Tag: cacti

  • เรียนรู้วิธีการใช้งาน Cacti เพื่อ Monitor Server

    ท่านสามารถอ่านวิธีติดตั้ง Cacti ได้ที่นี่
    http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/24/cacti-setup/

    วิธีการติดตั้ง SNMP Query MIB เพิ่มเติม รวมถึง MIB ของโปรแกรม SNMP Informant ซึ่งใช้ติดตั้งเป็น Agent ของ Windows Server โดยมีขั้นตอนดังนี้

    วิธีการเพิ่มเติม snmp query template สำหรับ cacti

    1) ทำการ move resource เป็น resource_old

    sudo mv /usr/share/cacti/resource /usr/share/cacti/resource_old

    2) ทำการสร้าง folder resource ขึ้นมาใหม่และทำการโหลดไฟล์ resource ใหม่จาก web มาวาง

    cd /usr/share/cacti
    sudo mkdir resource
    cd resource
    sudo wget http://ftp.psu.ac.th/pub/psu-monitor/resource.tar.gz
    sudo tar -xvzf resource.tar.gz

    3) ทำการเพิ่ม Template ลบไปฐานข้อมูลโหลด Download xml ทำการติดตั้งดังนี้

    cd /home/workshop/Desktop/
    wget http://ftp.psu.ac.th/pub/psu-monitor/template.zip
    unzip template.zip

    ทำการ Import ไฟล์ xml ทั้งหมด

    – ตัวอย่างวิธีการ Import Template2014-07-25_053233

    4) ทำการตั้งค่า Linux Host Template ใหม่ดังนี้2014-07-25_055104

    ทำการ Add Associated Graph Templates และ Data Queries ดังนี้ (หลังจากกด save มันจะไม่ดีดไปไหน แต่ save แล้วครับ)2014-07-25_055500

    5) ทำการตั้งสร้าง Windows Host Template ใหม่ดังนี้2014-07-25_0559182014-07-25_060021

    ทำการ Add Associated Graph Templates และ Data Queries ดังนี้

    2014-07-25_060447

    สำหรับเครื่องที่เป็น Linux เปิดเฉพาะ snmp ก็เพียงพอ แต่เครื่องที่เป็น Windows ต้องลงโปรแกรม informant เพิ่มเติมเพื่อเสมือนเป็น agent ไปดึงค่าจากเครื่องไปสร้าง MIB พิเศษเพื่อให้ Cacti เข้ามาดึงข้อมูล โดยโปรแกรมสามารถ Download ได้ที่นี่

    http://www.wtcs.org/informant/files/informant-std-17.zip

    6) เพื่อไม่ต้อง ตั้งค่า snmp บ่อย ๆ ให้ทำการแก้ไข snmp default ดังรูป2014-07-25_061716

    วิธีการเพิ่ม device

    1) ทำการ Add Device ดังนี้2014-07-25_061537

    2) ใส่ข้อมูลต่าง ๆ ของ Device2014-07-25_062211

    3) หลังจากนั้นให้สังเกตุคำว่า success และมีจำนวน items แสดงว่าเราสามารถดึงค่าได้แล้ว ในกรณีที่ยังไม่ได้ เมื่อให้ทำการทดสอบโดยกดเลือก Verbose Query ทุกครั้ง ถ้ายังไม่ success แนะนำว่าอย่าเพิ่งสร้าง Graph ครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเครื่องมีกี่ CPU กี่ interface แรมเท่าไหร่ จึงไม่สามารถสร้าง Graph ล่วงหน้าได้2014-07-25_062403

    – เมื่อกดปุ่ม Verbose Query ระบบจะทำการดึงข้อมูลมาให้ดูดังรูป2014-07-25_062639

    วิธีการสร้าง Graph ประเภท Linux Machine

    – ทำการ Create Graph ในหน้า device ดังนี้

    2014-07-25_062937

    – ให้เลือกทีละหัวข้อจากนั้นทำการกดปุ่ม Create2014-07-25_063048 2014-07-25_0631362014-07-25_0638422014-07-25_063251 2014-07-25_063421 2014-07-25_063456 2014-07-25_063733

    วิธีการสร้าง Graph ประเภท Windows Machine

    – ให้ลองสร้าง Device ประเภท Windows

    – ทำการ Create Graph ในหน้า device ดังนี้ (หลังเลือก Graph Template Name หลังสุดนะครับ ถ้าเลือกเป็น Pack อาจเยอะจนตาลาย)

    – ให้เลือกทีละหัวข้อจากนั้นทำการกดปุ่ม Create2014-07-25_065458 2014-07-25_0656102014-07-25_0659412014-07-25_0700162014-07-25_0656422014-07-25_0700572014-07-25_065813 2014-07-25_065834    2014-07-25_070208

    วิธีการเพิ่ม Graph Tree

    2014-07-25_070622 2014-07-25_070652 2014-07-25_070731

    – เราสามารถดูกราฟได้ที่หัวข้อ Graph2014-07-25_070852

    จบแล้วครับสำหรับการใช้งาน cact ใครอยากลอง template ส่วนอื่น ๆ สามารถลองได้ครับ

  • การติดตั้งโปรแกรมและการตั้งค่าเบื้องต้น Cacti บน Ubuntu 14.04 LTS

    โปรแกรม Cacti เป็นโปรแกรม Monitor แบบหนึ่งแต่จะเน้นการ Monitor ผ่าน snmp ซึ่งจุดเด่นจะอยู่ที่การสร้าง graph ที่ค่อนข้างชัด ดูง่าย ทำให้ช่วยวิเคราะห์ปัญหาย้อนหลังทำได้ง่ายกว่า

    วิธีการติดตั้ง Cacti บน Ubuntu 14.04 LTS

    1) ทำการติดตั้งชุดโปรแกรม Lamp Server (Linux + apache + mysql + php) ดังนี้

    sudo apt-get install lamp-server^

    2) ทำการติดตั้งโปรแกรม rrdtool ดังนี้

    sudo apt-get -y install rrdtool

    3) ทำการติดตั้งโปรแกรม snmp ทั้งโปรแกรม server และ client ดังนี้

    sudo apt-get -y install snmp snmpd

    4) ทำการติดตั้ง mib เพิ่มเติมดังนี้

    sudo apt-get -y install snmp-mibs-downloader

    5) วิธีการทดสอบการว่าการใช้งาน snmp สามารถใช้งานหรือยังดังนี้

    sudo snmpwalk -Os -c public -v 2c localhost HOST-RESOURCES-MIB::hrSystemProcesses.0

    6) ทำการติดตั้งโปรแกรม Cacti และ spine ดังนี้

    sudo apt-get -y install cacti cacti-spine

    2014-07-24_204947 2014-07-24_205027 2014-07-24_205058

    7) ทำการเข้าหน้าติดตั้ง Cacti ผ่าน web ดังนี้

    http://localhost/cacti

    2014-07-24_205323 2014-07-24_205409 2014-07-24_205448

    8) จากนั้นทำการ Login เข้า web โดยมี Default User : admin, Password : admin ดังนี้

    http://localhost/cacti

    2014-07-24_205538

    9) หลังจากนั้นระบบจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านดังนี้

    2014-07-24_205855

     

    เสร็จสิ้นการติดตั้ง Cacti แล้วครับ เหลือการตั้งค่า spine ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ทำงานดีขึ้นกว่าแบบที่เป็น cmd.php เนื่องจากโปรแกรมเขียนด้วยภาษา C จึงทำงานได้เร็วกว่า โดยทำการตั้งค่าดังรูป (อย่าลืม save ด้วยนะครับ)

    2014-07-25_071624 2014-07-25_071701

    ส่วนวิธีใช้งานสามารถดูได้ที่บทความนี้ครับ

    http://sysadmin.psu.ac.th/2014/07/25/cacti-howtouse/

     

  • WorkShop : Server Monitoring

    “อาว Server ตายตอนไหนไม่เห็นจะรู้เลย โหลดเยอะละม้าง หรือไม่ก็แรมหมด เสถียรไหมไม่รู้สิ อาวเมื่อคืน disk หมดหรอกเหรอ สงสัย Backup อยู่ม้าง”

    ถ้าเรามีระบบ Monitor ที่ดีพบคงสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
    และไม่ต้องเจอเหตุการณ์เดิม ๆ ซ้ำ ๆ อีกต่อไป

    มาถึงอีก 1 workshop เคยเขียนไปแล้วรอบหนึ่ง แต่ตอนนั้นสอนแค่ครึ่งวัน ได้แค่ลง Nagiosql ยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักเท่าไหร่ รอบนี้เลยจัดเต็ม 2 วัน ถ้ามีเนื้อหาผิดพลาดประการใดแจ้งได้เลยครับ เดี๋ยวจะแก้ไขให้ครับ (งานร้อน ^.^)

    Workshop Outline
    ftp://ftp.psu.ac.th/pub/psu-monitor/workshop-outline.pdf

    VirtualBox Installation

    เครื่องที่ใช้ในการทดสอบ (Oracle VM VirtualBox)
    *แนะนำให้เปิดกับโปรแกรม version ล่าสุด
    Monitor
    ** User : workshop , Password : 123456
    Linux-Server
    ** User : monitor , Password : 123456
    MS-Server
    ** User : administrator, Password : 123456

    รายละเอียด URL
    Monitor
    Linux-Server
    MS-Server
    http://ftp.psu.ac.th/pub/psu-monitor/workshop.ova

    โดยจะแบ่งเป็น 11 ตอนโดยแยกเป็น 11 Blog ดังนี้

    ตอนที่ ชื่อตอน
    ตอนที่ 1 การติดตั้งและการตั้งค่าเบื้องต้น Nagios บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 2 การติดตั้ง NagiosQL บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 3 วิธีการตั้งค่าและการใช้งาน NagiosQL บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 4 การติดตั้งและการตั้งค่าเบื้องต้น NagiosGraph บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 5 วิธีการตั้งค่า NRPE เพื่อใช้งานกับ NagiosQL บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 6 การติดตั้ง NRPE บน Ubuntu 14.04
    ตอนที่ 7 การติดตั้ง NRPE บน Windows 2012 R2
    ตอนที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมและการตั้งค่าเบื้องต้น Cacti บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 9 การติดตั้ง snmpd และการตั้งค่า shorewall บน Ubuntu 14.04 LTS
    ตอนที่ 10 การติดตั้ง snmp service และการตั้งค่า firewall บน Windows 2012 R2
    ตอนที่ 11 เรียนรู้วิธีการใช้งาน Cacti เพื่อ Monitor Server
    บทความเพิ่มเติม
    ยังไม่มี