Tag: Cloning

  • เล่าเรื่องเกี่ยวกับ cloning Windows (Windows 11)

    ผมได้ทำ google form สอบถามเกี่ยวกับการ cloning ต้นฉบับ Windows เพื่อนำไป cloned ลงยังเครื่องอื่น ๆ ในห้องปฏิบัติการหรือสำนักงาน

    ได้ข้อสรุปและคำถามมาดังนี้

    แผนภูมิ ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้ซอฟต์แวร์ใดในการ cloning Windows

    มีผู้เข้ามาตอบจำนวน 14 คน ได้ผลสรุปตามรูปภาพ
    o มีผู้ที่ตอบว่าใช้ PSU12-Sritrang (opensource.psu.ac.th) จำนวน 7 คน
    o มีผู้ที่ตอบว่าใช้ โปรแกรมอื่น จำนวน 4 คน
    o มีผู้ที่ตอบว่าใช้ FogProject (fogproject.org) จำนวน 2 คน
    o มีผู้ที่ตอบว่าใช้ PSU12-Fog (opensource.psu.ac.th) จำนวน 1 คน

    โปรแกรมอื่นที่เลือกใช้ในการ cloning Windows มีดังนี้
    o Clonezilla
    o Aomei backupper
    o Acronis True Image ทำทีละเครื่อง
    o Acronis True Image 2014 premium (ใช้ในการ clone เครื่องในสำนักงาน)
    o Norton Ghost with Windows 7 PE ใช้งานร่วมกับ PSU12-Sritrang
    o Norton ghost

    ความคิดเห็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเตรียม Windows ห้องคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
    1.การติดตั้ง Windows11 และการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับใช้ในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
    2.ทั้ง PSU12-Sritrang และ PSU12-fog ใช้โคลน windows 10 ได้ดี และทั้งการโคลนและสูตรการจัดการให้บริการห้องแลปด้วย PSU 12 Sritrang สามารถใช้บริหารจัดการห้องแลปคอมที่ใช้ windows 10 ได้ดีครับ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการเลือกบูต OS ได้ แต่การเลือก Boot OS ด้วย windows 11 จากการทดลองไม่สามารถทำได้แล้วเพราะมีการจัดการ Partition ในรูปแบบใหม่
    3.อยากให้เปิดการอบรมPSU12-Sritrang(opensource.psu.ac.th)อีกครั้งครับเพราะทำกับเครื่องจริงแล้วมีปัญหาหลายอย่าง
    4.ปัญหาการ Cloning Windows กับ SSD ssd nvme m.2
    5.ปัญหาเกี่ยวกับต้องใส่ cd key เสมอเวลา cloning windows ใหม่
    6.อยากทราบว่ามีท่านใดใช้โปรแกรมใดในการ clone harddisk ที่เป็น ssd เพราะ software รุ่นเก่าจะมองไม่เห็น เท่าที่ดู พาทของ /dev/sda ก้จะเปลี่ยน
    7.PSU12-Sritrang Support Windows11 มั้ยคับ

    ผมจะขอให้ข้อมูลเท่าที่พอจะมีความรู้นะครับ

    O เกี่ยวกับ PSU12-Sritrang (opensource.psu.ac.th)

    เนื่องจากผมทำชุดติดตั้งสำหรับ cloning Windows คือ PSU12-Sritrang (opensource.psu.ac.th) นั่นคือ ต้องมี server 1 ตัว ผมเลือกใช้ ubuntu server ทดสอบล่าสุดใช้ได้เพียง ubuntu server 20.04 เมื่อทดสอบกับ ubuntu server 22.04 จะเริ่มมีปัญหาในขณะ Boot client จึงยังคงไว้ที่รุ่นนี้ มาพูดถึงการ cloning Windows นั้น ชุดติดตั้งนี้รองรับเพียงแค่ Windows ที่สามารถจัดการ partition แบบ MBR ได้เท่านั้น เมื่อดู Windows 11 แล้วจะพบว่า ทำไม่ได้ แล้ว หากว่าเครื่อง clients ที่ลง Windows ยังสามารถทำ partition แบบ MBR ได้ ไม่ว่าจะเป็น disk ชนิด SATA หรือ SSD nvme M.2 ชุดติดตั้งนี้รองรับครับ ตั้งแต่รุ่น sysresccd-5.1.2-16.04-dvd-psu12-sritrang-server-autopartition-offline-2019-12-13.iso ครับ ปัจจุบันล่าสุดคือ sysresccd-5.1.2-20.04-dvd-psu12-sritrang-server-autopartition-offline-2022-03-18.iso

    หากใช้ PSU12-Sritrang รุ่นใด ๆ แล้วทดสอบกับคำสั่งดังนี้
    grep SSD /var/www/cloning/backup.sh
    ไม่พบข้อความ
    use for M.2 SSD

    ให้ดาวน์โหลดชุดติดตั้งได้ ซึ่งจะแบ็กอัพไฟล์เดิมไว้ให้ก่อนเขียนทับ backup.sh, welcome.sh และ multicast.sh
    wget https://ftp.psu.ac.th/pub/psu12-sritrang/download/diskselect/installdiskselect.sh
    bash installdiskselect.sh

    O เกี่ยวกับ PSU12-Fog (opensource.psu.ac.th)

    ชุดติดตั้งนี้ ผมเลือกใช้ FogProject 1.5.9 มาใช้เป็นตัว cloning Windows ซึ่งจะเป็นแบบ Web-base GUI โดยผมปรับปรุง script เดิมของ PSU12-Sritrang ตัดส่วนที่เป็น cloning ทิ้งไป คงเหลือส่วนที่เป็น dhcp server เอาไว้ ซึ่งผมขอแนะนำให้ใช้ชุดนี้เพราะว่า รองรับ M.2 SSD และรองรับ partition หลากหลายชนิด ผมทดสอบแล้วกับ Windows 11 สามารถทำต้นฉบับและ cloning ได้ครับ

    ตัวอย่างการตั้งค่า BIOS เครื่องที่ทดสอบ ลง Windows 11 ดังนี้
    Power
    Power On by Onboard LAN = Enabled
    BIOS Setup Utility
    Secure Boot = Disabled
    Boot Options
    CSM = Disabled
    Launch PXE OPROM = UEFI
    Launch Storage OPROM = UEFI
    Launch Video OPROM = UEFI
    Boot Filter = UEFI
    Boot Priority Order
    1st Boot Device = [UEFI: PXE IPv4…]
    2nd Boot Device = [Windows Boot Manager]

    และที่โปรแกรม Web-base GUI FogProject
    เมนู Image ให้ตั้ง Host EFI Exit Type แบบ REFIND_EFI

    O เกี่ยวกับ FogProject (fogproject.org)

    FogProject รองรับ M.2 SSD และรองรับ partition หลากหลายชนิด ผมทดสอบแล้วกับ Windows 11 สามารถทำต้นฉบับและ cloning ได้ครับ แต่เท่าที่สำรวจดูที่เว็บไซต์ จะพบว่า เวอร์ชั่นล่าสุด ยังหยุดอยู่ที่ 1.5.9 ซึ่งรองรับ ubuntu 20.04 เท่านั้น หากนำไปติดตั้งใน ubuntu 22.04 ณ วันที่เขียนบทความนี้ ติดตั้งไม่สำเร็จ เพราะว่า FogProject จะมีการระบุ php เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า php8 ซึ่ง php8 เป็นค่า default ของ ubuntu 22.04 ครับ FogProject รองรับ M.2 SSD และรองรับ partition หลากหลายชนิด ผมทดสอบแล้วกับ Windows 11 สามารถทำต้นฉบับและ cloning ได้ครับ

    O ปัญหาเกี่ยวกับต้องใส่ cd key เสมอเวลา cloning windows ใหม่

    มีคำแนะนำว่า ให้ใช้แผ่นจาก Volume Licensing เพราะปกติมันจะใส่ key ที่เป็น KMS ไว้ให้แล้ว แค่ set ให้ถูกก็จะ activate เอง

    O การติดตั้ง Windows11 และการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับใช้ในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์

    เรื่องนี้ เราไปคุยกันในเฟสบุ๊คกรุ๊ปนี้กันดีมั้ยครับ Smart computer lab (Cloning and computer management) ที่ https://www.facebook.com/groups/1916830435076306

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับแอดมินที่ดูแลเรื่องนี้ครับ

  • ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ม.ค. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    (หมายเหตุ วันที่ 30 ม.ค. 56 ทีมวิทยากรจะเตรียมห้องอบรมด้วยกัน) หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

    ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

    ระยะเวลา

    • 1 วัน

    สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

    • ต้องใช้ห้องอบรมที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องต่อผู้เข้าอบรม 1 คน

    เนื้อหา

    • เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน
    • แนะนำโปรแกรม pGina บนวินโดวส์ เพื่อควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ radius server ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ใน PSU-12 ต้นแบบพัฒนาจาก FreeRADIUS ซึ่งมี module ที่สามารถ authen กับ PSU-Passport ได้
    • ความรู้เกี่ยวกับ Disk/Partition/Booting
    • แนะนำชุดโปรแกรม PSU-12

    ชุดโปรแกรม PSU-12 ที่มีสรรพคุณดังนี้

    • Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก server
    • Cloning Server – ระบบโคลนนิงผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOST
    • โคลนนิงได้ทั้ง MS Windows และ Linux
    • DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server
    • มีระบบบันทึก log accounting
    • สามารถกำหนดให้ หาก PC ลูกข่ายไม่ต่อกับ network จะบูทไม่ได้
    • ประยุกต์ใช้งานบังคับให้อ่าน message of today จึงจะบูทเครื่องใช้งานได้
    • สามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้

    รายละเอียดหัวข้อติว
    ตอนที่ 1 – ติดตั้ง server

    • ติดตั้ง Ubuntu server
    • ติดตั้งชุด PSU-12
    • การปรับแต่งให้ PSU-12 เป็น radius server ที่สามารถ authen กับ @psu.ac.th และ PSU-Passport
    • ทดสอบ authen กับอีเมลของ @psu.ac.th
    • ทดสอบ authen กับบัญชีผู้ใช้ PSU-Passport
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะบุคลากรของ PSU หรือเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานเท่านั้นที่ใช้บริการได้
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะนักศึกษาในคณะเท่านั้นที่ใช้บริการได้

    ตอนที่ 2 – การโคลนนิ่ง

    • การ Cloning เครื่องต้นแบบไปเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Backup Process)
    • การ Backup Partition Table
    • การ Backup Partition
    • การ Cloning เครื่องใหม่จากไฟล์ต้นแบบ (Restore Process)
    • การตั้งค่าเพื่อทำให้ระบบที่ Cloning มากลับมา boot ได้

    ตอนที่ 3 – ติดตั้งโปรแกรมสำหรับควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

    • แบ่ง partition ของฮาร์ดดิสก์โดยใช้แผ่นซีดี Sysresccd และลง Windows 7 ใหม่ใน partition ที่สร้างขึ้น
    • ติดตั้งโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ MS และบันทึกไว้บน server ที่เลือก
    • ติดตั้งโปรแกรม pGina เพื่อให้ login เข้าก่อนใช้เครื่อง MS
    • ตั้งค่า message of today
    • สามารถตั้งเวลา shutdown จาก server โดยตรงได้

    วิทยากร

    • ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    • ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิศิษฐ โชติอุทยางกุร คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

    1. วันชัย แซ่ลิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
    2. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์ (*)
    3. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
    4. ดุษณี โสภณอดิศัย คณะนิติศาสตร์ (*)
    5. ฝาติหม๊ะ เหมมันต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
    6. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    7. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
    8. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    9. เพียงพิศ สุกแดง คณะวิทยาการจัดการ
    10. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    11. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    12. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    13. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    14. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    15. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    16. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
    18. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    19. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    20. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    21. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
    22. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
    23. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    24. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ (*)
    25. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    26. เสะอันวา เสะบือราเฮง คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

    ( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)