บทความชุด
Apache Spark
Ambari
ElasticSearch + LogStash + Kibana
Python101
Raspberry Pi 3
เตาะแตะไปกับ Docker
Zoom PSU
Zoom Meeting
Zoom Phone
Microsoft 365
Microsoft Authenticator
How to import/export contact lists
Export contacts from Gmail and import to Microsoft 365
How to redirect email from Gmail to Outlook
How to redirect email from Outlook to Gmail
ยกเลิกการใช้งาน Google เป็น POP3 client
How to install Microsoft 365
Add an email account to Outlook
ย้าย Google Workspace Mail Service มา Office365 Mail Service
Set up email with iOS Mail app
Microsoft 365 FAQ
Workshop
WorkShop : Load Balance Web Server (Server High Availability)
Server Monitoring
Web Hacking and Security Workshop
Google Apps Scripts Workshop – Level 1
Log in
Search
Tag:
compute
GCP #01 วิธีการสร้าง Virtual Machine บน Google Cloud Platform
ขั้นตอน
มี Google Account
ไปที่ https://console.cloud.google.com/start
สำหรับคนที่ใช้ครั้งแรก ควรจะใช้สิทธิ์ Free Trial 300 USD / 12 Month
ในการใช้งาน จะต้องมี Billing Account โดยต้องกรอกข้อมูล บัตร Credit/Debit ซึ่งต้องเป็น VISA/MasterCard เท่านั้น และต้องไม่ใช่ Prepaid ด้วย
https://cloud.google.com/billing/docs/how-to/payment-methods#add_a_payment_method
เมื่อเสร็จแล้วจะได้ Credit อย่างนี้
ต่อไป สร้าง Virtual Machine กัน
ไปที่ เมนู > Cloud Launcher
จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ระบบจะสร้าง “My First Project” ไว้ให้ ซึ่งเราสามารถ สร้าง Project ใหม่ก็ได้ แต่ตอนนี้ใช้อย่างนี้ไปก่อน
ต่อไป จะลองสร้าง Ubuntu Server ขึ้นมาใช้งาน ในที่นี้จะสร้าง Ubuntu 14.04
พิมพ์ Ubuntu ในช่องค้นหา แล้ว เลือก Ubuntu 14.04
จากนั้น คลิก Launch on Compute Engine
ตั้งชื่อตามต้องการ (ถ้าต้องการ)
สามารถเลือก Zone และ Machine Type ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกัน
ค่าเริ่มต้น Machine Type: n1-standard-1 จะให้ 1 vCPU, 3.75 GB RAM และ 10 GB standard persistent disk หากต้องการ Disk เพิ่ม สามารถคลิก Change เพื่อเพิ่มได้ (standard persistent disk จะราคาถูกกว่า ssd มาก)
ต่อไป กำหนดเรื่องเของ Firewall ถ้าให้บริการ HTTP/HTTPS ก็คลิกเลือกได้เลย
ในกรณีที่ต้องการกำหนดค่าอื่นๆ เช่น Disk, Network, SSH Key ให้คลิก “Management, disks, networking, SSH keys”
เสร็จแล้วกดปุ่ม Create
รอสักครู่ ก็จะได้ VM มาใช้งานแล้ว
ในที่นี้ จะได้ External IP ซึ่งใช้ในการติดต่อจาก Internet มา แต่หากมีการ Restart/Stop IP address นี้ก็จะเปลี่ยนไป (การ Fix มีค่าใช้จ่ายนิดหน่อย) และ การติดต่อไปยัง VM ก็สามารถทำได้ โดยการคลิก SSH ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จาก Console นี้ หากต้องการใช้งานจาก Client อื่นก็ทำได้ แต่ต้องกำหนด SSH Key กันนิดหน่อย ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง
เพิ่มเติม ในกรณีต้องการเปิด Port เพิ่มที่ไม่ใช่ HTTP/HTTPS ให้คลิกที่ Menu > Network Services > Firewall Rules
แล้วกำหนดค่าตามต้องการ โดยการ Create Firewall Rule
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
November 14, 2017