Tag: Azure

  • import file from “notion” to “azure devops”

    สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน Blog แรกของรอบ TOR ใหม่ในปีนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของการ export ข้อมูลจาก notion และการนำเข้าข้อมูลไปยัง azure devops กันค่ะ

    หลายๆคนคงมีคำถาม ว่าเจ้า notion นี่มันคืออะไร ?? ถ้าให้อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ notion ก็คือ

    “ซอฟต์แวร์ตัวนึงที่เราสามารถใช้จดโน้ต จัดการงาน วางแผนต่างๆ ได้ครบจบในตัวเดียว ใช้งานง่าย หน้าตาน่ารัก” นั้นแหละนะ

    คำถามถัดมา แล้วทำไมไม่กรอกบน azure devops เลยละ ?

    ทางผู้เขียนขอตอบเลยว่าการบันทึกข้อมูลตามฟอร์ม work items เนี่ย ผู้เขียนมีความรู้สึก(ส่วนตัว) ว่ามันค่อนข้างจะกรอกยาก และเสียเวลาจริงๆ (ใช้ excel, google sheet หรือ notion ง่ายกว่าเย๊อะ)

    ปล…แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น azure devops ก็ยังคงมีประโยชน์และใช้งานได้ดีในส่วนอื่นๆ อยู่แหละนะ ^^

    Blog นี้ผู้เขียนจะไม่ลงลึกในส่วนของการใช้งาน notion แต่จะเน้นในส่วนของการ import ข้อมูลเข้าใน azure devops ซะมากกว่า ถ้าท่านผู้อ่านสนใจการใช้งาน notion สามารถค้นหาข้อมูลผ่าน google ได้เลย มีเยอะแยะมากมายเชียวละ

    เรามาเริ่มดูหน้าตาเจ้า notion กันก่อนเลยดีกว่า

    Step 1 : สมัครใช้งานให้เรียบร้อย จากนั้น Add a page ขึ้นมา ตั้งชื่อตามต้องการ เลือกใช้ DATABASE ในรูปแบบ Table ซึ่งตอบโจทย์ในการทำงาน และเก็บข้อมูลของทางผู้เขียน

    Step 2 : สร้าง column ข้อมูลตามที่เราต้องการบันทึก สำหรับขั้นตอนนี้ แนะนำให้สร้างตรงกับฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน work item ของเราบน azure devops นะ เพราะมันจะง่ายและลดระยะเวลาในการทำงานได้เยอะเลยแหละ

    ตัวอย่างข้อมูลที่กรอกบน notion

    Step 3 : ขั้นตอนนี้จะเป็นการ Export ข้อมูลที่เรากรอกไว้บน notion ให้อยู่ในรูปแบบ .csv ให้เราคลิกตรง … มุมบนด้านขวาของ page ที่เราต้องการ Export จากในตัว notion จากนั้นเลือก Export

    Step 4 : เลือก format และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เราต้องการ Export โดยผู้เขียนจะเลือกเป็น Markdown& CSV เมื่อเรา Export เรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าตาข้อมูลมาประมาณนี้ (เราสามารถปรับแก้ไขตัวไฟล์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้เลยนะ)

    Step 5 : เปิดหน้าจอ azure devops ของเราขึ้นมาก่อนเลย เลือก Project ที่ต้องการดำเนินการ เลือกเมนู “Boards” เมนูย่อย “Work Items

    Step 6 : เลือก Import Work Items จากนั้นให้เราเลือก Choose File โดยเลือกเป็นไฟล์ที่เรา Export ได้มาตะกี้นั่นแหละ

    Step 7 : เมื่อเรา Import ข้อมูลจาก .CSV เราเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบกับข้อมูลดังกล่าวบนตัว azure devops หน้าตาประมาณนี้เลย

    สุดท้าย ท้ายสุด หากตรวจสอบพบว่าถูกต้อง ไม่มีปัญหาใดๆ ก็ให้คลิก Save items ได้เลยนะทุกคนนนนนน

    เอาจริงๆ ง่ายมากๆ ลดเวลาการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนในการทำงานของทางผู้เขียนได้ดีมากๆ เอาไปเลย 5 ดาววววววว

    ทั้งนี้ทางผู้เขียนยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่านน๊าาาา แล้วพบกันใหม่ใน Blog หน้าเน้ออออออ

    ขอขอบคุณน้องเอก (Akekyz) ผู้แนะนำให้ทดลองใช้งานเจ้าตัว notions มา ณ ที่นี้ด้วยยยยยย 🙂

  • การสร้าง Dashboard บน Azure DevOps

    เวลานี้ไม่ว่าจะไปที่ไหน เรามักจะได้ยินคำว่า “Dashboard” บ่อยมาก แล้ว Dashboard มีประโยชน์และสร้างอย่างไร  วันนี้เรามีวิธีการสร้าง Dashboard ง่ายๆ เพื่อใช้ในการติดตามโครงการมานำเสนอค่ะ โดยจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Azure DevOps โดยเราต้องสร้างโครงการบน Azure DevOps ก่อนนะคะ (ครั้งหน้าจะมาแนะนำการสร้างโครงการบน Azure DevOps รอติดตามกันนะคะ)

    หลังจากสร้างโครงการบน Azure DevOps แล้ว ในการบริหารโครงการจะมีการแบ่งงานออกเป็น Work Item ในแต่ละ Work Item ก็จะมีการมอบหมายงานหรือ Assigned ให้กับผู้ร่วมโครงการแต่ละคน จากนั้นจะมีการติดตามว่าได้ดังเนินการไปถึงไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ ตัวอย่างการสร้าง Work Item ตามภาพ ข้างล่าง

    เมื่อมีการมอบหมายงานเรียบร้อย เราก็สามารถติดตามสถานะการดำเนินงานต่างๆ ได้ โดยการสร้าง Dashboard ซึ่งให้เลือกโครงการที่ต้องการติดตาม จากนั้นไปที่ “Dashboards” และกดปุ่ม “New Dashboard” ซึ่งจะมี Template หลากหลายรูปแบบให้เลือก ตามภาพข้างล่าง

    ตัวอย่าง เช่น หากต้องการทราบว่า มีงานใดที่มอบหมายให้ตัวเองและยังไม่ได้ทำให้เสร็จสิ้นบ้าง ให้เลือก Template Assigned to Me แล้วกดปุ่ม Add ผลลัพท์จะได้ตามภาพข้างล่าง

    หากต้องการดูผลการดำเนินงานของโครงการก็สามารถเลือก Template เป็น Burndown ซึ่งจะได้ผลลัพท์ดังข้างล่าง

    หากต้องการดู Dashboard ผลการดำเนินงานของโครงการ ไม่ว่าจะเป็น การแบ่งงานในแต่ละ Work Item หรือระยะเวลาผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการในแต่ละ Work Item ของโครงการ เราสามาถสร้าง Dashboard โดยเลือก Template เป็น “Chart for Work Items” และกำหนด รายละเอียดที่เราต้องการ เช่น ประเภทของ Chart  เป็นต้น ตามภาพข้างล่าง

    นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง Dashboard จาก Query ที่เราได้สร้างไว้เพื่อให้ได้ Dashboard ตามที่เราต้องการ ตัวอย่างเช่นการส้ราง Dashboard จาก Query ที่ชื่อ Completed Task และ All Work Item ที่ได้สร้างไว้ ตามภาพข้างล่าง

    Dashboard เวลาที่ใช้ในการดำเนินการของแต่และคนตามที่ได้รับมอบหมายและจำนวนเวลาที่ใช้ทั้งหมดในโครงการ

    Dashboard จำนวน Work Item ที่แต่ละคนได้รับมอบหมายและจำนวน Work Item ทั้งหมดในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นระดับ Task, User Story หรือ Feature

    ตัวอย่างการสร้าง Query เพื่อดูรายละเอียดของการดำเนินการทุกขั้นตอน (Work Item Type) และทุกสถานะ (State) เมื่อ Run query จะได้ผลลัพท์ตามภาพข้างล่าง

    เป็นไงบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่มั้ย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกท่าน นะคะ ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

  • วิธีการตรวจสอบราคาเครื่องที่ให้บริการบนระบบ Public Cloud

    “จะมีวิธีคิดราคา Public Cloud แต่ละเจ้าได้อย่างไรว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ต่อเดือน”

    ในปกติแล้ว Cloud แต่ละเจ้าจะมีให้ทดสอบเลือกเครื่อง spec ที่ต้องการและคิดค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ซึ่งตัวเครื่องโดยมากคิดเป็นรายเดือน แต่ส่วนที่คิดตามการใช้งานจริงจะเป็น IOP ของการใช้งาน Storage และการส่งข้อมูลออก หรืออาจจะเป็นจำนวน Traffic สำหรับให้บริการ (นำเข้าข้อมูลไม่เสียตังค์) โดยขอสรุปเป็นบทความดังนี่้ครับ
    Target : ต้องใช้เครื่องประมาณ CPU 4 Core, RAM 4-8GB, HDD 100GB รัน Windows Server เพื่อรันระบบที่เขียนด้วย .NET Framework

    • ราคา ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2559

    AWS Pricing Calculator
    https://calculator.s3.amazonaws.com/index.html

    price1 price2 price3
    จะเห็นว่าใช้เงินประมาณ $193.98 ต่อเดือน คิดเป็นเงิน 6799.75 บาทต่อเดือน ซึ่งจากการประเมินราคาใน Private Cloud ปัจจุบันที่มหาลัยให้บริการจะคิดที่ 3200 บาทต่อเดือน (4 CPU,8 GB,SAS 100G (Multi-Site Raid 5-Network RAID 1 ราคานี้ไม่รวมค่า OS) แต่ทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีบริการ Storage ที่เป็น SSD ซึ่งถ้าเอาตามการใช้งานจริงที่ไม่ใช่ Database Server, File Server ยังไม่จะเป็นต้องใช้ถึง SSD แต่ในปัจจุบันราคา SSD ของ Server ก็ลดลงมาเยอะมาก โดยที่การจัดซื้ออนาคตคงจะเปลี่ยนเป็น ซื้อ SSD สำหรับทำ Private Cloud แทน ซึ่งราคานี้ยังไม่รวม EBS ที่ไว้สำหรับทำ Snapshot สำรองข้อมูล, Data Transfer ซึ่งดูแล้วที่จะขึ้นได้ในตอนนี้น่าจะมีแค่ Web Server ที่เป็นพวก CMS เพราะการโอนข้อมูลขึ้นลงไม่มากนัก (ยกเว้นที่เว็บที่เน้นการใช้งาน CMS Document Sharing ที่ใช้งานหนัก ๆ อาจจะไม่เหมาะ เพราะใช้ Traffic ขาออกเยอะจากการดาวน์โหลด)

    Azure Pricing Calculator
    https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/calculator/
    price4 price5

    จะเห็นได้ว่าราคาใกล้เคียงกับ AWS แต่ได้เนื้อที่น้อยกว่า
    price6 price7
    ถ้าเพิ่ม Storage อีก 16G จะต้องเพิ่มเงินอีก $1..28 ต่อเดือน รวมเป็น $191.74

    Google Cloud Platform Pricing Calculator
    https://cloud.google.com/products/calculator/

    price8 price9 price10 price11
    จะเห็นได้ว่าถูกที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับอีก 2 เจ้า

    Digital Ocean Pricing Calculator
    https://www.digitalocean.com/pricing/

    price12 price13

    ขอยกมาอีกเจ้าที่ใช้งานกันเยอะเนื่องจากราคาถูกจะเห็นว่าถูกที่สุด แต่สำหรับเจ้านี้จะไม่มี Windows ให้ใช้งาน

    สรุปค่าใช้จ่าย

    price14
    จากที่เขียนไว้ข้างต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเจ้าไหนดีกว่า เพราะมีปัจจัยอีกเยอะที่ไม่ได้ยกมาเช่น Data Transfer, ราคา Discount ซึ่งเหมือน Google จะมีส่วนลดสำหรับเครื่องที่สอง, Downtime, Speed จึงยกมาเป็นตัวอย่างวิธีพิจารณาคร่าว ๆ ส่วนถ้าซื้อจริงก็คงต้องเตรียมแผนให้สามารถย้ายได้ด้วยในกรณีที่ Cloud ที่ใช้อยู่บริการได้ไม่ตรงกับความต้องการ