Tag: count

  • รู้จักฟังก์ชัน Excel ตอนที่ 2 เรื่อง ตระกูลท่าน Count (COUNTIF, COUNTIFS)

    พบกันอีกครั้งนะคะ กับ Excel ตอน ตระกูลท่าน Count ตอนที่ 2 ค่ะ สำหรับตอนที่ 2 นี้จะเป็นการแนะนำการใช้ Function COUNTIF และ COUNTIFS มาเริ่มกันเลยค่ะ

    COUNTIF

    เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการ 1 เงื่อนไข เช่น

    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A”
    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 75 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 75”

    รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range, criteria)

    • range คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน
    • criteria คือ เงื่อนไขที่ต้องการ

    ตัวอย่าง

    จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A ดังนั้น

    • range คือ ช่วง D3 ถึง D7
    • criteria คือ “A”

    ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIF(D3:D7,”A”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 2 ดังภาพ

     


    COUNTIFS

    เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการโดยเงื่อนไขนั้นมีมากกว่า 1 เงื่อนไข เช่น

    • ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A และเป็นเพศหญิง : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A” และ “เพศหญิง”
    • ต้องการนับจำนวนเด็กเข้าอบรมได้คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79”

    รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range_criteria1, criteria1, [range_criteria2, criteria2],…)

    • range_criteria1 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 1 ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • criteria1 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขแรก ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • range_criteria2 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 2 ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • criteria2 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขที่สอง ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • สามารถระบุเงื่อนไขที่ต้องการได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A และได้คะแนนมากกว่า 90 ดังนั้น

    เงื่อนไขแรก

    • range_criteria1 คือ ช่วง D3 ถึง D7
    • criteria1 คือ “A”

    เงื่อนไขที่สอง

    • range_criteria2 คือ ช่วง E3 ถึง E7
    • criteria2 คือ “>=90”

    ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIFS(D3:D7,”A”,E3:E7,”>=90″) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1 ดังภาพ

    สำหรับเรื่องราวของตระกูลท่าน Count ก็จบลงในตอนที่ 2 แต่เพียงเท่านี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ

    แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ 

  • รู้จักฟังก์ชัน Excel ตอนที่ 1 เรื่อง ตระกูลท่าน Count

    หลาย ๆ ท่านคงใช้ Excel อยู่ในชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย อาจจะชินตากับ Function Count กันอยู่บ่อย ๆ แต่ Function นี้ ไม่ได้มาเดี่ยว ๆ นะคะ ยังมีญาติ ๆ ในตระกูลอีกเพียบเลย มาดูกันค่ะว่า มีอะไรบ้าง และแต่ละ Function นั้นทำงานกันอย่างไรค่ะ

    1. COUNT
    2. COUNTA
    3. COUNTBLANK
    4. COUNTIF
    5. COUNTIFS

    Function ตระกูล Count หลัก ๆ ที่ผู้เขียนใช้งานจะมี 5 Function ข้างต้นนะคะ สำหรับในตอนที่ 1 นี้ ผู้เขียนจะนำเสนอ 3 ฟังก์ชันแรกก่อนก็คือ COUNT, COUNTA และ COUNTBLANK ค่ะ ส่วนอีก 2 Function สามารถติดตามต่อได้ในตอนที่ 2 นะคะ

     

    COUNT 

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนเฉพาะตัวเลข โดยไม่นับตัวอักษรและช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range) หรือเลือกทีละค่า(value) ตามที่เราต้องการ

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNT(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวน ในที่นี้คือใส่ทีละค่า ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องมี
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    ภาพที่ 1 การเลือกทีละค่าเพื่อนับจำนวนโดยใช้ Function Count

     

    รูปแบบ Function แบบ range คือ COUNT(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวนในที่นี้คือใส่เป็นช่วง การระบุคือ จุดเริ่มต้น:จุดสิ้นสุด ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องระบุ
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    ภาพที่ 2 การเลือกค่าเป็นช่วงเพื่อนับจำนวนโดยใช้ Function Count

    ผลลัพธ์ที่ได้

    หมายเหตุ เนื่องจาก จากภาพที่ 1 และ 2 มีการเลือกค่าเท่ากับการเลือกแบบช่วงดังนั้นค่าที่ได้จะเท่ากันค่ะ

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function Count จะนับเฉพาะตัวเลขเท่านั้น ส่วนตัวอักษรหรือช่องว่าง จะไม่ถูกนับค่ะ

    ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลคำนำหน้า เกรดและคะแนน จะนับได้แค่ 0 เนื่องจากมีช่องว่างข้อมูลและข้อมูลใน Column นั้นเป็นตัวอักษรค่ะ


    COUNTA

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนข้อมูลทั้งหมดทั้งตัวอักษรและตัวเลข แต่ไม่นับช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range) หรือเลือกทีละค่า(value) ตามที่เราต้องการดังภาพค่ะ

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNTA(value1, [value2],…)

    • value1 คือ ค่าข้อมูลแรกที่ต้องการนับจำนวน จะระบุทีละค่าหรือระบุเป็นช่วงก็ได้ แต่ค่านี้จำเป็นต้องระบุ
    • value2 คือ ค่าข้อมูลที่สอง ที่ต้องการนับจำนวน ไม่จำเป็นต้องมี
    • สามารถเลือกค่าได้เรื่อย ๆ

    ตัวอย่าง

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function CountA จะนับข้อมูลทั้งหมด ยกเว้นช่องว่าง จะไม่ถูกนับค่ะ

    ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลเกรดและคะแนน จะนับได้แค่ 4 เนื่องจากมีช่องว่างข้อมูลละช่อง


    COUNTBLANK

    สำหรับฟังก์ชันนี้ จะใช้สำหรับนับจำนวนเฉพาะช่องว่าง ที่อยู่ในช่วงที่เรากำหนด(range)

    รูปแบบ Function แบบ value คือ COUNTBLANK(range)

    • range คือ ช่วงของข้อมูลที่ต้องการ

    ตัวอย่าง

    จากผลลัพธ์ที่ได้ จะเห็นได้ว่า Function CountBlank จะนับเฉพาะข้อมูลที่เป็นช่องว่างค่ะ

    ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลในที่นี้มีช่องเกรดและช่องคะแนน ที่มีช่องว่าง Column ละช่อง

     

    สำหรับในตอนที่ 1 ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ สามารถติดตาม Function COUNTIF และ COUNTIFS ต่อได้ในตอนที่ 2 ค่ะ