องจากมีช่องว่างข้อมูลละช่อง


    COUNTBLANK

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนเฉพาะช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range)

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNTBLANK(range)

    • range คือ ช่วงของข้อมูลที่ต้องการ

    ตัวอย่าง

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function CountBlank จะนับเฉพาะข้อมูลที่เป็นช่องว่างค่ะ

    ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลในที่นี้มีช่องเกรดและช่องคะแนน ที่มีช่องว่าง Column ละช่อง

     

    สำหรับในตอนที่ 1 ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ สามารถติดตาม Function COUNTIF และ COUNTIFS ต่อได้ในตอนที่ 2 ค่ะ