การย่อ-ยุบแถวข้อมูลบน GridView โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับ jQuery และ Collapse ใน Bootstrap (C#)

           จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงวิธีการจัดการข้อมูลจำนวนมากด้วยการจัดกลุ่มหมวดหมู่ของข้อมูลใน GridView กันไปแล้ว ซึ่งหากผู้อ่านท่านใดต้องการทราบวิธีการจัดหมวดหมู่สามารถตามดูเนื้อหาในบทความได้จาก การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C# และในส่วนของบทความนี้จะเป็นเนื้อหาต่อยอดการทำงานจากการจัดหมวดหมู่ดังกล่าว โดยเพิ่มความสามารถให้หมวดหมู่หรือกลุ่มเหล่านั้นสามารถย่อ-ยุบได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ใช้บางท่านที่อาจมีความต้องการดูข้อมูลทีละส่วนได้ โดยจะนำ Component ที่ชื่อว่า Collapse ใน Bootstrap มาประยุกต์ใช้ในการแสดงผลร่วมกับ GridView และยังมี jQuery มาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อให้สามารถแสดงผลตามที่ต้องการได้ โดยการอธิบายในบทความนี้ ทางผู้เขียนจะขอตัดตอนในส่วนของรายละเอียดขั้นตอนวิธีการจัดหมวดหมู่ไป และข้ามมาพูดถึงขั้นตอนที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมในการทำย่อ-ยุบเลยละกันนะคะ            ก่อนจะไปเริ่มในส่วนของการเขียนโค้ด เรามาทำความรู้จักกับ ค่าที่จำเป็นต้องใช้ในการระบุให้กับแถวหลัก(parent)เพื่อให้สามารถย่อยุบได้ กันก่อนนะคะ data-toggle=”collapse” data-target=”.multi-collapse” เพื่อกำหนด target ที่เราต้องการให้ย่อยุบได้ โดยใช้สไตล์ชีทเป็นตัวช่วยเพื่อแยกแต่ละกลุ่มออกจากกัน ซึ่งในที่นี้จะตั้งชื่อสไตล์ชีท multi-collapse ตามด้วยรหัสของประเภทกลุ่มนั้น โดยต้องระบุสไตล์ชีทนี้ให้กับแถวย่อย(child)ด้วย aria-controls=”demo1 demo2 demo3 demo4 demo5” เพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะย่อยุบ โดยสามารถกำหนดได้มากกว่า 1 พื้นที่ ซึ่งจะแยกด้วยการเว้นวรรคชื่อ id ของแถวย่อย(child) … Read more

การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C#

          ในการดึงข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบตาราง GridView อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกตาลายและอ่านยากไปสักหน่อย ผู้พัฒนาจึงต้องพยายามหาวิธีจัดการข้อมูลในการแสดงผลให้สามารถอ่านง่ายและสบายตามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมาก การจำแนกประเภท หรือแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีการแสดงผลของข้อมูลบน GridView แบบจำแนกออกตามกลุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกัน เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ GridView ซึ่งเราเองใช้งานอยู่และน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ ขั้นตอนในการพัฒนา เตรียมข้อมูลในการแสดงผล โดยจากตัวอย่างนี้ จะทำการสมมุติข้อมูลของดอกไม้ ผลไม้ และต้นไม้ และมีข้อมูลเพื่อใช้ในการแยกประเภทไว้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ หมายเหตุ : การประกาศตัวแปร และการดึงข้อมูลเป็นเพียงการยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจเท่านั้น ในการทำงานจริงผู้อ่านสามารถใช้วิธีการประกาศตัวแปรและเรียกใช้แบบอื่น หรือดึงข้อมูลจากส่วนอื่นได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความถนัดค่ะ 2. เตรียม GridView ที่จะใช้ในการแสดงผล โดยจะขอยกตัวอย่างให้ดูการแสดงผล GridView แบบทั่วไปก่อนมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ เพิ่มเติม : ข้อมูลจำนวนเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข จึงได้ทำการจัด Format รูปแบบของข้อมูลให้แสดงผลแบบตัวเลข ด้วยการระบุ DataFormatString=”{0:#,##0}” เช่น หากข้อมูล 2500 จะแสดง … Read more

วิธีการรวมไฟล์ pdf หลายไฟล์และรูปภาพมาแสดงในครั้งเดียวด้วย iTextSharp (#C)

          ที่มาของบทความนี้ เนื่องด้วยงานที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้พัฒนาอยู่นั้น มีส่วนหนึ่งที่เป็นการแนบไฟล์เอกสาร/หลักฐานทั้งในรูปแบบไฟล์ PDF และรูปภาพ เข้ามาจากผู้ใช้งาน ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะต้องมีส่วนของการแสดงผลให้ทางฝั่งเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานดังกล่าวด้วย โดยเดิมทีจะมีการแสดงผลแยกเป็นรายการให้เจ้าหน้าที่เพื่อคลิกดูรายละเอียดทีละรายการ ดังภาพ           ซึ่งในการทำงานจริงแล้วนั้นพบว่า การตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานต่างๆที่ผู้ใช้แนบมาสามารถทำได้ยากและต้องใช้เวลา เนื่องจากเจ้าหน้าที่จะต้องทำการคลิกดูรายละเอียด/ดาวน์โหลดไฟล์คราวละ 1 ไฟล์เพื่อตรวจสอบ ซึ่งไฟล์จะแยกกันอยู่ หากต้องการดาวน์โหลดก็ต้องดาวน์โหลดทีละไฟล์ ดังภาพ จึงเป็นที่มาของการค้นหาวิธีการแสดงผลไฟล์ทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบและดูรายละเอียดข้อมูลเอกสารไฟล์แนบได้ในคราวเดียว ซึ่งผู้เขียนก็ได้นำวิธีการดังกล่าวมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านที่มีความสนใจและประสบปัญหาคล้ายกันอยู่  ซึ่งจะมีวิธีการดังนี้ค่ะ 1.ดึงข้อมูลไฟล์แนบเอกสารทั้งหมดของผู้ใช้ หมายเหตุ ในการทำงานข้างต้น ควรมีการลบไฟล์(Temporary file)ที่ถูกสร้างไว้ก่อนหน้านี้ที่ไม่ใช้งานออกไปด้วย เนื่องจากการรวมไฟล์ด้วยวิธีนี้จะมีการสร้างไฟล์รวมตัวใหม่ขึ้นมาและนำไปแสดงผลให้ผู้ใช้ ซึ่งหลังจากผู้ใช้งานไม่ใช้งานแล้วหากเราไม่ทำการลบทิ้งจะเกิดเป็นไฟล์ขยะบนเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากได้           โดยจากโค้ดข้างต้นจะพบว่า ไฟล์ที่จะใช้ในการรวบรวมจะต้องเป็นไฟล์ PDF ซึ่งในการทำงานจริงของเรา การแนบไฟล์เอกสาร/หลักฐานสามารถแนบได้ทั้งไฟล์ที่เป็น PDF และไฟล์ที่เป็นรูปภาพด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะทำการรวมไฟล์ จึงต้องทำการตรวจสอบว่ามีไฟล์ดังกล่าวอยู่จริงหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบชนิดของไฟล์ด้วย หากพบว่าไฟล์ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในรูปแบบ PDF ไฟล์ ให้ทำการแปลงไฟล์รูปภาพเหล่านั้นให้เป็น PDF เสียก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในขณะทำการรวมไฟล์นั่นเอง 2. เขียนเมธอดในการรวมไฟล์ดังกล่าวและสร้างเป็นไฟล์ PDF ตัวใหม่ 3.เขียนเมธอดในแปลงไฟล์รูปภาพให้เป็นไฟล์ PDF 4.แสดงผลไฟล์ PDF ที่รวมเรียบร้อยแล้ว ด้วย … Read more

จะทำอย่างไรให้สามารถดึงข้อมูลมาแสดงผลด้วย Progress bar โดยใช้ .Net (C#)

          จากบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับ Progress bar และวิธีการใช้งานเบื้องต้นกันไปแล้ว ซึ่งใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ มาถึงในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอนำความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงที่มีการดึงข้อมูลตอน Runtime มาแสดงผลด้วย Progress bar โดยผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างสไตล์ชีทและการกำหนดค่าต่างๆแล้ว แต่จะเน้นในส่วนของการดึงข้อมูลมาแสดงแทน โดยผู้เขียนจะพยายามยกตัวอย่างให้เห็นหลายแนว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพในการนำไปใช้มากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ แบบแถบละสี ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล 2. เมธอดในการแปลงค่าสไตล์ชีทเพื่อปรับสีตามจำนวนที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ จากโค้ดข้างต้นจะเป็นการกำหนดสไตล์ชีทที่จะใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนค่า % ที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง สีแดง ช่วงตั้งแต่ 0 – 25 % สีส้ม ช่วงตั้งแต่ 26 – 50 % สีฟ้า ช่วงตั้งแต่ 51 – 75 % สีเขียว ช่วงตั้งแต่ … Read more